ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

"เอเชีย" น่านน้ำพาณิชย์ของเรือสำราญขนาดใหญ่

เริ่มโดย mrtnews, มิ.ย 05, 13, 17:23:53 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ท่ามกลางเรือบรรทุกสินค้าที่จอดเรียงรายเต็มท่าเรือขนส่งสินค้า ท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวอย่าง มาริน่า ครุยส์ เซ็นเตอร์ มีเรือสำราญสมาชิกใหม่ "มาริเนอร์ ออฟ เดอะ ซี" ที่เพิ่งเริ่มมาให้บริการในน่านน้ำแถบเอเชียปีนี้หนึ่งในสมาชิกครอบครัวของรอยัล คาริบเบียน ผู้ให้บริการธุรกิจเรือสำราญรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลก


จากเดิมที่เคยใช้เรือขนาดย่อมกว่าอย่าง เลเจนด์ ออฟ เดอะ ซี (Legend of the Seas) ที่มีความจุจำนวนผู้โดยสารประมาณ 2,000 คน เพราะความนิยมในการท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญที่เพิ่มขึ้น ทำให้ มาริเนอร์ ออฟ เดอะ ซี เรือคู่แฝดของ โวยาร์จ ออฟ เดอะ ซี (Voyager of the Seas) เรือสำราญที่เคยรั้งตำแหน่งขนาดใหญ่ที่สุดในโลกระหว่างปี 2542-2543 และยังคงติดอันดับ 1 ใน 10 เรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่

เมื่อวัดจากปริมาตรส่วนปิดของเรือ เช่น ห้องพักผู้โดยสาร, ห้องครัว, หรือห้องเครื่อง เป็นอาทิ ไม่รวมส่วนเปิดเช่น ทางเดินเล่น ดาดฟ้าภายนอกทั้งในร่มหรือกลางแจ้งที่ไม่มีประตู มีขนาดถึง 138,000 ตัน จุผู้โดยสารมากกว่า 3,000 คน โดยเรือคู่แฝดทั้งสองลำนี้มีทุกอย่างเหมือนกันเกือบหมดต่างกันแค่เพียงสีที่ใช้ในการตกแต่งภายในเท่านั้น

การที่บริษัทข้ามชาติอย่าง รอยัล แคริบเบียน กล้าที่จะนำเรือที่มีขนาดใหญ่กว่าอีกเท่าตัวมาให้บริการในน่านน้ำเอเชียนั้น เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยยืนยันความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจเอเชีย โดยวัดจากกำลังการซื้อและจับจ่ายที่มีมากกว่าในวันนี้ เมื่อเทียบกับยุโรปและอเมริกาที่ยังคงประสบภาวะหยุดนิ่งทางด้านเศรษฐกิจ

โดยมีเมืองท่าอันดับต้นของอาเซียนอย่างสิงคโปร์เป็นหนึ่งในท่าเรือหลัก และนั่นเป็นผลให้กลุ่มลูกค้าหลักของเรือสำราญแบรนด์นี้หนักไปทางคนสิงคโปร์กว่าครึ่ง ขณะที่ลูกค้าจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม บรูไน และไทยยังเป็นกลุ่มรองลงมา ส่วนสมาชิกในแถบอาเซียนอื่น ๆ อย่างอินเดียและเกาหลีใต้นั้นกำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

เส้นทางที่เปิดให้บริการในแถบเอเชียด้วยเรือ มาริเนอร์ ออฟ เดอะ ซี ในปี ค.ศ. 2013-2014 นั้น เริ่มต้นตั้งแต่ 3 คืนไปจนถึงมากที่สุด 8 คืน โดยเส้นทางระยะสั้นได้รับความนิยมมากกว่า ด้วยเวลาในการท่องเที่ยวที่จำกัดเฉพาะในช่วงวันหยุดโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าหลักอย่างสิงคโปร์ แม้ว่าพนักงานบริษัทจะได้รับวันหยุดพักร้อนตั้งแต่หนึ่งเดือนถึงหนึ่งเดือนครึ่ง แต่ช่วงปิดเทอมที่ค่อนข้างสั้นของบุตรหลาน ทำให้ไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวเป็นระยะเวลานาน ๆ ได้

โดยเส้นทางสั้นที่สุด 3 คืนจะเริ่มต้นจากสิงคโปร์มาจอดเทียบท่าที่พอร์ตคลังของมาเลเซีย โดยสามารถเดินทางเข้าไปเที่ยวในกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซียกับโปรแกรมทัวร์ของเรือที่มีทั้งแบบทัวร์ประวัติศาสตร์และชอปปิง หากเป็นเส้นทาง 4 คืนจะเพิ่มเกาะลังกาวีเข้าไปด้วยอีกแห่ง หรือขึ้นมาไกลถึงเกาะภูเก็ตของไทย

เส้นทางที่รวมภูเก็ตของไทยไว้ด้วยนั้น ถือเป็นเส้นทางยอดฮิตของคนในแถบเอเชีย ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และบรูไน เพราะเมืองไข่มุกแห่งอันดามันอย่างภูเก็ตไม่ได้มีดีเพียงแค่ทะเล หาดทราย และหมู่เกาะที่สวยงามเท่านั้น แต่ยังเป็นอีกสวรรค์ของนักช้อปชาวต่างชาติด้วย


ขณะที่เส้นทางที่ยาวกว่านั้นนอกจากจะแวะไทยแล้วยังเลยไปถึงเวียดนามด้วย โดยมีเส้นทางยาวที่สุด 8 คืนมีระยะทางเดินเรือเชื่อมโยงไปถึงโฮจิมินห์ของเวียดนาม เกาะฮ่องกง เซี้ยะเหมินของจีน ก่อนจะไปสิ้นสุดที่เซี่ยงไฮ้ ซึ่งแต่ละเส้นทางจะมีความหลากหลายและแตกต่างกัน

นอกจากรายใหญ่อย่าง รอยัล คาริบเบียนแล้ว ในน่านน้ำเอเชียยังมียักษ์ใหญ่แห่งเอเชียอย่าง สตาร์ครุยซ์ และ คาร์นิวาล ครุยซ์ ไลน์มาแชร์ส่วนแบ่งทางการตลาด และมีแนวโน้มว่าตลาดจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกหลังจากการเปิดเขตเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เนื่องจากความสะดวกในการเดินทางข้ามระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในอนาคตอาจจะมีท่าเรือทวายของพม่าเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางเดินเรือ

วันนี้ในน่านน้ำของเอเชียจึงไม่ได้เพียงคลาคล่ำไปด้วยเรือบรรทุกสินค้ามากมายเท่านั้น แต่ยังมีสมาชิกเป็นเรือสำราญขนาดใหญ่ที่วิ่งสวนกันไปมามากกว่าเดิมเพิ่มขึ้นมาด้วย.

ที่มา -