ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

บังกลาเทศ - เมียนมาร์ อพยพหนีไซโคลนมหาเสน (Mahasen)

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 17, 13, 13:30:17 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

บังกลาเทศ และเมียนมาร์ สั่งอพยพประชาชนหนีพายุไซโคลน มหาเสน (Mahasen) ที่คุกคามชีวิตผู้คนมากถึง 8 ล้านคนในอ่าวเบงกอล


ทางการบังกลาเทศได้ยกระดับเตือนภัย ตามพื้นที่ลุ่มรอบเมืองจิตตะกอง และเขตค็อกซ์บาซาร์ บริเวณชายฝั่ง สู่ระดับ 7 จากทั้งหมด 10 ระดับ ขณะที่พายุไซโคลน มหาเสน เคลื่อนตัวข้ามอ่าวเบงกอลไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ และคาดว่าจะขึ้นฝั่งในวันนี้ ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาบังกลาเทศก็ออกคำเตือนว่า พายุอาจจะทำให้เกิดคลื่นทะเลสูง 2 เมตรในเขตพื้นที่ชายฝั่ง และเรียกร้องให้ประชาชนอพยพเข้าค่ายพักพิงชั่วคราว เพื่อความปลอดภัย ขณะนี้ได้มีการสั่งปิดสนามบินในเขตค็อกซ์บาซาร์ และเมืองจิตตะกอง เป็นเวลาหลายชั่วโมงแล้ว

ส่วนที่เมียนมาร์ ซึ่งมีความเสี่ยงจากพายุเช่นกัน ก็กำลังเร่งอพยพประชาชน โดยกลุ่มที่เสี่ยงเป็นพิเศษ คือชาวมุสลิมโรฮิงญาหลายหมื่นคน ที่อาศัยอยู่ในค่ายพักพิงในพื้นที่ลุ่มรัฐยะไข่ คนกลุ่มนี้เป็นผู้พลัดบ้านจากเหตุความรุนแรงด้านเชื้อชาติเมื่อปีที่แล้ว หลายคนไม่ต้องการย้ายไปไหนอีก และบอกว่าขอเสี่ยงชีวิตอยู่ในค่ายพักพิงดีกว่า

อย่างไรก็ตาม Tin Naing Thein รัฐมนตรีกระทรวงการวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจของพม่าเผยว่า ขณะนี้ได้ย้ายประชาชนมากกว่า 150,000 คนขึ้นสู่ที่สูง โดยหนึ่งในห้าเป็นชาวโรฮิงญา

ด้านสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรม แห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า ไซโคลนมหาเสน ดูเหมือนอ่อนกำลังลงเป็นพายุระดับหนึ่ง แต่เตือนว่ายังคงเป็นอันตรายต่อชีวิตประชาชน 8.2 ล้านคนในบังกลาเทศ เมียนมาร์ และอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ

พายุมหาเสนขึ้นฝั่งบังคลาเทศดับแล้ว 5 ราย

ไซโคลน"มหาเสน"พัดถล่มชายฝั่งบังคลาเทศพบผู้เสียชีวิต 5 ราย ขณะที่ทางการอพยพชาวบ้าน 8 แสนคนออกนอกพื้นที่


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า หลังจากพายุไซโคลนมหาเสน (MAHASEN) ได้พัดขึ้นฝั่งบริเวณเมืองจิตตะกอง ประเทศบังคลาเทศ เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 16 พ.ค. ได้ก่อให้เกิดฝนตกหนัก และกระแสลมแรงจัดในพื้นที่ชายฝั่ง ตั้งแต่เมืองท่าจิตตะกองจนถึงเมืองคอกซ์ บาซาร์ โดยเบื้องต้นมีรายงานว่าพบผู้เสียชีวิตจากพายุที่พัดถล่มหมู่บ้านชาวประมงตามแนวชายฝั่งแล้ว 5 ราย

อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงของพายุในครั้งนี้ไม่มากเท่าที่มีการคาดการณ์เอาไว้ โดยบริเวณชายฝั่งซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำได้เกิดคลื่นสูงขนาด 1 เมตรซัดฝั่ง จากที่คาดว่า จะเกิดคลื่นสูงกว่า 2 เมตร ขณะที่ชาวบ้านราว 8 แสนคน ต้องพักค้างคืนกันตามศูนย์พักพิงชั่วคราว ที่ทางการจัดเตรียมเอาไว้กว่า 2,000 แห่ง

ก่อนหน้านี้ องค์การสหประชาชาติ ได้เตือนว่า ประชาชนกว่า 800,000 คน เสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากไซโคลนมหาเสน ที่คาดว่าจะพัดขึ้นฝั่งบริเวณใกล้พรมแดนระหว่างประเทศบังคลาเทศและพม่า  โดยบังกลาเทศได้อพยพประชาชนกว่า 700,000 คน ที่อาศัยอยู่ในที่ลุ่มต่ำไปยังที่พักพิงชั่วคราวแล้ว ขณะที่พม่าประกาศแผนในการอพยพประชาชนราว 166,000 คน ตามแนวชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเช่นกัน

ด้าน กรมอุตุนิยมวิทยา ของไทยรายงานว่า อิทธพลของพายุดังกล่าวจะทำให้ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ค. จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นในภาคเหนือ ส่วนลมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังแรงขึ้นในระยะนี้จะทำให้ด้านรับลมมีฝนเพิ่มมากขึ้นด้วยโดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านตะวันตก ของประเทศไทย และบริเวณภาคตะวันออก สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันยังคงมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 2-3 วัน


ที่มา -