ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

กรมเจ้าท่าเด้งรับแผนลงทุน 2 ล้านล้าน

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 14, 13, 16:51:32 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กรมเจ้าท่า เด้งรับแผนลงทุน 2 ล้านล้าน เร่งขุดลอกร่องน้ำ แม่น้ำป่าสัก-สร้างสถานีขนส่งสินค้าทางน้ำ-ท่าเรือชุมพร-สงขลาแห่งที่ 2-ท่าเรือน้ำลึกปากบารา-สร้างเขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่าน มูลค่ารวมกว่า 3 หมื่นล้าน


เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 56 นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยถึงแผนและนโยบายการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งของรัฐบาลในวงเงินกว่า 2 ล้านล้าน ในส่วนของกรมเจ้าท่าว่า โครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมเจ้าท่าตามแผนดำเนินการลงทุนจะมีทั้งสิ้นรวม 7 โครงการ มูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งตามแผนจะเริ่มตั้งแต่ ปี 2556-2563 ทั้งนี้การลงทุนดังกล่าวจะรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถ โดยในส่วนของโครงการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ ประกอบด้วย 1.โครงการก่อสร้างท่าเรือที่จังหวัดชุมพร 2.โครงการก่อสร้างท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 3.โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราจังหวัดสตูล 4.โครงการก่อสร้างสถานีขนส่งสินค้าทางน้ำเพื่อการประหยัดพลังงานที่จังหวัดอ่างทอง 5.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าในแม่น้ำป่าสัก 6.โครงการก่อสร้างเขื่อนยกระดับน้ำเพื่อการเดินเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่าน และ 7.โครงการก่อสร้างท่าเรือสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร

สำหรับการพัฒนาทางเดินเรือในแม่น้ำป่าสัก ซึ่งปัจจุบันมีปัญหาความกว้าง-ความลึกและความคดเคี้ยวของร่องน้ำทำให้เดินเรือได้ทางเดียว พื้นที่บางช่วงตื้นเขินทำให้เดินเรือในฤดูแล้งไม่สะดวก ปัญหาความสูงช่องลอดใต้สะพาน และตำแหน่งตอม่อบางบริเวณเป็นอุปสรรคในการเดินเรือ มีผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าของประเทศ จากสภาพปัญหาดังกล่าว กรมเจ้าท่าได้พิจารณาดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเดินเรือแม่น้ำป่าสัก โดยการขุดลอกร่องน้ำ การก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งแบบตอกเข็ม งานเครื่องหมายช่วยการเดินเรือ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพการขนส่งทางน้ำในการเดินเรือในแม่น้ำป่าสักให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากนั้นภารกิจด้านการดูแลบำรุงรักษาและพัฒนาร่องน้ำภายในประเทศ และร่องน้ำชายฝั่งทะเล กรมเจ้าท่าได้ดำเนินโครงการขุดลอกและฟื้นฟูสภาพร่องน้ำที่ประสบอุทกภัยให้กลับคืนสู่สภาพเดิมสืบเนื่องจากปัญหาอุกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ในแม่น้ำหลายสาย ประกอบด้วย แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำวัง แม่น้ำปิง ซึ่งอยู่ในระหว่างขั้นตอนการตรวจรับงาน คาดว่าจะแล้วเสร็จ มีนาคม 2556

รวมทั้งการพัฒนาท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองแสนแสบ กรมเจ้าท่าได้มีแผนการพัฒนาท่าเทียบเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งหมด 12 ท่า ซึ่งจะดำเนินการในปี 2557 โดยพัฒนาปรับปรุงการก่อสร้างขยายอาคารผู้โดยสาร งานก่อสร้างโป๊ะเทียบเรือ ชานพักคอย หลังคาอาคารเดิมและทางเชื่อม และในส่วนการพัฒนาท่าเรือในคลองแสนแสบ ตามโครงการขันนอตความปลอดภัย กระทรวงคมนาคม 11 ท่า โดยจะมีการปรับปรุงโครงสร้างหลังคาท่าเรือ พร้อมทั้งพัฒนาท่าเรือคลองแสนแสบให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกมีประสิทธิภาพ ตามแผนงานดำเนินการพัฒนาท่าเรือในคลองแสนแสบจำนวน 27 ท่า อีกทั้งเพื่อเป็นการดูแลเรื่องความปลอดภัยและควบคุมการจราจรได้ มีการติดตั้งกล้อง CCTV ตามท่าเรือต่างๆ ทั้งในแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองแสนแสบ โดยมีห้องควบคุมระบบอยู่ที่กรมเจ้าท่า

นายศรศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในด้านมาตรฐานเรือ กรมเจ้าท่าได้มีการศึกษาการจัดทำระบบการจัดการฐานข้อมูลเรือไทยและการแสดงสถานการณ์ตรวจเรือ พร้อมระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วในอนาคต เพื่อรองรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ ในการจัดเก็บข้อมูล สามารถนำไปใช้ในการวางแผนและประเมินการตรวจเรือได้อย่างถูกต้องตามประเภท กับภาคเอกชน ทั้งบริษัทเจ้าของเรือ บริษัทบริหารเรือ ให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบ และเผยแพร่ได้

สำหรับโครงการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น (Pre-Feasibility Study) ของการพัฒนาการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางน้ำโดยเฟอร์รี่ในเส้นทางระหว่างพัทยากับชะอำ/หัวหิน เพื่อเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกประเทศในด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวและการพัฒนาการขนส่งทางน้ำและกิจการพาณิชยนาวีขนส่งเดินเรือชายฝั่งทะเล ทั้งด้านทะเลอันดามันและฝั่งด้านอ่าวไทย โดยทางกระทรวงคมนาคมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงนโยบายด้านการท่องเที่ยวและนโยบายการพัฒนาระบบบริหารจัดส่งสินค้าและบริหารเข้าด้วยกันได้มีการจัดทำโครงการท่าเรือเฟอร์รี่เพื่อเชื่อมเส้นทางการขนส่งนักท่องเที่ยว ผู้โดยสาร และสินค้าระหว่างประเทศ พัทยา (จังหวัดชลบุรี) ชะอำ (จังหวัดเพชรบุรี) และหัวหิน (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) โดยได้มอบหมายให้กรมเจ้าท่าดำเนินการพัฒนาการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางน้ำ โดยเรือเฟอรรี่ในเส้นทางระหว่างพัทยา-ชะอำ-หัวหิน เพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนาท่าเรือเฟอร์รี่และการเดินเรือในอนาคต

ที่มา -




กรมเจ้าท่าเคาะงบลงทุนท่าเรือปากบารา 1.2 หมื่นล.

กรมเจ้าท่าเดินหน้าโครงการลงทุนขนส่งทางน้ำภาคใต้ ตอนล่างเอาจริงท่าเรือน้ำลึกปากบารา เคาะงบลงทุน 1.2 หมื่นล้านบาท


นางวิลาวรรณ ศิริงามเพ็ญ ผู้อำนวยการสำนักงานแผนงาน กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กรมเจ้าท่า มีนโยบายชัดเจน ที่จะสร้างท่าเรือน้ำลึกเพิ่มขึ้นที่ภาคใต้ ประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึกชุมพร ,ท่าเรือน้ำลึกสงขลา ( ระยะที่ 2) และท่าเรือน้ำลึกปากบารา ( ระยะที่1 )สตูล โดยทั้ง 3 โครงการ ได้รับการบรรจุให้อยู่ในแผนการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานภาคใต้งบประมาณ 2 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ตามแผนงานที่วางไว้ในส่วนท่าเรือน้ำลึกปากบารา จะใช้งบลงทุน 12,000 ล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างได้ในปี2558 และจะแล้วเสร็จในปี 2562 สำหรับในขั้นตอนดำเนินงานกรณีท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่ตั้งอยู่ในอำเภอละงู ได้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และผ่านการพิจาณาในประเด็นผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้ว

อย่างไรก็ตามขั้นตอนที่จะเนินการนับจากนี้ไปก็คือ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนจากนโยบายโครงการหรือกิจกรรม (HIA) ที่จะดำเนินการควบคู่กันไปกับการจัดทำเอกสารที่กำหนดขอบเขตและรายละเอียดของโครงการลงทุน ( TOR ) " ที่ผ่านมาประเด็นที่ที่ทำให้โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ไม่มีความคืบหน้าก็คือเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่จากจากเทคโนโลยีในการก่อสร้าง และการวางมาตรการที่รัดกุม กรมเจ้าท่าสามารถให้ความมั่นใจได้ว่า จะลดปัญหาในข้อห่วงใยจากหลายฝ่ายลงได้ ในการจัดสร้างท่าเรือน้ำลึกเพิ่มขึ้นที่ภาคใต้ เพราะเราประเมินแล้วว่า ท่าเรือน้ำลึกที่มีอยู่ในขณะนี้ในภาคใต้ ไม่สามารถที่จะรองรับการใช้ประโยชน์ได้เพียงพอ เมื่อเปรียบเทียบกับการขยายตัวในการขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง" นางวิลาวรรณ กล่าว

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ( สนข.) กล่าวว่า การบรรจุโคครงการลงทุนด้านพาณิชย์นาวีให้อยู่ในงบประมาณลงทุน 2 ล้านล้าบาท รวมไปถึงท่าเรือน้ำลึกปากบารา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างประเมินแล้วว่า เป็นแผนงานที่คุ้มค่าต่อการลงทุน และเป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นในภูมิภาค กรณีของท่าเรือน้ำลึกปากบา โครงการนี้จะมีศักยภาพมากยิ่งขึ้นก็ด้วยการเชื่อมต่อระบบขนส่งด้วยรางรถไฟเข้าไปสู่ตัวท่าเรือน้ำลึก ซึ่งขณะนี้ทางสนข.อยู่ระหว่างวางโครงข่ายในการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟเข้าไปสู่ตัวท่าเรือ ในขณะที่การดำเนินงานโครงการโดยตรงถือเป็นภารกิจของกรมเจ้าท่าโดยตรง

ที่มา -