ระบบ GMDSS - Global Maritime Distress and Safety System
ระบบสื่อสารเพื่อ การป้องกันภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล
GMDSS - Global Maritime Distress and Safety System
ความเป็นมา
นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 เป็นต้นมา องค์การทางทะเลของโลก หรือ
IMO - International Maritime
Organization และมวลประเทศสมาชิก โดยการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับ
สหภาพโทรคมนาคมสากล หรือ ITU -
International Telecommunication Union กับคณะกรรมการบริหารความถี่วิทยุสากล
หรือ CCIR - International Radio
Consultative Committee กับอีกหน่วยงานสากลอื่น ๆ อาทิเช่น
องค์การอุตุนิยมวิทยาแห่งโลก หรือ
WMO -World Meteorological Organization , องค์การอุทกศาสตร์สากล หรือ
IHO - International
Hydrographic Organization , สถาบันการสื่อสารทางทะเลผ่านดาวเทียม หรือ
INMARSAT - International
Maritime Satellite Organization และระบบดาวเทียมร่วม
COSPAS-SARSAT
ได้ใช้ความพยายามร่วมกันเพื่อส่งเสริมระบบการสื่อสารที่ใช้ในการป้องกันความปลอดภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล
ซึ่งในที่สุดของผลการทำงานร่วมกัน
ได้ก่อให้เกิดข้อบังคับที่จะต้องส่งเสริมและบังคับใช้สำหรับ
ระบบขอความช่วยเหลือและป้องกันภัยทางทะเลทั่วโลก หรือ GMDSS - Global Maritime
Distress and Safety System ระหว่างปี ค.ศ. 1992 และ 1999.
บทความที่จะกล่าวต่อไปนี้
เป็นการรวบรวมสาระสำคัญ และอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ
ตลอดจนขอบเขตที่ได้รับการกำหนดบังคับใช้อย่างชัดเจนสำหรับระบบดังกล่าวนี้
โดยอ้างอิงตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล
ฉบับปี 1979 (International on Maritime Search and Rescue, 1979),
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยของชีวิตในทะเล SOLAS 1974 (The Convention
for the Safety Of Life At Sea, 1974, Amendment 1988) และ
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยของชีวิตในทะเลฉบับเพิ่มเติม SOLAS
Consolidated Edition, 1992 ที่ได้กำหนดให้เรือเดินทะเลทุกลำที่มีขนาด 300
ตันกรอส ขึ้นไป และ เรือโดยสารทุกลำ
เปลี่ยนระบบสื่อสารแจ้งเหตุอันตรายจากระบบเดิมมาใช้ระบบ GMDSS ก่อนวันที่ 1
กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 และ เรือทุกลำต้องปฏิบัติตามกฎข้อ 7.1.4 (ติดตั้ง Navtex
Receiver) และกฏข้อที่ 7.1.6 (ติดตั้ง Satellite Eprib) ก่อนวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ.
1993.
เหตุผลและความจำเป็น
การค้นหาเพื่อช่วยเหลือเรือ และ ผู้ประสบภัยทางทะเล ที่ผ่านมายังไม่มีหน่วยงานใด
ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการประสานงานโดยตรงอย่างต่อเนื่อง และ
ยังไม่มีการจัดตั้งเครือข่ายการสื่อสารอย่างเป็นระบบที่สามารถเฝ้ารับการเรียกแจ้งภัย
หรือ เตือนภัยให้แก่เรือได้ตลอดเวลา เมื่อเกิดภัยพิบัติอย่างใหญ่หลวงในทะเลขึ้นมา
จึงทำให้การเรียกแจ้งประสบภัยของเรือต่าง ๆ ไม่ประสบผลสำเร็จ
จนเกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินมาทุกครั้ง ดังนั้น องค์การทางทะเลของโลก
IMO จึงได้มีมติจัดตั้งระบบการสื่อสารเพื่อแจ้งอันตรายทางทะเลทั่วโลก หรือ GMDSS
โดยได้บังคับใช้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535)
และได้เว้นช่วงเวลาไว้ระยะหนึ่งเพื่อให้ประเทศสมาชิกต่างๆ ได้ปรับเปลี่ยนระบบมาใช้
ซึ่งนอกจากต้องให้เรือต่าง ๆ ที่เดินทางในทะเลต้องปรับเปลี่ยนจากระบบเดิมมาใช้ระบบ
GMDSS นี้แล้ว
หน่วยงานที่มีหน้าที่ให้บริการทางทะเลจะต้องทำการปรับเปลี่ยนระบบมาใช้ระบบ GMDSS
นี้ด้วยเช่นกัน
เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าวซึ่งจะสิ้นสุดระยะเวลาปรับเปลี่ยนระบบตั้งแต่วันที่
1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) เป็นต้นไป
องค์การทางทะเลของโลก IMO ได้กำหนดระบบสื่อสาร GMDSS
ด้วยพื้นฐานของเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน
เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดอุปกรณ์ที่จะต้องติดตั้งในเรือเดินทะเล
นั่นคือการสื่อสารผ่านดาวเทียม INMARSAT
และระบบวิทยุที่สามารถส่งรับข้อมูลแบบดิจิตอลได้
อุปกรณ์สื่อสารประจำเรือสำหรับระบบ GMDSS ประกอบด้วย
1. เครื่องวิทยุรับ-ส่งข่าย VHF ติดตั้งบนสะพานเดินเรือ ที่มีระบบ DSC
สำหรับช่องรับส่งที่ 70 (Channel 70) และมีระบบพื้นฐานในการติดต่อสำหรับช่องรับส่งMarine
Band ที่ 6, 13, 16
2. เครื่องวิทยุรับ-ส่งข่าย MF/HF ติดตั้งบนสะพานเดินเรือ ที่มีระบบ DSC
สำหรับช่องรับส่งที่ 2187.5 kHz. และมีระบบ Radiotelephony สำหรับช่องรับส่งที่
2182 kHz., 4207.5 kHz., 6312 kHz., 8414.5 kHz., 12577.0 kHz. และ 16804.5 kHz.
ตลอดจนภาครับประกาศข่าว NBDP
3. กระโจมส่งสัญญาณเรดาร์ (Radar Transponder) ย่านความถี่ 9 GHz. SART.จำนวน
2 ชุด สำหรับเรือขนาด 500 ตันกรอสขึ้นไป ติดตั้งกราบละหนึ่งชุด และ จำนวน 1 ชุด
สำหรับเรือขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส
เพื่อใช้ในการส่งสัญญาณบอกตำบลที่ของเรือช่วยชีวิต
ให้กับเรือกู้ภัยหรือเรือเดินทะเลใกล้เคียงทราบ
ขณะทำการค้นหาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสพภัยทางทะเล
4. เครื่องรับข่าวการเดินเรือและความปลอดภัยในทะเล (NAVTEX Receiver)
ในกรณีที่เรือลำนั้นอยู่ในพื้นที่ที่ให้บริการ NAVTEX
5. เครื่องสื่อสารผ่านดาวเทียม INMARSAT-C เพื่อรับข่าว EGC Receiver
ในกรณีที่เรือลำนั้นไม่อยู่ในพื้นที่ให้บริการ NAVTEX แต่อยู่ในพื้นที่ให้บริการ
INMARSAT
6. กระโจมส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม SATELLITE EPIRB.
มีขีดความสามารถส่งสัญญาณด้วยความถี่ 406 MHz. (COSPAS SARSAT)
ซึ่งต้องบันทึกข้อมูลเฉพาะของเรือที่ติดตั้งเพื่อการค้นหาจากแฟ้มฐานข้อมูลได้
7. เครื่องรับวิทยุเฝ้าฟังย่านความถี่ 2182 kHz R/T Watch Receiver
บังคับใช้จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 หรือตามประกาศของ IMO
8. เครื่องส่งสัญญาณเตือน (R/T Alarm Generator)
เพื่อแจ้งเหตุเมื่อรับสัญญาณในย่านความถี่ 2182 kHz. โดยส่งสัญญาณให้ทราบแบบ
Two-Tone Alarm.
9. เครื่องวิทยุรับ-ส่งข่าย VHF แบบมือถือตามกฎ GMDSS ประจำเรือช่วยชีวิต
มีคุณสมบัติกันน้ำและแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี เพื่อใช้ติดต่อกับเรือกู้ภัย หรือ
เรือเดินทะเลในบริเวณใกล้เคียงกับตำบลที่ของเรือช่วยชีวิตอยู่
การกำหนดแบ่งเขตพื้นที่สำหรับเรือเดินทะเลในการติดตั้งเครื่องมือสื่อสารระบบ GMDSS
1. ทะเลพื้นที่ A1(Sea Area A1):หมายถึงพื้นที่ทะเลภายในขอบเขตที่การรับ-ส่งวิทยุโทรศัพท์
VHF ของสถานีฝั่งอย่างน้อยหนึ่งสถานีครอบคลุมถึง ซึ่งสามารถรับ-ส่งสัญญาณ DSC
ได้อย่างต่อเนื่องตามที่กำหนดโดยรัฐบาลประเทศภาคี
Sea Area A-1 อยู่ภายในรัศมีของ VHF Range
Sea Area A-2 อยู่ภายในรัศมีของ MF Range
2. ทะเลพื้นที่ A2(Sea Area A2): หมายถึงพื้นที่นอกเขตทะเลพื้นที่ A1
แต่อยู่ภายในรัศมีของ การรับ-ส่งวิทยุโทรศัพท์ย่าน MF
ของสถานีฝั่งอย่างน้อยหนึ่งสถานีครอบคลุมถึง ซึ่งสามารถรับ-ส่ง สัญญาณ DSC
ได้อย่างต่อเนื่อง ตามที่กำหนดโดยรัฐบาลประเทศภาคี
Sea Area A-1 อยู่ภายในรัศมีของ Inmarsat Satellite Network
3. ทะเลพื้นที่ A3(Sea Area A3): หมายถึงพื้นที่นอกเหนือเขตทะเลพื้นที่ A1และ A2
และอยู่ภายในขอบเขตการทำงานของดาวเทียมประจำที่ Inmarsat ซึ่งสามารถรับ-ส่งสัญญาณ
DSC ได้ อย่างต่อเนื่อง
4. ทะเลพื้นที่ A4 (Sea Area A4): หมายถึงพื้นที่ที่เหลือนอกเหนือจากทะเลพื้นที่ A1
A2 และ A3
รายการและจำนวนของเครื่องมือสื่อสารระบบ GMDSS
ของเรือเดินทะเลในแต่ละพื้นที่ที่กำหนด
เรือเดินทะเลทุกลำที่อยู่ในทะเลพื้นที่ A1 (Sea Area A1) ระยะภายใน 30-40
ไมล์ทะเลจากฝั่ง.
1. เครื่องรับส่งวิทยุข่าย VHF พร้อมด้วยระบบ DSC จำนวน 1 เครื่อง
2. เครื่องรับข่าว NAVTEX Receiver จำนวน 1 เครื่อง
3. กระโจมส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม E.P.I.R.B จำนวน 1 เครื่อง
4. กระโจมส่งสัญญาณเรดาร์ Radar Transponder
• เรือขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส จำนวน 1 เครื่อง
• เรือขนาด 500 ตันกรอสขึ้นไป จำนวน 2 เครื่อง
5. เครื่องรับส่งวิทยุข่าย VHF กันน้ำได้แบบมือถือตามกฎ GMDSSจำนวน 3 เครื่อง
6. เครื่องรับวิทยุเฝ้าฟังย่านความถี่ 2182 kHz R/T Watch Receiver (บังคับติดตั้งจนถึงวันที่
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 หรือตามประกาศของ IMO) จำนวน 1 เครื่อง
เรือเดินทะเลทุกลำที่อยู่ในทะเลพื้นที่ A2 (Sea Area A2) ระยะภายใน 170-200
ไมล์ทะเลจากฝั่ง.
1. เครื่องรับส่งวิทยุข่าย VHF พร้อมด้วยระบบ DSC จำนวน 2 เครื่อง
2. เครื่องรับข่าว NAVTEX Receiver จำนวน 1 เครื่อง
3. กระโจมส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม E.P.I.R.B จำนวน 1 เครื่อง
4. กระโจมส่งสัญญาณเรดาร์ Radar Transponder
• เรือขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส จำนวน 1 เครื่อง
• เรือขนาด 500 ตันกรอสขึ้นไป จำนวน 2 เครื่อง
5. เครื่องรับส่งวิทยุข่าย VHF กันน้ำได้แบบมือถือตามกฎ GMDSS จำนวน 3 เครื่อง
6. เครื่องรับวิทยุเฝ้าฟังย่านความถี่ 2182 kHz R/T Watch Receiver (บังคับติดตั้งจนถึงวันที่
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 หรือตามประกาศของ IMO) จำนวน 1 เครื่อง
7. เครื่องส่งสัญญาณเตือน (R/T Alarm Generator) (บังคับติดตั้งจนถึงวันที่ 1
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 หรือตามประกาศของ IMO) จำนวน 1 เครื่อง
8. เครื่องรับส่งวิทยุข่าย MF พร้อมด้วยระบบ DSC และ NBDP (Telex) Functions จำนวน
1 เครื่อง
เรือเดินทะเลทุกลำที่อยู่ในทะเลพื้นที่ A3 (Sea Area A3) พื้นที่ทะเลทั่วโลก
ที่อยู่ในข่ายให้บริการของดาวเทียม INMARSAT
1. เครื่องรับส่งวิทยุข่าย VHF พร้อมด้วยระบบ DSC จำนวน 2 เครื่อง
2. เครื่องรับข่าว NAVTEX Receiver จำนวน 1 เครื่อง
3. กระโจมส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม E.P.I.R.B จำนวน 1 เครื่อง
4. กระโจมส่งสัญญาณเรดาร์ Radar Transponder
• เรือขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส จำนวน 1 เครื่อง
• เรือขนาด 500 ตันกรอสขึ้นไป จำนวน 2 เครื่อง
5. เครื่องรับส่งวิทยุข่าย VHF กันน้ำได้แบบมือถือตามกฎ GMDSSจำนวน 3 เครื่อง
6. เครื่องรับวิทยุเฝ้าฟังย่านความถี่ 2182 kHz R/T Watch Receiver (บังคับติดตั้งจนถึงวันที่
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 หรือตามประกาศของ IMO) จำนวน 1 เครื่อง
7. เครื่องส่งสัญญาณเตือน (R/T Alarm Generator) (บังคับติดตั้งจนถึงวันที่ 1
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 หรือตามประกาศของ IMO) จำนวน 1 เครื่อง
8. เครื่องรับส่งวิทยุข่าย MF พร้อมด้วยระบบ DSC และ NBDP (Telex) Functions
และเครื่องพิมพ์ข่าวพร้อม Modem จำนวน 1 เครื่อง
9. เครื่องรับข่าว MSI (Marine Safety Information) หรือ EGC receiver ข่าย HF (อาจติดตั้งรวมอยู่ในข้อ
8) จำนวน 1 เครื่อง
10. เครื่องสื่อสารผ่านดาวเทียม INMARSAT -C จำนวน 1 เครื่อง
เรือเดินทะเลทุกลำที่อยู่ในทะเลพื้นที่ A4 (Sea Area A4)
พื้นที่ทะเลทั่วโลกนอกเหนือจาก A1, A2 และ A3.
1. เครื่องรับส่งวิทยุข่าย VHF พร้อมด้วยระบบ DSC จำนวน 2 เครื่อง
2. เครื่องรับข่าว NAVTEX Receiver จำนวน 1 เครื่อง
3. กระโจมส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม E.P.I.R.B จำนวน 1 เครื่อง
4. กระโจมส่งสัญญาณเรดาร์ Radar Transponder
• เรือขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส จำนวน 1 เครื่อง
• เรือขนาด 500 ตันกรอสขึ้นไป จำนวน 2 เครื่อง
5. เครื่องรับส่งวิทยุข่าย VHF กันน้ำได้แบบมือถือตามกฎ GMDSS จำนวน 3 เครื่อง
6. เครื่องรับวิทยุเฝ้าฟังย่านความถี่ 2182 kHz R/T Watch Receiver (บังคับติดตั้งจนถึงวันที่
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 หรือตามประกาศของ IMO) จำนวน 1 เครื่อง
7. เครื่องส่งสัญญาณเตือน (R/T Alarm Generator) (บังคับติดตั้งจนถึงวันที่ 1
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 หรือตามประกาศของ IMO) จำนวน 1 เครื่อง
8. เครื่องรับส่งวิทยุข่าย MF พร้อมด้วยระบบ DSC และ NBDP (Telex) Functions
และเครื่องพิมพ์ข่าวพร้อม Modem จำนวน 2 เครื่อง
9. เครื่องรับข่าว MSI (Marine Safety Information) หรือ EGC receiver ข่าย HF (อาจติดตั้งรวมอยู่ในข้อ
8) จำนวน 2 เครื่อง
รายการที่เรือต้องเตรียมไว้ให้เจ้าหน้าที่ PORTSTATE หรือ SURVEYOR ตรวจ (สำหรับอุปกรณ์
GMDSS)
1. เอกสารประจำเรือ
1.1 สำเนาใบประกาศนียบัตรพนักงาน GOC
1.2 ใบอนุญาตใช้เรือ
1.3 รายละเอียดของเรือ SHIP PARTICULAR
1.4 สำเนาใบ Ship Safety Radio Certificate ที่ยังไม่หมดอายุ
1.5 สำเนาเอกสาร Shore Base Maintenance Agreement
ระหว่างเจ้าของเรือกับบริษัทผู้แทนขายเครื่อง GMDSS
และต้องมีใบรับรองการทดสอบเครื่อง EPIRB เป็นประจำทุกปี ตามข้อกำหนดของ SOLAS (Safety
Of Life At Sea) วรรคตอนใหม่ในกฎข้อ 15 (ข้อกำหนดในการบำรุงรักษา)
ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2002 (IMO MSC/Cric.1040 Ref. T2/6.01
(28 May 2002) Guidelines on Annual Testing of 406 MHz Satellite EPIRBs)
ทดสอบโดยสถานีบริการ (Service Station) และทำการบันทึกผลการทดสอบไว้ใน Shore-Based
Maintenance Report
1.6 คู่มือการใช้งานของอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดต้องเก็บไว้บนสะพานเดินเรือ
1.7 คู่มือของ Coast Earth Station ของ Radio และ INMARSAT
ต้องเก็บไว้บนสะพานเดินเรือ (คู่มือการให้บริการของสถานีชายฝั่งของแต่ละประเทศ)
1.8 บรรณสารการเดินเรือ อื่น ๆ
2.
เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ต่าง ๆ
2.1 Satellite E.P.I.R.B. 406 MHz. จำนวน 1 เครื่อง ต้องสามารถอ่าน Data
ของเครื่องโดยใช้เครื่องอ่าน Decoder ได้ตรงกับชื่อเรือ, แบตเตอรี่ และ ชุด
Hydrostatic Release ต้องไม่หมดอายุใช้งาน
2.2 SART Radar Transponder จำนวน 1 ชุดสำหรับเรือขนาด 300 – 500 ตันกรอส และจำนวน
2 ชุดสำหรับเรือขนาด 500 ตันกรอสขึ้นไป แบตเตอรี่ต้องไม่หมดอายุใช้งาน
2.3 Two-Way GMDSS Radio Apparatus จำนวน 3 ชุด (จะต้องมี แท่นชาร์ตแบตเตอรี่,
แบตเตอรี่ NiCad, และ Emergency Lithium Battery
ที่ยังไม่หมดอายุใช้งานและต้องไม่แกะ Packing ใช้งาน)
2.4 วิทยุ VHF และ VHF DSC ต้องใช้งานได้ และโปรแกรม MMSI ของเรือไว้แล้ว จำนวน 1
เครื่องสำหรับเรือในเขต A1 และจำนวน 2 เครื่องสำหรับเรือเดินในเขต A2 และ A3
2.5 วิทยุ MF/HF SSB และ MF/HF DSC ต้องใช้งานได้ และโปรแกรม MMSI ของเรือไว้แล้ว
จำนวน 1 เครื่องสำหรับเรือในเขต A2 และ A3
2.6 Radio Telex NBDP จำนวน 1 เครื่องสำหรับเรือในเขต A3 ต้องใช้งานได้และโปรแกรม
MMSI ของเรือไว้แล้ว
2.7 เครื่อง INMARSAT-C จำนวน 1 เครื่องสำหรับเรือในเขต A3 ต้องใช้งานได้และโปรแกรม
INM NO. ไว้แล้ว (กรณีที่เรือในเขต A3 ลำใดไม่ได้ติดตั้งเครื่อง Radio Telex NBDP
ตามข้อ 2.6 ไว้ ต้องติดตั้งเครื่อง INMARSAT-C จำนวน 2 เครื่อง)
2.8 เครื่องรับข่าว NAVTEX ต้องใช้งานได้ และมีกระดาษสำรองเพียงพอในการใช้งาน
3. ระบบ Power
Supply ตามกฎของ SOLAS
3.1 อุปกรณ์สื่อสารติดตั้งประจำที่ทุกชนิด จะต้องมีแหล่งจ่ายไฟได้ทั้ง Main Source
Electrical Power (แหล่งจ่ายไฟหลักจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของเรือ) และ Reserve
Source from Battery (แหล่งจ่ายไฟสำรองจากแบตเตอรี่) หรือจาก Main Source
Electrical Power (แหล่งจ่ายไฟหลักจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของเรือ) และ Emergency
Source of Electric Power (แหล่งจ่ายไฟสำรองจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉิน)
3.2 อุปกรณ์สื่อสารติดตั้งประจำที่ทุกชนิด จะต้องมี Emergency Light
ติดตั้งไว้ด้วยกรณีไฟดับ
3.3 จะต้องมีระบบ Battery Charger
เพียงพอสำหรับชาร์ตแบตเตอรี่สำรองใช้งานเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดในเรือ