Menuleft - MarinerThai.Net

หน้าแรก

เว็บบอร์ดชาวเรือ

สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ

เอกสารน่าอ่านไทย

เอกสารน่าอ่านอังกฤษ

สาระไอทีชาวเรือ

แหล่งคนหางานเรือไทย

บทความจากสมาชิก

นิทานชาวเรือ

คนเรือหัวหมอ

คู่มือปฏิบัติงานเรือ

ระบบสื่อสาร-เดินเรือ

พจนานุกรมศัพท์ทางเรือ

ความหมายคำย่อทางเรือ

ข่าวอัพเดทรายวัน

ข่าวสดราคาน้ำมันโลก

รวมข่าวโจรสลัด

รวมข่าวอุบัติเหตุทางเรือ

สนับสนุนเว็บเรา

สถิติผู้เข้าชมเว็บนี้

ติดต่อเรา

เปิดเว็บ 1 ตุลาคม 2545

 

ขณะนี้เวลา | Your Time
10:46:33

Nathalin Group

MarinerThai 2004

TOP Enginerring Group

 

 
 
 

 

 

Nathalin Group

Advertising in marinerthai.net FB MarinerThai News

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโดยย่อ เรือเฟอร์รี่ บริการ ในอ่าวไทย

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโดยย่อ:

เรือเฟอร์รี่ บริการในอ่าวไทย

( Pre-Feasible Study for :Brief Project: Ferries Service in Gulf of Thailand )
โดย : เรือเอก ตระกูล พุ่มเสนาะ
ที่ปรึกษาอิสระเกี่ยวกับกิจการพาณิชย์นาวี
 ** บทความนี้เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 25
46 **


ภาคที่ 1 โดยทั่วไป

. ประวัติและความเป็นมา :

ในอดีต จนถึงปัจจุบัน ได้มีผู้สนใจดำเนินการ ในด้านบริการเรือเฟอร์รี่ ในเส้นทางที่ไกลกว่า เส้นทางบริการไปยังเกาะต่างๆ ตามปกติ เช่นที่ ดอนสัก  เกาะสมุย  พงัน   หรือที่ แหลมงอบ - เกาะช้าง คือ เคยมีผู้ดำเนินกิจการเรือเฟอร์รี่ บรรทุกทั้งคนและรถยนต์   แล่นระหว่างกรุงเทพฯ  สงขลา  หรือ เคยมีบริการเรือเฟอร์รี่ความเร็วสูง บริการเฉพาะคนโดยสาร จาก กรุงเทพฯ –  พัทยา หรือเคยมีการนำเอาเรือประเภท  Air-Cushion มาใช้งาน แต่ ผลการดำเนินการในอดีต ที่เป็นมา ตามที่พิจารณาจากสายตาคนภายนอก ว่า ไม่สำเร็จ ตามจุดมุ่งหมาย ซึ่งอาจจะวิเคราะห์ได้ว่า เกิดจากการขาดประสบการณ์ หรือ ลงทุนสูงเกินไป ไม่สามารถรับเทคโนโลยีที่ทันสมัย และไม่มีการสนับสนุนจากฝ่ายรัฐบาล   และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนไม่สามารถ ดำเนินงานได้คุ้มทุน  หรือกับ บางรายการที่ลงทุนต่ำมาก โดยซื้อเรือที่เก่ามากใกล้สภาพเศษเหล็ก  หรือในราคาเศษเหล็กแต่มาดัดแปลง  และไม่มีทุนในการซ่อมบำรุงได้เพียงพอ  จนทำให้ไม่สามารถทำงานได้ตามเป้าหมายและจำต้องเลิกกิจการไป  คงเหลือให้เห็น ดังที่มีการใช้เรือเฟอร์รี่ รับบริการตามเกาะกับฝั่งในระยะใกล้ๆเท่านั้นในปัจจุบันซึ่งในตำบลที่บางแห่งก็อยู่ในสภาพที่ล่อแหลมต่ออันตราย ทั้งในสภาพของท่าเรือและตัวเรือที่ให้บริการ  แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึง บริการที่บริษัท ไทนเดินเรือทะเล จำกัด ที่เป็นของรัฐบาล กำลังให้บริการอยู่เฉพาะเส้นทาง แหลมฉบัง ไป-กลับ ท่าเรือสงขลา  ซึ่งหากพัฒนาเข้าสู่โครงการนี้ ก็อาจจะเป็นไปได้

 

.วัตถุประสงค์ :

1)  เพื่อบริการ การขนส่งทางทะเลในระหว่าง จังหวัดต่างๆ ชายทะเลทั่วอ่าวไทยเป็นไปอย่างถาวรและมีระบบที่ถูกต้อง เพื่อรองรับการพัฒนาการขนส่งหลายรูปแบบในอนาคต

2)  เพื่อสนองบริการส่งเสริมการท่องเที่ยว  ด้วยการมีรถยนต์ส่วนตัว ไปด้วย เมื่อต้องการเปลี่ยน ทำเล การท่องเที่ยวจาก แหล่งทำเลต่างๆของประเทศ ลดการจราจรผ่านกทม. และจังหวัดใกล้เคียง

3)  เพื่อเสริมสร้างศักยะภาพในการขนส่ง สินค้า จากแหล่งต่างๆทั้งภาค ตะวันตก, ตะวันออกและภาคใต้ของประเทศมาสู่เขตท่าเรือหลักของประเทศ ในระบบการขนส่งที่ใช้รถพ่วงตู้คอนเทนเนอร์ลงเรือ ใช้เส้นทางทางทะเล ลดค่าใช้จ่ายที่รถต้องเดินทางทางถนน และลดภาวะสิ่งแวดล้อมไปในตัว สร้างความใกล้ชิดกับประชาชนทุกภาคของประเทศ

4)  เพื่อเสริมสร้าง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่สามารถ ใช้เรือ เฟอรรี่ เป็น พาหนะ และจัดระบบการท่องเที่ยวแบบ package ทัวร์ ได้หลากหลาย

5)  ที่สำคัญที่สุด โครงการนี้จะต้องได้รับการสนับสนุนจากทางราชการที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการสร้าง ท่าเทียบเรือ และถนนที่เข้าไปสู่ท่าเรือใหม่ รวมถึงพื้นที่ในการจอดรถและการให้บริการต่างๆ กับทุนดำเนินการ

 

. โครงการ :

 เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ อาจจะพิจารณาโครงการได้  สาม ลักษณะ คือ

1)  โครงการขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนสูง โดยรัฐฯหรือสัมปทานเอกชนรายเดียว

2)  โครงการขนาดปานกลาง ใช้เงินลงทุน น้อยลง แต่สามารถพัฒนา สู่โครงการขนาดใหญ่เต็มที่ได้ โดยการร่วมทุน

3)  โครงการขนาดเล็ก  หรือ โครงการนำร่องเพื่อ วัดผลในการดำเนินงานที่ สามารถนำไปสู่โครงการ ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ใช้เงินทุนต่ำ

 

.ส่วนประกอบที่ต้องนำมาพิจารณา

1)  เรื่อง เรือ เฟอร์รี่

2)  เรื่องของ ตำบลที่ ที่จอดเรือรับ-ส่งตามจุดต่างๆ

3)  เส้นทาง การเดินเรือ

4)  ส่วนประกอบของทุน

5)  ความน่าเป็นไปได้ ของ รายได้ ที่พึงจะได้รับ

6)  แหล่งทุน

 

. ข้อพิจารณา :

 รูปแบบต่างๆ ของ

1)  สำหรับการลงทุนขนาดใหญ่

2)  สำหรับการลงทุนขนาดกลาง ที่น่าจะเป็นไปได้

3)  สำหรับการลงทุนขนาดเล็ก

 

. ความน่าจะเป็นไปได้ :

ในการวิเคราะห์ ณ ที่นี้ จะใช้ ข้อพิจารณาในการลงทุนขนาดกลาง ที่น่าจะเป็นไปได้ ด้วยการ ใช้ เรือเฟอร์รี่ ที่มีอายุการใช้งานมาแล้ว แต่สามารถ ทำงานในอ่าวไทยได้ ทุกฤดูกาล  และมีต้นทุนในการปฏิบัติการ ที่อยู่ในเกณฑ์ที่ เป็นไปได้ กับ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่กำลังเติบโต พร้อมทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว

รัฐบาลจะต้องร่วมในการลงทุนในระดับสูงคือการก่อสร้างท่าเรือ ที่สามารถให้เรือ เข้าเทียบรับส่งคน โดยสารและ รถที่จะบรรทุกลงเรือได้อย่างปลอดภัย ในขั้นต้น อาจจะมีเพียง ที่ เกาะช้าง  และที่ ชะอำ หรือ หัวหิน หรือบริเวณใกล้เคียง ซึ่งอาจจะต้อง ทำ เขื่อนกั้นคลื่นแบบถาวร  ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องถือว่าเพื่อเป็นสาธารณูปโภค ไม่มีการคิดหากำไร การสร้างถนนรอบเกาะช้างเป็นสิ่งที่รัฐฯจะต้องกระทำแบบให้เปล่า การคิดค่าเทียบเรือควรเป็นงานบริการของเทศบาล ของเมืองที่ให้บริการนั้นๆ

อีกประการหนึ่ง รัฐบาลจะต้อง ให้การคุ้มครองการลงทุนและการดำเนินงาน ต่อเนื่อง โดยไม่มีผลประโยชน์ทางการเมืองที่เปลี่ยนแปรได้ เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะ โครงการนี้ อาจจะต้องใช้เวลานาน ในการสร้างบริการ  จนกระทั่งให้เป็นที่ยอมรับ  ให้ผู้ใช้ เชื่อถือ ทั้งด้านความเที่ยงตรงต่อเวลา  และ ความปลอดภัย และผลลัพท์อันจะพึงได้รับที่คุ้มค่า

.การตัดสินใจ :

เป็นเรื่องที่ หน่วยที่มีความเกี่ยวข้อง  เข้ามาตั้งเรื่องเพื่อเสนอเข้าไว้ในแผน ของสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และได้รับการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและถูกจัดไว้ในแผนหลักของชาติ

 

ภาคที่ 2 – รายละเอียดของโครงการ

เฉพาะ ในหัวข้อ ส่วนประกอบที่สำคัญ

เรื่อง ของเรือ เฟอร์รี่ :

ปกติจะแบ่งเรือ เฟอร์รี่ เป็น  3 ประเภท คือ ประเภท ความเร็วสูง, ประเภทบริการ ชายฝั่ง , และประเภท บริการเมืองท่าใกล้ฝั่ง

ประเภทความเร็วสูง  เช่น แบบ swath, catamaran, jet, hydrofoil  ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในที่นี้

ประเภท บริการชายฝั่ง : ความ เร็ว ปานกลาง  ต่ำ   ความคงทนทะเลต่ำ  แต่สามารถเดินทาง ในอ่าว หรือ  ระยะใกล้มีที่ สำหรับ  บรรทุกรถยนต์  บรรทุกสินค้าได้ น้อย แต่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการ ปฏิบัติการเรือได้มาก มีขนาดประมาณ 2,000 ตันกรอส  มากน้อย ตาม ความยาวและ การกินน้ำลึกของเรือน้อยมาก

ประเภท บริการระหว่างเมืองท่า ใกล้ฝั่ง : ความเร็วสูงกว่า แต่อาจจะปรับแต่งให้ใช้แบบประหยัด มีที่สำหรับบรรทุกรถยนต์ที่ใช้บรรทุกสินค้าได้มากกว่า  มีขนาด ประมาณ 10,000 ตันกรอส

 

ตัวอย่าง ของเรือต้นแบบ

SIZE: 143m  (ยาวตลอดลำ)

YEAR AND BUILD: 1970/ REBUILT 95

LENGTH: 143m BEAM: 22m

DRAFT: Summer 5.53m ( กินน้ำลึก)

DISPLACEMENT: (DWT): 2750, displacement 5600 tons

(LTD): 6200

REGISTERED TONS: (GRT): 12,500 (NRT): 4400

DESIGNER: France

CLASSIFICATION: Class expired, Bureau Veritas I 3/3 E Deep Sea

MAIN ENGINE(S): 2 x Semt Pielstick 16 PC 2 V, 2 x 8000 BHP, 520 rpm…..Bore 400mm, stroke 460 mm

CARGO: 158 total cabins as follows: 622 passengers in 86 outside cabins and 27 inside cabins;

100 crew  in 11 officers cabins and 34 crew cabins;

LOCATION:

STATUS: Active

NOTES: Built to SOLAS 1960, Method 1, IMO Resolution A 122 (V) And French Regulation , Method II,

 

SPEED AND CONSUMPTION 

IN PORT: HFO - None,

MGO - 6 metric tons for 24 hours 

MANEUVERING SPEED: 12 knots 24 Tons/24 Hrs 

ECONOMICAL SPEED AT RPM: 15 knots 29 Tons/ 24 Hrs 

SERVICE SPEED AT RPM: 16 knots 32 Tons/ 24 Hrs 

FULL SPEED AT RPM: 18 knots 41 Tons/ 24 Hrs 

TANK CAPACITY 

HFO: 928 Cubic meters 

MGO: 225 Cubic meters 

L.O: 76 Cubic meters 

FRESH WATER: 191 Cubic meters

MAIN ENGINES: 2 x Semt Pielstick 16 PC 2 V, 2 x 8000 BHP, 520 rpm…..Bore 400mm, stroke 460 mm 

AUXILIARY ENGINES: 4 x Ruston 6 AP 22, 730 rpm, 755 bhp, 1970 

MAIN TURBINES: 4 x Brown Boverie Company (BBC) specification: VTR 400, Z 7 R. 541, II. 273 W3 

BOILERS: 2 x Aalbrg Boilers / 3.8 ton/hr, 7 bar 

EMERGENCY GENERATORS: 1 x VM-Scania DSI 1461, Marcelli M7 V 315 MB 4, 1500 rpm, 380 V, 50HZ, 280KVA, 42 

DIESEL GENERATORS: 4 x Jeumont-Schneider A 100 DS8 - 750 RPM, 660 KVA, 3 phase, 50HZ, 380 V, 954A 

1 x Volvo Penta D30AMS, 1500 RPM, 595 KW, 2001

1 x Stamford HCM634A, 1500 RPM,700 KVA, 3 phase, 50 Hz, 400V 

POWER SUPPLY: 380V, 50Hz…..220V, 50Hz…….110V, 50Hz 

CABIN/PUBLIC ROOMS ELLECTRICAL POWER: 220V 

FEED WATER GENERATORS: N/A 

AIR CONDITION PLANT: 2 x York MWSC 1998 - 2 x 800 KW Capacity 

PROPELLERS: 2 x Kamewa JMS Systemhydraulic - CPP with 4 blades 

RUDDER: 2 x Donkin Co. Ltd. PV - 1 Double acting hydraulic cylinder 

BOW-THRUSTER: 2 x Kamewa - 2 x 600HP 

STERNTHRUSTERS: None 

STABILIZERS: 2 x Cantiere Navqli del Tirreno e Riuniti Sperry Gyro Fin Stabilizers 

SEWAGE TREATMENT: 2 x Holding tanks with transfer pumps - 1 x format MSTP 8

PUBLIC ROOMS AND FACILITIES 

A la Carte Restaurant - 54 seats, 33 SQ/Meters // Self service Restaurant - 120 seats, 64 SQ/mrs

Lounge and Bar - 138 seats, 70 SQ/Meters // Cinema - 62 seats, 21SQ/meters

Duty free shop - 24 SQ/meters // Game Room/Multi Purpose - 20 SQ/meters

Gymnasium - 14 SQ/meters // He/She Sauna - 4 seats, 9 SQ/meters

Infirmary - 1 seat, 3 SQ/meters

Card room - 13 seats, 5 SQ/meters // Library - 7seats, 5 SQ/meters

Jaccuzzi - 2 x 6 -seats // Public Toilet rooms - 3 x 2 seats

Officer's messroom - 10 seats, 6 SQ/meters // Officer's dayroom - 10 seats, 6 SQ/meters

Crewmessroom 1 - 20 seats, 8 SQ/meters // Crewmessroom 2 - 12 seats, 5.5 SQ/meters

Crewmessroom 3 - 14 seats, 5.5 SQ/meters // Crew Day room - 16 seats, 8 SQ/Meters

Reception - 3 seats 

CARGO CAPACITY 

CARGO CAPACITY: 60 Trailer of 15 m or 250 cars 

LANE METERS: 942 m 

LANE WIDTH: 2.85 m 

AXEL LOAD: 8 tons 

FREE HEIGHT ON CAR DECK: 4.50 m 

BOW RAMP: length: 11.92 w/ flaps: 13.73 m Breadth: 3.00 m / Driving breadth: 2.90 m Clear Height: 4.50 m 

STERN RAMP: length: 4.30 m w/flaps: 5.47m Breadth: 7.72 m / Driving Breadth: 7.65 m Clear height: 4.50 m

 

เรื่องของ ตำบลที่ ที่จอดเรือรับ-ส่งตามจุดต่างๆ :

 ในแนวคิดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์  และประวัติความเป็นมาของการเดินเรือชายฝั่งในอดีต ประยุกต์กับการขนส่ง ทางบกที่พัฒนาขึ้นมากหลายเท่าตัว ใน ปัจจุบัน  แนวความคิดในการ ตั้งเส้นทางการเดินเรือในอ่าวไทยน่าจะเป็นในรูปของ การส่งเสริม การท่องเที่ยวที่มีรถติดตัวไปเที่ยว  ยัง สถานที่ท่องเที่ยวชายทะเล การพักแรม บนเกาะ  และ เพื่อการท่องเที่ยว ที่อาจจะประหยัดในการ สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ประหยัดเวลาในการเที่ยวเช่นเมื่อ ถึงเวลา กลางคืน อาจจะเป็นเวลาที่ นอนอยู่บนเรือเป็นต้น  และสามารถจัดเวลา กลางวันในการเดินทางให้ถึงที่ต้องการไปเที่ยวได้ หลาก หลาย  จากแนวคิดดังกล่าว จะทำให้ เกิด ความเป็นไปได้ ที่จะจัดให้เรือเดินสวนทางกันในลักษณะ WEST  BOUND  และ EAST BOUND  เช่น

 

WEST BOUND :  แหลมฉบัง  มาบตาพุต  เกาะช้าง  สมุย  สงขลา  ดอนศักดิ์  ชะอำ(หัวหิน)- แหลมฉบัง

 

EAST BOUND : แหลมฉบัง  ชะอำ(หัวหิน) – สมุย  สงขลา  - สมุย  เกาะช้าง  มาบตาพุต-แหลมฉบัง

 

ระยะทางระหว่างตำบลที่ :

เวลาเดินเรือปกติ  (12 น็อต)

 เวลาที่ใช้ในท่า

แหลมฉบัง   มาบตาพุต

80   ไมล์ - 6.6

1.5

มาบตาพุต   เกาะช้าง

80   ไมล์ - 6.6

1.0

เกาะช้าง      สมุย

200 ไมล์ - 16.6         

1.5

สมุย  - สงขลา

140  ไมล์ - 11.6

4.0 (VAR)

สงขลา - ดอนสักดิ์ (สมุย)

140 ไมล์ - 11.6

1.5

สมุย  - ชะอำ

200 ไมล์ - 16.6

1.5

ชะอำ(หัวหิน)  - แหลมฉบัง

60 ไมล์ - 5.0

 5.0

รวม

 74.6

 16.0

ระยะเวลาที่ใช้  ต่อเที่ยว

90.6  ชั่วโมง = 3 วัน 19 ชั่วโมง

 

 

TENTATIVE  SCHEDUE :

เรือ A.: EAST BOUND :

 

วันที่/เวลา  ถึง

ถึง/ ออกเรือ   จาก

ถึง    วัน/เวลา

วันที่/ เวลาออกเรือ

1 มีนาคม /0800

แหลมฉบัง

มาบตาพุต  1/มีค - 14.30

1 / มีค : 16.00

 

 

  เกาะช้าง    1 /มีค - 22.30

1/ มีค : 23.00

 

 

สมุย        2/มีค - 15.30

2/มีค  17.00

 

 

สงขลา     3/มีค - 0300

3 /มีค  0700

 

 

ดอนสักดิ์    3/มีค. - 18.30

3/ มีค   2000

 

 

ชะอำ      4/มีค - 12.30

4/ มีค   14.00

 

 

แหลมฉบัง   4/มีค - 19.00

 

4/ มีค    24.00

 

เรือ B : WEST BOUND :

 

วันที่/เวลา  ถึง

ถึง/ ออกเรือ   จาก

ถึง - วัน/เวลา

วันที่/ เวลาออกเรือ

2 มีนาคม / 0800

แหลม ฉบัง

ชะอำ - 2/มีค   13.00

 2 /มีค  14.30

 

 

สมุย - 3/มีค    07.00

3/มีค   08.30

 

 

สงขลา - 3/มีค    20.00

3/ มีค   24.00

 

 

สมุย - 4/มีค   11.30

 4 /มีค   13.00

 

 

เกาะช้าง - 5/มีค   05.30

5 / มีค   0700

 

 

มาบตาพุต - 5/มีค   13.30

5 /มีค   15.00

 

 

แหลมฉบัง - 5/มีค   21.30

6/มีค    02.30

    

 การจัดตารางการเดินเรือ โดยสังเขปที่ให้เห็น เพื่อเป็นแนวทางในการคำนวณหา จำนวนเที่ยวต่อปี( เฉลี่ย หลังจาก การจัดให้เรือได้เข้าอู่ และซ่อมทำแบบสมบูรณ์ ประมาณ ปีละ 90 เที่ยวต่อ ลำ)  และค่ารายได้ที่จะได้รับ  หากสามารถใช้เรือสมม  และจากการคิด คำนวณ อย่าง ไม่ละเอียดและข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์  ความเป็นไปได้ของโครงการขึ้นกับ ค่า  Break Even ที่ เรือจะต้องทำรายได้ ประมาณเที่ยวละ  1,000,000  บาท หรือ  25,000 ดอลล่าร์ สหรัฐ ต่อลำ( 6,600 เหรียญสหรัฐต่อวัน = Fixed + variable cost) ซึ่ง จะต้องนำมาสร้างโครงการ จากการสำรวจหาตัวเลขและความต้องการของบริการที่ ใกล้เคียงต่อไป  แต่แนวโน้มของความเป็นไปได้มีสูงมาก หากจะใช้เรือ 4 ลำ โดย เดินวนขวา-ซ้าย ด้านละสองลำ  ซึ่งช่วงเวลา ของเรือเข้าท่าแต่ละแห่งจะ พอเพียงต่อความต้องการ ความยืดหยุ่น และการเติบโตสำหรับเศรษฐกิจไทยในอนาคต

สำหรับตัวเลข 1,000,000 บาทต่อเที่ยวนั้น จากการประมาณการเบื้องต้นโดยตั้งสมมติฐานว่ามีคนขึ้น-ลงเรือตลอดทุกท่าเฉลี่ย 2,000 คน ต่อ  เที่ยว โดยมีผู้โดยสารขึ้นและลงตลอดทางโดยคิดค่าโดยสารเฉลี่ยคนละ 200-400 บาท และรายได้จากรถยนต์ และรถบรรทุก อีก  ประมาณ 200,000 บาท ต่อเที่ยว  รถเก๊งขนาดธรรมดา 500 บาท  หากขนาดใหญ่ก็เพิ่มตามส่วน ไม่เกิน 1,000บาท ส่วนรถบรรทุกที่อาจจะใช้เส้นทาง สงขลา- แหลมฉบัง อาจจะคิด ชุดละ 6,000-8,000 บาท ( เพื่อให้ มีราคาถูกกว่า การเดินทางมาเองทางถนน ซึ่งลดการสึกหรอและการใช้เชื้อเพลิง  ซึ่งเป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศในทางอ้อม) รวมถึงการจัดการด้านบริการต่างๆบนเรือ ก็สามารถ จัดหาเรือที่มี คุณลักษณะที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งคาดว่า เรือที่นำมาคิดเป็นต้นแบบนี้จะหาได้ในตลาดเรือเฟอร์รี่เก่า (แต่สภาพยังอยู่ในฐานะที่ใช้งานได้ ดังเรือต้นแบบ) ที่ราคาประมาณ 140ล้านบาท( 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สำหรับเรือยุโรป อายุ 30ปีดัดแปลง หรืออาจจะได้ราคาที่ต่ำกว่าหากเป็นเรือที่ต่อในญี่ปุ่น

การศึกษาเป็นเพียงการกรุยทางไปสู่ความฝันที่เป็นไปได้ของคนไทยในยุคต่อไปที่น่าคิดที่จะมีเรือแล่นรอบๆอ่าวไทย เสมือนที่เรามีเรือ ชายฝั่งแล่นไปยังปักษ์ไต้และเมืองท่าใกล้เคียงเช่นเรือ ภาณุรังษีในอดีต (หลังสงครามโลกครั้งที่สอง) หรือ เรือ อื่นๆแต่สมัยนั้นเป็นสมัยที่ เรือต้องแล่นเข้าแม่น้ำที่มีขีดจำกัดค่อนข้างสูง ในด้านการกินน้ำลึก และเวลาขึ้นลงของน้ำ   ตรงข้ามกับปัจจุบันที่ มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านท่าเรือที่สมบูรณ์แต่เหตุไฉนรัฐฯจึงไม่คิดแทรกแผนการดังที่วาดไว้ให้นี้บ้างเล่า เพราะ สามารถที่จะให้ประโยชน์ได้นานัปการทั้งด้านท่องเที่ยวและการประหยัด และการเพิ่มเส้นทางในการขนส่งที่อาจจะเรียกได้ว่าแบบราคาถูก  และปลอดภัยอีกทางหนึ่งด้วย เช่นท่านอาจจะพาครอบครัวที่มากกว่า  10 คน  ด้วยรถสว่นตัว สองคันขับไปลงเรือที่แหลมฉบังไปยัง สมุย-สงขลา-เกาะช้าง    และขับกลับจากมาบตาพุตหรือจะเลยไปสงขลาขับรถเล่นแถวปีนัง (มาเลเซีย)โดยไม่เหนื่อยและไม่เสียค่าน้ำมัน แพงและหากท่านจัดโปรแกรมให้ตรงกับเวลาเรือดีๆท่านจะไม่ต้องเสียค่าที่พักแรม เพราะใช้เวลาที่เรือแล่นในทะเลเป็นเวลาพักผ่อนไปด้วย อย่างมีความสุข

หากเป็นไปได้ คงไม่นานเกินรอที่คนไทยจะได้เที่ยวสนุกๆและจูงใจให้ชาวต่างชาติมาหาความสุขในประเทศไทยในยุคต่อไปได้ แบบไม่ยากนักเพราะจากการคำนวณคร่าวๆ สำหรับการลงทุนซื้อเรือ สี่ลำในระยะแรก  และควรจะมีเรือสำรองอีก หนึ่งลำไว้แทนเมื่อเรือลำใดลำหนึ่งต้องเข้ารับการซ่อมทำหรือจำเป็นต้องเข้าอู่ตามระยะเวลา การสร้างท่าเรือ และที่อำนวยความสะดวก สองท่าที่ชะอำและเกาะช้าง  ดอนศักดิ์ สงขลา  และถนนรอบเกาะ  คงประมาณ 10,000- 15,000 ล้านบาท ( US Dollar 250-375 Million)ซึ่งอยู่ในสภาวะที่น่าลงทุน และความน่าเป็นไปได้

 +++++++++ จบ ++++++++++

 


มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.Com - MarinerThai.Net

 

จำนวนผู้เข้าชมหน้านี้   10713

 Disclaimed: มารีนเนอร์ไทยดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการรับรองความถูกต้องในบทความ ข้อมูล เนื้อหา ภายในเว็บไซด์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ภาพ เสียง ซอฟแวร์ การเชื่อมโยง(ลิงค์) และ/หรือ บริการอื่นๆ และจะไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดในการใช้เนื้อหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้าน การค้า การกระทำ การคาดการณ์ พยากรณ์ การวิจัย และอื่นๆ ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลเฉพาะของท่านผู้เขียนแต่ละรายไป ตลอดจนข้อกำหนดทางด้านลิขสิทธิ์ กรณีที่ท่านส่งบทความที่มิได้ขออนุญาตต่อผู้ครองสิทธิ์แท้จริงนำมาลงไว้ภายในเว็บไซด์นี้

 

 
 

 

 

Nathalin Group TOP Engineering Group - UAV Thailand

หน้าแรกก | เว็บบอร์ดชาวเรือ | สารบัญเว็บไซด์ชาวเรือ | สมุดภาพเรือเดินทะเล | สนับสนุนเว็บเรา | ติดต่อเรา

© 2002 Mariner Thai Dot Com Mariner Thai Dot Net. All rights reserved - Web designed by .<nv>.

 MarinerThai.Com | MarinerThai.Net | MarinerThai.Org

Contact webmaster: | Organizer : CKN - Cyber Ket Network