ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ยูเอ็นเตรียมไฟเขียว อียูปฏิบัติการทางทหารในเขตน่านน้ำสากล

เริ่มโดย mrtnews, ก.ย 11, 15, 06:44:06 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

วิกฤตการณ์ผู้อพยพทะลักเข้ายุโรป ส่งผลยูเอ็นกำลังพิจารณาจะอนุญาตให้อียู มีอำนาจในการปฏิบัติการทางเรือและทางทหารในเขตน่านน้ำสากล เพื่อหยุดยั้งขบวนการลำเลียงผู้อพยพทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมายังยุโรปตะวันตก


เมื่อวันที่ 10 ก.ย.58 แหล่งข่าวนักการทูตเปิดเผยว่า สหประชาชาติ (ยูเอ็น) กำลังพิจารณาจะอนุญาตให้สหภาพยุโรป (อียู) ปฏิบัติการทางเรือ รวมทั้งปฏิบัติการทางทหารในเขตน่านน้ำสากลเพื่อหยุดยั้งขบวนการลำเลียงผู้อพยพทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนบริเวณนอกชายฝั่งประเทศลิเบีย เนื่องจาก มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ในขณะนี้ อนุญาตให้การปฏิบัติการของอียูทำได้เพียงสังเกตการณ์และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเท่านั้น

โดยสหประชาชาติจะต้องให้ความยินยอมอนุมัติเพื่อสร้างความชอบธรรมในการปฏิบัติการของอียูในเขตน่านน้ำสากล เนื่องจากขณะนี้การติดตามผู้อพยพผ่านแดนหรือเขตน่านน้ำประเทศลิเบียจะต้องได้รับความยินยอมอย่างเป็นทางการจากทางการลิเบียเสียก่อน โดยที่ทางการลิเบียยังไม่ให้ความยินยอมแม้ว่ายูเอ็นจะใช้ความพยายามในการเป็นคนกลางเจรจาก็ตาม

ดังนั้น แนวคิดที่จะให้สหประชาชาติให้ความยินยอมกับสหภาพยุโรปในการปฏิบัติการทางทหารในเขตน่านน้ำสากล รวมทั้งการเรียกตรวจเรือที่ผิดสังเกตเพื่อตรวจสอบจึงเป็นหนทางเดียวเท่านั้น หากพบว่ามีผู้อพยพอยู่บนเรือก็จะได้รับความช่วยเหลือและพาตัวไปยังประเทศอิตาลีเพื่อตรวจสอบสถานะการเป็นผู้ลี้ภัย

สำหรับเรือที่ถูกตรวจจับก็จะถูกยึดหรือทำลาย หรือรื้อถอนเพื่อให้ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป และผู้ควบคุมเรือก็จะถูกดำเนินคดี ขณะนี้ข้อมติดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคง 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส จีน และรัสเซีย และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่เกี่ยวข้อง โดยยังไม่มีการส่งเรื่องไปให้ประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงทั้ง 15 ประเทศพิจารณา

ด้านนายวิตาลี ชูคลิน เอกอัครราชทูตรัสเซียผู้ทำหน้าที่ประธานคณะมนตรีความมั่งคงแห่งสหประชาชน ในเดือนกันยายน ระบุว่า บันทึกข้อมติดังกล่าวมีข้อความที่จำกัดมากกว่าร่างเดิม ที่หมายรวมถึงคณะผู้ปฏิบัติการทางเรือทั้งหมดตามท่ีสหภาพยุโรปกำหนด ทั้งนี้ ข้อมติดังกล่าวน่าจะได้รับการรับรองภายในเดือนกันยายนนี้ นักการทูตประจำคณะมนตรีความมั่นคงรายหนึ่งระบุว่า "เราหวังว่าจะสามารถพิจารณาข้อมติดังกล่าวเสร็จสิ้นภายในสองสัปดาห์นี้ ก่อนการเริ่มการประชุมสมัชชาใหญ่ประจำปีช่วงปลายเดือนกันยายน"

ส่วนนายบัน คี มูน เลขาธิการยูเอ็น มีความต้องการจัดการประชุมระดับสูงเกี่ยวกับปัญหาวิกฤติผู้อพยพในวันที่ 30 กันยายน ที่จะถึง พร้อมกับการประชุมสมัชชาใหญ่ ถึงแม้ว่าสหภาพยุโรปจะต้องการไฟเขียวสำหรับการปฏิบัติการทางทะเลในเขตน่านน้ำสากล แต่ก็ยังมีประเทศสมาชิกบางประเทศที่มีความเห็นแตกต่างสำหรับการปฏิบัติการในเขตน่านน้ำดังกล่าว อาทิ อิตาลีที่มีมุมมองที่ชัดเจนกว่า สหราชอาณาจักรหรือเยอรมนี นักการทูตคนดังกล่าวระบุ



ที่มา Data & Images -




ยูเอ็นกำลังพิจารณาให้ทัพเรืออียูจัดการกับพวกลักลอบขนผู้อพยพ

เอเอฟพี - เจ้าหน้าที่ด้านการทูตระบุเมื่อวันพุธ (9 ก.ย. 58) ว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำลังพิจารณาเรื่องที่จะยอมให้ทัพเรือยุโรปสามารถตรวจค้นเรือในทะเล อันเป็นความพยายามที่จะรับมือกับการลักลอบเดินทางของผู้อพยพ


เจ้าหน้าที่ด้านการทูตระบุว่า ร่างมติคณะมนตรีความมั่นคงในครั้งนี้ที่เน้นไปยังบรรดาเรือที่เดินทางออกจากลิเบีย กำลังถูกส่งต่อหมุนเวียนไปในหมู่ 5 ชาติสมาชิกถาวรของคณะมนตรีฯ รวมถึงชาติยุโรปรายอื่นที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังไม่ได้กระจายถึงมือสมาชิกถาวรหมดทั้ง 15 ชาติ

วิตาลี ชูร์คิน เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำยูเอ็น ผู้เป็นประธานคณะมนตรีในเดือนนี้ เปิดเผยว่า มติอาจจะเริ่มใช้ในเดือนกันยายนนี้ ส่วนทูตรายอื่นๆ นั้นคาดหวังว่ามตินี้น่าจะใช้ได้ในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า ก่อนที่จะมีการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในช่วงปลายเดือนกันยายน

ชูร์คิน กล่าวถึงร่างมติในครั้งนี้ที่ถูกผลักดันโดยอังกฤษว่า มีการจำกัดในเรื่องต่างๆ มากกว่าร่างมติครั้งก่อน ที่ยอมให้ทัพเรือของชาติสมาชิกอียูสามารถจัดการกับพวกลักลอบขนผู้อพยพในน่านน้ำลิเบีย

ร่างมติฉบับนั้นไม่ได้เกิดเพราะมันต้องได้รับการอนุมัติของลิเบีย ประเทศที่มีความวุ่นวายทางการเมือง แถมรัฐบาลที่นานาชาติรับรองยังไม่สามารถควบคุมพื้นที่แถบชายฝั่ง

ร่างมติฉบับใหม่นี้จะทำให้เจ้าหน้าที่ของกองทัพเรือยุโรปสามารถขึ้นเรือต้องสงสัยและทำการตรวจค้น หากพบผู้อพยพบนเรือ พวกเขาจะให้การเยียวยาช่วยเหลือเบื้องต้น แล้วส่งต่อไปยังอิตาลี ซึ่งที่นั่นผู้อพยพจะได้ลี้ภัย ส่วนเรือจะถูกยึดและทำลายหรือรื้อถอน รวมถึงมีการลงโทษตามกฏหมายต่อพวกลักลอบขนผู้อพยพ

เจ้าหน้าที่การทูตรายหนึ่งเปิดเผยว่า ชาติสมาชิกอียูแต่ละรายจะได้รับสิทธิดำเนินการในระดับที่แตกต่างกันไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อย่างเช่นอิตาลีจะสามารถดำเนินการในพื้นที่แถบนั้นได้มากกว่าอังกฤษกับเยอรมัน

เลขาธิการใหญ่ บัน คีมูน ได้จัดให้มีการประชุมระดับสูงเรื่องผู้อพยพ ช่วงนอกรอบการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในวันที่ 30 กันยายน ซึ่งเขาได้เชื้อเชิญบรรดาผู้นำยุโรปเมื่อวันอังคาร



ที่มา Data & Images -