ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

การสาบสูญของเรือเวียดนามทำให้มีการสืบสวนการปล้นสะดมทางทะเล

เริ่มโดย mrtnews, พ.ย 03, 14, 19:39:12 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

โดย โรหิต วาดห์วานีย์

เจ้าหน้าที่ตำรวจของเวียดนามกำลังขอความช่วยเหลือจากตำรวจสากล เพื่อติดตามหาตัวโจรสลัดที่จี้ชิงเรือบรรทุกน้ำมันลำหนึ่งในทะเลจีนใต้ นอกชายฝั่งของมาเลเซียเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา


โจรสลัดได้จี้ชิงเรือเอ็มที ซันไรส์ 689 เมื่อตอนเช้าตรู่ของวันที่ 3 ตุลาคม เรือลำดังกล่าวซึ่งมีลูกเรือจำนวน 18 คน และขนน้ำมันดีเซล 5,226 ตัน หายไปจากจอเรดาร์ขณะที่กำลังแล่นจากสิงคโปร์กลับสู่เวียดนาม ไม่ได้รับข่าวคราวใด ๆ จากลูกเรือเป็นเวลาหกวัน

โจรสลัดปล่อยตัวลูกเรือเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2557 แต่ขโมยน้ำมันดีเซลไป 1,500 ตัน และทำลายอุปกรณ์สื่อสารของเรือ ตลอดจนทำร้ายลูกเรือ

หลังการตรวจสอบความเสียหายของเรือ และเมื่อเรือลำนั้นเดินทางไปถึงท่าเรือหวุงเต่าเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2557 หน่วยยามฝั่งของเวียดนามได้เริ่มการสืบสวนเกี่ยวกับเรื่องนี้

"การสืบสวนเรื่องนี้ไม่ง่ายเลย" พล.ต. เหงียน กวาง แดม ผู้บังคับการหน่วยยามฝั่ง กล่าว โดยเสริมว่าเวียดนามได้ขอให้หน่วยงานในภูมิภาคช่วยติดตามหาตัวพวกวายร้ายเหล่านี้

หนังสือพิมพ์ทูอิ ทรีของเวียดนามรายงานว่า หน่วยยามฝั่งได้ประสานงานการสืบสวนเบื้องต้นกับหน่วยพิทักษ์ชายแดนของจังหวัดบาเรีย-หวุงเต่า ก่อนที่จะส่งคดีนี้ให้แก่กระทรวงความมั่นคงสาธารณะเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2557 ในวันถัดมา เจ้าหน้าที่หน่วยงานสืบสวนของกระทรวงดังกล่าวพบว่ากล่องดำของเรือลำนั้นหายไป

นายเหงียน เควียด แทง กัปตันเรือ ปฏิเสธทฤษฏีก่อนหน้านี้ที่ว่า การจี้ชิงเรือดังกล่าวเป็นการสร้างสถานการณ์ขึ้นมา

"ใครจะคิดยังไงก็ได้ แต่ความจริงจะได้รับการพิสูจน์โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ" นายแทงบอกแก่หนังสือพิมพ์ฉบับนั้น "การสร้างสถานการณ์นั้นเป็นไปไม่ได้ ลูกเรือและตัวผมเองจะไม่มีวันที่จะเอาอาชีพของเราไปเสี่ยงโดยการสร้างสถานการณ์เรือถูกจี้ขึ้นมา" เขาเสริม

กล่องดำของเรือบรรทุกน้ำมันลำนั้นได้รับการกู้คืนมาแล้ว และถูกส่งให้แก่สำนักงานกิจการทางทะเลของเวียดนามเพื่อทำการตรวจสอบ

เหตุดังกล่าวเป็นการจี้ชิงเรือครั้งที่ 11 เป็นอย่างน้อยใน ทะเลจีนใต้ และช่องแคบมะละกานับตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนเป็นต้นมา ตามรายงานจากศูนย์รายงานเกี่ยวกับโจรสลัด สังกัด สำนักงานกิจการทางทะเลระหว่างประเทศ [IMB] ซึ่งอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์

"น่านน้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่เคยปลอดภัยเลยสำหรับเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น่านน้ำที่ติดกับเวียดนามและมาเลเซีย แม้ว่าทุกประเทศในแถบนั้นได้พยายามทำให้น่านน้ำบริเวณนั้นปลอดภัยก็ตาม แต่การจี้ชิงเรือก็ยังคงเกิดขึ้น" พลเรือตรี โง ง็อก ทู รองผู้บังคับการหน่วยยามฝั่งของเวียดนาม บอกแก่บลูมเบิร์กนิวส์

ประสบการณ์อันแสนสาหัสหกวัน

หน่วยงานด้านทะเลของเวียดนามขาดการติดต่อกับเรือเอ็มที ซันไรส์ 689 เมื่อเวลา 4.27 น. (เวลาในกรุงฮานอย) ของวันที่ 3 ตุลาคม 2557 เกือบ 24 ชั่วโมงหลังจากที่เรือลำดังกล่าวออกจากสิงคโปร์พร้อมน้ำมันดีเซลมูลค่า 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เรือบรรทุกน้ำมันลำดังกล่าวมีกำหนดการที่จะถึงจังหวัดกวางตรี ภาคกลางของเวียดนาม ในวันที่ 8 ตุลาคม 2557 แต่หายสาบสูญไปที่ระยะประมาณ 120 ไมล์ทะเลจากฝั่งสิงคโปร์ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ

กัปตันเรือกล่าวว่า ชายสวมที่คลุมหน้าในเรือเร็วลำหนึ่งและเรือประมงสองลำได้สกัดเรือซันไรส์เอาไว้ จากนั้น โจรสลัดจำนวนสิบคนพร้อมอาวุธปืนและมีดได้ปีนขึ้นบนเรือ

"คนเหล่านั้นรุนแรงมาก และขู่ฆ่าเราถ้าเราไม่ทำตามคำสั่ง" นายแทงกล่าว "จากนั้น โจรสลัดก็เข้าไปรื้อค้นห้องภายในเรือและทำลายอุปกรณ์เดินเรือทั้งหมด ยกเว้นหางเสือและเข็มทิศ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต เสื้อผ้า นาฬิกา และเครื่องประดับของเรายังถูกโจรสลัดยึดไปด้วย"


ลูกเรือทุกคนถูกทำร้ายร่างกายในระหว่างวันแรกที่ถูกกักขัง แต่ลูกเรือเพียงสองคนเท่านั้นที่ได้รับบาดเจ็บ นายแทงกล่าว ลูกเรือคนหนึ่งของเขากระดูกหัวแม่เท้าและกระดูกสะบ้าเข่าหัก และอีกคนข้อเท้าแพลงเมื่อโจรสลัดคนหนึ่งเตะบันไดที่เขาพยายามปีนขึ้นไปออกไป โจรสลัดล็อคตัวลูกเรือเอาไว้ในห้องและยอมให้ออกมาเพียงวันละครั้ง เพื่อปรุงและรับประทานอาหาร นายแทงกล่าว

โจรสลัดเรียกเรือบรรทุกน้ำมันลำหนึ่งเข้ามาและดูดน้ำมันดีเซล 1,500 ตันออกจากเรือซันไรส์

"โจรสลัดพวกนั้นต้องการขโมยน้ำมันทั้ง 5,200 ตัน นั่นเป็นจุดมุ่งหมายของการจี้ชิงเรือของเรา แต่เราเริ่มเตือนพวกมันว่า จะต้องใช้เวลานานกว่าจะดูดน้ำมันทั้งหมดได้ และหลายประเทศก็กำลังออกค้นหาเรือที่หายไปลำนี้แล้ว" นายแทงกล่าว

"ในที่สุด เมื่อวันพฤหัสบดี [9 ตุลาคม 2557] โจรสลัดก็ยอมแพ้ และถอยออกไปบนเรือประมงลำหนึ่งที่มีธงมาเลเซียติดอยู่ที่หัวเรือและธงเวียดนามที่ท้ายเรือ"

หลังจากที่อุปกรณ์เดินเรือส่วนใหญ่ถูกทำลาย ยกเว้นเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์ ลูกเรือได้นำเรือออกแล่นอีกครั้ง และในที่สุดเมื่อมีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ลูกเรือจึงได้โทรศัพท์ไปยังบริษัทนายจ้างและครอบครัวของตัวเอง

นายแทงยังเป็นหนึ่งในลูกเรือเวียดนามที่ถูกโจรสลัดจับเป็นตัวประกันไว้เป็นเวลาแปดเดือนเมื่อพ.ศ. 2554 ด้วย เขากล่าวว่า ประสบการณ์อันยากแค้นครั้งแรกนั้นสอนให้เขาใจเย็นและไม่ทำการต่อต้านแต่อย่างใด

ที่มา -