ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

"อีโคส์ พาวเวอร์ คิวบ์" โซลาร์เซลล์อเนกประสงค์

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 24, 14, 17:47:27 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

แนวความคิดเรื่องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์ ในสถานการณ์วิกฤตอย่างเช่นการเกิดวินาศภัย หรือภาวะฉุกเฉินนั้นมีมานานแล้ว แต่ไม่เคยเป็นจริงได้ในทางปฏิบัติ สาเหตุสำคัญประการหนึ่งก็คือ การใช้เวลานานไม่น้อยในการติดตั้งระบบ เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์เพียงอย่างเดียวไม่ได้ทำให้บ้านเรือนได้รับกระแส ไฟฟ้าอย่างแน่นอน นอกจากนั้นเพื่อที่จะให้พลังงานไฟฟ้าให้ได้มากเพียงพอ มีความจำเป็นต้องมีแผงโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาในการเคลื่อนย้ายตามมา


"อีโคส์ โซลาร์ คิวบ์" ได้รับการออกแบบ พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้นโดยเฉพาะ โดยอีโคสเฟียร์ เทคโนโลยี บริษัทนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมจากสหรัฐอเมริกา ออกแบบให้แผงโซลาร์เซลล์ทั้งหมดพับเก็บได้ เหลือขนาดเพียงเท่ากับขนาดของตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้ามาตรฐาน 3 ขนาดคือ 10 ฟุต, 20 ฟุต และ 40 ฟุต เพื่อให้สะดวกและรวดเร็วสำหรับการเคลื่อนย้ายไปยังจุดที่ต้องการ โดยพ่วงหรือลากไปกับรถบรรทุก หรือไม่ก็ใช้เครื่องบินขนส่ง หรือ "แอร์ลิฟต์" ด้วยเฮลิคอปเตอร์ ได้โดยง่ายดาย

แหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าหลักของ คิวบ์ ก็คือ แผงโซลาร์เซลล์พลังสูง ซึ่งเมื่อคลี่กางออกจาก "ลิ้นชัก" ในทุกทางอย่างเต็มที่ ณ จุดติดตั้ง จะมีเนื้อที่เพิ่มเติมสำหรับใช้รับแสงผลิตไฟฟ้ามากขึ้นถึง 3 เท่าตัว สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพิ่มมากขึ้นกว่าถึง 400 เปอร์เซ็นต์ของขนาดของตู้แต่เดิม นอกจากนั้นภายในตู้ ยังมีชุดอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมที่ติดตั้งง่ายประกอบมาให้อยู่ด้วย พลังงานที่ได้ทั้งหมดจะถูกจัดเก็บไว้ภายในแบตเตอรี่ที่มีติดตั้งมาให้พร้อม สรรพในสถานีไฟฟ้าเคลื่อนที่นี้ ทำให้การผลิตกระแสไฟฟ้าและการจ่ายกระแสทำได้ทันที โดยสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 15 กิโลวัตต์ มากเพียงพอต่อการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับโรงพยาบาล และโรงเรียนในพื้นที่

ภายในคอนเทนเนอร์ที่เป็นสถานีย่อยๆ นี้ ยังมีอีกหลายระบบที่ติดตั้งมาสำหรับใช้งานพร้อม ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร, ระบบบำบัดน้ำ และ ระบบจ่ายกระแสไฟฟ้า ทำให้สถานีไฟฟ้าเคลื่อนที่นี้สามารถทำหน้าที่เป็นสถานีฐานในการเชื่อมต่อ อินเตอร์ให้กับพื้นที่เป็นรัศมีเกือบ 50 กิโลเมตรโดยรอบ สามารถใช้เป็นสถานีเชื่อมต่อกับดาวเทียม และเป็นสถานีผลิตน้ำสะอาดอีกด้วย


คอร์รีย์ แมคไกวร์ ผู้อำนวยการการตลาดของบริษัท บอกว่า เมื่อติดตั้งและดำเนินการแล้ว จะมีพื้นที่ใต้แผงโซลาร์เซลล์และภายในคอนเทนเนอร์สำหรับใช้งานเป็นโรงเรียน ชั่วคราว หรือเป็นแหล่งหลับนอนที่ปลอดภัยในยามวิกฤตได้ ในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้นซ้ำ อย่างเช่นสภาวะอากาศเลวร้ายหรือเผชิญหน้ากับพายุลูกใหม่ สถานีสามารถดึงแผงโซลาร์เซลล์เข้าลิ้นชักและพับเก็บได้ในทันที นอกจากนั้นมันยังสามารถบริหารจัดการ ตรวจสอบและสั่งการได้จากระยะไกลได้อีกต่างหาก

เป้าหมายหลักของ "อีโคส์ โซลาร์ คิวบ์" ก็คือการนำไปใช้ในการให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมในพื้นที่ที่ต้องการ, ใช้เพื่อการบรรเทาวินาศภัยเป็นหลัก

แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ชนบทที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง หรือแม้แต่ในปฏิบัติการทางทหารได้อีกด้วย

ที่มา -