ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

เวิลด์วาไรตี้ - แผนดูแล เกรท แบร์ริเออร์ รีฟ ยังไม่ดีพอ

เริ่มโดย mrtnews, พ.ย 10, 14, 21:31:12 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

รัฐบาลทั่วโลกต่างตระหนักดีว่าสภาพมหาสมุทรที่กินพื้นที่ 3 ใน 4 ของพื้นผิวโลกนั้นย่ำแย่ลงมากเพียงใด อันเป็นผลมาจากสภาวะโลกร้อนและก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์ขยันปล่อยกันขึ้นสู่อากาศ กลายเป็นชั้นมวลอากาศขยะที่ห่อหุ้มโลกไว้อีกชั้น กั้นแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากพื้นผิวโลก แผ่นน้ำแข็งและมหาสมุทรไม่ให้กลับออกไปยังอวกาศ ทั้งยังเป็นตัวการของ "ฝนกรด" เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกอย่างเช่นคาร์บอนไดออกไซด์ ผสมเข้ากับไอน้ำที่ลอยขึ้นไปในอากาศ กลายเป็นกรดตกกลับมายังพื้นผิวโลก ไหลลงไปรวมกันในมหาสมุทร


ฝนกรดนี้เองทำให้สิ่งมีชีวิตในท้องทะเลเดือดร้อนกันไปถ้วนทั่ว สัตว์ทะเลที่มีเปลือกเช่น หอย กุ้ง ปู ก็ถูกกรดจากฝนที่หลั่งลงไปทำลายเกราะป้องกันตามธรรมชาติ แม้แต่ปะการังสัตว์ทะเลขนาดเล็กที่อาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มและสร้างโครงสร้างหินปูนขึ้นมากำบังตัว ก็พาลจะอยู่ไม่ได้เนื่องจากกรดจากน้ำฝนนี่เอง

โครงสร้างปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นระบบนิเวศในทะเลที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นั่นคือ เกรท แบร์ริเออร์ รีฟ หรือแนวปะการังเกรท แบร์ริเออร์ บริเวณริมชายฝั่งทางตะวันออกของออสเตรเลีย ก็กำลังเผชิญความเลวร้ายจากเงื้อมมือมนุษย์ที่กล่าวถึงมาทั้งหมดอยู่เช่นกัน

สภาพความย่ำแย่ของเกรท แบร์ริเออร์ รีฟ นี้ทำให้สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ต้องจัดให้พื้นที่แห่งนี้อยู่ในรายชื่อพื้นที่เสี่ยงภัยอย่างรุนแรง

รัฐบาลออสเตรเลียเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ พยายามวางแผนฟื้นฟูระยะยาว 4 ทศวรรษ เพื่อคืนสภาพของแนวปะการังขนาดยักษ์ความยาวกว่า 2,000 กิโลเมตรนี้ให้มีความสมบูรณ์อีกครั้งให้ได้ภายในปี 2593 โดยสถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งออสเตรเลีย เพิ่งเปิดตัวแผนการที่ชื่อว่า "Reef 2050 Long-Term Sustainability Plan" ความยาว 11 หน้า ต่อสายตาประชาคมโลก แต่กลับถูกวิจารณ์อย่างหนักจากนักวิทยาศาสตร์ในหลายประเทศว่าเป็นแผนที่มีความคิดริเริ่มดี แต่เนื้อหาในแผนการฟื้นฟูสภาพเกรท แบร์ริเออร์ รีฟ ฉบับนี้ "ยังไม่ดีพอ"

นักชีววิทยาและสมาชิกของสถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งออสเตรเลีย อย่างนาย เทอร์รี ฮิวจ์ วิจารณ์ผ่านสื่อสถานีโทรทัศน์เอบีซีว่า โดยพื้นฐานแล้วแผน (ของรัฐบาลออสเตรเลีย) ไม่เพียงพอที่จะฟื้นสภาพของเกรท แบร์ริเออร์ รีฟ ที่ย่ำแย่ลงอย่างรวดเร็วเป็นก้าวกระโดดได้

ส่วนลูอิส แมทเทียสสัน นักรณรงค์แห่งองค์การสัตว์ป่าโลกประจำออสเตรเลีย วิจารณ์แผนดังกล่าวตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนก่อนที่รัฐบาลออสเตรเลียจะเปิดแผนตัวจริงออกมาว่า แผนนี้ไม่เหมาะสมไม่ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเลย

แม้แต่องค์การการศึกษาและวิทยาศาสตร์แห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ก็ยังไม่ปลื้มกับแผนการของรัฐบาลออสเตรเลียในการฟื้นฟูสภาพเกรท แบร์ริเออร์ รีฟ หลังจากที่ยูเนสโกจัดให้แนวปะการังขนาดยักษ์แห่งนี้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการสูญหายเมื่อปี 2556


ยูเนสโกระบุว่าเกรท แบร์ริเออร์ รีฟ กำลังถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว ครึ่งหนึ่งของพื้นที่แนวปะการังครึ่งหนึ่งสูญหายไปตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 2523 และยังเสี่ยงต่อการสูญเสียเพิ่มเติมจากแผนการก่อสร้างท่าเรือและมีการขุดลอกพื้นที่บางส่วนของแนวปะการัง ยิ่งทำให้มรดกโลกทางธรรมชาติแห่งนี้เสี่ยงที่จะสูญหายมากขึ้นไปอีก

แผนของรัฐบาลออสเตรเลียมุ่งเน้นไปที่การวางกฎและแนวทางพัฒนาท่าเรือในพื้นที่เกรท แบร์ริเออร์ รีฟ และมีการจำกัดขอบเขตการขยายเมืองไม่ให้รุกล้ำลงไปในพื้นที่มรดกโลกแห่งนี้ และมีแผนการเพิ่มจำนวนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและเต่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้

จุดที่ถูกโจมตีมากที่สุดคือ การที่ไม่มีการกำหนดเป้าหมายการฟื้นฟูสภาพปะการังในแต่ละช่วงเวลา รวมทั้งเป้าหมายบางส่วนของแผน เช่นการเพิ่มจำนวนปลาบางสายพันธุ์ ก็ไม่ได้ส่งผลดีต่อสภาพของปะการังในภาพรวม

อย่างนี้ถึงพูดได้เต็มปากว่า "ดี แต่ไม่ดีพอ" จริงไหม?

ที่มา -