ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

เยอรมนีจับมือ 7 ชาติอาเซียน พัฒนาความปลอดภัยท่าเรือ

เริ่มโดย mrtnews, พ.ย 12, 15, 06:44:35 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

12 ท่าเรืออาเซียนจับมือหน่วยงานรัฐบาลเยอรมนี ยกระดับการพัฒนาท่าเรือในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม


โครงการพัฒนาท่าเรือในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน เป็นส่วนหนึ่งของแผนดำเนินงาน "เมืองการขนส่งและสิ่งแวดล้อม" ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 และขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานในเฟสที่ 2 (พ.ศ.2556 – 2558) โดยได้รับงบประมาณจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ซึ่งมอบหมายให้องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ดำเนินโครงการร่วมกับสมาคมท่าเรืออาเซียนซึ่งปฏิบัติงานในนามของเลขาธิการอาเซียน

นางฟรังก้า สปรอง ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาท่าเรือในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน เปิดเผยว่า เศรษฐกิจในภูมิภาคมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการขนส่งทางทะเลและท่าเรือมีบทบาทสำคัญสำหรับการค้าระหว่างประเทศและการขนส่งสินค้า อย่างไรก็ตาม การกระจุกตัวของกิจกรรมเพื่อการขนส่งสินค้า และการปฏิบัติงานในเขตท่าเรือซึ่งตั้งอยู่ใกล้เมืองหรือในเมืองก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้ ดังนั้นโครงการนี้จึงเน้นปรับปรุงประสิทธิภาพของการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเจ้าหน้าที่ท่าเรือและชุมชนโดยรอบ

"ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ท่าเรือต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย 12 ท่าเรือจาก 7 ประเทศอาเซียน ได้แก่ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม มีความคืบหน้าในการพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก จากจุดเริ่มต้นที่ต่างกันไปทำให้ท่าเรือแต่ละแห่งได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน โครงการเน้นการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยสำหรับเจ้าที่ระดับปฏิบัติงาน ซึ่งที่ผ่านมา ท่าเรือที่เข้าร่วมโครงการได้พัฒนาระบบการบันทึกอุบัติเหตุและมาตรการป้องกัน และได้นำมาใช้จริง ท่าเรือบางแห่งยังได้พัฒนาระบบการจัดการของเสียจากเรือขนส่งให้ได้มาตรฐานสากลด้วย"


นอกจากนี้ โครงการยังได้จัดฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่ท่าเรือกว่า 1 พันคน โดยปรับเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐของแต่ละประเทศ และจัดตั้งเครือข่ายผู้ฝึกอบรมและศูนย์อบรมต่างๆ ที่จะส่งเสริมการทำงานของท่าเรือต่างๆ ต่อไปหลังจากโครงการสิ้นสุดลงในปีหน้า

ด้านเรือโทชำนาญ ไชยฤทธิ์รองผู้อำนวยการ ท่าเรือกรุงเทพการท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่าประเทศไทยมีท่าเรือที่เข้าร่วมโครงการนี้ คือท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง และเนื่องจากไทยเป็นที่ตั้งของสำนักงานโครงการ ท่าเรือกรุงเทพจึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางความร่วมมือกันในภูมิภาค เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของท่าเรืออีก 11 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,103 วันที่ 8 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558



ที่มา Data & Images -