สัญญาณเสียงและสัญญาณแสง สิ่งจำเป็นในการเดินเรือ
สัญญาณเสียงและสัญญาณแสง สิ่งจำเป็นในการเดินเรือ
และขอความช่วยเหลือ
หวูดเรือ ไซเร็น ระฆัง ฆ้อง เป็นสัญญาณเสียง ในการเดินเรือ
บอกทางเดินเรือ ในกรณีที่เรือเข้าที่คับขันมีหมอก เรียกคนประจำเรือลง
เรือสินค้าโดยสารใช้เรียกคนโดยสารให้ทราบว่าเรือเตรียมเดินทางและเป็นการทดลองหวูดด้วย
เป็นต้น และใช้ในกรณีพิเศษ เช่น
แสดงความยินดีต้อนรับผู้มีเกรียติหรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จผ่าน
หรือในพิธีปล่อยเรือลงน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นสัญญาณภัยทางอากาศอีกด้วย
ไซเร็น หวูด ที่แจ้งสัญญาณอันตราย
หรือหวูดที่ใช้สำหรับสัญญาณเวลามีหมอก ได้ชื่อมาจากเทพธิดาในนิยายโบราณของกรีกชื่อ
ไซเร็น ( SIRENS)
ซึ่งเป็นพวกที่มีความงดงามมากแต่ก็มีความโหดเหี้ยมปานกัน
พวกเธอใช้เสียงอันมหัศจรรย์ของเธอล่อให้ชาวเรือไปหาแล้วก็ฆ่าเสีย แต่วีรบุรุษหนุ่ม
ยูลิซิส ( ULYSSES)
ก็ยังสามารถเอาชนะได้ โดยการมัดตัวเองไว้กับเสากระโดงเรือ
และให้พวกลูกเรือของเขาอุดหูเสียจนไม่ได้ยินเสียอะไร
และกระเชียงเรือผ่านย่านอันตรายไปอย่างปลอดภัย
หวูดเรือ ( Whistle)
– เครื่องทำสัญญาณเสียงใดๆ
ที่สามารถทำเสียงหวูดได้ ตามที่บังคับไว้และต้องเป็นไปตามภาคผนวก 3
ของพระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ. 2522
ขนาดความยาวของเรือ
(Metres)
ความถี่ของเสียงสัญญาณ
(Hz)
ระยะการได้ยิน
(Nm)
200 or more
75 but less than 200
20 but less than 75
Less than 20
70 – 200
130 – 350
250 – 750
250 – 750
2
1.5
1
0.5
ตำบลที่ติดตั้งของหวูด
( Positioning
of whistle)
เรือที่ใช้หวูดเพียงหวูดเดียว
ทิศทางของเสียงที่ดังที่สุดต้องไปทางด้านหน้าของเรือ
ต้องติดตั้งให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้
ความดังเสียงที่ได้ยินในเรือต้องไม่เกิน 110 dB
เรือที่ใช้หวูดมากกว่าหนึ่งหวูด
ติดตั้งหวูดห่างกันมากกว่า 100 เมตร
หวูดต้องไม่ดังขึ้นพร้อมกันต่อการเปิด 1 ครั้ง
หวูดที่ทำงานร่วมกัน
ต้องติดตั้งห่างกันไม่เกิน 100 เมตร
ต้องให้เสียงดังพร้อมกัน
เสียงต้องแตกต่างกับหวูดอื่นอย่างน้อย 10 Hz
บทนิยาม
(Definitions )
หวูดสั้น (Short
blast) – เสียงหวูดที่มีระยะเสียงประมาณ 1 วินาที
หวู ดยาว (Long
blast) – เสียงหวูดที่มีระยะเสียงประมาณ 4 - 6 วินาที
อุปกรณ์เสริมสำหรับสัญญาณเสียง
(Equipment for Second Signals)
เรือที่มีขนาดความยาวตั้งแต่
12 เมตร ขึ้นไป
หวูด 1 เครื่อง
เรือที่มีขนาดความยาวตั้งแต่
20 เมตร ขึ้นไป
หวูด 1 เครื่อง, ระฆัง 1 ใบ
เรือที่มีขนาดความยาวตั้งแต่
100 เมตร ขึ้นไป
หวูด 1 เครื่อง, ระฆัง 1 ใบ, ฆ้อง 1 ใบ
เสียงของฆ้องต้องไม่ทำให้สับสนกับระฆัง
เรือที่มีขนาดความยาวไม่ถึง
12 เมตร ไม่บังคับให้มีเครื่องทำสัญญาณตามที่ได้ กล่าวมา
แต่ต้องมีวิธีการทำสัญญาณเสียงอย่างมีประสิทธิภาพ
ระ ฆัง
หรือ ฆ้อง (Bell or Gong)
ต้องสามารถทำเสียงระดับความดังได้ไม่ต่ำกว่า
110 dB ในระยะ 1 เมตร
ระฆังและฆ้อง ต้องทำมาจากวัสดุที่ไม่เป็นสนิม มีเสียงดังชัดเจน
ขนาดของระฆัง
เรือที่มีความยาวตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป
เส้นผ่านศูนย์กลางต้องไม่น้อยกว่า 300 มม.
เรือที่มีความยาว 12 เมตร แต่ไม่เกิน
20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางต้องไม่ น้อยกว่า
200 มม.
การตีระฆัง ต้องตีให้น้ำหนักสม่ำเสมอ
สัญญาณแสดงการบังคับการเดินเรือและสัญญาณเตือน (Maneuvering and Warning Signal)
การแสดงสัญญาณเพื่อ การบังคับการเดินเรือ
สัญญาณหวูด
สัญญาณแสง
ความหมาย
หวูดสั้น 1 ครั้ง
หวูดสั้น 2 ครั้ง
หวูดสั้น 3 ครั้ง
ไฟวับ 1 วับ
ไฟวับ 2 วับ
ไฟวับ 3 วับ
ข้าพเจ้ากำลังเปลี่ยนเข็มไปทางขวา
ข้าพเจ้ากำลังเปลี่ยนเข็มไปทางซ้าย
ข้าพเจ้ากำลังถอยหลัง
ไฟแส ดงการบังคับการเดินเรือ
(Maneuvering light)
ระยะเวลาของไฟแต่ละวับ ประมาณ 1 วินาที เว้น 1 วินาที
ระยะเวลาระหว่างหมู่ไฟประมาณ 10 วินาที
ไฟที่ติดตั้งต้องเป็นไฟ
All-round white light
ระยะการมองเห็น อย่างน้อย 5 ไมล์
ต้องติดตั้งในแนวของไฟเสากระโดง ( Masthead
light)
ติดตั้งเหนือไฟเสากระโดงหน้า ( Forward
masthead light) อย่างน้อย 2 เมตรและต้อง อยู่เหนือหรือต่ำกว่าไฟเสากระโดงหลัง
( After
masthead light) อย่างน้อย 2 เมตร
เรือที่มีไฟเสากระโดงดวงเดียว ถ้าติดตั้งให้ติดตั้ง ณ
ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่สุด มีระยะในแนวดิ่งจากไฟเสากระโดงไม่น้อยกว่า 2
เมตร
สัญญาณแสดงการบังคับการเดินเรือและสัญญาณเตือน
เรือที่เดินในร่องน้ำแคบหรือร่องน้ำทางเดิน ( Narrow
or Fairway) ในลักษณะที่มองเห็นซึ่งกันและกัน
เมื่อเรือต้องการจะแซง ต้องให้สัญญาณหวูด
ดังนี้
ข้าพเจ้าต้องการแซงทางกราบขวา
ข้าพเจ้าต้องการแซงทางกราบซ้าย
เรือที่กำลังถูกแซง
ต้องแสดงสัญญาณหวูดยินยอม
เมื่อเห็นเรืออีกลำซึ่งเข้าใกล้กันจนเกิดความเสี่ยงต่อการโดนกัน
และเกิดความไม่เข้าใจในความต้องการหรือการกระทำของเรือลำนั้น
ให้แสดงความสงสัยของตน ดังนี้
หวูดสั้นถี่ ๆ อย่างน้อย 5 ครั้ง
แสงไฟวับถี่ ๆ อย่างน้อย 5 ครั้ง เพิ่มเติมก็ได้
เรือที่เดินเข้าใกล้ทางโค้ง ของร่องน้ำแคบหรือร่องน้ำทางเดิน
( Narrow
channel or Fairway)
ซึ่งมีสิ่งกีดขวางจนไม่สามารถมองเห็นเรือลำอื่น ต้องแสดงสัญญาณหวูด ดังนี้
เรือที่เข้าใกล้ทางโค้ง แสดง หวูดยาว 1 ครั้ง
เรือลำอื่นเมื่อได้ยินสัญญาณ ต้องตอบด้วย หวูดยาว 1 ครั้ง
เรือที่ติดตั้งหวูดหลายเครื่อง โดยมีระยะห่างเกินกว่า 100 เมตร
ให้ใช้หวูดเพียงเครื่องเดียวเท่านั้นในการแสดงสัญญาณ
สัญญาณเสียงในทัศนะวิสัยจำกัด
(Sound Signals in Restricted Visibility)
แสดงเมื่อเข้าใกล้สถานการณ์ทัศนวิสัยจำกัด ไม่เว้นกลางวันหรือกลางคืน
เรือกล ขณะเคลื่อนที่
หวูดยาว
1 ครั้ง ระยะเวลาระหว่างหวูด 2 นาที
เรือกลกำลังเดิน แต่หยุดอยู่และไม่เคลื่อนที่
หวูดยาว
2 ครั้ง ระยะเวลาระหว่างหวูด 2 วินาที
ระยะเวลาระหว่างหมู่
2 นาที
เรือที่ต้องแสดงสัญญาณหวูดยาว
1 ครั้ง ตามด้วยหวูดสั้น 2 ครั้ง
ระยะเวลาระหว่างหมู่
2 นาที
เรือไม่อยู่ในบังคับ
เรือที่ไม่สามารถบังคับการเดินเรือได้คล่องตัว
เรือที่บังคับยากเพราะอัตรากินน้ำลึกของเรือ
เรือใบ
เรือขณะทำการประมง
เรือขณะจูง หรือดันเรืออื่น
เรือที่พ่วงไปกับเรือจูงหนึ่งลำ หรือเกินกว่าหนึ่งลำ และถ้าเรือพ่วงลำสุดท้าย
มีคนประจำเรืออยู่
หวูดยาว
1 ครั้ง ตามด้วยหวูดสั้น 3 ครั้ง
ระยะเวลาระหว่างหมู่ 2 นาที
แสดงสัญญาณนี้ต่อจากการแสดงสัญญาณเรือลากจูง ( The
towing vessels) ทันที
เรือที่ทอดสมอ
รัวระฆังเป็นชุด ชุดละ 5 วินาที
เว้นระยะห่างระหว่างชุดไม่เกิน 1 นาที
เรือที่มีความยาว
ตั้งแต่ 100 เมตร ขึ้นไป
รัวระฆังตอนหัวเรือ เป็นชุด ชุดละ 5
วินาที
รัวฆ้องทางตอนท้ายเรือ หลังจากการรัวระฆัง เป็นชุด ชุดละ
5 วินาที
เรือที่ทอดสมอ อาจจะแสดงสัญญาณหวูดเพิ่มเติม
เพื่อเป็นการเตือนเรือที่แล่นเข้ามาใกล้ ดังนี้
หวูดสั้น
1 ครั้ง หวูดยาว 1 ครั้ง หวูดสั้น 1
ครั้ง
เรือติดตื้น ต้องแสดงสัญญาณ ดังนี้
ตีระฆัง เป็นจำนวน 3 ครั้ง แยกให้ชัดเจน
รัวระฆังตอนหัวเรือ เป็นชุด ชุดละ 5
วินาที
รัวฆ้องทางตอนท้ายเรือ หลังจากการรัวระฆัง เป็นชุด ชุดละ
5 วินาที
ตีระฆัง เป็นจำนวน 3 ครั้ง แยกให้ชัดเจน
อาจแสดงสัญญาณหวูดเพิ่มเติม ตามเห็นสมควร
เรือที่มีความยาว ไม่ถึง
12
เมตร
ไม่บังคับให้แสดงสัญญาณตามที่กำหนดในกฎการเดินเรือนี้
ถ้าไม่แสดงตามที่กำหนดในกฎการเดินเรือนี้
ต้องแสดงสัญญาณเสียงอย่างอื่นที่ใช้ได้ดี เว้นระยะห่างกันไม่เกิน 2
นาที
เรือนำร่อง
ขณะทำการนำร่อง
อาจแสดงสัญญาณ หวูดสั้น 4 ครั้ง
เพิ่มขึ้นจากสัญญาณปกติ
สัญญาณเสียงในทัศนะวิสัยจำกัด
ในบริเวณหรือที่ใกล้กับบริเวณทัศนะวิสัยจำกัด
ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ตาม ต้องใช้สัญญาณเสียงดังต่อไปนี้
1) เรือกลขณะเคลื่อนที่ต้องแสดงสัญญาณเสียงหวูดยาวหนึ่งครั้ง
เว้นระยะเวลาเสียงหวูดแต่ละครั้งไม่เกิน 2 นาที
2) เรือกลกำลังเดินแต่หยุดอยู่ และ ไม่มีการเคลื่อนที่
ต้องแสดงสัญญาณหวูดยาวสองครั้งติดต่อกัน ระยะห่างระหว่างหวูดประมาณสองนาที
การแสดงสัญญาณหวูดแต่ละชุดห่างกันไม่เกินสองนาที
3) เรือไม่อยู่ในบังคับ เรือไม่สามารถบังคับการเดินเรือได้คล่องตัว
เรือที่บังคับยากเพราะอัตรากินน้ำลึกของเรือ เรือใบ เรือขณะทำการประมง
และเรือขณะจูง หรือดันเรืออื่นๆ แทนที่จะแสดงเสียงตามข้อ 1) และ 2)
ต้องแสดงเสียงหวูดสามครั้งติดต่อกันเป็นชุดๆ เว้นระยะห่างกันระหว่างชุดไม่เกิน สอง
นาที สัญญาณเสียงแต่ละชุดต้องเป็นดังนี้ หวูดยาวหนึ่งครั้ง หวูดสั้น สองครั้ง
4) เรือทำการประมงเมื่อเรือทอดสมอ
และเรือที่ไม่สามารถบังคับการเดินเรือได้คล่องตัวเมื่อขณะปฏิบัติงานขณะทอดสมอ
อาจใช้สัญญาณเสียงตามข้อ 3) แทนการใช้สัญญาณเสียงตามข้อ 7)
5) เรือที่พ่วงไปกับเรือจูง
หนึ่งลำหรือเกินกว่าหนึ่งลำและถ้าเรือพ่วงลำสุดท้ายมีคนประจำเรือ
ต้องแสดงเสียงสัญญาณหวูด สี่ครั้งติดต่อกันเป็นชุดเว้นระยะห่างกันระหว่างชุดไม่เกิน
สองนาที สัญญาณเสียงแต่ละชุด จะต้องเป็นสัญญาณเสียงที่ประกอบด้วย
หวูดยาวหนึ่งครั้งและหวูดสั้นสาม ครั้ง
เมื่อสามารถกระทำได้ให้แสดงสัญญาณเสียงนี้ทันทีภายหลังสัญญาณเสียงเรือลากจูง
6)
เมื่อเรือดันและเรือที่ถูกดันไปข้างหน้าต่อสนิทกันให้ถือว่าเรือทั้งสองลำเป็นเรือกลลำเดียวกัน
และ ต้องใช้สัญญาณตามข้อ 1) และ 2)
7) เรือที่ทอดสมอต้องรัวระฆังเป็นชุด ชุดละประมาณ ห้า นาที
เว้นระยะเวลาระหว่างชุดไม่เกิน หนึ่ง นาที
เรือที่มีความยาวตั้งแต่ร้อยเมตรขึ้นไปต้องรัวระฆังตอนหัวเรือและทันทีที่รัวระฆังต้องรัวฆ้องเป็นชุด
ชุดละประมาณ ห้า วินาที ที่ตอนท้ายเรือ
เรือที่ทอดสมอต้องแสดงสัญญาณหวูดเพิ่มขึ้นอีกสามครั้งติดต่อกันดังนี้
หวูดสั้นหนึ่งครั้ง หวูดยาวหนึ่งครั้ง และหวูดสั้นอีกหนึ่งครั้ง
เพื่อเป็นการเตือนเรือที่อยู่ใกล้เคียงให้ทำการหลบเรือเรา
เพราะอาจจะแล่นมาโดนกันได้
8) เรือที่ติดตื้นต้องแสดงสัญญาณเสียงเป็นระฆัง
และถ้าต้องการแสดงสัญญาณเสียฆ้องตามข้อ 7)
ของข้อนี้ด้วยต้องตีระฆังแยกให้ชัดเจนเพิ่มขึ้นอีกสามครั้งทันที่
ทั้งก่อนและหลังการรัวระฆัง
เรือที่ติดตื้นอาจจะแสดงสัญญาณหวูดเพิ่มขึ้นอีกตามที่เห็นสมควรก็ได้
9) เรือที่มีความยาวไม่ถึง 12 เมตร ไม่บังคับให้ใช้สัญญาณเสียงดังกล่าว
แต่ถ้าไม่แสดงสัญญาณเสียงไว้ข้างต้นก็อาจใช้สัญญาณเสียงอย่างอื่นแทนก็ได้
และมีการเว้นระยะห่างกันไม่เกินสอง นาที
10)
เรือนำร่องขณะทำการนำร่องอาจแสดงสัญญาณเสียงหวูดสั้นที่เหมือนกันอีกสี่ครั้งเพิ่มเติม
จากข้อ 1) 2) หรือ 7)
สัญญาณให้ระวังอันตราย (Signals to Attract Attention)
สัญญาณอับจน (Distress Signals)
ยิงปืนหรือทำให้เกิดระเบิด เป็นสัญญาณห่างกันประมาณครั้งละ
1
นาที
แสดงเสียงติดต่อกันด้วยเครื่องทำสัญญาณชนิดหนึ่งชนิดใด ซึ่งใช้ในเวลามีหมอก
ยิงจรวดหรือลูกแตกเป็นประกายสีแดงทีละลูกถี่ ๆ กัน
ส่งสัญญาณทางวิทยุโทรเลข หรือส่งสัญญาณโดยวิธีอื่นใด ประกอบด้วยหมู่รหัสสัญญาณมอร์ส
( SOS)
ส่งสัญญาณทางวิทยุโทรศัพท์ ประกอบด้วยคำพูดว่า " Mayday"
แสดงธงสัญญาณตามรหัสสัญญาณสากลว่าอยู่ในฐานะอับจนด้วยอักษร " NC"
แสดงสัญญาณประกอบด้วยธงสี่เหลี่ยมหนึ่งผืน โดยมีทุ่นเครื่องหมายรูปทรงกลม
หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่คล้ายทุ่นเครื่องหมายรูปทรงกลมอยู่เหนือ หรือใต้ธงนั้น
ทำให้มีเปลวไฟบนเรือ เช่น
เผาถังน้ำมันดินหรือถังน้ำมันอย่างหนึ่งอย่างใดและอื่น ๆ
ยิงจรวดร่มหรือจุดดอกไม้ไฟสีแดง
แสดงสัญญาณควันสีส้ม
กางแขนออกทั้งสองข้าง แล้วยกขึ้นลงช้า ๆ ซ้ำกันหลายครั้ง
สัญญาณอันตรายทางวิทยุโทรเลข
สัญญาณอันตรายทางวิทยุโทรศัพท์
สัญญาณส่งจากกระโจมวิทยุฉุกเฉินแสดงตำบลที่เรือ
ผ้าใบสีส้มมีเครื่องหมายรูปสี่เหลี่ยมและวงกลมสีดำ
หรือเครื่องหมายอื่นที่เหมาะสมบนผืนผ้าใบนั้น เพื่อให้เห็นได้ชัดจากทางอากาศ
สีแสดงตำบลที่เรือ
เอกสารอ้างอิง
กฎการเดินเรือสากล หมวด ง สัญญาณเสียงและสัญญาณแสง (ข้อ 32
–
37) โดย นาวาโท สุพจน์ สุระอารีย์ อาจารย์ กวกด.ฝศษ.รร.นร.
INTERNATIONAL REGULATIONS FOR PREVENTING COLLISION AT SEA, 1972 (COLREG, 72)
อนุสัญญาว่าด้วย กฎข้อบังคับระหว่างประเทศ
สำหรับป้องกันเรือโดนกันในทะเล ค.ศ. 1972