ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

“TTA” ฟันกำไรปี 57 กว่า 987 ล้านบาท พร้อมเล็งหาโอกาสลงทุนธุรกิจใหม่

เริ่มโดย mrtnews, มี.ค 04, 15, 13:03:24 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

"TTA" ประกาศผลประกอบการปี 57 หลังจากปรับรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ เผยมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ 986 ล้านบาท จากขาดทุนสุทธิ 109 ล้านบาทในปีก่อน เผยปัจจัยสนับสนุนมาจากผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของบริษัทในเครือ ขณะที่ผลงาน 3 เดือนสุดท้ายของปี 57 แม้ปัจจัยหลายด้านไม่เอื้อกับธุรกิจเรือเทกอง ก็ยังทำกำไรได้ 155 ล้านบาท ลั่นพร้อมเดินหน้าหาโอกาสลงทุนในธุรกิจใหม่ เพื่อลดความผันผวนที่กระทบบริษัท

       
นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTA กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ผลประกอบการตลอดทั้งปีของบริษัทฯ พลิกจากขาดทุนเป็นกำไรได้นั้น มาจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของบริษัทในเครือ ไม่ว่าจะเป็นเมอร์เมด มาริไทม์, โทรีเซน ชิปปิ้ง และพีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้ง (PMTA) ขณะที่ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) มีผลขาดทุนลดลงอย่างชัดเจน นับจากจัดการสินค้าคงค้างเพื่อปรับโครงสร้างทางการเงิน นอกจากนี้ ในปี 2557 บริษัทฯ ได้ลงทุนในสินทรัพย์เพิ่มหลายรายการ อาทิ การซื้อเรือประเภท Supramax มือสองเพิ่มจำนวน 6 ลำ เพื่อขยายกองเรือเป็น 24 ลำ  รวมทั้งได้ลงทุน 14,000 ล้านบาท (436 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการสั่งต่อเรือขุดเจาะชนิดท้องแบน (Tender rigs) จำนวน 2 ลำ และเรือสนับสนุนการปฏิบัติการ  ดำน้ำ อีกจำนวน 1 ลำ ให้กับเมอร์เมด มาริไทม์ ซึ่งมีกำหนดส่งมอบในปี 2559 และยังได้ใช้เงินลงทุน 125 ล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตปุ๋ยของบาคองโค รองรับการส่งออกและความต้องการของลูกค้าที่มีสูงขึ้น  นอกเหนือจากนี้ บริษัทฯ ได้ขยายการลงทุนสู่ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม โดยการซื้อหุ้นของบริษัท ไซโน แกรนด์เนส ฟู้ด อินดัสตรี กรุ๊ป จำกัด (Sino Grandness) ร้อยละ 9 ซึ่งคิดเป็นเงินลงทุน 661 ล้านบาท อีกด้วย
       
"ผลประกอบการของบริษัทฯ ในรอบปี 2557 (1 มกราคมถึง 31 ธันวาคม 2557) ว่า มีรายได้รวมทั้งสิ้น 22,341 ล้านบาท เติบโตขึ้นร้อยละ 14  และมีผลกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) เพิ่มขึ้นร้อยละ 38 มาอยู่ที่ 3,575 ล้านบาท  โดยมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ 986 ล้านบาท เทียบกับผลขาดทุนสุทธิ 109 ล้านบาทในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานรอบ 12 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 นี้ เป็นการจัดทำเพื่อรองรับรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ที่จะเริ่มใช้เต็มปีตั้งแต่รอบบัญชีของปี 2558 เป็นต้นไป ซึ่งบริษัทฯ มีส่วนแบ่งผลกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 141 มาอยู่ที่ 1,182 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งส่วนแบ่งกำไรที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากส่วนแบ่งกำไรของบริษัท เอเชีย ออฟชอร์ ดริลลิ่ง หรือ AOD ที่เมอร์เมดมีหุ้นอยู่ เพิ่มขึ้นจาก 374 ล้านบาทในปี 2556 เป็น 1,005 ล้านบาท ในปี 2557"
       
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะผลประกอบการในรอบ 3 เดือน (ตุลาคม ถึง ธันวาคม 2557) รายได้รวมของบริษัทฯ เติบโตขึ้นร้อยละ 17  มาอยู่ที่ 6,207 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากรายได้ของโทรีเซน ชิปปิ้ง สูงขึ้นร้อยละ 54  ในขณะที่รายได้ของเมอร์เมด มาริไทม์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 ซึ่งชดเชยกับยอดขายที่ลดลงร้อยละ 15 ของ PMTA และ ร้อยละ 74 ของ UMS

ขณะเดียวกันผลกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ได้รับผลกระทบจากผลกำไรขั้นต้นที่ลดลงร้อยละ 19 และค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารเพิ่มจากปีก่อนขึ้นร้อยละ 14 มาเป็น 522 ล้านบาท เนื่องจากมีการเพิ่มบุคลากรของเมอร์เมดในแถบภูมิภาคตะวันออกกลาง  ซึ่งส่งผลให้ EBITDA ของ บริษัทฯ ลดลงร้อยละ 27 จาก 1,093 ล้านบาทในปี 2556  มาอยู่ที่ 799 ล้านบาทในไตรมาสนี้ ทำให้กำไรสุทธิรวมทั้งสิ้นของกลุ่มลดลงร้อยละ 38 จากที่เคยอยู่ที่ 250 ล้านบาท มาเป็น 155 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน
       
ส่วนรอบระยะเวลาบัญชีที่ปรับใหม่ของผลประกอบการปี 2557 ของโทรีเซน ชิปปิ้ง สามารถทำรายได้ทั้งปี 2557 เติบโตร้อยละ 54 มาอยู่ที่ 7,661 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 257 ล้านบาท พลิกจากขาดทุนสุทธิ 129 ล้านบาท เนื่องจาก โทรีเซน ชิปปิ้ง มีการขยายกองเรือเพิ่มทั้งเรือที่เป็นเจ้าของเองและเรือที่เช่ามาเสริม ประกอบกับธุรกิจขนส่งสินค้าแห้งเทกองที่แนวโน้มดี ทำให้มีจำนวนวันในการใช้เรือมากขึ้นและรายได้จากค่าระวางเรือสูงขึ้น ขณะที่ผลการดำเนินงานในช่วง 3 เดือน  (ตุลาคม - ธันวาคม 2557) มีรายได้ 2,214 ล้านบาท หรือเติบโตร้อยละ 54 และมีกำไรสุทธิ 19 ล้านบาท ซึ่งลดลงจาก 117 ล้านบาท ในช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาพรวมของธุรกิจเรือเทกองที่ชะลอตัวลง เนื่องจากผลกระทบจากฤดูกาล และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่การนำเข้าและส่งออกลดลง
       
ทางด้านเมอร์เมด มาริไทม์ รายงานตัวเลขรายได้ 10,664 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15  โดยมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 จาก 554 เป็น 675 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนตัวเลขผลการดำเนินงานรอบ 3 เดือน (ตุลาคม - ธันวาคม 2557) มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 จาก 2,659 ล้านบาท มาอยู่ที่ 3,235 ล้านบาท แต่มีกำไรสุทธิลดลงร้อยละ 66 จาก 238 ล้านบาท มาอยู่ที่ 82 ล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมาร์จินของธุรกิจให้บริการวิศวกรรมใต้ทะเลและธุรกิจให้บริการเรือขุดเจาะที่ลดต่ำลง โดยในปี 2557 เมอร์เมด มาริไทม์ พยายามขยายรูปแบบการให้บริการและหาสัญญามากขึ้น จึงมีการเช่าเรือมาเสริมจำนวนมากขึ้น เพื่อรักษาและขยายฐานลูกค้าใหม่ ทำให้บริษัทฯ มีรายได้สูงขึ้นแม้ว่าจะมีกำไรน้อยลง  โดยเมื่อเดือนมกราคม 2557 บริษัทฯ    ได้ทำสัญญาสั่งต่อเรือขุดเจาะท้องแบนใหม่ 2 ลำ และเรือสนับสนุนการปฏิบัติการดำน้ำ 1 ลำ กับ บริษัท ไชน่า เมอร์เซ็นท์ อินดัสทรีส์ โฮลดิ้ง จำกัด
       
ขณะที่ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทลูก คือ บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส หรือ UMS  มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นตลอดปี 2557 และในช่วง 3 เดือน (ตุลาคม - ธันวาคม 2557) เนื่องจากสามารถระบายถ่านหินในสต๊อก และสามารถปรับโครงสร้างเงินทุนให้สมดุล ทำให้ตัวเลขทางการเงินดีขึ้นมาก ยอดขายทั้งปีของ UMS ทำได้ 712 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 62 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน  ในขณะที่ยอดหนี้สถาบันการเงิน (ณ สิ้นปี 2557) ลดลงมาอยู่ที่  580 ล้านบาท จาก 1,138 ล้านบาท (ณ สิ้นปี 2556)

ผลประกอบการในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีปฏิทิน 2557 UMS สามารถทำอัตรากำไรได้สูงขึ้น เนื่องจากขายถ่านหินได้ในราคาเฉลี่ยที่สูงขึ้นและมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานน้อยลง  ผลขาดทุนสุทธิจึงลดลงมาอยู่ที่ 20 ล้านบาทในไตรมาสนี้ จากที่เคยอยู่ที่ 35 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน  แต่หากพิจารณาผลขาดทุนรวมทั้งปี 2557 จะเห็นว่าลดลงมากถึงร้อยละ 72 จาก 374 ล้านบาท เหลือเพียง 105 ล้านบาท โดยบริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PMTA (บริษัทแม่ของบาคองโค)
PMTA ยังเป็นบริษัทที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2557 โดยมีรายได้ 3,088 ล้านบาท อันเป็นผลมาจากการเติบโตของ บาคองโค ทั้งยอดขายธุรกิจปุ๋ยเคมีในเวียดนามและการส่งออกไปขายต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น   "บาคองโค" ซึ่ง PMTA ถือหุ้นร้อยละ 100 มียอดขายปุ๋ย 197,535 เมตริกตัน ในปี 2557 สูงขึ้นร้อยละ 2 จากปีก่อน  แม้ว่าในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2557 PMTA จะได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมผิดปกติก็ตาม
       
"ช่วงรอบปีบัญชี 2557 ธุรกิจปุ๋ยทำกำไรได้ดีมาก เนื่องจากสามารถคงราคาขายปุ๋ยไว้ที่ระดับสูงได้ในขณะที่ต้นทุนรวมลดลง ส่วนรายได้ในช่วง 3 เดือน (ตุลาคม - ธันวาคม 2557) อยู่ที่ 589 ล้านบาท ลดลงมาจากปี 2556 เพียงร้อยละ 15 เนื่องจากราคาปุ๋ยต่ำลง ยอดขายในไตรมาสสุดท้ายนี้ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11 เนื่องจากบริษัทมีปริมาณการขายปุ๋ยลดลง เพราะลูกค้าชะลอการสั่งซื้อ สืบเนื่องจากเป็นช่วงที่ฝนตกหนักและมีน้ำท่วมบริเวณรอบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง โดยในช่วงที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า พอร์ตการลงทุนยังเผชิญกับความผันผวน เพราะหลายธุรกิจมีช่วงเวลาทั้งขาขึ้นและขาลง แต่ TTA สามารถสร้างการเติบโตของพอร์ตลงทุนได้อย่างแข็งแกร่ง และสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างน่าพอใจ"
       
ทั้งนี้ นอกจากผลประกอบการของแต่ละธุรกิจจะเติบโตขึ้นแล้ว TTA ยังได้ขยายการลงทุนเพิ่มเติมในหลายธุรกิจอีกด้วย ทั้งการขยายกองเรือของโทรีเซน ชิปปิ้ง และเมอร์เมด มาริไทม์ การเพิ่มกำลังการผลิตปุ๋ยและขยายธุรกิจคลังสินค้า การเปิดสำนักงานแห่งใหม่ของโทรีเซน ชิปปิ้งในแอฟริกาใต้ ยุโรป และตะวันออกกลาง ตลอดจนการลงทุนในไซโน แกรนด์เนส ซึ่งเป็นผู้นำในตลาดเครื่องดื่มน้ำผลไม้ปี่แป๊ (loquat fruit juice) ในประเทศจีน และแม้ธุรกิจขนส่งสินค้าแห้งเทกองและธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ กำลังได้รับผลกระทบทางด้านการตลาด แต่บริษัทฯ ก็ยังมั่นใจว่า จะทำกำไรได้ ด้วยการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพและให้บริการลูกค้าในกลุ่มชั้นนำของธุรกิจ
       
"ผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของธุรกิจในพอร์ตการลงทุนของเรา เป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันว่ากลยุทธ์กระจายความเสี่ยงไปในธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างการเติบโต  เป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างสมดุลและขยายโอกาสในการเติบโตของ TTA อย่างมั่นคง บริษัทฯ จึงยังคงเดินหน้าแสวงหาโอกาสลงทุนในกิจการที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างยั่งยืน เช่น ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจพลังงานทดแทน และธุรกิจท่าเรือและโลจิสติกส์ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจให้กับผู้ถือหุ้นของเรา  ซึ่งโอกาสนี้ ผมต้องขอขอบคุณผู้ถือหุ้นทุกท่านที่สนับสนุนเรามาโดยตลอด รวมถึงการสนับสนุนแผนการเพิ่มทุนของ TTA เมื่อเร็วๆ นี้ ทำให้เรามีศักยภาพที่จะลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ได้ในทันท่วงที เมื่อโอกาสอันเอื้ออำนวยมาถึง ซึ่งจะทำให้เรารับมือกับความผันผวนของตลาดได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น"

ที่มา -




TTA ปรับรอบบัญชีใหม่ – ปี 57 โชว์กำไร 986 ล้านบาท งวด 3 เดือนแม้ปัจจัยไม่เอื้อ ยังกำไร 155 ล้านบาท เดินหน้าสร้างพอร์ตลงทุนแกร่ง-มองหาโอกาสลงทุนใหม่

กรุงเทพฯ--2 มี.ค. 58 - ไอทูซี คอมมิวนิเคชั่นส์ - TTA ประกาศผลประกอบการปี 57 หลังจากปรับรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ เผยมีกำไรสุทธิจาก การดำเนินงานปกติ 986 ล้านบาท จากขาดทุนสุทธิ 109 ล้านบาทในปีก่อน เผยปัจจัยสนับสนุนมาจากผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของบริษัทในเครือ ขณะที่ผลงาน 3 เดือนสุดท้ายของปี 57 แม้ปัจจัยหลายด้านไม่เอื้อกับธุรกิจเรือเทกอง ก็ยังทำกำไรได้ 155 ล้านบาท ลั่นพร้อมเดินหน้าหาโอกาสลงทุนใหม่ เพื่อลดความผันผวนจากช่วงขาขึ้นและขาลง มั่นใจสร้างพอร์ตการลงทุนที่แข็งแกร่งได้อย่างยั่งยืน


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA เปิดเผยผลประกอบการของบริษัทฯ ในรอบปี 2557 (1 มกราคมถึง 31 ธันวาคม 2557) ว่า มีรายได้รวมทั้งสิ้น 22,341 ล้านบาท เติบโตขึ้นร้อยละ 14 และมีผลกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) เพิ่มขึ้นร้อยละ 38 มาอยู่ที่ 3,575 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ 986 ล้านบาท เทียบกับผลขาดทุนสุทธิ 109 ล้านบาทในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานรอบ 12 เดือน สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 นี้ เป็นการจัดทำเพื่อรองรับรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ที่จะเริ่มใช้เต็มปีตั้งแต่รอบบัญชีของปี 2558 เป็นต้นไป

TTA มีส่วนแบ่งผลกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 141 มาอยู่ที่ 1,182 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งส่วนแบ่งกำไรที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากส่วนแบ่งกำไรของบริษัท เอเชีย ออฟชอร์ ดริลลิ่ง หรือ AOD ที่เมอร์เมดมีหุ้นอยู่ เพิ่มขึ้นจาก 374 ล้านบาทในปี 2556 เป็น 1,005 ล้านบาท ในปี 2557

นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTA กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ผลประกอบการตลอดทั้งปีของ TTA พลิกจากขาดทุนเป็นกำไรได้นั้น มาจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของบริษัทในเครือ ไม่ว่าจะเป็นเมอร์เมด มาริไทม์, โทรีเซน ชิปปิ้ง และพีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้ง (PMTA) ขณะที่ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) มีผลขาดทุนลดลงอย่างชัดเจน นับจากจัดการสินค้าคงค้างเพื่อปรับโครงสร้างทางการเงิน นอกจากนี้ ในปี 2557 บริษัทฯ ได้ลงทุนในสินทรัพย์เพิ่มหลายรายการ อาทิ การซื้อเรือประเภท Supramax มือสองเพิ่มจำนวน 6 ลำ เพื่อขยายกองเรือเป็น 24 ลำ รวมทั้งได้ลงทุน 14,000 ล้านบาท (436 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการสั่งต่อเรือขุดเจาะชนิดท้องแบน (Tender rigs) จำนวน 2 ลำ และเรือสนับสนุนการปฎิบัติการ ดำน้ำ อีกจำนวน 1 ลำ ให้กับเมอร์เมด มาริไทม์ ซึ่งมีกำหนดส่งมอบในปี 2559 และยังได้ใช้เงินลงทุน 125 ล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตปุ๋ยของบาคองโค รองรับการส่งออกและความต้องการของลูกค้าที่มีสูงขึ้น นอกเหนือจากนี้ TTA ได้ขยายการลงทุนสู่ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม โดยการซื้อหุ้นของบริษัท ไซโน แกรนด์เนส ฟู้ด อินดัสตรี กรุ๊ป จำกัด (Sino Grandness) ร้อยละ 9 ซึ่งคิดเป็นเงินลงทุน 661 ล้านบาท อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะผลประกอบการในรอบ 3 เดือน (ตุลาคม ถึง ธันวาคม 2557) รายได้รวมของบริษัทฯ เติบโตขึ้นร้อยละ 17 มาอยู่ที่ 6,207 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากรายได้ของโทรีเซน ชิปปิ้ง สูงขึ้นร้อยละ 54 ในขณะที่รายได้ของเมอร์เมด มาริไทม์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 ซึ่งชดเชยกับยอดขายที่ลดลงร้อยละ 15 ของ PMTA และ ร้อยละ 74 ของ UMS

ผลกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ได้รับผลกระทบจากผลกำไรขั้นต้นที่ลดลงร้อยละ 19 และค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารเพิ่มจากปีก่อนขึ้นร้อยละ 14 มาเป็น 522 ล้านบาท เนื่องจากมีการเพิ่มบุคลากรของเมอร์เมดในแถบภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งส่งผลให้ EBITDA ของ TTA ลดลงร้อยละ 27 จาก 1,093 ล้านบาทในปี 2556 มาอยู่ที่ 799 ล้านบาทในไตรมาสนี้ ทำให้กำไรสุทธิรวมทั้งสิ้นของกลุ่ม ลดลงร้อยละ 38 จากที่เคยอยู่ที่ 250 ล้านบาท มาเป็น 155 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน

ธุรกิจขนส่ง
ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ปรับใหม่ ผลประกอบการปี 2557 ของโทรีเซน ชิปปิ้ง โชว์รายได้ทั้งปี 2557 เติบโตร้อยละ 54 มาอยู่ที่ 7,661 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 257 ล้านบาท พลิกจากขาดทุนสุทธิ 129 ล้านบาท เนื่องจาก โทรีเซน ชิปปิ้ง มีการขยายกองเรือเพิ่มทั้งเรือที่เป็นเจ้าของเองและเรือที่เช่ามาเสริม ประกอบกับธุรกิจขนส่งสินค้าแห้งเทกองที่แนวโน้มดี ทำให้มีจำนวนวันในการใช้เรือมากขึ้นและรายได้จากค่าระวางเรือสูงขึ้น

ขณะที่ผลการดำเนินงานในช่วง 3 เดือน (ตุลาคม – ธันวาคม 2557) มีรายได้ 2,214 ล้านบาท หรือ เติบโตร้อยละ 54 และมีกำไรสุทธิ 19 ล้านบาท ซึ่งลดลงจาก 117 ล้านบาท ในช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาพรวมของธุรกิจเรือเทกองที่ชะลอตัวลง เนื่องจากผลกระทบจากฤดูกาล และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่การนำเข้าและส่งออกลดลง

ธุรกิจพลังงาน
ทางด้านเมอร์เมด มาริไทม์ รายงานตัวเลขรายได้ 10,664 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 โดยมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 จาก 554 เป็น 675 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนตัวเลขผลการดำเนินงานรอบ 3 เดือน (ตุลาคม – ธันวาคม 2557) มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 จาก 2,659 ล้านบาท มาอยู่ที่ 3,235 ล้านบาท แต่มีกำไรสุทธิลดลงร้อยละ 66 จาก 238 ล้านบาท มาอยู่ที่ 82 ล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมาร์จินของธุรกิจให้บริการวิศวกรรมใต้ทะเลและธุรกิจให้บริการเรือขุดเจาะที่ลดต่ำลง

ในปี 2557 เมอร์เมด มาริไทม์ พยายามขยายรูปแบบการให้บริการและหาสัญญามากขึ้น จึงมีการเช่าเรือมาเสริมจำนวนมากขึ้น เพื่อรักษาและขยายฐานลูกค้าใหม่ ทำให้บริษัทฯ มีรายได้สูงขึ้นแม้ว่าจะมีกำไรน้อยลง โดยเมื่อเดือนมกราคม 2557 บริษัทฯ ได้ทำสัญญาสั่งต่อเรือขุดเจาะท้องแบนใหม่ 2 ลำ และเรือสนับสนุนการปฎิบัติการดำน้ำ 1 ลำ กับ บริษัท ไชน่า เมอร์เซ็นท์ อินดัสทรีส์ โฮลดิ้ง จำกัด

ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน

บริษัท ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด (มหาชน) หรือ UMS
ขณะที่ UMS มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นตลอดปี 2557 และในช่วง 3 เดือน (ตุลาคม – ธันวาคม 2557) เนื่องจากสามารถระบายถ่านหินในสต๊อค และสามารถปรับโครงสร้างเงินทุนให้สมดุล ทำให้ตัวเลขทางการเงินดีขึ้นมาก ยอดขายทั้งปีของ UMS ทำได้ 712 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 62 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ยอดหนี้สถาบันการเงิน (ณ สิ้นปี 2557) ลดลงมาอยู่ที่ 580 ล้านบาท จาก 1,138 ล้านบาท (ณ สิ้นปี 2556)

ผลประกอบการในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีปฎิทิน 2557 UMS สามารถทำอัตรากำไรได้สูงขึ้น เนื่องจากขายถ่านหินได้ในราคาเฉลี่ยที่สูงขึ้นและมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานน้อยลง ผลขาดทุนสุทธิจึงลดลงมาอยู่ที่ 20 ล้านบาทในไตรมาสนี้ จากที่เคยอยู่ที่ 35 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่หากพิจารณาผลขาดทุนรวมทั้งปี 2557 จะเห็นว่าลดลงมากถึงร้อยละ 72 จาก 374 ล้านบาท เหลือเพียง 105 ล้านบาท

บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PMTA (บริษัทแม่ของบาคองโค)
PMTA ยังเป็นบริษัทที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2557 โดยมีรายได้ 3,088 ล้านบาท อันเป็นผลมาจากการเติบโตของ บาคองโค ทั้งยอดขายธุรกิจปุ๋ยเคมีในเวียดนามและการส่งออกไปขายต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น "บาคองโค" ซึ่ง PMTA ถือหุ้นร้อยละ 100 มียอดขายปุ๋ย 197,535 เมตริกตัน ในปี 2557 สูงขึ้นร้อยละ 2 จากปีก่อน แม้ว่าในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 2557 PMTA จะได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมผิดปกติก็ตาม

ช่วงรอบปีบัญชี 2557 ธุรกิจปุ๋ยทำกำไรได้ดีมาก เนื่องจากสามารถคงราคาขายปุ๋ยไว้ที่ระดับสูงได้ในขณะที่ต้นทุนรวมลดลง ส่วนรายได้ในช่วง 3 เดือน (ตุลาคม – ธันวาคม 2557) อยู่ที่ 589 ล้านบาท ลดลงมาจากปี 2556 เพียงร้อยละ 15 เนื่องจากราคาปุ๋ยต่ำลง ยอดขายในไตรมาสสุดท้ายนี้ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11 เนื่องจากบริษัทมีปริมาณการขายปุ๋ยลดลง เพราะลูกค้าชะลอการสั่งซื้อ สืบเนื่องจากเป็นช่วงที่ฝนตกหนักและมีน้ำท่วมบริเวณรอบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง

นายเฉลิมชัย กล่าวด้วยว่า ในช่วงที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าพอร์ตการลงทุนยังเผชิญกับความผันผวน เพราะหลายธุรกิจมีช่วงเวลาทั้งขาขึ้นและขาลง แต่ TTA สามารถสร้างการเติบโตของพอร์ตลงทุนได้อย่างแข็งแกร่ง และสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างน่าพอใจ

ทั้งนี้ นอกจากผลประกอบการของแต่ละธุรกิจจะเติบโตขึ้นแล้ว TTA ยังได้ขยายการลงทุนเพิ่มเติมในหลายธุรกิจอีกด้วย ทั้งการขยายกองเรือของโทรีเซน ชิปปิ้ง และเมอร์เมด มาริไทม์ การเพิ่มกำลังการผลิตปุ๋ยและขยายธุรกิจคลังสินค้า การเปิดสำนักงานแห่งใหม่ของโทรีเซน ชิปปิ้งในแอฟริกาใต้ ยุโรป และตะวันออกกลาง ตลอดจนการลงทุนในไซโน แกรนด์เนส ซึ่งเป็นผู้นำในตลาดเครื่องดื่มน้ำผลไม้ปี่แป๊ (loquat fruit juice) ในประเทศจีน

และแม้ธุรกิจขนส่งสินค้าแห้งเทกองและธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ กำลังได้รับผลกระทบทางด้านการตลาด แต่บริษัทฯ ก็ยังมั่นใจว่า จะทำกำไรได้ ด้วยการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพและให้บริการลูกค้าในกลุ่มชั้นนำของธุรกิจ

"ผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของธุรกิจในพอร์ตการลงทุนของเรา เป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันว่ากลยุทธ์กระจายความเสี่ยงไปในธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างการเติบโต เป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างสมดุลและขยายโอกาสในการเติบโตของ TTA อย่างมั่นคง บริษัทฯ จึงยังคงเดินหน้าแสวงหาโอกาสลงทุนในกิจการที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างยั่งยืน เช่น ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจพลังงานทดแทน และธุรกิจท่าเรือและโลจิสติกส์ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจให้กับผู้ถือหุ้นของเรา ซึ่งโอกาสนี้ ผมต้องขอขอบคุณผู้ถือหุ้นทุกท่านที่สนับสนุนเรามาโดยตลอด รวมถึงการสนับสนุนแผนการเพิ่มทุนของ TTA เมื่อเร็วๆ นี้ ทำให้เรามีศักยภาพที่จะลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ได้ในทันท่วงที เมื่อโอกาสอันเอื้ออำนวยมาถึง ซึ่งจะทำให้เรารับมือกับความผันผวนของตลาดได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น" กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTA กล่าว

ที่มา -




Thoresen Shipping Escapes Red

The Bangkok-headquartered dry bulk operator Thoresen Shipping, part of  Thoresen Thai Agencies, has managed to end 2014 with THB 257 million (USD 8m) net profit, pulling itself from a THB 129 million (USD 4m) loss the company reported in 2013.

Despite the volatile dry shipping market, Thoresen Shipping increased its annual revenue by 54% compared to 2013, to THB 7,7 billion (USD 238m).

The company says the increase was driven by newly acquired and additional chartered-in vessels, coupled with a relatively healthy dry bulk shipping industry, which resulted in higher vessel days and stronger freight revenues in 2014.

However, the company recorded a weaker net profit in the fourth quarter compared to the same period in 2013, as the anticipated rally in the dry bulk shipping market did not materialize and freight rates declined.

In 2014, Thoresen Shipping acquired six supramax vessels, expanding its fleet to 24 owned vessels.

"We are pleased with the performance from each of the companies across the group, particularly when a number of our core businesses experienced market challenges in 2014. 2015 looks like it will present on-going challenges with the oil and gas industry facing a new lower price environment and the shipping industry also facing uncertainty," said Chalermchai Mahagitsiri, President and CEO of Thoresen Thai Agencies.


ที่มา -