กล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง VDR Voyage Data Recorders
กล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง VDR Voyage Data Recorders
กล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง VDR
หรือกล่องดำ เป็นอุปกรณ์ที่ทางองค์การทะเลโลก
(IMO - International Maritime Organization) ได้ประกาศให้
เรือโดยสารทุกลำ
และเรืออื่นๆ ที่มีขนาดตั้งแต่ 3000 ตันกรอสขึ้นไป
และสร้างเสร็จหลังจากวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545)
จะต้องติดตั้งกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง voyage data recorders (VDRs)
เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ตรวจสอบอุบัติเหตุ ภายใต้กฎข้อบังคับที่ประกาศเมื่อปี ค.ศ.
2000 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545)
กฎข้อบังคับตามอนุสัญญานี้ถูกบรรจุอยู่ในบทที่ 5 ความปลอดภัยในการเดินเรือ
ของอนุสัญญาเพื่อความปลอดภัยในทะเล ปี ค.ศ. 1974 [Chapter V on Safety of
Navigation of the International Convention for the Safety of Life at Sea, 1974 (SOLAS)]
มีลักษณะคล้ายกับกล่องดำ (Black Boxes) บันทึกข้อมูลการบินที่ติดตั้งกับเครื่องบิน
ซึ่งกล่อง VDR
จะช่วยให้วิเคราะห์ตรวจสอบสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้ว่าการเดินเรือก่อนการอุบัติเหตุได้กระทำตามขั้นตอนและคำสั่งที่ระบุไว้ในคู่มือปฏิบัติหรือไม่
และช่วยในการบ่งชี้สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น
ข้อบังคับในการติดตั้ง
กล่องบันทึกข้อมูลการเดินทางVoyage Data Recorders [VDR]
ตามกฎข้อบังคับที่ 20
ของ SOLAS บทที่ 5 กล่องบันทึกข้อมูลการเดินทางVoyage Data Recorders (VDR)
กำหนดให้เรือต่อไปนี้จำเป็นต้องติดตั้งกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทางVoyage Data
Recorders [VDR];
-
เรือโดยสาร
ที่สร้างหลังวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) ต้องติดตั้งหลังวันที่ 1
กรกฎาคม ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545)
-
เรือขนถ่ายและโดยสารแบบ Ro-Ro ที่สร้างก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545)
ต้องติดตั้งไม่ช้ากว่าการตรวจเรือ (first survey) ครั้งแรกหลังวันที่ 1 กรกฎาคม
ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545)
- เรือโดยสารอื่นๆ
ที่ไม่ใช่เรือขนถ่ายและโดยสารแบบ Ro-Ro ที่สร้างก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2002
(พ.ศ. 2545) ต้องติดตั้งไม่ช้ากว่าการตรวจเรือ (first survey) ครั้งแรกหลังวันที่ 1
กรกฎาคม ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547)
- เรืออื่นๆ
นอกเหนือจากเรือโดยสารที่มีขนาด 3000 ตันกรอสขึ้นไปที่สร้างหลังวันที่ 1 กรกฎาคม
ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) ต้องติดตั้งหลังวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545)
มาตรฐานที่ต้องการสำหรับกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทางVoyage Data Recorders [VDR]
ที่ติดตั้งต้องเป็นไปตามperformance standards "not inferior to those adopted by
the Organization" ดังนี้
มาตรฐานของ VDR
ที่กำหนดเมื่อปี ค.ศ. 1997
ได้ให้รายละเอียดของข้อมูลที่จะต้องถูกบันทึกและคุณสมบัติของกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง
VDR
ที่ต้องบันทึกเหตุการณ์อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาโดยเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หลักที่ใช้ในระบบเดินเรือทั้งหมดของเรือที่กำหนดไว้
รวมทั้งคำสั่งการหรือการติดต่อสื่อสารทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนสะพานเดินเรือ
ตัวกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง VDR จะต้องถูกเก็บไว้ในแคปซูล (protective capsule)
ที่ได้รับการป้องกันภัยจากภายนอกได้เป็นอย่างดี มีสีที่สว่างเห็นได้เด่นชัด
ติดตั้งในบริเวณที่เหมาะสมในการเก็บกู้ได้สะดวก
และต้องทำงานอัตโนมัติต่อเนื่องในภาวการณ์ปกติได้
รัฐแต่ละประเทศเป็นผู้กำหนดข้อยกเว้นในการติดตั้ง VDR ให้กับเรือต่างๆ
นอกเหนือจากเรือขนถ่ายและโดยสารแบบ Ro-Ro ที่สร้างก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2002
(พ.ศ. 2545) ซึ่งสามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าการเชื่อมต่อกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง
VDR กับระบบเดิมของเรือนั้นไม่สมเหตุผลและไม่สามารถกระทำได้
ข้อบังคับที่ 18 ของ
SOLAS บทที่ 5 การอนุมติ การตรวจเรือ
และมาตรฐานของระบบเครื่องมือการเดินเรือและอุปกรณ์ และกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง
VDR ได้กำหนดไว้ดังนี้
ระบบกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง VDR รวมถึงตัวตรวจจับ (Sensors)
ทั้งหมดจะต้องได้รับการทดสอบระบบเป็นประจำทุกปี
การทดสอบต้องดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ทดสอบและบริการแล้ว
เพื่อความถูกต้องของข้อมูลในช่วงเวลาที่ได้ทำการบันทึกข้อมูลไว้
อีกทั้งต้องดำเนินการตรวจสอบและทดสอบกล่องบรรจุ (Protective enclosure)
และอุปกรณ์ติดตั้งของกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง VDR
ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้ตลอดเวลา สำเนาของใบรับรอง (certificate of compliance)
ที่ออกหลังจากที่ได้ทำการทดสอบในวันที่ทำการทดสอบครั้งล่าสุดจะต้องเก็บไว้ที่เรือ
กล่องบันทึกข้อมูลการเดินทางพื้นฐาน (Simplified VDR หรือ S-VDR)
จากมติที่ประชุมของคณะกรรมการเพื่อความปลอดภัยทางทะเลหรือ MSC ครั้งที่ 79
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2004 ได้แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับที่ 20 ของ SOLAS บทที่ 5 (ความปลอดภัยในการเดินเรือ)
สำหรับประโยคความต้องการในการติดตั้งสำหรับ กล่องบันทึกข้อมูลการเดินทางพื้นฐาน (shipborne
simplified voyage data recorder [S-VDR]) และกำหนดให้ใช้บังคับในวันที่ 1 กรกฎาคม
ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549)
ในข้อกำหนดความต้องการสำหรับกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง VDR
ซึ่งสามารถทดแทนด้วยการติดตั้งกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทางพื้นฐาน (Simplified VDR
หรือ S-VDR) ได้สำหรับเรือสินค้าเก่าที่มีขนาด 3,000 ตันกรอสขึ้นไป
โดยให้เริ่มบังคับใช้กับเรือสินค้าที่มีขนาดตั้งแต่ 20,000 ตันกรอสขึ้นไปก่อน
แล้วตามด้วยเรือสินค้าที่มีขนาด 3,000 ตันกรอสขึ้นไปที่เหลือทั้งหมด
กล่องบันทึกข้อมูลการเดินทางพื้นฐาน (S-VDR)
ไม่ต้องการการเก็บบันทึกข้อมูลในระดับเดียวกันกับกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง VDR
แต่จะต้องมีข้อมูลบันทึกเก็บไว้อย่างน้อยคือ พิกัดตำบลที่ของเรือ,
การขับเคลื่อนเรือ, สภาวะแวดล้อม, การสั่งการและควบคุมเรือ
ในช่วงก่อนและหลังเกิดอุบัติเหตุ
การเปลี่ยนแปลงได้กำหนดไว้ดังนี้:
เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ตรวจสอบอุบัติเหตุสำหรับ
เรือสินค้าต่างที่เดินทางระหว่างประเทศ จะต้องติดตั้งกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง
VDR ซึ่งอาจทดแทนโดยติดตั้งกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทางพื้นฐาน (S-VDR) ดังต่อไปนี้
-
กรณีเรือสินค้าที่มีขนาด 20,000 ตันกรอสขึ้นไป ที่สร้างก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ.
2002 (พ.ศ. 2545) ต้องติดตั้งไม่ช้ากว่าการเข้าอู่เรือ (dry-docking)
ครั้งแรกหลังวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) และไม่เกินกว่าวันที่ 1
กรกฎาคม ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552)
-
กรณีเรือสินค้าที่มีขนาด 3,000 ตันกรอสขึ้นไปแต่น้อยกว่า 20,000 ตันกรอส
ที่สร้างก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545)
ต้องติดตั้งไม่ช้ากว่าการเข้าอู่เรือ (dry-docking) ครั้งแรกหลังวันที่ 1 กรกฎาคม
ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) และไม่เกินกว่าวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553)
และรัฐแต่ละประเทศเป็นผู้กำหนดข้อยกเว้นในการติดตั้งสำหรับเรือสินค้าที่ได้แจ้งความจำนงขอเลิกใช้เรือภายใน
2 ปีนับตั้งแต่วันที่บังคับให้ติดตั้งข้างต้นนี้ได้
การติดตั้งกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง VDR
ตามกฎข้อบังคับของ
SOLAS กำหนดให้ติดตั้งกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง VDR
เพื่อบันทึกข้อมูลในการเดินเรือต่างๆ
ในช่วงเวลาก่อนประสบอุบัติเหตุและหลังประสบอุบัติเหตุ
ด้วยข้อมูลจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้เดิมบนเรือเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ อาทิเช่น
พิกัดตำบลที่ของเรือ, การขับเคลื่อนเรือ, สภาวะแวดล้อมโดยรอบเรือ (กระแสลม กระแสน้ำ
ความลึกน้ำ), การสั่งการและควบคุมบนสะพานเดินเรือ, การสั่งเครื่องจักร,
การบังคับหางเสือ และระบบสัญญาณเตือน เป็นต้น
ข้อมูลที่บันทึกไว้ในกล่องดำจะถูกนำมาใช้ในการพิจารณาถึงสาเหตุของการประสบอุบัติเหตุโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและเจ้าของเรือ
ระบบกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง VDR
จะต้องบันทึกเหตุการณ์อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาโดยเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หลักที่ใช้ในระบบการเดินเรือทั้งหมดของเรือที่กำหนดไว้
รวมทั้งการสนทนาและคำสั่งการบนสะพานเดินเรือ หรือการติดต่อวิทยุสื่อสารทั้งหมด
ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในกล่องดำหรือกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง VDR
นี้จะต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ต่อไปนี้
•
วันและเวลาที่ทำการบันทึกข้อมูล
•
ตำบลพิกัดที่เรืออยู่หรือเดินทางในขณะบันทึกข้อมูล
•
ความเร็วเรือที่วัดได้จากเครื่องวัดความเร็วเรือขณะนั้น
• ทิศของหัวเรือ
ซึ่งบอกโดยเข็มทิศหรือเข็มไยโรของเรือ
•
การสนทนาบนสะพานเดินเรือและการสื่อสารระหว่างเรือกับเรืออื่น หรือกับสถานีชายฝั่ง
• ข้อมูลจากจอเรดาร์
บันทึกโดยตรงจากจอภาพเรดาร์หลักของเรือ
•
ข้อมูลความลึกน้ำจากเครื่องหยั่งน้ำ
•
บันทึกข้อมูลจากระบบเตือนภัยประจำเรือ
•
สภาวะของหางเสือและผลที่กระทำต่อหางเสือ
•
การสั่งเครื่องจักรและผลที่เกิดขึ้นของเครื่องจักรใหญ่ของเรือ
•
สภาวะอากาศภายนอกตัวเรือ (อุณหภูมิ ความชื้นอากาศ ความกดอากาศ)
•
สถานะของฝากั้นผนึกน้ำและประตูหนีไฟ
•
บันทึกแรงกดดันของตัวเรือ
•
ความเร็วและทิศทางของลม ที่วัดได้จากเครื่องวัดความเร็วลมของเรือ
อุปกรณ์ของระบบกล่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง VDR ประกอบด้วยเครื่องประมวลผลกลางหรือ
ที่เชื่อมต่อไปยังตัว Sensor ของระบบต่าง ๆ ภายในเรือ อาทิเช่นเครื่องจักรใหญ่
เครื่องวัดความเร็วเรือ เครื่องวัดความเร็วลม เครื่องเรดาร์ เข็มทิศไยโร
เครื่องถือท้าย เครื่องบันทึกเสียงบนสะพานเดินเรือ และ เครื่องวัดสภาพอากาศ เป็นต้น
เพื่อคอยเก็บบันทึกข้อมูลที่ได้รับแล้วประมวลผลข้อมูลทั้งหมดไปเก็บไว้ที่ชุด FRM -
Final Recording Medium หรือกล่องดำ
แผนผังแสดงการทำงานของระบบ VDR – Voyage Data Recorder System
ตัวอย่างการเชื่อมต่อของระบบ S-VDR กับอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้แล้วบนเรือ