ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

กฟผ. หวั่นโปรเจกต์โรงไฟฟ้ากระบี่ล่ม ถูกเบรกห้ามใช้เรือใหญ่ขนถ่านหิน

เริ่มโดย mrtnews, มิ.ย 25, 13, 15:27:42 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ 800 เมกะวัตต์มีสิทธิ์แท้ง เหตุคนในพื้นที่ห้ามขนถ่ายถ่านหินกลางทะเล จำกัดขนาดเรือขนได้ไม่เกิน 10,000 ตัน แถมเจอพื้นที่ป่า-ที่ดิน ส.ป.ก.เต็มแนวสายพานลำเลียงถ่านหินจากท่าเรือเข้าโรงไฟฟ้าที่ปกาสัย ด้านจังหวัดเสนอให้ทำอุโมงค์ลอดส่งถ่านหิน 10 กม. กฟผ.โอดต้นทุนทะลุแน่ 3 บาทกว่า/หน่วย อาจต้องยกเลิกโครงการ


วิกฤตก๊าซธรรมชาติจากเมียนมาร์หยุดซ่อม และเหตุการณ์ไฟฟ้าดับใน 14 จังหวัดภาคใต้ กลายเป็นแรงผลักให้มีความจำเป็นต้องเร่งพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP ฉบับล่าสุด โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหินรวม 4,800 เมกะวัตต์ ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่อยู่ในระหว่างศึกษาพื้นที่จังหวัดกระบี่ ที่นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ส่งสัญญาณให้เร่งพัฒนา

นายธนากร พูลทวี รองผู้ว่าการเชื้อเพลิงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงความคืบหน้าการพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่ กำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ว่า ยังไม่สามารถสรุปเส้นทางลำเลียงขนถ่ายถ่านหินได้ หลังจากได้เปลี่ยนเส้นทางจากเดิมที่ท่าเทียบเรือสะพานช้าง ต.คลองขนาน มาเป็นท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว ต.ตลิ่งชัน อ.เหนือคลองแทน เพราะพื้นที่ดังกล่าวมีการขนส่งน้ำมันของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) อยู่แล้ว แต่สมาคมประมงกระบี่ได้ยื่นความต้องการ คือ 1) การขนถ่านหินจากประเทศอินโดนีเซียเพื่อมาเทียบท่าบริเวณบ้านคลองรั้ว โดยห้ามใช้เรือขนาดเกินกว่า 10,000 ตัน 2) ห้ามมีการขนถ่ายถ่านหินกลางทะเลจากเรือใหญ่มาลงเรือขนาดเล็ก เพราะกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตของชาวประมงในพื้นที่

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงการขนส่งถ่านหินจากประเทศอินโดนีเซียมายังบ้านคลองรั้ว จะต้องใช้เรือขนาด 100,000-150,000 ตัน เพื่อถ่วงน้ำหนักให้เรือ เพื่อลดความเสี่ยงในช่วงหน้ามรสุม และหากต้องใช้เรือขนาดเล็กขนถ่าย จะส่งผลต่อต้นทุนราคาเชื้อเพลิง แม้จะสามารถนำเรือเข้ามาเทียบท่าเพื่อขนถ่ายถ่านหินตรงบริเวณบ้านคลองรั้วแล้ว แต่ยังไม่สามารถเดินสายพานลำเลียงถ่านหินได้ตามเส้นทางที่วางไว้ เนื่องจากตลอดระยะทาง 10 กิโลเมตรจากบ้านคลองรั้วมายังที่ตั้งของโรงไฟฟ้าเป็นพื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่อนุรักษ์ และเป็นที่ดิน ส.ป.ก.

ก่อนหน้านี้ทางจังหวัดกระบี่ได้มีแนวคิดให้ กฟผ.สร้างอุโมงค์ใต้ดิน เพื่อขนถ่ายถ่านหินมายังโรงไฟฟ้า แต่ กฟผ.มองว่า การก่อสร้างอุโมงค์จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนโครงการ และกระทบต่อราคาค่าไฟฟ้าได้ ถ้าประเมินคร่าว ๆ ตามรูปแบบนี้ ค่าไฟฟ้ามีโอกาสสูงมากกว่า 3 บาท/หน่วยได้

"ตามแผนเดิมของ กฟผ.ที่ต้นทุนต่ำสุดคือ มีการขนถ่ายลงเรือเล็ก 3,000 ตัน ตรงบริเวณเกาะปอ เข้ามาที่คลองปกาสัย เพื่อเข้าโรงไฟฟ้าได้เลย แต่เมื่อใช้เส้นทางนี้ไม่ได้ก็ขยับมาเป็นสะพานช้าง และพื้นที่ล่าสุดคือบ้านคลองรั้ว แต่ล่าสุดมีโจทย์ใหม่คือ ไม่ให้ขนถ่ายกลางทะเล มันก็ยากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะกลัวกระทบการท่องเที่ยว ฉะนั้นตอนนี้ที่ กฟผ.มองคือ ไม่ว่าจะเส้นทางใดก็ควรจะต้องมีการขนถ่าย แต่อาจจะไม่ใช่บริเวณน่านน้ำไทย"


นายธนากรกล่าวเพิ่มเติมว่า เร็ว ๆ นี้จะหารือร่วมกันอีกครั้งระหว่าง กฟผ.และสมาคมประมงกระบี่ เพื่อหารือว่าจะสามารถกลับไปใช้เส้นทางเดิมที่เคยเสนอไว้ได้หรือไม่ หรือจะมีพื้นที่ใดที่มีความเป็นไปได้ให้ กฟผ.สามารถทำเป็นเส้นทางขนส่งถ่านหินได้

ด้านนายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้า กฟผ.เปิดเผยว่า สำหรับโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ ยังถือว่าอยู่ในระหว่างศึกษาความเหมาะสมทุกด้าน โดยเฉพาะทุกขั้นตอนต้องมีการเปิดรับฟังความคิดเห็น ทั้งนี้ยังไม่สามารถเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 ได้ ซึ่งถือเป็นการรับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้าย เพราะยังไม่สามารถสรุปเส้นทางการขนถ่ายถ่านหิน อย่างไรก็ตาม หาก

ศึกษาตามแนวทางทั้งหมดแล้วพบว่าอัตราค่าไฟฟ้าเกิน 3 บาท/หน่วย กฟผ.อาจจะตัดสินใจไม่พัฒนาโครงการต่อ

ที่มา -