ระบบรายงานตนอัตโนมัติ หรือ AIS- Automatic Indentification System
ระบบรายงานตนอัตโนมัติ หรือ AIS- Automatic Indentification System
ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2002 หรือ พ.ศ. 2545 องค์การทางทะเลของโลก หรือ IMO-International
Maritime Organization และประเทศภาคีสมาชิกได้กำหนดให้
เรือเดินทะเลขนาดตั้งแต่ 300
ตันกรอสขึ้นไป จะต้องเริ่มติดตั้งอุปกรณ์รายงานตนอัตโนมัติ หรือ AIS - Automatic
Identification System
หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า UAIS - Universal Automatic
Identification System เป็นระบบที่ทำงานด้วยการส่งกระจายข่าวผ่านสัญญาณวิทยุย่าน
VHF แบบอัตโนมัติต่อเนื่อง เพื่อแจ้งข้อมูลเรือของตนเองให้กับเครื่อง AIS อื่น ๆ
ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง หรือเครื่องสถานี AIS Base Station ที่ติดตั้ง ณ
สถานีชายฝั่งใกล้เคียงกับเรือได้รับทราบชื่อเรือ ตำแหน่งที่อยู่
สถานการณ์เดินทางได้ตลอดเวลา โดยมีจุดประสงค์หลัก
เพื่อช่วยให้มีความปลอดภัยในการเดินเรือมากยิ่งขึ้น
และเป็นส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมจราจรทางน้ำของระบบ VTS – Vessel
Traffic System ของสถานีชายฝั่งหรือสถานีควบคุมประจำท่าเรือต่างๆ
ในการตรวจตราเรือเดินทะเลทุกลำที่ติดตั้งเครื่อง AIS
ที่เดินทางอยู่ภายในบริเวณรับผิดชอบได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
ระบบของเครื่อง AIS เป็นการสื่อสารแบบ 4S System คือ Ship-to-Ship and
Ship-to-Shore identification and communication system (เรือกับเรือ และ
เรือกับสถานีชายฝั่ง)
การทำงานของเครื่อง AIS – Automatic Identification System ที่ติดตั้งประจำเรือ
เครื่อง AIS เป็นระบบกระจายข่าวด้วยเทคโนโลยี่พื้นฐานของ SOTDMA – Self Organizing
Time Division Multiple Access ซึ่งทำการส่งสัญญาณภายใต้คลื่นวิทยุย่าน VHF
Maritime Band ที่มีขีดความสามารถในการส่งข้อมูลดิจิตอลต่าง ๆ ของเรือ เช่น
ชื่อเรือ ตำแหน่งเรือในปัจจุบัน ทิศหัวเรือที่เดินทาง ขนาดของเรือ (ความยาว-ความกว้าง)
ประเภทของเรือ ระดับกินน้ำลึกของเรือ และข้อมูลของสินค้าอันตรายที่บรรทุกอยู่ (ถ้ามี)
จากเรือที่ติดตั้งเครื่อง AIS ไปยังสถานีชายฝั่งหรือเรืออื่นๆ ที่ติดตั้งเครื่อง
AIS ที่อยู่ใกล้เคียง โดยทำการส่งข้อความทวนซ้ำมากกว่า 1,000
ครั้งต่อนาทีและจะอัพเดทข้อมูลที่รับเข้าจากเรือลำอื่นตลอดเวลา
ระบบทำงานอัตโนมัติด้วยตนเอง ข้อมูลที่ถูกส่งออกจะไป
สามารถเชื่อมต่อเพื่อให้ปรากฏเป็นภาพสัญลักษณ์บนจอเรดาร์
หรือบนเครื่องแผนที่อิเลคทรอนิกส์ ECS หรือ ECDIS ของเรือที่อยู่ใกล้เคียงได้
สัญลักษณ์นี้จะบอกให้เรือทุกลำที่อยู่ในรัศมีของคลื่นวิทยุ VHF
ทราบตำบลที่อยู่และข้อมูลของเรือที่ติดตั้งเครื่อง AIS นั้นได้ตลอดเวลา
เพื่อการติดตามเฝ้าดูและระวังมิให้เกิดอุบัติเหตุชนกันกรณีที่ใช้เส้นทางร่วมกัน
หรือสวนทางกันเป็นต้น
รวมทั้งเป็นการบอกข้อมูลให้กับสถานีชายฝั่งหรือสถานีควบคุมประจำท่าเรือที่ติดตั้งระบบ
VTS เพื่อประกอบในการควบคุมการสัญจรของเรือในร่องน้ำ
หรือเรือขณะเข้าออกจากท่าเทียบเรือ
เครื่อง AIS สามารถแสดงให้เห็นเรือที่เรดาร์ไม่สามารถรับได้
เนื่องจากถูกบังโดยภูเขา
อุปกรณ์ของเครื่อง AIS ประกอบด้วย ภาคต่าง ๆ คือ ภาครับส่งวิทยุ ( 2 x VHF radio
data receiver, 1 x VHF radio data link transmitter, 1 x DSC Channel 70 receiver)
และ ภาครับสัญญาณ GPS – Global Positioning System หรือระบบหาตำบลที่โดยดาวเทียม
โดยภาครับส่งวิทยุและภาครับสัญญาณ GPS นี้จะอยู่ในเครื่องเดียวกัน
ต่อเชื่อมกับระบบประมวลผลคอมพิวเตอร์ควบคุมหรือชุดแผงควบคุม
ซึ่งจะเป็นตัวควบคุมการทำงานของระบบ อธิบายง่าย ๆ คือ เครื่อง GPS
จะทำการส่งค่าพิกัดตำบลที่ แลต/ลอง (Latitude / Longitude)
ให้กับภาคประมวลผลซึ่งจะรับค่านั้นมารวมกับข้อมูลต่าง ๆ
ที่ได้โปรแกรมบันทึกไว้ในฐานข้อมูลเช่น ชื่อเรือ เลขหมายประจำเรือ MMSI หรือ
Call-Sign ขนาดของเรือ สินค้าที่บรรทุก และทำการคำนวณหา ทิศของหัวเรือ
เส้นทางเดินเรือ
จากจุดที่ผ่านมาหรือข้อมูลที่เชื่อมต่อกับเครื่องช่วยในการเดินเรืออื่นๆ
แล้วส่งข้อมูลให้กับภาคส่งวิทยุ VHF ทำการส่งกระจายข่าวรูปแบบดิจิตอล DDL - Digital
data link ออกไปให้กับเรือที่ติดตั้งเครื่อง AIS ที่อยู่ภายในรัศมีของข่าย VHF
โดยรอบ ในเวลาเดียวกันเครื่อง AIS สามารถรับข้อมูลอัตโนมัติจากเรืออื่น ๆ
ที่ติดตั้งเครื่อง AIS และทำการแสดงค่าที่ได้รับนั้นบนจอภาพแผงควบคุมได้เช่นกัน
ข้อมูลที่ได้รับสามารถเชื่อมต่อและส่งออกให้กับเครื่องแผนที่อิเลคทรอนิกส์ (ECS
หรือ ECDIS) หรือเครื่องเรดาร์แบบ ARPA
ของเรือเพื่อใช้งานวางแผนเดินเรือร่วมกับเครื่อง AIS นี้ได้ด้วย
สำหรับพื้นที่ครอบคลุมในการส่งกระจายข่าวของเครื่อง AIS
ของแต่ละลำจะอยู่ในรัศมีของระยะคลื่น VHF ซึ่งขึ้นอยู่กับความสูงของเสาอากาศ
โดยปกติแล้วมีระยะครอบคลุมประมาณ 20 ไมล์ทะเลจากเครื่อง AIS
แสดงภาพจอของเครื่อง ECDIS ที่มีจุดของเป้า AIS
ปรากฏบนจอภาพเมื่อเชื่อมต่อกับเครื่อง AIS
สรุปได้ว่าเรือทุกลำที่อยู่ในภายในบริเวณพื้นที่ข่ายวิทยุ VHF สามารถ Plot
จุดเพื่อติดตามการเคลื่อนที่ของเรืออื่นๆ ใกล้เคียงได้จากเครื่อง ECS หรือ ECDIS
และในกรณีที่เรือนั้นไม่ได้ติดตั้งเครื่อง ECS หรือ ECDIS
ก็ยังสามารถติดตามได้จากจอภาพของเครื่องเรดาร์ได้ เครื่อง AIS
สามารถรับข้อมูลพิกัดเที่ยงตรงจากเรือที่อยู่ใกล้เคียงหรือสถานีชายฝั่งแบบ DGPS –
Differential Global Positioning System
เพื่อปรับเพิ่มความถูกต้องของพิกัดให้แม่นยำยิ่งขึ้น
ภาพแสดงจอภาพของเครื่อง AIS ที่ติดตั้งประจำเรือ โดยมีจุดเป้าของ AIS ปรากฏบนจอภาพ
คลื่นความถี่ของ AIS ตามมาตรฐานของ ITU กำหนดให้ใช้คลื่นความถี่ 161.975 MHz (ช่อง
87B) สำหรับ AIS ช่องที่ 1 และ 162.025 MHz (ช่อง 88B) สำหรับ AIS ช่องที่ 2
และขณะนี้มีบางประเทศกำลังวางแผนที่จะพัฒนาระบบ AIS ให้ส่งผ่านเครือข่ายของดาวเทียม
Inmarsat ในการรับส่งข้อมูลได้ด้วย
ระบบของ AIS ยังมีขีดความสามารถในการส่งข้อความสื่อสารในรูปแบบ Text Mode
หรือตัวอักษรดิจิตอลได้มากถึง 80 ตัวอักษรในเวลาเดียวกัน ในขณะที่เครื่อง AIS
ทำการรับส่งข้อมูลอัตโนมัตินั้น ตัวเครื่องเองไม่สามารถแสดงข้อความอะไรให้เห็นได้
จำเป็นต้องมีชุดแผงควบคุม (Keyboard Display Unit)
ซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานประจำเครื่องหรือติดตั้งเพิ่มเติมเครื่อง Computer
พร้อมโปรแกรม AIS Viewer เพื่อดูข้อความและเป้า AIS ปรากฏบนแผนที่แบบร่างได้
เครื่อง AIS สามารถเชื่อมต่อโดยรับส่งข้อมูลตามรูปแบบมาตรฐาน NMEA-0183
ระบบนำร่อง AIS - Automatic Identification System ประจำสถานีชายฝั่ง
สถานีควบคุมการจราจรทางน้ำ
VTS
สำหรับระบบ VTS (Vessel Traffic System)
หรือระบบควบคุมการจราจรทางน้ำที่นิยมติดตั้งและใช้งานท่าเรือทั่วโลก
เป็นเครื่องมือช่วยตรวจจับและเฝ้าติดตามการเคลื่อนที่ของเรือต่างๆ
ที่อยู่ภายในบริเวณปฏิบัติการของท่าเรือ สามารถทำงานได้ตลอด 24
ชั่วโมงทั้งเวลากลางวันและกลางคืน
ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาต้องอาศัยเครื่องมือตรวจจับเป้าจาก เครื่องเรดาร์ (Radar ARPA)
เครื่องวิทยุสอบฝ่าย (Direction Finder) หรือ เครื่องวิทยุติดตามตัว (Tracking
Unit) ในการจับเป้าและแสดงบนจอภาพของระบบ VTS และต้องให้ผู้ควบคุมระบบ (Operator)
สอบถามชื่อและรายละเอียดของเรือแต่ละลำเมื่อจับเป้านั้นได้บนจอภาพ
เนื่องจากระบบพื้นฐานของเดิมยังเป็นการสื่อสารแบบอานาล๊อก (Analog) อยู่
และมีรัศมีทำการอยู่ในระยะจำกัดภายในระยะหวังผลทำการของเครื่องเรดาร์แต่ละเครื่องเท่านั้น
เมื่อมีการนำเอาระบบ AIS – Automatic Identification System
ที่เป็นแบบดิจิตอลมาใช้งานติดตั้งบนเรือ และนำระบบ AIS มาเชื่อมต่อเข้ากับระบบ VTS
เดิมของท่าเรือ หรืออาจจัดตั้งเป็นสถานีลูกข่าย AIS Remote Site
เพื่อส่งข้อมูลให้กับสถานีควบคุม VTS
จะช่วยให้การตรวจสอบหรือค้นหาตำแหน่งของเรือที่ติดตั้งเครื่อง AIS
ที่อยู่ในรัศมีของสัญญาณ VHF ที่ครอบคลุมมากขึ้น ด้วยการรายงานแบบอัตโนมัติ
พร้อมชื่อและรายละเอียดของเรือปรากฏบนจอภาพโดยมิจำเป็นต้องสอบทวนถามทางข่ายวิทยุกับเรืออีกต่อไป
เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ VTS
เดิมที่ใช้เพียงเครื่องเรดาร์ในการสแกนหาตำแหน่งของเรือ
และช่วยขจัดปัญหาการทำงานของเครื่องเรดาร์เมื่อเกิดสภาพอากาศแปรปรวนที่ไม่สามารถจับภาพได้อีกด้วย
เครื่อง AIS Base Station สำหรับติดตั้งกับสถานีชายฝั่ง
ข้อมูลจากเครื่อง AIS ที่ออกกระจายข่าวส่งให้กับระบบ AIS Base Station
ของสถานีชายฝั่งจะมีรายละเอียดสมบูรณ์ครบเหมือนกับข้อมูลที่ส่งให้กับเครื่อง ECDIS
ของเรือทุกประการ เช่นข้อมูล ชื่อเรือ ตำแหน่งเรือปัจจุบัน เข็มเดินทาง
ขนาดความยาวเรือ ความกว้างเรือ ประเภทของเรือ กินน้ำลึก
ข้อมูลของสินค้าอันตรายที่บรรทุกอยู่ เป็นต้น ที่นอกเหนือจากนี้คือ
สถานีชายฝั่งหรือสถานีควบคุมประจำท่าเรือยังสามารถใช้โปรแกรม AIS Base Station
ที่ออกแบบสำหรับใช้ในควบคุมและติดตามสภาวะของเรือโดยเฉพาะ
ทำให้ทราบถึงตำแหน่งและข้อมูลสถานการณ์ทำงานของเรือแต่ละลำ
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารการเดินเรือให้แก่เรือที่ติดตั้งระบบ AIS
รวมทั้งการแจ้งเตือนสิ่งที่เป็นอันตรายต่อการเดินเรือในรูปแบบ Text Message
Transmissions
สามารถเฝ้าสังเกตการณ์ป้องกันภัยให้กับเรือทุกลำที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
และสามารถตรวจสอบการเคลื่อนที่ของเรือและทุ่นเครื่องหมายทางเรือต่าง ๆ
ที่ติดตั้งเครื่อง AIS A-to-N (Aids to Navigation)
ในบริเวณรัศมีทำการของระบบได้โดยอัตโนมัติตลอดเวลา
ระบบ AIS Base Station จะแสดงเป้าของเรือ AIS และเส้นทางเดินเรือของแต่ละภายในเขต
ระบบ AIS Base Station Monitoring System ที่ติดตั้งสถานีชายฝั่งหรือสถานีควบคุมประจำท่าเรือ มีแผนที่อิเล็กทรอนิกส์
(Electronic chart) ที่นิยมใช้กันทั่วโลก ช่วยในการแสดงผลเป็นแบบ C-MAP CM93/3
มาตรฐาน S - 57 ขององค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic
Organization) รองรับการแสดงผลของเป้า AIS
ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจและสั่งการให้กับเรือที่ติดตั้งเครื่อง AIS
ระบบมีการบันทึกฐานข้อมูลหรือที่เรียกว่า Database Server
ที่สามารถบันทึกข้อมูลเหตุการณ์ต่างๆ
ของเรือและทุ่นเครื่องหมายทางเรือลงในฐานข้อมูลโดยอัตโนมัติหรือโดยผู้ควบคุม
ประกอบด้วยข้อมูลดังนี้
- แฟ้มข้อมูลสถานะของการเดินเรือภายในเขต (Navigation Situation Database)
- แฟ้มปูมบันทึก (Logbook) เพื่อเก็บข้อความ (Text Massage)
ที่ใช้ในการรับส่งของสถานีควบคุมในเหตุการณ์ต่าง ๆ
ระหว่างสถานีกับเรือที่ติดตั้งเครื่อง AIS ได้ตลอดเวลา
- แฟ้มฐานข้อมูลของทุ่นเครื่องหมายทางเรือต่าง ๆ (AIS A-to-N Aids to Navigation)
- แฟ้มฐานข้อมูลและรายละเอียดเรือ (Ship Information)
- แฟ้มฐานข้อมูลเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่กำหนด (Special Areas)
โดยผู้ควบคุมระบบ
- แฟ้มฐานข้อมูลเส้นทางเดินเรือ (Route Database)
โดยจะเก็บบันทึกเส้นทางเดินเรือสำคัญซึ่งเรือส่วนใหญ่ใช้ในการสัญจรไปมาไว้
- แฟ้มฐานข้อมูลของผู้ใช้งานแต่ละคน (User Database)
เพื่อบันทึกการเข้าใช้งานและการตั้งค่าการใช้งานต่าง ๆ ของผู้ใช้งานแต่ละคน
(logging) ของระบบ AIS Base Station
- แฟ้มฐานข้อมูลแผนที่ (Chart Database)
เพื่อสะดวกในการเรียดใช้งานและเพิ่มเติมแผนที่ในภายหลัง
สถานีควบคุมประจำท่าเรือหรือหน่วยงานที่ควบคุมการจราจรทางน้ำยังสามารถเผยแพร่ข้อมูลสถานะของการเดินเรือที่ติดตั้งเครื่อง
AIS ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (WEB Server Interface) และอินทราเน็ต
ที่เชื่อมต่อกับแฟ้มฐานข้อมูลสถานะของการเดินเรือ (Navigational Situation Database
Server) ของระบบ AIS Base Station ได้ โดยทำการเผยแพร่ในรูปแบบ Webpage
ผ่านเว็บไซท์ของท่าเรือหรือหน่วยงานที่ควบคุมนั้นๆ
ซึ่งอาจมีระบบป้องกันควบคุมให้เฉพาะผู้ได้รับอนุญาตเท่านั้นจึงจะเข้าดูข้อมูลนี้ได้
หรือเปิดให้เข้าดูได้แบบสาธารณทั่วไป
ข้อกำหนดตามกฎ SOLAS ของ IMO และวันบังคับใช้สำหรับการติดตั้งเครื่อง AIS ประจำเรือ
จากมติที่ประชุมระหว่างหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเลของ IMO
(Conference of Contracting Governments to the International Convention for the
Safety of Life at Sea, 1974: 9 - 13 December 2002) เมื่อ 9 – 13 ธันวาคม 2002
กำหนดให้ติดตั้งระบบ AIS – Automatic Identification System
โดยแบ่งตามประเภทและขนาดของเรือ คือ เ
รือโดยสาร, เรือสินค้า (ขนาด 300
ตันกรอสขึ้นไป และเดินทางระหว่างประเทศ) และ เรือสินค้า (ขนาด 500 ตันกรอส
ขึ้นไปที่ไม่ได้เดินทางระหว่างประเทศ) ทุกลำ ต้องติดตั้งไม่ช้ากว่าการตรวจเรือ
(Survey for Safety Equipment) ครั้งแรกหลังวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ.
2004 และไม่เกิน 31
ธันวาคม ค.ศ. 2004