ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

3 ชาติอาเซียน ผนึกกำลัง เชื่อมขนส่งทางน้ำ ดันท่องเที่ยวเรือ

เริ่มโดย mrtnews, ก.พ 17, 15, 06:40:36 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

การเชื่อมโยงระบบคมนาคมระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักให้ ความสำคัญกับการขนส่งทางบกเป็นหลัก ทั้งๆ ที่การขนส่งทางน้ำก็มีศักยภาพไม่น้อยและมีต้นทุนต่ำกว่า นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดไปสู่การท่องเที่ยวทางเรือ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อีกด้วย


ในงานสัมมนา "การเดินเรือตามแนวชายฝั่งทะเล (Coastal Shipping) : ทางเลือกการส่งออกไทย-กัมพูชา-เวียดนาม" ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ โดย นายนิยม ไวยรัชพานิช รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการขนส่งทางน้ำถือว่าเป็น "ระบบการขนส่งที่ดีที่สุด" แม้ในไทยยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ทั้งที่ต้นทุนการขนส่งมีราคาที่ต่ำกว่า อยู่ที่ 0.65 บาท/ตัน-กม. เปรียบเทียบกับการขนส่งทางบกที่ 2.12 บาท/ตัน-กม.

ด้าน นายชเนศร์ เพ็ญชาติ เลขาธิการสมาคมเจ้าของเรือไทย กล่าวว่า ปัจจุบันศักยภาพของการให้บริการขนส่งเดินเรือไทยว่า ปัจจุบันการขนส่งทางเดินเรือของไทยได้ยกระดับตามมาตรฐานสากลแล้ว อีกทั้งยังไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างการขนส่งรูปแบบอื่น แต่การใช้บริการเรือขนส่งสินค้าของไทยมีไม่ถึง 20% นอกนั้นเป็นเรือต่างชาติ ทำให้ไทยต้องเสียค่าระวางสินค้าให้กับต่างชาติ นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยขาดดุลการค้า ทั้งที่มูลค่าการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น

ขณะที่ นางดวงใจ จันทร นักธุรกิจเดินเรือระหว่างประเทศ มองว่า การขนส่งสินค้าไทยโดยเรือไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามและกัมพูชายังไม่คุ้มค่า เพราะส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะการบรรทุกสินค้าขาไปอย่างเดียวและเดินเรือเปล่าในเที่ยวกลับ ดังนั้น ถ้าเสริมการเดินเรือตามแนวชายฝั่งทะเลเพื่อการท่องเที่ยวไปด้วยจะสร้างราย ได้ให้แก่ประเทศมากขึ้น

แต่ปัจจุบันการเดินเรือของไทยยังมีข้อจำกัด เนื่องจากเรือไทยที่เดินเรือในเส้นทาง "เกาะช้าง คลองใหญ่ จ.ตราด-สีหนุวิลล์ของกัมพูชา-ฮาเตียนของเวียดนาม" ยังมีสัญชาติเดียว ซึ่งไม่สามาถขนส่งสินค้าเดินเรือจากไทยไปยังเวียดนามได้โดยตรง อีกทั้งยังต้องเสียภาษีให้กับเวียดนามเต็มจำนวนและภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 10% ขณะที่เวียดนาม-กัมพูชาได้ทำข้อตกลงเพื่อสร้างความได้เปรียบใน เรื่องการเดินเรือขนส่งสินค้าแล้ว รัฐบาลไทยควรเร่งทำข้อตกลงการเดินเรือระหว่างไทย-กัมพูชา-เวียดนาม เพื่อให้เรือไทยสามารถถือได้ 3 สัญชาติ และเดินเรือระหว่าง 3 ประเทศดังกล่าวได้สะดวก

ปี 2558 นับว่าเป็นปีของ "การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว" ของชาติสมาชิกอาเซียน เพราะเชื่อว่าการปฏิรูประบบขนส่งเพื่อการท่องเที่ยวจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรม ด้านอื่น ๆ ด้วย ซึ่ง น.ส.พรรณพิมล สุวรรณพงศ์กงสุลใหญ่ไทยประจำนครโฮจิมินห์ เผยว่าเวียดนามให้ความสนใจในธุรกิจการท่องเที่ยวทางเรือและต้องการร่วมมือ กับประเทศไทยและกัมพูชา ซึ่งเวียดนามพยายามผลักดันเกาะฟู้ก๊วก เกาะใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ตั้งอยู่ในอ่าวไทย โดยอยู่ในพื้นที่ของ จ.เกียนซาง และห่างจากแหลมฉบังของไทยเพียง 540 กิโลเมตร

เกาะฟู้ก๊วกถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันเปิดเที่ยวบินตรงระหว่างสิงคโปร์และโซลแล้ว โดยเชื่อว่าหากธุรกิจท่องเที่ยวทางเรือได้รับความร่วมมือจากไทยและกัมพูชา จะสามารถสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศทั้งสามได้

แม้เวียดนามจะมีสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม แต่อุปสรรคด้านการบริการที่ไม่ประทับใจนักท่องเที่ยว โดยอ้างจากผลสำรวจของปีที่ผ่านมา พบว่ามีเพียง 6% ของนักท่องเที่ยวที่เคยมาเวียดนามและต้องการมาเยือนอีก

เช่นเดียวกันกับทางกัมพูชาที่เห็นด้วยและพร้อมให้ความร่วมมือ หากจะผลักดันธุรกิจการท่องเที่ยวทางเรือ โดย นางจีระนันท์ วงศ์มงคล อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายพาณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ เผยว่า ปัจจุบันกัมพูชาให้สัมปทานแก่นักลงทุนต่างชาติถึง 70 ปี นั่นหมายความว่า กัมพูชามองนักลงทุนต่างชาติเป็นพันธมิตรมากกว่าคู่แข่ง

ดังนั้นหาก ไทยและเวียดนามร่วมผลักดันธุรกิจการท่องเที่ยวทางเรือให้เกิดขึ้นจริง กัมพูชาพร้อมที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันครั้งนี้อย่างเต็มที่ ยิ่งกว่านั้นกัมพูชาเห็นด้วยกับการโปรโมตการท่องเที่ยวด้วยคำว่า "ท่องเที่ยวอ่าวไทยที่สวยที่สุด"


โดยการผลักดันการท่องเที่ยวทาง เรือจะสอดคล้องกับแผนการพัฒนาปี 2556-2561 เพื่อมุ่งพัฒนาแนวชายฝั่งทะเลกัมพูชาที่ทอดยาวเป็นระยะทาง 450 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัดทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ คือเกาะกง สีหนุวิลล์ กำปอด และแกบ ซึ่งถือว่าเป็น "แบตเตอรี่ของกัมพูชา" โดยได้รับเงินสนับสนุนจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB)เห็นได้ชัดเจนว่าเสียงตอบรับจากทั้งเวียดนามและกัมพูชาจะเอนเอียงไปในทิศทางบวก และที่ผ่านมากัมพูชาพยายามส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยหวังว่าหากธุรกิจการท่องเที่ยวทางเรือประสบความสำเร็จจะสามารถแชร์นัก ท่องเที่ยวจากไทยได้ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของกัมพูชาด้วย

ไม่เพียงแต่ชาติสมาชิกอาเซียนจะต้องเร่งพัฒนาโครงสร้างภายในประเทศให้ทัดเทียม กับเวทีโลกแล้ว ยังจะต้องสร้างการเชื่อมโยงกับประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงด้วย เพราะการเป็นทั้งเพื่อนบ้านและคู่แข่งที่ดีก็สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความ ตั้งใจในการขับเคลื่อนประเทศและภูมิภาคให้ก้าวต่อไปได้อย่างยั่งยืน

ที่มา -