ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

ประโยชน์ของการติดตั้งระบบติดตามเรือ (VMS) ต่อการทำประมงแบบยั่งยืน

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 17, 15, 19:15:23 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ - เสาร์ที่ 15 สิงหาคม 2558 - ปัจจุบันนานาประเทศต่างให้ความสำคัญในการควบคุมการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุมหรือการประมง IUU ซึ่งประเทศไทยเองได้ให้ความสำคัญโดยเร่งรัด ติดตาม ควบคุมการทำประมงที่ผิดกฎหมายในประเทศอย่างเข้มงวดและต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบต่อรายได้และเศรษฐกิจของไทยในอนาคต


ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย(ศปมผ.) นับเป็นหน่วยงานสำคัญที่รัฐบาลได้จัดตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาการทำประมง IUU ของประเทศ โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญที่ ศปมผ. กำลังเร่งดำเนินการ เพื่อมห้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและเป็นไปตามหลักการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรทางทะเลรวมถึงเป็นการป้องกันปราบปรามผู้กระทำผิดควบคุมไม่ให้มีการประมงผิดกฎหมาย และสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการทำประมง IUU นั่นก็คือการกำหนดให้ผู้ประกอบการเรือ ติดตั้งเครื่องติดตามตำแหน่งเรือ (Vessel Monitoring System : VMS) โดยใช้ระบบดาวเทียม โดยการดำเนินการดังกล่าว เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาทางทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) กรมเจ้าท่า และกรมประมง

สำหรับระบบติดตามตำแหน่งเรือประมงหรือVMS คือระบบที่อาศัยอุปกรณ์อีเลกทรอนิกส์ซึ่งคอยรับ-สัญญาณจากดาวเทียมและศูนย์รับสัญญาณบนฝั่ง เพื่อประโยชน์ในการทราบและติดตามตำแหน่งเรือประมง ซึ่งในประเทศได้มีการพัฒนาโดยกรมประมงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของเรือประมงไทยปัจจุบันระบบดังกล่าวจะเชื่อมโยงกับ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (Port In - Port Out) ในพื้นที่ครอบคลุม 22 จังหวัดชายฝั่งทะเล และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการติดตาม ควบคุมและตรวจตราเฝ้าระวัง (MCS) รวมถึงการแจ้งเข้าออกท่าเรือประมงซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุม กำกับ ดูแลการทำประมงของเรือประมงให้ถูกต้องตามกฎหมายเป็นที่น่าเชื่อถือตามหลักสากลและเป็นไปตามหลักการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรทางทะเล

โดยหลักการทำงานของระบบติดตามตำแหน่งเรือประมง ประกอบด้วย อุปกรณ์ ติดตามเรือที่ติดตั้งอยู่บนเรือประมง โดยข้อมูลตำแหน่งเรือประมงแต่ละลำจะได้จากระบบนำทางด้วยดาวเทียม (Global navigation Satellite System : GNSS) และส่งมายังผู้ใช้งานผ่านช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมได้ 3 แบบ คือ เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ (Global Service Mobile Communication : GSM) ความถี่วิทยุ AIS (Auto indentification System : AIS) และเครือข่ายดาวเทียมสื่อสาร (Satellite Service Provider) ซึ่งทั้ง 3 ระบบมีความเหมาะสมกับเรือประมงแต่ละประเภทและขึ้นอยู่กับแหล่งทำการประมงรวมถึงระยะห่างจากฝั่งทะเลด้วย โดยข้อมูลที่ระบบทำการรายงานประกอบด้วยข้อมูลที่ตั้งของเรือ ทิศทาง และ ความเร็ว เป็นต้น

โดยขบวนการทำงาน ระบบจะทำการรายงานข้อมูลมาที่ศูนย์ปฏิบัติการเฝ่าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้วนการประมง กรมประมง แบบอัตโนมัติและการใช้ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นไปตามประราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ซึ่งเจ้าของเรือสามารถติดตามดูได้เฉพาะเรือหรือกลุ่มเรือของตนเองเท้านั้น โดยสามารถติดตามผ่านโทรศัพท์ สมาร์ทโฟน หรือ คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต โดยขอรับรหัสผ่าน (User name และ Pass word) เพื่อเข้าใช้งานระบบได้ที่กรมประมงหมายเลขโทรศัพท์ 0 2561 3132

สำหรับ ประโยชน์ทีได้รับการติดตั้งระบบ ระบบติดตามตำแหน่งเรือประมง (VMS)
1.เจ้าของเรือสามารถติดตามรวมถึงระบุตำแหน่งที่อยู่ของเรือประมงได้ตลอดเวลาผ่านอินเตอร์เน็ท

2.หากเกิดกรณีฉุกเฉินหรือต้องการความช่วยเหลือสามารถแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้เรือประมงได้รับการค้นหาและช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว

3.ใช้เป็นหลักฐาน (ที่ทางราชการมิอาจปฏิเสธได้) หากเรือประสบภับธรรมชาติเพื่อรับการชดเชยจากภาครัฐ เช่น ค่าเรือจม ค่ากู้เรือ และค่าซ่อมเรือ เป็นต้น

4.ข้อมูลเส้นทางเดินเรือสามารถนำมาวางแผนการทำประมงให้เป็นปัจจุบันมากขึ้น เช่น วางแผนเส้นทางเดินเรือประหยัดน้ำมัน หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงภัยเป็นต้น

5.ข้อมูลจากระบบ VMS ซึ่งเชื่องโยงกับระบบสมุดบันทึกการทำการปรระมงอิเล็กทรอนอคส์ (E-Logbook) จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และ

6.เพื่อยกระดับการประมงไทยสู่มาตรฐานสากลและเป็นไปตามหลักการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรทางทะเล

โดย ศปมผ.ได้ออกประกาศ ฉบับที่ 13/2558 ระบุดังนี้ เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบ ควบคุม และเฝ้าระวังการทำประมงมิให้เป็นการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาการรายงานและไร้การควบคุมอาศัยอำนาจความในข้อ6 (2) ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2558 ลงวันที่ 29 เมษายน 2558 ผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ได้กำหนดเชิงหน้าที่ (Performance Standards and Functional Requirements) ของระบบติดตามเรือประมง (Vessel Monitoring System : VMS) และกำหนดระยะเวลาติดตั้ง ให้เจ้าของหรือผู้ประกอบการเรือประมง เรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็น ตลอดจนยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำประมง ขนถ่ายหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้จากยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำประการประมง ที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสแต่ไม่ถึง 60 ตันกรอส ดำเนินการดังต่อไปนี้

1ให้เจ้าของหรือผู้ประกอบการเรือประมง เรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็น ตลอดจนยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำการประมง ขนถ่ายหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้จากยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำการประมง ที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอส แต่ไม่ถึง 60 ตันกรอสติดตั้งระบบติดตามเรือประมงให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 90 วัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ

2 เมื่อมีการติดตั้งระบบติดตามเรือให้เรือลำใดแล้วเสร็จ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ติดตั้งอุปกรณ์หรือผู้ให้บริการระบบติดตามเรือแจ้งข้อมูล รหัสกล่องหรือรหัสอุปกรณ์ ชื่อและหมายเลขทะเบียนเรือภาพถ่ายเรือ ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง

3. ให้ผู้ควบคุมเรือประมง เรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็น ตลอดจนยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำการประมง ขนถ่ายหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้จากยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำการประมงตามข้อ 2 ที่ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงเรียบร้อยแล้วต้องส่งข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงแนบท้ายประกาศนี้ ทุก 1 ชั่วโมง หลังจากรายงานออกจากท่าเทียบเรือจนถึงกลับเข้าท่าเทียบเรือ (PIPO

อย่างไรก็ตาม สำหรับ ผลดำเนินงานในการเร่งรัดให้ผู้ประกอบการติดตั้งเครื่องติดตามตำแหน่งเรือ (VMS) นั้น ในส่วนเรือประมง 60 ตันกรอสขึ้นไปมีเป้าหมาย 2,216 ลำ ขณะนี้มีการติดตั้งระบบแล้วประมาณ 1,600 ลำเรือคิดเป็นประมาณ 70% ส่วนเรือประมง 30-60 ตันกรอส ซึ่งเพิ่งประกาศไปเมื่อวันที่ 24 ก.ค.58 กำหนดโดยให้เวลาไปดำเนินการติดตั้ง VMS ภายใน 90 วันได้วาง เป้าหมายให้มีการติดตั้ง 3,000 กว่าลำ

นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มที่จะประกาศให้เรือ 20-30 ตันกรอสเข้ารับการติดตั้งด้วย โดย เป้าหมายในประเภทนี้ไว้จำนวน 3,000 กว่าลำ แต่เนื่องจากประเภทดังกล่าวเป็นเรือประมงพาณิชย์ขนาดเล็กจึงอยู่ระหว่างพิจารณาว่าควรใช้เทคโนโลยีในการระบุตำแหน่งเรือประเภทใดถึงจะเหมาะสม ระหว่างระบบ GSM หรือระบบดาวเทียม เพราะถ้าเรืออยู่ใกล้ฝั่งตำแหน่งต้องมีความละเอียดมากขึ้น สามารถรายงานตำแหน่งเรือได้ทุก 1 ชั่วโมง หรือถี่กว่านั้น จะใช้ระบบ GSM ในการระบุตำแหน่งซึ่งมีค่าใช้จ่ายถูก เป็นแบบเหมาจ่ายเดือนละ 200 กว่าบาท แต่ถ้าเรือประมงออกทำการประมงในระยะไกล ก็ต้องใช้ระบบดาวเทียม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 900-1,000 บาท แต่มีแนวโน้มว่าจะใช้เป็นระบบไฮบริด หรือทั้งระบบ GSM และระบบดาวเทียมทำงานร่วมกัน


ส่วนกรณีเรือประมงมีความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง VMS อาจจะสูงนั้น ปัจจุบันมีบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่าย ถึง 7 บริษัท ทำให้ราคาไม่แพง เพียงแค่ 20,000 กว่าบาท ซึ่งเครื่องมืออุปกรณ์ในการติดตั้ง VMS หรือระบบตรวจสอบที่ศูนย์ปฏิบัติการ VMS เป็นมาตรฐานสากลที่ทุกประเทศทั่วโลกใช้กัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมประมง ได้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ VMS เพื่อคอยติดตามเรือประมงที่ออกไปทำการประมง และมีการเริ่มดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบแล้ว โดยคาดว่าจะเปิดอย่างเป็นทางการภายในเดือนสิงหาคมนี้ สำหรับประโยชน์ที่เรือประมงได้รับจากการติดตั้ง VMS คือ สามารถทำการประมงอย่างถูกกฎหมาย และทางภาครัฐจะสามารถค่อยช่วยเฝ้าระวังและแจ้งเตือน ได้รับสิทธิ์จากมาตรการช่วยเหลือจากทางรัฐบาล และที่สำคัญช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศในการทำประมงถูกกฎหมาย

ทั้งนี้ สำหรับเครื่องติดตามเรือดังกล่าว จะช่วยให้สามารถติดตาม บันทึกเดินทางการทำการประมงของเรือแต่ละลำ เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการตรวจสอบยืนยันแหล่งที่มาของสัตว์น้ำที่จับได้ ตามระบบใน logbook และ MCPD/MCTD ตามกระบวนการ Traceability เป็นการป้องกันการทำประมง IUU ตั้งแต่ต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยที่รับผิดชอบภายใต้การควบคุมดูแลของศูนย์ปฏิบัติการ VMS 15 ศูนย์ ที่กระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ โดยมีศูนย์กลางใหญ่อยู่ที่กรมประมงซึ่งมีการเชื่อมโยงระบบไปยังศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย(ศปมผ.)และส่วนราชการอื่นๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการตรวจร่วมเรือประมง ภายใต้แผนปฏิบัติการตรวจเฝ้าระวังการทำการประมง (Monitoring Control and Surveillance Center : MCS) ด้วย

นอกจากนี้ ครม.ยัง ได้อนุมัติให้กรมประมงใช้งบกลางจากรัฐบาลจำนวน 30.68 ล้านบาท เพื่อขยายการจัดตั้งศูนย์ VMS ในภูมิภาค 15 ศูนย์ รวมทั้งการติดตั้ง VMS ในเรือตรวจการประมง การจัดทำระบบ e-logbook และจัดจ้างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เพื่อสามารถดำเนินการพัฒนาระบบเชื่อมโยงการตรวจตราเฝ้าระวังของเรือตรวจการกรมประมง (MCS) ให้ดำเนินการได้ในระดับพื้นที่ 22 จังหวัดชายฝั่งทะเล

สำหรับบทลงโทษสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มาดำเนินการติดตั้งระบบ VMS นั้นคือ 1) ไม่สามารถออกทำประมงได้ทั้งในเขตน่านน้ำและนอกน่านน้ำไทย 2) เรือที่มีคุณสมบัติเข้าข่ายต้องติดตั้งอุปกรณ์ VMS หากไม่ดำเนินการติดตั้งภายในระยะเวลาที่กำหนดถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 10/2558 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบดังกล่าวข้างต้น กรมประมงจึงขอเชิญชวนให้เจ้าของเรือประมงเร่งติดตั้งอุปกรณ์ VMS ทั้งนี้กรมประมงและกรมเจ้าท่าจะมีการประกาศมาตรฐานกลางของอุปกรณ์ VMS ที่เจ้าของเรือจะสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดต่อไป



ที่มา Data & Images -