ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

“อินโดนีเซีย” ยกเลิก! ใบอนุญาต “ปตท.สผ.” เหตุแหล่งมอนตาราระเบิด ปี 52

เริ่มโดย mrtnews, ธ.ค 07, 16, 06:20:31 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

วันที่ 6 ธ.ค. 59 - สำนักข่าวอันตาราและหนังสือพิมพ์จาการ์ตา โพสต์ ของอินโดนีเซีย รายงานว่า นายลูฮัต ปันไจตาน รัฐมนตรีประสานงานกิจการทางทะเล ได้เปิดประชุมกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในเมืองคูปัง จ.นูซา เตงการาตะวันออก เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ร่วมกับกับเจ้าหน้าที่จากสำนักอัยการกลาง รวมไปถึงผู้แทนจาก 13 สำนักงาน และผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีแท่นขุดเจาะน้ำมันของ ปตท.สผ. ระเบิด และทำให้เกิดน้ำมันรั่วไหลลงทะเลติมอร์นานกว่า 70 วัน และได้มีคำสั่งยกเลิกใบประกอบธุรกิจ และยึดทรัพย์ของ ปตท.สผ. ออสตราเลเชียจากเหตุดังกล่าว


ทั้งนี้ เหตุการณ์ระเบิดที่แท่นขุดเจาะน้ำมันของ ปตท.สผ. ที่แห่งมอนตารา ในติมอร์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2552 โดยแหล่งดังกล่าวตั้งอยู่ทางตะวันออกของอินโดนีเซีย ใกล้กับออสเตรเลีย ทำให้เกิดน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลนานกว่า 70 วัน โดยมีการประเมินกันว่า ปริมาณน้ำมันที่รั่วไหลงสู่ทะเลมีมากกว่า 300,000 ลิตรต่อวันทีเดียว ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ดังกล่าวอย่างหนัก และส่งผลกระทบต่อชีวิตชาวประมงในพื้นที่อย่างรุนแรง

นายเฟอร์ดี ตาโนนี เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิเพื่อการปกป้องเวสต์ติมอร์ ระบุว่า ใบอนุญาตของ ปตท.สผ. และทรัพย์สินของ ปตท.สผ. จะถูกยกเลิกในอินโดนีเซียทันที ตามคำสั่งของทีมสอบสอบกรณีหายนะภัยจากเหตุการณ์แท่นขุดเจาะมอนตาราระเบิดเมื่อปี 2552

จาการ์ตา โพสต์ รายงานด้วยว่า กลุ่มชาวประมงในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้ดำเนินการทางกฎหมายเพื่อเรียกเงินชดเชยจาก ปตท.สผ. ผ่านศาลออสเตรเลียด้วย โดยมีการรวมกลุ่มของชาวประมงผู้ปลูกสาหร่ายทะเลกว่า 13,000 คน เรียกร้องเงินชดเชยจากกรณีดังกล่าวเป็นมูลค่ากว่า 200 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือ 152 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สำหรับ บริษัท ปตท.สผ. ออสตราเลเชีย เป็นบริษัทลูกของ ปตท.สผ. และได้ทำการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันอยู่ที่แหล่งมอนตารา โดยก่อนหน้านี้ จาการ์ตา โพสต์ รายงานว่า บริษัทได้แสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ทว่าในภายหลังได้ระบุว่า จากภาพถ่ายทางดาวเทียมและจากการสำรวจทางอากาศ พบว่า ไม่มีน้ำมันรั่วไหลไปถึงชายฝั่งอินโดนีเซีย และไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาในพื้นที่น่านน้ำของอินโดนีเซีย

ขณะที่ ล่าสุด ปตท.สผ. ในประเทศไทย ได้แจ้งว่า บริษัทยังไม่ได้รับจดหมายจากรัฐบาลอินโดนีเซียในเรื่องการยกเลิกใบประกอบธุรกิจดังกล่าวแต่อย่างใด

ปตท.สผ. ระบุว่า สำหรับการฟ้องร้องในนามของชุมชนนูซาเต็งการาติมอร์ ต่อบริษัท พีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย (PTTEP Australasia) ในประเทศออสเตรเลียเกี่ยวกับเหตุการณ์มอนทารานั้น อยู่ระหว่างการดำเนินการในชั้นศาลของประเทศออสเตรเลีย บริษัทจึงไม่สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมใด ๆ ในขณะนี้ได้ ซึ่ง ปตท.สผ. กำลังตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และจะแจ้งความคืบหน้าให้ทราบต่อไป

ปตท.สผ.แจงยังไม่ถูกอายัดใบอนุญาต

ปตท.สผ. แจง ตลท.อินโดนีเซีย ยังไม่แจ้งอายัดใบอนุญาตระงับการดำเนินงาน

นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจ และผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. กล่าวชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถึงกรณีข่าวจากสื่ออินโดนีเซีย ระบุว่า รัฐบาลอินโดนีเซียตัดสินใจอายัดใบอนุญาตและสินทรัพย์ของ PTTEP ในอินโดนีเซียทั้งหมดเป็นการชั่วคราว เนื่องจากการฟ้องร้องในนามของชุมชนนูซาเต็งการาติมอร์ ต่อบริษัท พีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย  (PTTEP Australasia)จากจากเหตุการณ์การรั่วไหลของน้ำมันโครงการมอนทารา ในออสเตรเลีย ของ PTTEP เมื่อปี 2552 และกระทบต่อทะเลติมอร์ ประเทศอินโดนีเซีย โดยการฟ้องร้องนั้นอยู่ระหว่างการดำเนินการในชั้นศาลของประเทศออสเตรเลีย

โดย นายสมพร ระบุว่า ขณะนี้บริษัท ยังไม่ได้รับแจ้งจากรัฐบาลอินโดนีเซียในเรื่องดังกล่าว โดยบริษัทอยู่ระหว่างการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีความคืบหน้าใด บริษัทจะแจ้งให้ทราบต่อไป

ทั้งนี้ ปัจจุบัน ปตท.สผ. ถือสัดส่วนร้อยละ 11.5 ในโครงการ Natuna Sea A ในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติทั้งหมดประมาณ 217 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และน้ำมันดิบ ประมาณ 1,449 บาร์เรลต่อวัน โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 1 ของปริมาณการขายทั้งหมดของบริษัท




ที่มา Data & Images -




PTTEP เผยยังไม่ได้รับติดต่อจากรัฐบาลอินโดฯ หลังมีข่าวถูกระงับใบอนุญาตประกอบกิจการ

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 6 ธันวาคม 2559 - บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) แจ้งว่าตามที่ปรากฏข่าวในสื่ออินโดนีเซียเกี่ยวกับการระงับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจของ PTTEP ในประเทศอินโดนีเซียนั้น บริษัทขอแจ้งว่าขณะนี้บริษัทยังไม่ได้รับการติดต่อจากรัฐบาลอินโดนีเซียในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป


อนึ่ง ณ สิ้นไตรมาส 3/59 PTTEP มีโครงการและดำเนินกิจกรรมทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น 39 โครงการ ใน 12 ประเทศ โดยในอินโดนีเซีย 1 โครงการ ได้แก่ โครงการนาทูน่า ซี เอ ซึ่ง PTTEP ถือหุ้นอยู่ในสัดส่วน 11.5%

ขณะที่มีข่าวจากสื่ออินโดนีเซีย ระบุว่ารัฐบาลอินโดนีเซียตัดสินใจอายัดใบอนุญาตและสินทรัพย์ของ PTTEP ในอินโดนีเซียทั้งหมดเป็นการชั่วคราว สืบเนื่องจากเหตุการณ์การรั่วไหลของน้ำมันโครงการมอนทารา ในออสเตรเลีย ของ PTTEP เมื่อปี 52 ส่งผลกระทบต่อทะเลติมอร์

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน กล่าวถึงกรณีข่าวที่รัฐบาลอินโดนีเซีย อาจจะระงับใบอนุญาตและสินทรัพย์ของบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ในอินโดนีเซียทั้งหมดเป็นการชั่วคราว สืบเนื่องจากเหตุการณ์การรั่วไหลของน้ำมันโครงการมอนทารา ในออสเตรเลีย ของ PTTEP เมื่อปี 52 จนส่งผลกระทบต่อทะเลติมอร์นั้น ล่าสุดได้มอบหมายให้ PTTEP ตรวจสอบกับทางการอินโดนีเซียว่ากระแสข่าวดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร

แต่ในเบื้องต้นพบว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในออสเตรเลีย และได้มีการจ่ายค่าชดเชยจบไปแล้วก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกันทางอินโดนีเซียอ้างว่าน้ำมันจากแหล่งดังกล่าวเข้ามาในเขตน่านน้ำอินโดฯ และต่อมามีการพิสูจน์พบว่าไม่ใช่น้ำมันจากแหล่งมอนทารา ซึ่งเรื่องการพิสูจน์ก็จบสิ้นไปแล้วก่อนหน้านี้



ที่มา Data & Images -