ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

ฮือฮา! จีนประกาศจับมือรัสเซียสร้าง “ท่อส่งก๊าซ” ยาว 4,000 กม.ในไซบีเรีย

เริ่มโดย mrtnews, ก.ย 04, 14, 00:18:40 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ฮือฮา! จีนประกาศจับมือรัสเซียสร้าง "ท่อส่งก๊าซ" ยาว 4,000 กม.ในไซบีเรีย ชี้มูลค่าโครงการ ทะลุ 1.5 แสนล้าน

เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์ - รัฐบาลจีนประกาศจับมือรัสเซีย ร่วมกันก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติในเขต "ไซบีเรีย" ทางภาคตะวันออกของรัสเซีย ตอกย้ำสายสัมพันธ์สุดแน่นแฟ้นด้านพลังงานระหว่างปักกิ่งและมอสโก


รายงานข่าวล่าสุดจากกรุงมอสโกของรัสเซียซึ่งอ้างการให้สัมภาษณ์ของนายฉาง เกาลี่ รองนายกรัฐมนตรีจีน ที่อยู่ระหว่างการเดินทางเยือนนคร "ยาคุตส์ก" เมืองเอกของสาธารณรัฐยากูเทียในเขตไซบีเรียของรัสเซียระบุว่า รัฐบาลจีนภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงตกลงร่วมมือกับรัฐบาลรัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินในการเดินหน้าโครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติความยาว "เกือบ 4,000 กิโลเมตร" ในเขตไซบีเรีย เพื่อรองรับการจัดส่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาลจากรัสเซียไปยังจีนตลอด 30 ปีข้างหน้า

ด้านแหล่งข่าวทางการทูตในกรุงมอสโกเปิดเผยว่า โครงการความร่วมมือก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติระหว่างรัสเซียและจีนในครั้งนี้มีมูลค่ารวมของโครงการสูงกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 159,875 ล้านบาท) และสามารถรองรับการส่งออกก๊าซธรรมชาติจากแดนหมีขาวไปยังแดนมังกรได้ถึงปีละ 38,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 เป็นต้นไป

ก่อนหน้านี้เมื่อ 21 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา สาธารณรัฐประชาชนจีน ดินแดนที่ได้ชื่อว่ามีขนาดของเศรษฐกิจ "ใหญ่ที่สุดในเอเชีย" และยังเป็นชาติที่มีการ "บริโภคพลังงาน" มากเป็นลำดับต้นๆของโลก ตกลงสั่งซื้อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียในวงเงินมหาศาล 400,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราว "12.95 ล้านล้านบาท"


ทั้งนี้ ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลรัสเซียและจีนระบุว่า กาซปรอม (Gazprom) รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของรัสเซีย ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติ "รายใหญ่ที่สุดของโลก" ในเวลานี้จะทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดส่งก๊าซธรรมชาติให้กับทางไชน่า เนชันแนล ปิโตรเลียม (CNPC) ที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลจีน ในปริมาณ 38,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานถึง 30 ปี

ที่มา -