ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

"อิเหนา" เร่งลงทุนน้ำมันในพื้นที่พิพาททะเลจีนใต้ คานจีนอ้างกรรมสิทธิ์

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 12, 16, 06:18:37 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

บรรดาธุรกิจน้ำมันและก๊าซต่างลดการลงทุน หลังเผชิญภาวะน้ำมันถูก สวนทางกับนโยบายรัฐบาลอินโดนีเซียที่ส่งเสริมการผลิตน้ำมันในบริเวณใกล้พื้นที่พิพาททะเลจีนใต้ เพื่อต่อต้านอิทธิพลทางทหารของจีน และดึงบริษัทข้ามชาติเข้ามาเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่


วอลสตรีทเจอร์นัล เปิดเผยว่า อินโดนีเซียพยายามดึงบริษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุนและพัฒนาสิ่งปลูกสร้างในหมู่เกาะนาทูนา ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่พิพาททะเลจีนใต้ โดยช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้ผลักดันให้ชาวประมงเข้ามาทำการประมงในพื้นที่ นอกจากนี้ยังเตรียมสร้างท่าเรือและฐานทัพอากาศ

ด้าน ประธานาธิบดี โจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย ระบุว่า ในพื้นที่แบ่งเป็นทั้งหมด 16 ส่วนสำหรับขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติบริเวณหมู่เกาะนาทูนานั้น มี 5 ส่วนที่มีแท่นขุดเจาะและดำเนินการผลิตแล้ว ขณะที่อีก 7 ส่วนอยู่ระหว่างการสำรวจ โดยรัฐบาลต้องการให้แท่นขุดเจาะทุกส่วนดำเนินการผลิตโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

อย่างไรก็ตาม แอชมัด เตอฟิเกอโรชมัน ผู้บัญชาการนาวิกโยธินประจำกองเรือฝั่งตะวันตกของอินโดนีเซีย ระบุว่า มีจำนวนเรือประมงจีนที่รุกล้ำเข้ามาบริเวณหมู่เกาะนาทูนาเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่เดือน มี.ค.ที่ผ่านมา โดยการเข้ามาของเรือประมงเหล่านี้อาจจะเป็นหนึ่งในอุบายที่จีนใช้ปูทางไปสู่การอ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่

ทางการอินโดนีเซีย เสริมว่า การพัฒนาหน่วยการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจะช่วยปกป้องสิทธิในพื้นที่โดยรอบหมู่เกาะนาทูนาของอินโดนีเซีย รวมทั้งยังช่วยดึงให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากประเทศอื่นเข้ามาคานการอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนได้มากขึ้น โดยอินโดนีเซียพยายามขยายความร่วมมือไปยังประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ให้เสริมสร้างอิทธิพลทางเศรษฐกิจและทหาร

อย่างไรก็ตาม ความพยายามเพิ่มหน่วยการผลิตน้ำมันกลับต้องชะงักงัน เนื่องจากการสำรวจและขุดเจาะมีค่าใช้จ่ายสูง ขณะที่บรรดาบริษัทน้ำมันต่างได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำมันถูก ทำให้ต้องระงับการดำเนินการสำรวจแหล่งพลังงานใหม่ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย โดยล่าสุด บริษัทน้ำมันรายใหญ่ รวมถึงโคโนโคฟิลลิปส์ และเชฟรอน คอร์ป เตรียมยกเลิกถือหุ้นในแท่นขุดบางแห่งที่ตั้งอยู่บริเวณหมู่เกาะนาทูนา

ทั้งนี้ ความตึงเครียดในพื้นที่พิพาททะเลจีนใต้ นำไปสู่การแข่งขันกันเพิ่มศักยภาพทางการทหาร โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย และเวียดนาม ที่ต่างอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกับจีน และแม้ว่าอินโดนีเซียจะไม่ได้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีข้อพิพาทเรื่องอาณาเขตทางทะเลหรือหมู่เกาะกับจีน แต่ทั้งสองก็มีปัญหาความขัดแย้งในเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่อยู่รอบหมู่เกาะนาทูนา ของอินโดนีเซีย ซึ่งไปทับซ้อนกับพื้นที่ที่จีนอ้างกรรมสิทธิ์อยู่

จีน-อาเซียนแข่งเสริมกำลังทหาร

สถานการณ์ชายฝั่งบริเวณทะเลจีนใต้ทวีความตึงเครียดมากขึ้นตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจีนประกาศซ้อมรบตั้งแต่ทางตะวันออกของเกาะไหหลำไปจนถึงบริเวณหมู่เกาะพาราเซล ในช่วง 7 วันก่อนการอ่านคำพิพากษาของศาลอนุญาโตตุลาการถาวรที่กรุงเฮก วันที่ 12 ก.ค.นี้ ซึ่งฟิลิปปินส์เป็นผู้ยกเรื่องขึ้นฟ้องร้อง โดยจีนประกาศกร้าวก่อนหน้านี้แล้วว่าจะไม่ยอมรับผลการตัดสินดังกล่าว

ก่อนหน้านี้ สถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศสตอกโฮล์ม (เอสไอพีอาร์ไอ) คาดการณ์ว่า การใช้จ่ายด้านการทหารของจีนเพิ่มขึ้นเกือบเป็น 3 เท่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 2.15 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.56 ล้านล้านบาท) เป็นผลจากความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ เช่นเดียวกับอาเซียนที่ต่างพัฒนาศักยภาพทางทหาร โดยอินโดนีเซียได้อนุมัติงบประมาณด้านความมั่นคงสำหรับปี 2016 เพิ่มขึ้นจากงบเดิมที่ตั้งไว้ 9% ทั้งที่มีการตัดงบประมาณในส่วนอื่น


ล่าสุดสำนักข่าวซีซีทีวีของจีน เปิดเผยวิดีโอการซ้อมรบกองทัพเรือบริเวณใกล้กับหมู่เกาะพาราเซล พื้นที่พิพาทกับเวียดนาม โดยมีการใช้กระสุนจริง ขีปนาวุธ และขีปนาวุธติดวัตถุระเบิดที่ยิงจากเรือดำน้ำ เพื่อแสดงความพร้อมในการเผชิญหน้าหลังคำตัดสินของศาลระหว่างประเทศ

จาวยังกวน ผู้บังคับบัญชาเรือรบติดขีปนาวุธนำวิถีของจีน ระบุว่า กองทัพเรือจีนรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจดำเนินการในวันที่ 12 ก.ค.นี้ และทางการจีนประเมินว่าเหตุการณ์นี้ถือเป็นสภาวะสงครามที่แท้จริง

ด้านมาเลเซียซื้อเรือรบลำใหม่และเตรียมเปลี่ยนฐานขุดเจาะน้ำมันบริเวณชายฝั่งบางแห่งเป็นฐานทัพ ส่วนเวียดนามเพิ่งได้รับเรือดำน้ำใหม่และร่วมกับรัสเซียพัฒนาฐานทัพเรือบริเวณอ่าวกัมราง โดยก่อนหน้านี้สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น เปิดเผยว่า งบประมาณทางการทหารของเวียดนามปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และมีค่าใช้จ่ายทางการทหารในปี 2015 อยู่ที่ 4,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.56 แสนล้านบาท) หรือคิดเป็น 8% ของค่าใช้จ่ายรัฐบาล

ขณะที่ เปอร์เฟกโต ยาไซย์ รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ แสดงท่าทีผ่อนปรนมากขึ้น โดยระบุว่า ต้องการเจรจากับจีนหลังศาลตัดสิน เพื่อหาทางแบ่งผลประโยชน์ร่วมกันและอาจหาข้อตกลงร่วมกันได้

จับตาประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดี

เกาะไทปิง ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะสแปรตลีย์ เป็นแค่กองหินหรือเป็นเกาะสมบูรณ์ โดยหากเป็นกองหินจะทำให้การอ้างกรรมสิทธิ์เหนือน่านน้ำของฟิลิปปินส์มีน้ำหนักขึ้น

การอ้างกรรมสิทธิ์ในบริเวณเส้นประ 9 เส้นของจีนชอบธรรมหรือไม่

การดำเนินการของจีนในทะเลจีนใต้เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติหรือไม่ ต้องระงับการดำเนินการหรือไม่

พื้นที่ใต้การควบคุมของจีน 4 แห่งคือ พื้นที่หินโสโครก แนวปะการังจอห์นสัน แนวปะการังคัวร์เตอรอน และแนวปะการังเฟียรี ครอส เป็นกองหินหรือเป็นพื้นที่ ซึ่งนำไปสู่การพิจารณากรรมสิทธิ์ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศอื่่นๆ

แนวปะการังกาเวนและแมคเคนนาน ที่จีนยึดครองอยู่ขณะนี้อยู่ภายใต้อธิปไตยของเวียดนามหรือไม่

จีนมีอำนาจบังคับใช้กฎหมายและขับไล่ชาวต่างชาติออกจากพื้นที่หินโสโครกหรือไม่

ที่มา:  เซาท์ ไชน่า มอนิ่ง โพสต์

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศโพสต์ทูเดย์



ที่มา Data & Images -