ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - mrtnews

#1
เชฟรอนฯ เดินหน้ารื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียม ประเดิมโครงการนำร่อง ใช้ขาแท่นหลุมผลิตจัดทำเป็นปะการังเทียม เผยผลการศึกษาชี้ชัดอนุรักษ์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในทะเล ถือเป็นบทพิสูจน์แนวทางการรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมในทะเล


มีความคืบหน้าเป็นลำดับ ของการรื้อถอนแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย ของ บริษัท เชฟรอน ประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ (คณะกรรมการชาติฯ)  มีมติเห็นชอบในการจัดทำ โครงการนำร่องการใช้ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมจำนวน 7 ขาแท่นไป จัดวางเป็นปะการังเทียม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล บริเวณเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ร่วมกับ บริษัท เชฟรอนฯ และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562

เดินหน้าจัดวางขาแท่น

ล่าสุดเมื่อต้นเดือนกันยายน ที่ผ่านมาบริษัท เชฟรอนฯ ได้นำเรือยกขนาดใหญ่ที่มีสมรรถนะในการยกสิ่งของซึ่งมีน้ำหนักมากถึง 3,000 ตัน หรือมากกว่า 4-8 เท่าของน้ำหนักขาแท่นปิโตรเลียมจริง ทำการลากจูงขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ 4 จากจำนวน 7 ขาแท่น น้ำหนักประมาณ 300-700 ตัน ขนาดฐานกว้างประมาณ 20-22.5 เมตร สูง 70-84 เมตร หรือสูงมากกว่าตึก 20 ชั้น จากแหล่งผลิตปิโตรเลียมปลาทอง ระยะทาง 150 กิโลเมตร เพื่อนำไปจัดวางเป็นปะการังเทียมห่างจากเกาะพะงันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 7.5 ไมล์ทะเล โดยกองปะการังเทียมมีขนาดเพียง 0.05 ตร.กม. จัดวางบนพื้นที่ 2 คูณ 2 ตารางกิโลเมตร ตามมติคณะกรรมการชาติฯ

ขาแท่นที่นำมาจัดวาง เมื่อล้มลงในแนวนอนจะมีความสูงประมาณ 20-22.5  เมตร และเมื่อวางขาแท่นที่ระดับน้ำ 38.5-39.5 เมตร จะทำให้ส่วนบนสุดของยอดกองปะการังเทียมห่างจากผิวน้ำไม่น้อยกว่า 15 เมตร เพื่อความปลอด ภัยในการเดินเรือ


ทางเลือกรื้อถอนแท่น

สำหรับการรื้อถอนส่วนของขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม เพื่อนำไปจัดทำเป็นปะการังเทียมนั้น ถือเป็น 1 ในแนวทางของการบริหารจัดการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้กิจการปิโตรเลียม ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้บริษัท เชฟรอนฯ จะต้องดำเนินการรื้อถอนแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม ที่รัฐไม่ได้รับโอนไปใช้ประโยชน์ต่อ จำนวน 49 แท่น (รวม 7 ขาแท่นที่นำมาทำเป็นปะการังเทียมเป็นโครงการนำร่อง) โดยโครงสร้างของแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม มี 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่ ส่วนบน หรือ Topside สามารถนำไปจัดการบนฝั่ง หรือนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ในกิจการปิโตรเลียม  และส่วนของขาแท่นที่จมอยู่ในทะเล จะมีทางเลือกในการรื้อถอน 2 แนวทาง คือ การรื้อถอนและขนย้ายขึ้นไปจัดการบนฝั่ง หรือ การรื้อถอนและขนย้ายมาทำเป็นปะการังเทียม ที่ต้องได้รับอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ

ผลการศึกษาชี้วัดความสำเร็จ

นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณจัดทำปะการังเทียม เพื่อเป็นการอนุรักษ์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในทะเล ปีละประมาณ 100 ล้านบาทอยู่แล้ว การที่นำขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม ซึ่งมีความคงทน แข็งแรง ทำจากเหล็กกล้า (carbon steel) เพื่อใช้งานในทะเลมาจัดวางเป็นปะการังเทียมเพิ่มเติม โดยการสนับสนุนจากบริษัท เชฟรอนฯ ถือเป็นเรื่องที่ดี ในการช่วยรัฐประหยัดงบประมาณในการจัดวางปะการังเทียม

ที่สำคัญมีผลพิสูจน์ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า วัสดุขาแท่นปิโตรเลียม ที่นำมาวางเป็นปะการังเทียม สามารถเป็นที่เกาะติดของปะการังและสัตว์ทะเล รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์ปลา สัตว์ทะเลหลากหลายขนิดอย่างได้ผล เพราะมีผลการศึกษาและติดตามประเมินผลของทางสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2556 ทำปะการังเทียมจากขาแท่นปิโตรเลียมจำลอง ที่อ่าวโฉลกหลำ เกาะพะงัน ประสบความสำเร็จทั้งด้านระบบนิเวศและความเหมาะสมของวัสดุ รวมทั้งมีการใช้ประโยชน์ทางด้านการท่องเที่ยวและการประมง

นอกจากนี้ หลังจากการจัดวางขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมทั้ง 7 ขาแท่นเสร็จแล้ว ทช. และจุฬาฯ ซึ่งได้รับงบประมาณจากทางเชฟรอน 22.8 ล้านบาท จะร่วมกันติดตามและประเมินผลโครงการฯ ดังกล่าวอีก 2 ปี ก่อนนำไปสู่การขยายผลในอนาคตต่อไป โดยกรมฯ จะมีการออกระเบียบที่จะคุ้มครองพื้นที่ดังกล่าวเอาไว้ ที่จะช่วยให้บริเวณดังกล่าว เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน และเป็นที่รวมของสิ่งมีชีวิตหลายหลายสายพันธุ์


องค์ความรู้ใหม่อนุรักษ์ทะเล

นายอรรจน์ ตุลารักษ์ ผู้จัดการแผนกรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่เลิกใช้งานในกิจการปิโตรเลียม บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า การดำเนินงานในทุกขั้นตอนเป็นไปตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในระดับสากล นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเป็นโครงการศึกษานำร่องที่เป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการของทั้งในและต่างประเทศ ทำให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ด้านการอนุรักษ์ท้องทะเลไทย ซึ่งเป็นแนวทางที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายพื้นที่ทั่วโลก อาทิ ในอ่าวเม็กซิโก บรูไน มาเลเซีย ที่ช่วยเพิ่มแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ สร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศทางทะเล และช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและต่อชุมชน

อย่างไรก็ตาม การนำขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม เพื่อจัดวางเป็นปะการังเทียมนั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง และมีการกำกับดูแลจากภาครัฐในทุกขั้นตอน รวมถึงต้องติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการให้ความรู้แก่ประชาชน ปลุกจิตสำนึกในด้านการอนุรักษ์ในพื้นที่ พร้อมทั้งการเตรียมประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

ดังนั้น โครงการนี้ จะมีส่วนช่วยในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อการสงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทำให้ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนงานและการจัดการปะการังเทียม ไม่เพียงเฉพาะจากโครงสร้างขนาดใหญ่เท่านั้น แต่อาจรวมถึงการจัดการฐานทรัพยากรในภาพใหญ่ระดับประเทศด้วย



ที่มา Data & Images -


..
#2
เรือบรรทุกเครื่องบินไฮเทคจีนเสร็จปลายปี - วันที่ 17 ก.ย. 63 เดลีเมล์รายงานว่า ทางการสหรัฐอเมริกาจับตาใกล้ชิดหลังภายถ่ายดาวเทียมบริเวณเขตอุตสาหกรรมต่อเรือมณฑลเจียงหนาน ประเทศจีน เผยให้เห็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่ 3 ของกองทัพจีน ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง


ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังทางการจีนกำลังแผ่อิทธิพลในภูมิภาค โดยเฉพาะบริเวณทะเลจีนใต้ที่เป็นน่านน้ำพิพาทกับชาติอาเซียนหลายชาติ โดยพบความเคลื่อนไหวของกองกำลังปลดปล่อยประชาชนชาวจีน หรือพีแอลเอ บริเวณนี้อาจส่งผลคุกคามต่อกองทัพสหรัฐฯ

เรือบรรทุกเครื่องบินรุ่นใหม่ล่าสุดดังกล่าวเรียกว่า ไทป์ 003 ซึ่งมีกำหนดเสร็จสิ้นปลายปีนี้ และจะเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกที่จีนผลิตขึ้นเอง รวมกับรุ่นเก่าที่ซื้อต่อมาปรับปรุงใหม่จากรัสเซียเป็นทั้งหมด 3 ลำ ขณะที่กองทัพสหรัฐฯ นั้นมีเรือรุ่นดังกล่าว 12 ลำ กระจายอยู่ทั่วโลก (ระหว่างปฏิบัติภารกิจ 11 ลำ เทียบท่า 1 ลำ)

ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมบ่งชี้ว่า เรือบรรทุกเครื่องบิน ไทป์ 003 ลำแรกของจีน มีความยาวทั้งสิ้น 351 เมตร ขณะที่สำนักข่าวท้องถิ่นของจีน ระบุว่า จะได้รับการติดตั้งเทคโนโลยีคาตาพัลต์แบบใหม่ที่เป็นแบบแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถส่งเครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่ และเครื่องโดรนได้

ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์นานาชาติ หรือซีเอสไอเอส กรุงวอชิงตัน ที่เป็นผู้นำภาพถ่ายดาวเทียมมาเปิดเผย ระบุว่า เป็นภาพแรกที่เผยให้เห็นชิ้นส่วน 7 ชิ้น เรียงต่อกันตั้งแต่หัวถึงท้ายเรือ โดยส่วนลำตัวเรือนั้นยาว 296.8 เมตร กว้าง 39.6 เมตร (ระดับแนวน้ำ)

เทียบได้กับเรือบรรทุกเครื่องบินรุ่นใหม่ล่าสุดอย่าง ยูเอสเอส จอห์น เอฟ เคนเนดี้ ที่มีความยาว 335.8 และกว้าง 40.8 เมตร เพิ่งเข้าประจำการเมื่อปี 2562

ด้านความคืบหน้าการต่อเรือลำดังกล่าว คาดว่า อยู่ระหว่างประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน ก่อนจะนำดาดฟ้า และศูนย์บัญชาการมาประกบ เพิ่มความยาวของเรืออีกประมาณ 18.2 เมตร

โกลบอลไทมส์ สื่อกระบอกเสียงพรรคคอมมิวนิสต์จีน รายงานว่า การต่อเรือบรรทุกเครื่องบินไทป์ 003 เดินหน้าไปอย่างราบรื่น โดยเรือจะมีขนาดใหญ่กว่าเรือบรรทุกเครื่องบิน 2 ลำ ที่กองทัพเรือจีนใช้อยู่ และอัดแน่นไปด้วยเทคโนโลยีรุ่นใหม่ รวมถึงคาตาพัลต์แม่เหล็กไฟฟ้า


สร้างความฮือฮาให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางทหารเนื่องจากระบบคาตาพัลต์แม่เหล็กไฟฟ้าเพิ่งถูกประดิษฐ์และนำมาใช้จริงในเรือบรรทุกเครื่องบินรุ่นใหม่ เจอรัลด์ อาร์ ฟอร์ด-คลาส ที่จะมาแทนเรือบรรทุกเครื่องบิน นิมิตซ์-คลาส ของกองทัพสหรัฐ โดยทั้งคู่ใช้พลังงานจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์

หนึ่งในข้อได้เปรียบของระบบคาตาพัลต์แบบพลังแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นความนุ่มนวลในการเคลื่อนที่ ส่งผลให้แรงต้านที่เกิดต่ออากาศยานลดลง ทำให้สามารถส่งเครื่องบินได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น รวมทั้งโดรนขนาดใหญ่ด้วย

นายแมทธิว ฟูไนโอลเล นักวิจัยแสนยานุภาพจีน จากซีเอสไอเอส กล่าวว่า การพัฒนาของจีนนั้นรุดหน้าอย่างรวดเร็ว กระบวนการพัฒนาที่นำจีนมาอยู่ในแนวหน้าของเทคโนโลยีเรือบรรทุกเครื่องบินได้นั้นน่าประทับใจมาก นอกจากนี้ จีนยังแสดงให้โลกได้ประจักษ์ถึงขีดความสามารถในการออกแบบและผลิตเรือรบใช้เอง

รายงานระบุว่า เรือบรรทุกเครื่องบินที่จีนมีอยู่นั้นชื่อรุ่นว่า ไทป์ 001-คลาส มีขนาดเล็กกว่า และสามารถบรรทุกเครื่องบินรบได้เพียง 25 ลำ ใช้ระบบส่งเครื่องเป็นคาตาพัลต์รุ่นเก่า ขณะที่เรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐนั้นบรรทุกเครื่องบินได้มากกว่าเกือบ 4 เท่า

เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรก "เหลียวหนิง" เป็นเรือที่ทางการจีนซื้อมือสองมาจากกองทัพรัสเซียในปี 2541 นำมาปรับปรุงใหม่ ลำต่อมาทางวิศวกรของจีนนำไทป์ 001-คลาสมาศึกษาและลองสร้างเองเรียกว่า ไทป์ 001เอ-คลาส เข้าประจำการเมื่อปี 2560 แต่ยังไม่ได้ตั้งชื่อรหัสเรียกขาน

นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคง มองว่า กองทัพเรือจีนน่าจะใช้ ไทป์ 001 เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินสำหรับฝึกหัดในการบรรลุเป้าหมายมีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการ 6 ลำ ภายในปี 2573

ทั้งนี้ การต่อเรือและการใช้เรือบรรทุกเครื่องบินในยุทธการนั้นถือเป็นสิ่งที่ยาก โดยหนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่สุดของเรือบรรทุกเครื่องบินนั้นเป็นกองเรือคุ้มกัน ทั้งเรือประจัญบาน เรือตรวจการณ์ เรือเสบียง และเรือดำน้ำล้วนเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของกองเรือดังกล่าว



ที่มา Data & Images -




..
#3
เออาร์วีจับมือเมอร์เมดฯ ตั้งบริษัทร่วมทุน "ซีเควสต์" เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และเอไอสำหรับให้บริการงานวิศวกรรมใต้ทะเลในเชิงพาณิชย์ แก่บริษัทน้ำมันและก๊าซฯทั้งในและต่างประเทศ คาดเริ่มให้บริการในปี 2564


บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (เออาร์วี) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้ร่วมทุนกับบริษัท เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด (MSST) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) หรือเมอร์เมด จัดตั้ง บริษัท ซีเควสต์ จำกัด ขึ้น เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์สำหรับให้บริการงานวิศวกรรมใต้ทะเลในเชิงพาณิชย์ แก่บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และบริษัทด้านพลังงานทดแทนที่มีการดำเนินงานในทะเล ทั้งในภูมิภาคเอเชียและในภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก

บริษัท ซีเควสต์ จำกัด (ZeaQuest Co.,Ltd) มีทุนจดทะเบียนเริ่มต้นจำนวน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 155 ล้านบาท และมีสัดส่วนการถือหุ้นระหว่าง เมอร์เมด ซับซี เซอร์วิสเซส และ เออาร์วี เท่ากันที่ร้อยละ 50 โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในงานบริการวิศวกรรมใต้ทะเล ที่ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ในระดับสากล

นายธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี กล่าวว่า เออาร์วี มีความเชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ที่ใช้ในการสนับสนุนกิจกรรมการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียม รวมไปถึงอุตสาหกรรมและธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือจากด้านพลังงาน ความร่วมมือของทั้งสองบริษัทฯ ในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่จะขับเคลื่อนนวัตกรรมและเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงที่เออาร์วีพัฒนาขึ้น เพื่อให้บริการในการสำรวจ ตรวจสอบ และซ่อมบำรุงโครงสร้างและอุปกรณ์ใต้ทะเล เพื่อกลุ่มธุรกิจต่างๆ ทั้งในภูมิภาคและทั่วโลก โดยมีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งของเมอร์เมดฯ เป็นแรงสนับสนุน


นอกจากนี้ เออาร์วียังอยู่ในระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น หุ่นยนต์ใต้น้ำอัตโนมัติไร้สาย หรือ เอ็กซ์พลอเรอร์ (Xplorer) หุ่นยนต์ซ่อมบำรุงท่อใต้น้ำ หรือนอติลุส (Nautilus) รวมทั้งเทคโนโลยีทางด้านปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ผลตรวจสอบ หรือการใช้ Internet of Things (IoT) ในการสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลซึ่งตั้งเป้าที่จะให้บริการในเชิงพาณิชย์ภายในปี 2564 ดังนั้น บริษัท ซีเควสต์ จำกัด ที่จัดตั้งร่วมกันนี้จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ เออาร์วี และเมอร์เมดฯ ตลอดจนอุตสาหกรรมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจากเทคโนโลยีเหล่านี้ รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ประเทศไทยด้วย

นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และรองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เมอร์เมดฯ ดำเนินธุรกิจในด้านการให้บริการงานวิศวกรรมใต้ทะเล มานานกว่า 30 ปี และมีฐานปฏิบัติการที่กระจายอยู่ในหลายประเทศ เช่น  สิงคโปร์ อินโดนีเซีย กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหราชอาณาจักร เป็นต้น บริการของเมอร์เมดฯ มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรือวิศวกรรมใต้ทะเล อุปกรณ์ดำน้ำแบบพิเศษ ยานสำรวจใต้ทะเล ROV เรือขุดเจาะนอกชายฝั่ง ฯลฯ เมอร์เมดฯ จึงสามารถให้บริการงานวิศวกรรมใต้ทะเลได้แบบครบวงจร และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามาโดยตลอด สิ่งที่ลูกค้าต้องการจากเมอร์เมดฯ คือ เทคโนโลยีที่ทันสมัยและบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ซึ่งการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกันของเมอร์เมดฯ และ เออาร์วี ในครั้งนี้ นับเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะช่วยยกระดับงานบริการงานวิศวกรรมใต้ทะเลของเมอร์เมดฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ของ เออาร์วี ในระยะเริ่มต้น บริษัท ซีเควสต์ วางแผนที่จะนำหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ไปให้บริการงานด้าน สำรวจ ตรวจสอบ ติดตั้ง รื้อถอน และซ่อมบำรุงโครงสร้างหรืออุปกรณ์ใต้ทะเล ฯลฯ แก่บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อน หลังจากนั้นจะขยายการบริการไปสู่ภูมิภาคตะวันออกกลางและทั่วโลกต่อไป



ที่มา Data & Images -

#4
Tuesday September 15, 2020 11:00 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายพิศาล รัชกิจประการ กรรมการผู้จัดการ บมจ.อาม่า มารีน (AMA) เปิดเผยกับ"อินโฟเควสท์"ว่า บริษัทมั่นใจว่ากำไรสุทธิปี 63 จะดีกว่าระดับ 180.52 ล้านบาทในปีที่แล้ว แม้ในช่วงครึ่งปีแรกจะทำกำไรสุทธิได้เพียง 59.62 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 68.18 ล้านบาท แต่ผลประกอบการมีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างมากในช่วงครึ่งปีหลังตามอัตราการใช้เรือฟื้นตัวกลับมาเป็นสูงกว่า 90% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกที่เป็นช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้อัตราการใช้เรือต่ำกว่า 80% เพราะเมื่อหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ทำให้ปริมาณการใช้เรือกลับมาเพิ่มขึ้นทันที


"เราจะเห็นการฟื้นตัวมาตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2/63 แล้ว และในช่วงไตรมาส 3/63 จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งจากที่เราดูทิศทาง 2 เดือนของไตรมาส 3 ที่ผ่านมากำไรสุทธิเราจะสูงกว่าครึ่งปีแรกที่ผ่านมาแน่นอน และในไตรมาส 4/63 ทั้งธุรกิจขนส่งทางเรือ และขนส่งทางรถ ก็จะเข้าช่วงไฮซีซั่นด้วย เชื่อว่าจะเข้ามาช่วยหนุนให้ทั้งปีกำไรสุทธิสูงกว่าปีก่อนได้ แม้ว่ารายได้อาจจะทรงตัวจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงทำให้ค่าขนส่งต้องลดลงตาม แต่ปริมาณการขนส่งทั้งทางเรือและทางรถในปีนี้จะสูงกว่าปีก่อนแน่นอน"นายพิศาล กล่าว

นายพิศาล กล่าวว่า สำหรับบริการขนส่งทางบก ซึ่งเป็นการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงโดยรถบรรทุกเป็นหลักนั้น แม้ว่าในช่วงไตรมาส 3/63 จะเป็นช่วงโลว์ซีซั่น แต่การที่ภาครัฐบาลประกาศให้ B10 ซึ่งมีน้ำมันไบโอดีเซล (B100) เป็นส่วนผสม 10% เป็นน้ำมันดีเซลพื้นฐานแทน B7 ในสถานีบริการน้ำมันตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. รวมไปถึงรถบรรทุกขนาดใหญ่มีการใช้น้ำมัน B20 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะทำให้การใช้ไบโอดีเซลเติบโตได้อย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งส่งผลทำให้ปริมาณการขนส่งเพิ่มขึ้นด้วย ขณะเดียวกัน บริษัทยังได้ลูกค้ารายใหม่ที่เข้ามาใช้บริการขนส่งไบโอดีเซล คือ บมจ.เอไอ เอนเนอร์จี (AIE) ซึ่งเป็นผู้ผลิตไบโอดีเซลรายใหญ่ รวมถึงยังคงหาลูกค้าใหม่ในกลุ่มดังกล่าวเข้ามาเพิ่มเติมด้วย

นอกจากนี้ จากการที่บริษัทได้รับการตรวจสอบการทำงานและมาตรฐานต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ได้รับการบรรจุชื่อในกลุ่มผู้ให้บริการขนส่งน้ำมันให้กับสถานีบริการน้ำมัน (ปั๊มน้ำมัน) ได้ทุกแห่ง จึงเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่จะทำให้บริษัทสามารถหาลูกค้ารายใหม่เพิ่มเติมจากที่มี บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี (PTG) ซึ่งเป็นลูกค้าหลัก โดยจะเข้าประมูลงานขนส่งในปีหน้า และหากได้รับคัดเลือกก็คาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ในปี 65

นายพิศาล กล่าวว่า บริษัทยังเดินหน้าลงทุนขยายงานตามแผน โดยช่วงครึ่งปีแรกได้เพิ่มจำนวนกองรถบรรทุกไปแล้ว 35 คัน และในช่วงครึ่งปีหลังจะเพิ่มอีก 20 คัน เพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการลูกค้าหลักอย่าง PTG ที่การขนส่งน้ำมันมีการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการรองรับลูกค้ารายใหม่ๆ ที่จะเข้ามาเพิ่มเติมด้วย


ส่วนแผนขยายงานด้วยการซื้อกิจการและควบรวมกิจการนั้น นายพิศาล เปิดเผยว่า บริษัทยังอยู่ระหว่างการเข้าไปตรวจสอบฐานะการเงินกลุ่มโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการขนส่งสินค้าในอุตสาหกรรมที่ไม่ซ้ำกับธุรกิจหลักของ AMA คาดว่ายังต้องใช้ระยะเวลาอีกราว 2-3 เดือนในการเข้าซื้อกิจการ โดยบริษัทคาดหวังให้ AMA เข้าไปถือหุ้นราว 70% "ก่อนหน้านี้เราได้มีการตรวจสอบไปแล้วเบื้องต้น แต่เราก็ได้ให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเข้าไปตรวจสอบอีกครั้งเพื่อความแน่ใจว่าบริษัทนี้ดีจริง และหากตกลงราคาได้ในราคาที่เหมาะสมเราก็พร้อมที่จะเข้าซื้อ และเชื่อว่าจะเข้ามาหนุนรายได้ไปยังกลุ่มๆเพิ่มขึ้นไม่พึ่งพิงเพียงธุรกิจเดียว"นายพิศาล กล่าว

สำหรับราคาหุ้น AMA ที่ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมานั้น นายพิศาล กล่าวว่า ไม่ทราบสาเหตุ เพราะราคาลดลงทั้ง ๆ ที่ทิศทางผลประกอบการของบริษัทก็มีทิศทางที่ดีขึ้น และยังมีโอกาสการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะมีความต้องการการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

อนึ่ง ราคาหุ้น AMA อยู่ในทิศทางขาลงต่อเนื่องจากระดับ 5.40 บาทเมื่อวันที่ 27 ก.ย.62 จนมาทำระดับต่ำสุดรอบเกือบ 4 เดือนในช่วงเช้าวันนี้ที่ 4.42 บาท ลดลง 0.04 บาท หรือ 0.90% เมื่อเวลา 10.57 น.

ที่มา Data & Images -
#5
ทหารเรือนำรถพ่วงเคลื่อนย้ายเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.91 เรือประวัติศาสตร์ที่ปกป้องท้องทะเลไทยมายาวนาน 5 ทศวรรษ และปลดประจำการไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.62 ออกจากกรมอู่ทหารเรือไปตั้งที่อุทยานประวัติศาสตร์เรือของพ่อ "เรือ ต.91" ริมชายหาด หน้าสโมสรสัญญาบัตร กองเรือยุทธการอ่าวดงตาล อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี.


เมื่อเวลา 15.00 น. วันนี้ (16 ก.ย.63) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองทัพเรือเรือ โดยกองเรือยุทธการ ได้ทำการเคลื่อนย้ายเรือ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง หมายเลข 91 หรือ เรือ ต.91 ที่เคยประจำการใน กองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ และได้ปลดประจำการไปในวันที่ 1 ต.ค.62 ที่ผ่านมา ก่อนจะถูกนำไปทาสีใหม่ให้สวยงาม และนำขึ้นจากท้องทะเล มายังแท่นรองรับ ริมชายหาด หน้าสโมสรสัญญาบัตร กองเรือยุทธการ อ่าวดงตาล อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยใช้เส้นทางถนนสุขุมวิท อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อจัดสร้างเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ เรือ ต.91 เพื่อให้ลูกหลาน ประชาชน และนักท่องเที่ยวได้ชมอดีต เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง หมายเลข 91 ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ในการพระราชทานทั้งพระราชดำริและพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการต่อเรือ เพื่อการพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือ เป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อกองทัพเรือ หลังได้อำลาการปฏิบัติงานลงอย่างสมเกียรติ ให้คงเป็นที่จารึกจดจำแด่ เหล่านักรบแห่งราชนาวีไทยตลอดไป

สำหรับเรือตรวจใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.91 เป็นเรือที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ในการพระราชทานทั้งพระราชดำริและพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการต่อเรือ เพื่อการพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือ นับตั้งแต่การสร้างเรือตรวจใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.91 ถึงเรือ ต.99 จำนวน 9 ลำ ระหว่างปี พ.ศ. 2510- 2530 อันเป็นการดำเนินโครงการของกองทัพเรือ ตามพระราชดำริของพระองค์ โดยเรือ ต.91 ได้ขึ้นประจำการครั้งแรกเมื่อ 12 ส.ค.2511 และ ครั้งที่ 2 เมื่อ 15 เม.ย. 2535 รวมระยะเวลาประจำการ 52 ปี หลังกองทัพเรือได้เสนอกระทรวงกลาโหมเพื่อขออนุมัติปลดระวาง เนื่องจากใช้ราชการมานานสภาพโดยทั่วไปเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน การซ่อมบำรุงไม่คุ้มค่าในการซ่อมบำรุง และมีความเสี่ยงในการใช้ปฏิบัติราชการ โดยตัวเรือถูกสร้างโดยกรมอู่ทหารเรือ เป็นการพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือ โดยตลอดระยะเวลาที่เรือได้เข้าปฏิบัติราชการ ได้สร้างผลงานและชื่อเสียงให้แก่กองทัพเรือ เช่น การถวายความปลอดภัยทางทะเลให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ การปกป้องอธิปไตยของชาติทางทะเล การรักษาผลประโยนของชาติทางทะเล การช่วยเหลือผู้ประสบภัย และการมีส่วนร่วมกับประชาชนในการพัฒนาชุมชนพื้นที่ชายฝั่งทะเล


สำหรับโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ เรือของพ่อ เรือ ต. 91 จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ สืบสานพระราชปณิธานในการต่อเรือ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ในการพระราชทานทั้งพระราชดำริและพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับการต่อเรือ เพื่อพึ่งพาตนเองมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นแหล่งการเรียนรู้อันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และนับว่าเรือตรวจการณ์ ชุดเรือ ต.91 มีความสำคัญยิ่งในการดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของกองเรือยุทธการและกองทัพเรือ เราชาวทหารเรือจะขอจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์แห่งราชนาวีและจดจำไว้ในใจตราบนานเท่านาน


ที่มา Data & Images -






..
#6
กรุงเทพฯ -- 15 ก.ย. 63 --วี.แอล. เอ็นเตอร์ไพรส์ - บริษัท วี.แอล. เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) หรือ VL เดินหน้าต่อเรือลำใหม่ (VL23) ซึ่งมีขนาดบรรทุก 2,800 DWT และเริ่มทำพิธีวางกระดูกงู (Keel Laying) แบบ New Normal โดยมีตัวแทนจากอู่ต่อเรือ ประเทศเกาหลีใต้เป็นผู้ทำพิธี และคาดว่าจะส่งมอบเรือได้ภายในต้นปี 2564 นี้ ณ อู่ต่อเรือ KHAN ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา


ที่มา Data & Images -





..
#7
CAT ผนึกกำลัง เอ็ม เอส ไอ จี ลุยตลาดประกันภัยไซเบอร์ คุ้มครองธุรกิจจากการคุกคามทางไซเบอร์ครอบคลุมทั่วโลก พร้อมทีมงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่วยเหลือตลอด 24 ชม. ชี้ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการโจมตีทางไซเบอร์ทุกรูปแบบ โดยตั้งเป้ากวาดเบี้ย 100 ล้านบาท


พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดเผยว่า โครงการ "ประกันภัยความเสี่ยงภัยไซเบอร์" เป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นจากการมองเห็นแนวโน้มความเสี่ยงภัยทางไซเบอร์ ซึ่งในปัจจุบันมีความรุนแรงและมีมูลค่าความเสียหายเพิ่มสูงขึ้น สามารถส่งผลกระทบได้กับธุรกิจในทุกภาคส่วน ซึ่งการบริหารจัดการกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั้น ผู้ประกอบธุรกิจอาจไม่สามารถประเมินและควบคุมได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังนั้น จึงเกิดความร่วมมือขึ้นระหว่าง 2 หน่วยงาน คือ CAT ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและให้บริการด้าน IT Security ที่มีประสบการณ์กว่า 13 ปี ผนวกกับ เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย มืออาชีพด้านประกันภัย ร่วมกันพัฒนากรมธรรม์ประกันภัย ที่พร้อมจะช่วยดูแลทางด้านความปลอดภัยและดูแลค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจหากเกิดภัยไซเบอร์ขึ้น

"ภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะตกเป็นเหยื่อเมื่อไหร่ และผลกระทบจะรุนแรงมากน้อยเพียงใด ประกันภัยไซเบอร์จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างอุ่นใจ CAT และ เอ็ม เอส ไอ จี จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการรับโอนความเสี่ยง ปกป้องธุรกิจจากภัยคุกคามไซเบอร์ และเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จสำหรับภาคธุรกิจ"

นายรัฐพล กิติศักดิ์ไชยกุล กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย)จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "เอ็ม เอส ไอ จี และกสท โทรคมนาคม ต่างเล็งเห็นความสำคัญของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เช่น ระบบคอมพิวเตอร์โดนแฮ็กหรือเสียหายโดยโปรแกรมมัลแวร์/ไวรัส และการรั่วไหลหรือเปิดเผยข้อมูลซึ่งเป็นความลับ รวมถึงการโดนก่อกวนจากหลายอุปกรณ์พร้อมๆ กันจนระบบปฏิบัติการออนไลน์ล่ม เราจึงร่วมกันพัฒนากรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยไซเบอร์นี้ขึ้นมา กรมธรรม์ประกันภัยไซเบอร์จะเข้ามาบรรเทาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หลังจากผู้เอาประกันภัยโดนคุกคามหรือโจมตี นอกจากนี้ เอ็ม เอส ไอ จียังมีบริการให้คำปรึกษาวิธีรับมือจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้กับผู้เอาประกันภัยตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก"

"กรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยไซเบอร์ของเอ็ม เอส ไอ จี ถูกออกแบบมาเพื่อธุรกิจทุกขนาด ตั้งแต่ธุรกิจ SME ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ โดยมีจุดเด่นคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากการโดนคุกคามทางไซเบอร์ในรูปแบบต่าง ๆ  ซึ่งแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่อความเสียหายออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกคือความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัย เช่น ค่าใช้จ่ายที่ต้องดำเนินการตรวจสอบหรือสอบสวนเหตุการณ์ ค่าใช้จ่ายในการกอบกู้ข้อมูล ค่าใช้จ่ายในการจัดจ้าง PR เพื่อแถลงความเสียหายหรือแจ้งแก่สาธารณะ ค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนระบบคอมพิวเตอร์จากการเรียกค่าไถ่ หรือแม้กระทั่งค่าปรับจากการถูกลงโทษโดยหน่วยงานที่กำกับดูแล และความเสียหายส่วนที่สองคือความเสียหายของผู้เอาประกันภัยต่อบุคคลภายนอก เช่น ค่าใช้จ่ายตามกฎหมายที่ผู้เอาประกันภัยต้องชดใช้ต่อบุคคลภายนอกและค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี" นายรัฐพลกล่าว

กรมธรรม์ประกันภัยเสี่ยงภัยไซเบอร์จะช่วยให้ผู้เอาประกันภัยสามารถกอบกู้และดำเนินธุรกิจต่อได้ ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถเลือกความคุ้มครองได้เองตามประเภทของธุรกิจ และจำนวนวงเงินจำกัดความรับผิดที่ต้องการ สำหรับเป้าหมายของโครงการประกันภัยความเสี่ยงภัยไซเบอร์ที่เอ็ม เอส ไอ จี ร่วมมือกับ CAT นี้ คาดว่าจะมีลูกค้าเข้าร่วมโครงการทำประกันภัยมากกว่า 2,000 ราย และเบี้ยมีประกันภัย 100 ล้านบาทภายในระยะเวลา 2 ปี

เกี่ยวกับ บมจ.เอ็ม เอส ไอ จี (ประเทศไทย)
บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทประกันวินาศภัยชั้นนำในประเทศไทย ที่ให้บริการรับประกันวินาศภัย เช่น รถยนต์ อุบัติเหตุส่วนบุคคล อัคคีภัยบ้านและทรัพย์สิน ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก ประกันภัยขนส่งทางทะเลและอากาศและอื่น ๆ มากกว่า 120 ปี บริษัทฯ พร้อมให้บริการด้วยบุคคลากรกว่า 800 คน และมีสาขา 19 สาขาครอบคลุมทั่วประเทศ

..
#8
รุ่งนภา พิมมะศรี : เรื่อง, สมจิตร ใจชื่น/มาร์ซัน : ภาพ

เรามักจะได้ยินข่าวกองทัพเรือสั่งซื้อเรือรบจากต่างประเทศ เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็เพิ่งนำเรือรบสมรรถนะสูงเข้ามาจากเกาหลีใต้ ทำให้คนจำนวนมาก (รวมผู้เขียนด้วย) คิดว่าในเมืองไทยของเราไม่มีอู่ต่อเรือที่สามารถต่อเรือรบได้ แต่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างที่คิด เมืองไทยเราก็มีอู่ต่อเรือหลายแห่งที่ต่อเรือรบได้มาหลายปีแล้ว ซึ่งพอได้รู้ข้อมูลตรงนี้ก็ชวนให้ตื่นเต้น อยากพาคนอ่านไปดู ไปรู้ ไปเห็น ว่าอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือบ้านเรานั้นเป็นอย่างไรบ้าง และการต่อเรือรบหนึ่งลำต้องใช้เวลานานแค่ไหน


หนึ่งในอู่ต่อเรือที่ต่อเรือรบได้ เป็นอู่ต่อเรือระดับหัวแถวของไทยก็คือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) ที่ผ่านงานต่อเรือให้ทั้งกองทัพเรือไทย และกองทัพเรือต่างประเทศมาแล้ว รวมแล้วตอนนี้มาร์ซันต่อเรือมาแล้วมากกว่า 300 ลำ ซึ่งผลงานชิ้นโบแดงของบริษัท คือ "เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา" ซึ่งเป็นชุดเรือ 3 ลำ คือ ต.991 ต.992 และ ต.993

ด้วยความน่าสนใจของการต่อเรือ โดยเฉพาะการต่อเรือรบ "ดีไลฟ์-ประชาชาติธุรกิจ" จึงขอเข้าไปพูดคุยกับ ภัทรวิน จงวิศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) ที่สำนักงานบริษัท ซึ่งตั้งอยู่ที่เดียวกันกับอู่ต่อเรือ ณ ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้ปากอ่าวไทย เพื่อทำความรู้จักกับอุตสาหกรรมต่อเรือที่คนทั่วไปไม่คุ้นเคย

โบ๊ท-ภัทรวิน จงวิศาล ลูกชายคนโตผู้เข้ามาบริหารธุรกิจต่อจากคุณพ่อ สัญชัย จงวิศาล เล่าความเป็นมาของบริษัทให้ฟังคร่าว ๆ ว่า มาร์ซันก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2523 โดยคุณพ่อของเขากับ ยง นนท์โสภา อดีตหุ้นส่วน ซึ่งทั้งสองเคยทำงานในอู่ต่อเรือมานานหลายปี ก่อนจะลาออกมาเริ่มทำอู่ของตัวเอง

มาร์ซันเริ่มจากต่อเรือไฟเบอร์กลาสลำเล็ก ๆ ที่ใช้เป็นเรือข้ามฟากจากระหว่างฝั่งกับเกาะ แล้วค่อย ๆ เรียนรู้และขยับไปต่อเรือที่ใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น เช่น เรือตรวจการณ์ของราชการ อย่างตำรวจน้ำ ทหารเรือ กรมศุลกากร แล้วเริ่มทำเรือรบลำแรกประมาณปี พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบันสามารถต่อเรือรบได้ขนาดใหญ่ที่สุด ความยาว 58 เมตร ซึ่งเป็นเรือตรวจการณ์ที่ใช้ในภารกิจของกองทัพเรือ

จากพนักงานยุคเริ่มต้นแค่หลัก 10 คน ตอนนี้มีพนักงานมากถึง 400 คน ในจำนวนนี้เป็นวิศวกรมากถึง 60 คน สิ่งหนึ่งที่มาร์ซันมีเหนือกว่าอู่อื่น ๆ ในประเทศ คือ มาร์ซันสามารถออกแบบเรือได้เองด้วย ไม่ได้ทำตามแบบของต่างประเทศ ซึ่งการออกแบบเองได้จะทำให้มีความสามารถในการแข่งขันสูงกว่า

ก่อนจะเล่าลงรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทของตัวเอง ภัทรวินให้ข้อมูลภาพกว้างว่า อู่ต่อเรือในประเทศไทยมีเยอะ มีทั้งของไทยและร่วมทุนต่างชาติ ใน "สมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย" มีสมาชิกอยู่ 24 อู่ แต่หลายแห่งไม่ได้ต่อเรือแล้วในปัจจุบัน ทำแค่รับซ่อมเรือเท่านั้น เนื่องมาจากอุตสาหกรรมต่อเรือเป็นอุตสาหกรรมที่การแข่งขันสูง และปัจจัยหลายอย่างไม่เอื้อให้อุตสาหกรรมต่อเรือในประเทศไทยเกิดขึ้นอย่างเข้มแข็ง

ส่วนการต่อเรือรบที่คนไม่ค่อยทราบว่าอู่ไทยก็ต่อได้นั้น ภัทรวินอธิบายว่า อาจจะเนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเรือเป็นอุตสาหกรรมที่เฉพาะทางมาก จึงไม่ได้ประชาสัมพันธ์ไปสู่วงกว้าง ทั้งที่จริงแล้วอู่ต่อเรือไทยก็ต่อเรือรบได้ เพียงแต่ยังเป็นเรือที่สมรรถนะไม่สูงมาก


"มาร์ซันไม่ใช่อู่ต่อเรือเจ้าแรกที่ทำเรือให้กองทัพเรือ เราน่าจะเป็นอู่ท้าย ๆ ที่เข้าไปทำเรือให้กองทัพเรือ แต่เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมา มาร์ซันตอบสนองความต้องการของกองทัพเรือได้เป็นอย่างดี และสร้างประสบการณ์ที่ดีในการซื้อเรือในประเทศ จึงได้รับความไว้วางใจเรื่อยมา"

ซีอีโอมาร์ซันเล่าลงรายละเอียดว่า มาร์ซันมีประสบการณ์ต่อเรือสำหรับภารกิจของกองทัพ ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2546 เป็นการต่อเรือให้กองทัพเรือปากีสถาน แต่จุดที่ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของบริษัท คือ การเข้าไปประมูลงานต่อเรือให้กองทัพเรือไทยครั้งแรก ก็คือตอนที่กองทัพเรือต้องการสร้างเรือตรวจการณ์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา หรือชุดเรือ ต.991 ต.992 ต.993 ซึ่งมาร์ซันก็ได้งานนี้มา และส่งมอบเรือให้กองทัพในปี 2550 หลังจากนั้นก็ได้รับโอกาสจากกองทัพเรือเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ถือว่ากองทัพเรือเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเรือในประเทศอย่างมาก

ขณะที่ทำเรือรบและเรือช่วยรบให้กองทัพเรือ ทำเรือตรวจการณ์ให้แก่หน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น ตำรวจน้ำ กรมประมง การท่าเรือฯ ฯลฯ ฝั่งเรือสำหรับเอกชนใช้งานในเชิงพาณิชย์ก็ไม่ได้ทิ้ง ทั้งเรือท่องเที่ยว เรือขนส่งสินค้า เรือแท่นขุดเจาะน้ำมัน ฯลฯ ก็ยังคงทำควบคู่กันมาตลอด

ปี 2562 ที่ผ่านมา มาร์ซันมีรายได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งซีอีโอหนุ่มคนนี้บอกว่า "เรามีความหวังอยากให้มันโตขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี"

ลูกค้าส่วนมากของมาร์ซันเป็นลูกค้าต่างประเทศ สัดส่วนมากถึง 80% โดยเป็นลูกค้าจากตะวันออกกลางซะเยอะ ซึ่งภัทรวินยังบอกอีกว่า เขามุ่งมั่นจะพามาร์ซันไปลุยตลาดสากล จะหาลูกค้าต่างประเทศมากขึ้น ลดการพึ่งพิงลูกค้าในประเทศ เพราะนโยบายหลายอย่างในประเทศไม่เอื้อให้อุตสาหกรรมต่อเรือโต

"ถ้าเราออกไปไกลหน่อย สู้คลื่นลมหน่อย เรายังมีความหวังว่าจะได้ปลาตัวใหญ่ขึ้น หรือจำนวนมากขึ้น" เขาเปรียบการหาลูกค้าเหมือนกับการออกเรือไปหาปลา

ภัทรวินเปิดเผยว่า การต่อเรือหนึ่งลำใช้เวลาประมาณ 15-24 เดือน ขึ้นอยู่กับขนาดและระดับความซับซ้อนของเรือแต่ละลำ และอาจจะนานกว่า 24 เดือน หากมีความซับซ้อนสูงมาก ๆ แต่ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่าทำได้ทีละลำ สามารถทำพร้อมกันได้หลายลำตามกำลังคนที่มี ส่วนเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ประจำเรือนั้น ทางกองทัพจะจัดหามาเองแล้วนำมาให้อู่ติดตั้งให้

ถามถึงการต่อเรือกองทัพว่าแบ่งระดับความซับซ้อนอย่างไรบ้าง เขาอธิบายให้ฟังว่า เรือสำหรับภารกิจของกองทัพแยกใหญ่ ๆ เป็นเรือรบกับเรือช่วยรบ เรือช่วยรบนั้นมีตั้งแต่เรือตรวจการณ์ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ส่วนเรือรบแท้ ๆ ที่ใช้ในภารกิจการรบเรียกว่า เรือคอร์เวต (เรือรบขนาดเล็ก) และเรือฟริเกต (เรือรบอเนกประสงค์ขนาดใหญ่สามารถรบได้หลายมิติ) ซึ่งเรือรบแท้ ๆ ที่ว่านี้ยังไม่เคยมีการต่อในประเทศไทยมาก่อน มีเพียงการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาดใหญ่ที่สุดที่ต่อโดยบริษัทอู่กรุงเทพร่วมกับกรมอู่ทหารเรือ

ถึงแม้อู่ไทยยังไม่เคยทำเรือรบแท้ ๆ แต่ภัทรวินมองว่า อู่ในไทยก็มีความสามารถจะขยับไปต่อเรือรบอย่างคอร์เวต หรือฟริเกต ได้ในอนาคต มาร์ซันก็เป็นหนึ่งอู่ที่มีความพร้อม เพราะมีการแสวงหาความร่วมมือทั้งกับต่างประเทศและในประเทศ เพื่อที่จะต่อเรือที่มีสมรรถนะสูงขึ้น และออกจากกรอบที่เคยทำมา และเขามั่นใจว่าศักยภาพของคนไทยไม่ด้อยกว่าชาติอื่น ส่วนเรื่ององค์ความรู้ก็สามารถเรียนตามกันได้

เท่าที่ฟังเขาให้ข้อมูล ปัญหาของเอกชนในอุตสาหกรรมต่อเรือไม่ได้อยู่ที่ขาดโอกาสในการต่อเรือกองทัพ ภัทรวินย้ำว่า กองทัพเรือสนับสนุนมากแล้ว แต่ปัญหาอยู่ตรงประเด็นที่ว่า อุตสาหกรรมต่อเรือไม่โต มีเงินหมุนเวียนปีละไม่ถึง 10,000 ล้านบาท ทั้งที่ความต้องการใช้ในประเทศก็มีอยู่ แต่ติดที่นโยบายหลายอย่างไม่เอื้อให้อุตสาหกรรมต่อเรือเกิดและโต อย่างเช่น การให้ BOI กับธุรกิจที่ใช้เรือเก่าจากต่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นการไม่สนับสนุนให้ใช้เรือที่ต่อในประเทศ


"ผมพูดในนามสมาคมต่อเรือฯ ผมคิดว่าถ้าโครงการไหนที่สามารถต่อเรือในประเทศได้ เราน่าจะหันมาให้ความสำคัญกับการต่อเรือในประเทศมากขึ้น ถ้ามีการต่อเรือในประเทศมากขึ้น มันก็จะเกิดการจ้างงานมากขึ้น เกิดการผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนต้นน้ำ รัฐเก็บภาษีได้มากขึ้น จีดีพีก็โตขึ้น ปัจจุบันนี้เรายังมีนโยบายให้นำเข้าเรือเก่าที่ถูกใช้งานมา 25 ปี ซึ่งมันมีความเสี่ยงในการใช้งาน และมันไม่ส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศ ไม่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ รัฐบาลควรจะเข้ามาดูว่า ทำยังไงให้พาณิชย์นาวีมันเกิดในประเทศ เติบโตได้"

อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่า ไม่ได้อยากมีปัญหากับผู้ใช้เรือ เพราะเข้าใจว่าผู้ใช้เรือก็อยากได้ต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ เพียงแต่ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแล มาหาทางเกลี่ยผลประโยชน์ให้ทั่วถึงกัน ซึ่งเขาคิดว่าในที่สุดแล้ว มันจะเกิดผลดีต่อภาพรวมของประเทศ

"ทุกประเทศทำแบบนี้หมด ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา เกาหลี จีน ต้องตีกรอบอุตสาหกรรมให้มีการสร้างงานในประเทศให้ได้ มันจะสร้างงาน สร้างอุตสาหกรรมต้นน้ำขึ้นไปเรื่อย ๆ และทำให้อุตสาหกรรมเติบโต ดูตัวอย่างอย่างเกาหลี ทุกวันนี้เขาสามารถต่อเรือฟริเกตมาขายประเทศไทยได้ เขาต่อเรือดำน้ำขายให้กองทัพอินโดนีเซียได้ ในอดีตเขาก็เริ่มจากการซื้อเรือดำน้ำเยอรมัน แล้วก็เรียนรู้ พัฒนา และทำในประเทศจนออกมาขายได้ นี่คือแนวทางที่ชัดเจนมาก ๆ ว่าทำไมประเทศพวกนี้ถึงมีเศรษฐกิจที่เติบโต และยกระดับรายได้ต่อหัวของประชากรขึ้นไปได้มาก"

นอกจากการพาบริษัทของตัวเองไปหาลูกค้าต่างประเทศเพื่อให้รายได้เติบโตทุกปีตามเป้า การเรียกร้องให้ภาครัฐมาสนใจดูแลทั้งภาพรวมของอุตสาหกรรมต่อเรือก็เป็นสิ่งที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของมาร์ซันให้ความสำคัญ



ที่มา Data & Images -






..
#9
เอเอฟพี - "เรือผี" ลำหนึ่งซึ่งล่องลอยอยู่กลางทะเลโดยปราศจากลูกเรือมานานนับปี ถูกพายุเดนิสซัดพาเกยตื้นชายฝั่งทางภาคใต้ของไอร์แลนด์เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา


เรือสินค้าเอ็มวี อัลตา ความยาว 77 เมตร ถูกคลื่นสูงซัดเข้ามาติดแนวโขดหินไม่ไกลจากหมู่บ้านบัลลีย์คอทตอน ใกล้เมืองคอร์ค เมืองใหญ่สุดอันดับ 2 ของไอร์แลนด์ สิ้นสุดการล่องลอยกลางทะเลยาวนานหลายเดือน

การผจญภัยของเรือสินค้าอัลตา เริ่มต้นขึ้นในเดือนกันยายน 2018 ครั้งที่มันสูญหายไปกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ระหว่างเดินทางจากกรีซไปยังเฮติ

ลูกเรือ 10 คนใช้เวลา 20 วันบนเรือตอนที่มันล่องลอยอยู่นอกชายฝั่งเบอร์มิวดา ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 2,220 กิโลเมตร ก่อนได้รับความช่วยเหลือจากเรือตรวจการณ์ของยามชายฝั่งสหรัฐฯลำหนึ่ง

ในตอนนั้นยามชายฝั่งสหรัฐฯเผยว่ากำลังประสานงานกับเจ้าของเรือที่ประดับธงแทนซาเนียเพื่อเตรียมลากมันกลับเข้าฝั่ง อย่างไรก็ตามความเคลื่อนไหวหลังจากนั้นของเรือกลายเป็นเรื่องราวปริศนา

Fleetmon เว็บไซต์เกี่ยวกับการเดินเรือ อ้างได้รับข้อมูลจากเจ้าของเรือระบุว่าเรือลำนี้ถูกจี้ไปจากกายอานาถึง 2 ครั้งระหว่างปฏิบัติการกู้เรือ


ต่อมามีคนพบเห็นเรืออายุ 44 ปีลำนี้อย่างเป็นทางการอีกครั้งในเดือนสิงหาคม 2019 โดยหนนี้เป็น HMS Protector เรือลาดตระเวนของกองทัพเรืออังกฤษที่พบมันล่องลอยโดยไร้ลูกเรืออยู่กลางมหาสมุทรแอตแลนติก "เราเข้าไปใกล้เรือเพื่อติดต่อและเสนอมอบความช่วยเหลือ แต่ไม่มีใครตอบกลับ"

สุดท้ายแล้วการผจญภัยของเรืออัลตาก็สิ้นสุดลงที่โขดหินริมฝั่งเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างที่พายุเดนนิสโหมกระหน่ำ ซัดถาโถมเข้าเล่นงานไอร์แลนด์ด้วยฝนตกหนักและลมพักแรงกว่า 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ยามชายฝั่งไอร์แลนด์บอกว่าได้ส่งเฮลิคอปเตอร์กู้ภัยไปยังจุดที่พบเรือเมื่อวันอาทิตย์(16ก.พ.) ทว่าไม่พบลูกเรือแต่อย่างใด

ส่วนสภาเมืองคอร์ค ระบุในวันจันทร์ (17 ก.พ.) ไม่พบสัญญาณการรั่วไหลของมลพิษในพื้นที่รอบๆเรือ และจะรอจนคลื่นทะเลเบาลงก่อน แล้วถึงจะส่งผู้รับเหมาขึ้นไปประเมินความเสียหายของเรือเพิ่มเติม



ที่มา Data & Images -







..
#10
เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2563 ได้เกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นในห้องเคบินของกัปตันเรือบรรทุกสินค้าทั่วไป (General Cargo ship) ชื่อ SUZZY ความยาว 85 เมตร กว้าง 15 เมตร ขณะจอดเทียบท่าอยู่ในท่าเรือตุซลา (Tuzla) ประเทศตุรกี


รายงานไม่ได้ระบุว่าไฟไหม้ถูกจำกัดอยู่เพียงภายในห้องเคบินโดยสารเท่านั้น หรือเริ่มแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของเก๋งเรือ ไฟไหม้ถูกควบคุมและดับโดยทีมนักดับเพลิงในเวลาต่อมา

ลูกเรือทั้งหมดจำนวน 15 คนถูกอพยพออกจากเรือ ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ เรือได้รับความเสียหายบางส่วน แต่ยังไม่ระบุรายละเอียดของสาเหตุที่เกิดไฟไหม้ครั้งนี้


เรือบรรทุกสินค้าทั่วไป (General Cargo ship) ชื่อ SUZZY รหัสหมายเลข IMO คือ 9017800 ขนาด 3,114 dwt สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1990 จดทะเบียนชักธง Panama



ที่มา Data & Images - | แปลและเรียบเรียงข่าวโดย - Translated by





..
#11
ในช่วงเช้าวันที่ 16 ก.พ. 2563 เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ชื่อ WISH WAY ความยาว 156 เมตร กว้าง 36 เมตร พร้อมสินค้าบนเรือเป็นโครงสร้างของเครนสำหรับยกตู้คอนเทนเนอร์ (container gantry cranes) สำหรับติดตั้งที่ท่าเรือ จำนวนสองตัวอยู่บนดาดฟ้าเรือ ออกเดินเรือมาจากประเทศจีน ได้เดินทางมาถึงเมืองวิลเลมสตัด (Willemstad) อาณานิคมกือราเซา ทะเลแคริบเบียน ประเทศเนเธอร์แลนด์


ขณะเมื่อเรือแล่นลอดผ่านใต้สะพาน Queen Juliana Bridge ได้เกิดอุบัติเหตุ ตัวโครงสร้างเครนบางส่วนได้กระทบกับด้านล่างของตัวสะพาน ทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยต่อตัวสะพาน

การจราจรของสะพานได้ถูกระงับชั่วคราว แต่หลังจากนั้นไม่นานก็ได้เปิดให้มีการสัญจรใหม่อีกครั้ง ความเสียหายของสะพานนั้นไม่ร้ายแรง แต่มีรายงานว่าโครงสร้างของเครนได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง และเป็นข่าวร้ายสำหรับเศรษฐกิจเมืองคูราเซา เพราะเครนเก่าของท่าเรือมีอาการเสียบ่อยครั้งและไม่สามารถจัดการสินค้ากับเรือบรรทุกสินค้าคอนเทนเนอร์ที่เข้ามาเทียบท่าได้โดยเร็ว ปกติมีความล่าช้าและหยุดชะงักบางครั้ง


เรือบรรทุกสินค้าหนัก (Heavy cargo carrier) ชื่อ WISH WAY รหัสหมายเลข IMO คือ 9578531 ขนาด 21,243 dwt สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2010 จดทะเบียนชักธง Panama



ที่มา Data & Images - | แปลและเรียบเรียงข่าวโดย - Translated by







..
#12
23 ม.ค.63 - พลเรือเอกลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีรับมอบ "เรือหลวงหลีเป๊ะ" หมายเลข 858 จากผู้แทนบริษัท อิตัลไทยมารีน จำกัด โดยมี นาวาเอกหญิง อุบลวรรณ รุดดิษฐ์ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ ผู้บริหารระดับสูงของกองทัพเรือ ฝ่ายบริษัทต่อเรือ และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จังหวัดชลบุรี


ในการนี้ ภายหลังพิธีรับมอบ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ส่งมอบสายการบังคับบัญชาให้กับ พลเรือเอกชุมศักดิ์ นาควิจิตร ผู้บัญชาการ กองเรือยุทธการ และพลเรือตรี เทวินทร์ ศิลปชัย ผู้บัญชาการ กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ ตามลำดับ พร้อมกล่าวให้โอวาทกับกำลังพลประจำเรือ ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อสนองภารกิจของหน่วย และกองทัพเรือ ให้สำเร็จลุล่วง

เรือหลวงหลีเป๊ะ หมายเลข 858 เป็นเรือลากจูงที่ต่อขึ้น เพื่อทดแทนเรือเก่า โดยกองทัพเรือว่าจ้าง บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด ดำเนินการต่อเรือลากจูงขนาดกลาง จำนวน 2 ลำ คือ เรือหลวงหลีเป๊ะ และเรือหลวงปันหยี ที่ได้มีการรับมอบไปก่อนหน้านี้ เพื่อสนองภารกิจ ในการสนับสนุนนำเรือรบขนาดใหญ่ เข้า-ออกจากท่าเทียบเรือ ตลอดจน สนับสนุนการดับเพลิงให้กับท่าเรือต่างๆ การขจัดคราบน้ำมัน การลากเป้าฝึกยิงอาวุธ และสนับสนุนภารกิจเรือดำน้ำ ในอนาคต


สำหรับ สมรรถนะเรือได้มีการออกแบบโดย บริษัท Robert Allan Ltd.,Naval Architects and Marine Engineering ประเทศแคนาดา ตัวเรือมีความแข็งแรงทนทาน มีกำลังดึงไม่น้อยกว่า 53 เมตริกตัน และวงหันหมุนรอบตัวเอง 360 องศา ความยาวตลอดลำ 32 เมตร กว้าง 12.40 เมตร กินน้ำลึกสุด 4.59 เมตร ความเร็วสูงสุดต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 12 น็อต ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 2,500 ไมล์ทะเล และมีกำลังพลประจำเรือ รวม 20 นาย ประกอบด้วย นายทหาร 3 นาย พันจ่า 3 นาย จ่า 10 นาย พลทหาร 4 นาย โดยมี เรือเอก ชาญชัย อยู่เจริญ เป็นผู้บังคับการเรือ



ที่มา Data & Images -








..
#13
"คลองไทย" ถูกปลุกผีขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาขุดคลองไทยเส้น 9A กระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช สงขลา ตามข้อเสนอของ พล.ต.ทรงกลด ทิพย์รัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคพลังชาติไทย


ส.ส.ทั้งพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน กลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สนับสนุนให้ตั้งกรรมาธิการศึกษาเรื่องนี้จำนวน 49 คน โดยมีกำหนดพิจารณาเรื่องนี้ให้เสร็จภายใน 120 วัน

โครงการขุดคลองไทยถูกผลักดันมาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่มาเข้มข้นเอาจริงเอาจังกันในยุค คสช.มีการปล่อยข่าวปลอมว่า พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมลงนามในเอ็มโอยูกับฝ่ายจีนที่เมืองกวางโจว ศึกษาโครงการขุดคอคอดกระ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นคลองไทย แต่ถูกคนใกล้ชิดบิ๊กจิ๋ว ปฏิเสธว่า ไม่เป็นความจริง เป็นเรื่องของนายหน้าหลอกเงินจีน ปล่อยข่าว

ที่ฮือฮากันมาก คือ สามารถทำให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ขณะที่ยังดำรงตำแหน่ง องคมนตรี เขียนจดหมายถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.และนายกรัฐมนตรี สนับสนุนการสร้างคลองไทย ในขณะที่สมาชิกสภาปฏิรูปประเทศ หรือ สปท.สายทหาร เตรียมที่จะเสนอพล.อ.ประยุทธ์ และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พิจารณาสร้างคลองไทย พล.อ.ประยุทธ์ เคยให้สัมภาษณ์ว่า จะไม่มีการสร้างคลองไทยในยุคที่ตนเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นอันขาด อย่างไรก็ตาม มักจะรายงานข่าว "ลักไก่" ออกมาเป็นระยะๆ ว่า นายกฯ สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาแล้ว ซึ่งไม่เป็นความจริง

น่าสังเกตว่า โครงการขุดคลองไทยนี้ เคลื่อนไหวผ่านนายทหารนอกราชการที่เกษียณอายุราชการแล้ว อย่างเช่น พล.อ.หาญ ลีลานนท์ อดีตแม่ทัพภาค 4 พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 และพล.อ.พงษ์เทพ เทศประทีป เลขาธิการมูลนิธิรัฐบุรุษ ซึ่งเป็นนายกสมาคมคลองไทย เพื่อการศึกษาและพัฒนา เป็นต้น

สมาคมคลองไทย เพื่อการศึกษาและพัฒนา เป็นองค์กรเคลื่อนไหวให้ข้อมูลผ่านสื่อมวลชนถึงคุณประโยชน์ของคลองไทย การจัดรับฟังความเห็นของประชาชนในพื้นที่ หลายครั้งในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทุกครั้งมีข้อสรุปว่า ประชาชนเห็นด้วย

คลองไทย คือ คลองที่เชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับอ่าวไทย แนวคลองจะอยู่ตรงไหน ยังไม่มีความชัดเจน ล่าสุดคือ แนว 9 A ตัดผ่าน 5 จังหวัด คือ ตรัง กระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา

ประโยชน์ของคลองไทยที่ผู้สนับสนุนยกขึ้นมาอ้าง คือ ช่วยย่นระยะเวลาการเดินเรือจากมหาสมุทรอินเดียไปทะเลจีนใต้ ไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกาซึ่งแออัดตัดตรงผ่านคลองไทยได้เลย ซึ่งจะทำให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการเดินเรือในภูมิภาคนี้แทนสิงคโปร์

ระยะเวลาที่จะประหยัดได้ จากข้อมูลของสมาคมคลองไทยฯ เอง บอกว่า 1-2 วัน ซึ่งทำให้ผู้ที่อยู่ในธุรกิจเดินเรือหัวเราะอยู่ในใจ เพราะถ้าประหยัดเวลาได้แค่ 1-2 วัน จะมีประโยชน์อะไร คลองสุเอซหรือคลองปานามาประหยัดเวลาได้ 1 ใน 3 หรืออย่างน้อย 10 วัน

เรื่องนี้เพียงเรื่องเดียว คลองไทยก็ตกม้าตายแล้ว ไม่ต้องพูดถึงเรื่องเทคนิคการก่อสร้าง ที่ความต่างของระดับน้ำที่ฝั่งมหาสมุทรอินเดียกับระดับน้ำในคลองไทยที่ต่างกันมาก เรือขนาดใหญ่ออกจากคลองแล้ว จะลงไปในมหาสมุทรอย่างไร จะวิ่งลงไปแบบสไลเดอร์ได้หรือไม่ แนวคลองที่ตัดผ่านป่าชายเลน ชุมชนชายฝั่งซึ่งจะทำลายระบบนิเวศวิทยา และวิถีชีวิตของชุมชน งบประมาณก่อสร้างจะมาจากไหน ฯลฯ

เรื่องการขุดคลองไทยนี้ เป็นความต้องการของทุนจีน ซึ่งยังไม่เปิดเผยตัว วัตถุประสงค์ก็ชัดๆ ง่ายๆ เป็นเรื่องของธุรกิจล้วนๆ คือ มีรายได้หลักจากการขุดคลอง ประชาชนในพื้นที่ที่แนวคลองผ่าน เคยเล่าให้สื่อบางสำนักฟังว่า มีคนจีนมาสำรวจพื้นที่ พูดคุยด้วยว่า คลองไทยจะทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้น

เมื่อปี 2556 สภาผู้แทนราษฎร นิการากัวลงมติให้สัมปทาน บริษัท ฮ่องกง เพื่อการลงทุนพัฒนาคลองนิการากัว (เอชเคเอ็นดี) ของนายหวัง จิ้ง มหาเศรษฐีจีน ขุดคลองผ่านตอนใต้ของนิการากัว เชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกเข้ากับทะเลแคริบเบียน โดยมีอายุสัมปทาน 50 ปี

จนถึงบัดนี้ โครงการคลองนิการากัวยังไม่ได้มีการดำเนินการอะไรเลย แต่มีข่าวว่า อาจจะมีการต่ออายุสัมปทานอีก 50 ปี

ยุทธศาสตร์ของจีนในยุคสี จิ้นเผิง เป็นผู้นำ คือ การส่งออกทุนจีนผ่านโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในนาม หนึ่งแถบหนึ่งสะพาน โดยบริษัทจีนเป็นผู้ก่อสร้าง ใช้วัสดุแรงงานจากจีน ใช้เงินกู้จีน หลายๆ โครงการเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วขาดทุน ไม่มีการใช้ประโยชน์ เพราะการลงทุนไม่ได้เกิดจากการศึกษาความเป็นไปได้จริงๆ เมื่อขาดทุนชำระหนี้ที่กู้จากจีนไม่ได้ ก็จะถูกยึดโครงการ

โครงการท่าเรือน้ำลึกศรีลังกาเป็นตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้ว โครงการรถไฟจีน-ลาวกำลังจะเป็นรายต่อไป รัฐบาล คสช.รู้ทันเรื่องนี้ จึงดึงโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนมาลงทุนเองทั้งหมด

โครงการคลองไทยถูกนำเสนอจากจีนมาก่อนที่สี จิ้นผิง จะมีอำนาจ ก่อนที่จะมีโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง คือ มีการผลักดันผ่านวุฒิสมาชิกเมื่อประมาณปี 2547 แต่ไม่ค่อยมีความคืบหน้า เพราะไม่มีความชัดเจนว่า เมื่อขุดคลองแล้วไทยจะได้ประโยชน์อะไร มีแต่การบรรยายสรรพคุณว่า จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือ ประชาชนสองฝั่งคลองจะพ้นจากความยากจน

เมื่อสี จิ้นผิง ประกาศโครงการ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง โครงการคลองไทยก็ถูกโมเมเอาไปพ่วงกับหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางด้วย เพื่อให้ดูขลัง แต่ความจริงแล้วไม่เกี่ยวกันเลย

ก็หวังว่า การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล สร้างมิติใหม่ เห็นด้วยกัน จะเป็นเพียงผลการศึกษา คงไม่ถึงกับลงมติให้สร้าง ให้ขุดแบบสภานิการากัว เมื่อ 7 ปีก่อนนะ เพราะเห็นอยู่ว่า ขุดคลองไทยแล้วใครจะได้ประโยชน์



ที่มา Data & Images -




บทความ : คลองไทย ฝัน... จะเป็นจริง : โดย ณรงค์ ขุ้มทอง

คลองไทยกลับมาเป็นที่สนใจของประชาชนชาวไทยอีกครั้งหนึ่ง หลังจากการประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติเป็นเอกฉันท์ ให้มีการศึกษาถึงผลดี ผลเสีย และมีประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนจริงหรือไม่ ต้องรอคำตอบหลังจากผ่านไป 120 วัน หลังจากนี้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมาธิการวิสามัญ สภาผู้แทนราษฎร ทั้ง 49 คน เป็นผู้ไปค้นหาคำตอบเชิงวิชาการต่อไป แต่ขออย่างเดียว ขอให้คณะกรรมาธิการดังกล่าวทำงานอยู่ภายใต้ความจริงจังและจริงใจ และต้องโปร่งใส ปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรต่างๆ หรือบุคคลต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ


คลองไทย เป็นโครงการที่พูดถึงกันมานาน มีการศึกษากันมาแล้ว 1 ครั้ง ของวุฒิสภา ปี 2544-2548 แต่ในบทบาทของสภาผู้แทนราษฎรไม่เคยนำโครงการคลองไทยมาเป็นญัตติในการศึกษาเลย ครั้งนี้เป็นครั้งแรกของสภาไทย คลองไทย เป็นโครงการใหญ่ระดับโลก มีผลกระทบวงกว้างทั้งเชิงบวกและเชิงลบ และอาจจะส่งผลไปยังกลุ่มอาเซียน เอเชีย และระดับโลกก็เป็นได้ คลองไทยเป็นที่กล่าวขาน ทั้งแสดงความยินดีและห่วงใยของผู้หวังดีต่อชาติบ้านเมือง

ในยามที่ประเทศหมดช่องทางนำเงินมาขับเคลื่อนประเทศ โลกข้างหน้าเปลี่ยนไปมาก มีการขับเคลื่อนเทคโนโลยีที่ทันสมัยและล้ำยุค จะหวังรายได้เรื่องการท่องเที่ยวอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ทั่วโลกที่ท้าทาย นักท่องเที่ยวสอดรับกับการเดินทางที่ราคาถูก ประหยัด และรวดเร็ว จะหวังส่งสินค้าออกที่เป็นอยู่ก็ยากและตีบตัน ติดกับดักค่าของเงินบาทที่แข็งค่า ติดกับดักค่าแรงที่สูง ตรงข้ามกับประเทศเพื่อนบ้าน ธุรกิจหลายอย่างย้ายฐานการผลิตออกจากประเทศไทย หวังจะให้นักลงทุนขนาดใหญ่เข้ามาลงทุนก็ยิ่งยาก เพราะติดกับดักเรื่องค่าแรงและการบริหารจัดการที่ยุ่งยากและซับซ้อน

ย้อนไปดู 10-20 ปีที่ผ่านมา เช่น จีนซื้อยางดิบจากไทย แต่จีนกลับผลิตยางดิบได้เอง ส่งผลให้ไทยติดกับดักเรื่องการส่งออกยางพารา ซึ่งกระทบกับเกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในภาคใต้ 3 กก./ 100 บาท รวมถึงสินค้าอื่นๆ แต่ละประเทศเจริญก้าวหน้าทั้งคน ทั้งเงิน รวมถึงเทคโนโลยี หันมาผลิตเอง ใช้เอง ภาวะเช่นนี้อาจจะส่งผลให้ภาวการณ์ส่งออกของไทยต้องฝืดเคือง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

หนึ่งในหลายช่องทาง คือ หาเงินโดยใช้ภูมิรัฐศาสตร์ของภาคใต้ให้เป็นธุรกิจบริหารจัดการ จากที่ตั้งของภาคใต้ที่ขนาบด้วยทะเล คือ การขุดคลองไทย เปิดพื้นที่ให้เป็นเส้นทางการขนส่งทางทะเลใหม่ของโลก เพราะที่ตั้งของคลองไทยอยู่ตรงกลางของเศรษฐกิจโลกเกือบทุกด้าน พร้อมด้วยตลาดและจำนวนคนที่อยู่รอบๆ ประเทศไทยราวๆ 4 พันล้านคน พื้นที่เหมาะทั้งที่ตั้งและภูมิอากาศ ไม่ร้อนและไม่หนาว รอบๆ คลองไทยประกอบด้วยประเทศที่ทรงพลังทางด้านเศรษฐกิจ เช่น จีนและอินเดีย ลงมาทางใต้ กลุ่มอาเซียนและออสเตรเลีย

คลองไทยมีผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน กังวลใจว่าเส้นทางเดินเรือใหม่ของโลก ที่จะขึ้นไปยังขั้วโลกเหนือ ส่งผลให้คลองไทยไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่หวัง ประเด็นนี้น่าจะเกิดขึ้นยากที่นักเดินเรือจะไม่ใช้คลองไทย แล้วหันไปใช้เส้นทางขั้วโลกเหนือ เพราะขั้วโลกเหนืออากาศหนาวราว 7-9 เดือน มีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปีเส้นทางขั้วโลกไม่มีเมืองท่าใหญ่ๆ ที่จะกักตุนหรือขนถ่ายสินค้า

ด้วยปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวจึงยากที่จะเป็นเส้นทางหลักในการเดินเรือ คลองไทย หลายท่านกังวลใจว่าคุ้มหรือไม่ กลัวโน่น กลัวนี่ กันมากมาย แต่ถ้าศึกษาแล้วมันคุ้ม ก็ค่อยว่ากัน ขึ้นอยู่กับผู้นำและพระสยามเทวาธิราชจะมองเห็นและดลบันดาล แต่ถ้าไม่หลุดพ้นกับดักความกล้าหาญ ประเทศก็จะยากจน ประชาชนแร้นแค้นอยู่ร่ำไป ประเทศไทยบริหารเงินขาดดุล ระดับ 700,000 ล้าน เพราะไม่มีเงินจึงจำเป็นต้องหาช่องทางใหม่เพื่อหาเงินเข้าประเทศ หรือจะเลือกใช้เงินภาษีของประชาชน มาหว่านมาแจกกันต่อไป โครงการชิม ช้อป ใช้ ดูแล้วตื่นเต้น เร้าใจไม่น้อย จ่ายมาเท่าไหร่ประชาชนเฝ้ารอ

แต่สุดท้ายเงินดังกล่าวก็หมุนเข้ากระเป๋านายทุนใหญ่เช่นเคย

สําหรับข้อมูลเชิงวิชาการที่สามารถนำมาอ้างอิงและเป็นที่น่าเชื่อถือ มีให้คนที่เห็นต่างหรือห่วงใย ได้ศึกษาและตัดสินใจ เช่นข้อมูลจำนวนเรือ ข้อมูลค่าใช้จ่ายของเรือนำมาประกอบการศึกษาการขุดคลองไทย ได้นำมาเป็นตัวอย่าง จากข้อมูลที่เชื่อถือได้ ฐานข้อมูลปี 2016 (2559) จำนวนเรือบรรทุกสินค้าระหว่างประเทศประเภทต่างๆ ใช้บริการ/แล่นผ่านคลองและช่องแคบเดินเรือสำคัญๆ ของโลก Database recorded of World Ships are passing Through and movement each of Importance water Straits & Canal's Year 2016 ดังนี้

1.ช่องแคบสิงคโปร์ (Singapore Straits) movement estimate ~209,057 ลำ (หรือเที่ยว)

2.ช่องแคบมะละกา-มาเลเซีย (Malacca Straits) movement estimate ~84,000 ลำ (หรือเที่ยว)

3.ช่องแคบบอสฟอรัส (อิสตันบูล)-ตุรกี (Bosphorus (Istanbul) Straits) movement estimate ~41,000 ลำ (หรือเที่ยว)

4.คลองซุเอส (The Suez canal) Transist estimate ~22,000 ลำ (หรือเที่ยว/ปี 2016)

5.คลองปานามา (The Panama canal) Ships Transit estimate ~14,000 ลำ (หรือเที่ยว/ปี 2016)

6.คลองคีล-เยอรมนี (The Kiel canal-Geramany) Ships Transit estimate ~43,000 ลำ (หรือเที่ยว/ปี 2016)

7.คลองโครินทร์-ประเทศกรีซ (The Corinth canal-Greek) Ships Transit estimate ~11,000 ลำ (หรือเที่ยว/ปี 2016)

8.ช่องแคบลอมบอก-อินโดนีเซีย (The Lombok Strait-Indonesia) Ships passing estimate ~3,500 ลำ (หรือเที่ยว/ปี 2016)

9.ช่องแคบซุนดา-ประเทศอินโดนีเซีย (The Strait of Sunda-Indonesia) Ships passing estimate ~70,000 ลำ (หรือเที่ยว/ปี 2016)

ด้านค่าใช้จ่ายของเรือต่อวัน ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลกันมากมาย จะขอยกตัวอย่างคร่าวๆ ขนาดเรือบรรทุกน้ำมันดิบ Crude Carrier Tanker 260,988 dwt. ความเร็วเรือปกติ 115.00 Knots ขนาดของเครื่องจักรใหญ่ (Main Engine) 20,630 KW. หรือราวๆ 28,050 แรงม้า PS.

ค่าเช่าเรือ T/C-Rate ต่อวัน จะตกประมาณวันละ 40,000-42,000 US$ เหรียญสหรัฐ หรือประมาณวันละ 1,302,000 บาท ราคานี้ยังไม่รวมค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายอื่นๆ บนเรือขณะเรือวิ่ง ซึ่งถ้าหากรวมแล้วค่าใช้จ่าย/วัน ก็จะตกราวๆ 101,000 US$ ต่อวัน หรือประมาณ 3,131,000 บาท และการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของเรือแต่ละขนาด ระหว่างแล่นผ่านช่องแคบมะละกา กับแล่นผ่านคลองไทย โดยถัวเฉลี่ยแล้วแตกต่างกันประมาณ 1.6-2.2 วันครับ ดังนั้นจึงมีคำตอบว่า การที่เราจะเก็บค่าผ่านทางเรือต่างๆ นั้น ก็จะคิดจากค่าใช้จ่ายของเรือต่อวันที่ประหยัดไปซึ่งอาจจะคิดที่ 80% ของค่าใช้จ่ายที่ประหยัดไปทั้งหมดยกตัวอย่างเรือขนาด 2 แสน 6 หมื่นเดทเวทตัน ค่าใช้จ่ายวันละ 3,131,000 บาท คูณ 2 วัน ก็ตกประมาณ 6,262,000 บาท เมื่อจะเก็บค่าผ่านทาง (คลองไทย 9A) ที่ประมาณ 80% ก็จะตกราวๆ 5,009,600 บาท นี่คือค่าผ่านทางที่เรือขนาดนี้ต้องจ่ายเป็นค่าผ่านคลองในแต่ละครั้ง ส่วนค่าใช้จ่ายของเรือโดยหลักๆ คือ

1.ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
2.เงินเดือนคนประจำเรือ
3.ค่าสูญเสียน้ำมันหล่อลื่น
4.ค่าน้ำจืดน้ำใช้
5.ค่าเสบียงแต่ละวัน
6.ค่าสึกหรอค่าเสื่อมสภาพของตัวเรือและเครื่องจักร
7.ค่าประกันภัยเรือ และอื่นๆ

การเดินเรือผ่านคลองไทย
การผ่านคลองไทยไม่จำเป็นต้องเป็น convoy ก็ได้เราขุดคลองให้มีความกว้างเพียงพอและใช้ทุ่น

ทำเป็นเส้นแบ่งแนวจรที่ชัดเจน และเรือก็ไม่ต้องกังวลน้ำขึ้น-น้ำลงเพราะคลองจะมีความลึกถึง 30 เมตร

จากระดับน้ำลงต่ำสุด จึงทำให้สามารถรองรับเรือทุกขนาดในโลกให้ผ่านได้ตลอดเวลา จึงทำให้เรือจะไม่มีการสูญเสียเวลาตรงนี้

1) เรือน้ำมันทุกขนาดรวมทั้งขนาดที่ใหญ่ที่สุดคือ ULCC เป็นเรือแบบ double hull หรือตัวเรือสองชั้น ดังนั้นโอกาสที่น้ำมันจะรั่วไหลออกมาภายนอกก็เป็นไปได้ยากมาก ยกเว้นว่าถูกขีปนาวุธยิงจริงๆ แต่ลำพังการเกยตื้นหรือเรือชนกันไม่ทำให้น้ำมันรั่วไหลออกมาได้ ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลว่าทำไมเรือพวกนี้จึงจะเข้ามาในอ่าวไทยไม่ได้

2) เรือบรรทุกสินค้าเทกอง (bulk) ขนาด ULOC หรือ เรือ China max นั้นวิ่งด้วยความเร็วเต็มที่เพียง 12 knots ไม่ใช่ 15-20 knots อย่างที่กล่าวอ้าง เรือพวกนี้ไม่สามารถผ่านช่องแคบมะละกาได้ต้องไปผ่านช่องแคบลอมบอกแทน ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายระหว่างการผ่านคลองไทยกับผ่านช่องแคบลอมบอกแล้ว เราสามารถเก็บค่าผ่านคลองจากเรือพวกนี้ได้ถึง 12 ล้านบาทต่อเที่ยว และเรือพวกนี้จะมีวิ่งกันประมาณ 200 เที่ยวต่อปี ดังนั้นคลองไทยจะมีรายได้จากเรือพวกนี้เพียงอย่างเดียวประมาณปีละ 2,400 ล้านบาท ซึ่งอันนี้ยังไม่นับรวมรายได้จากการให้เช่าพื้นที่ในการทำเป็นศูนย์กระจายสินค้าในกรณีที่เรือพวกนี้ต้องการให้เรือใหญ่บรรทุกแร่มากองไว้ก่อนแล้วให้เรือเล็กมารับต่อไปอีกครั้ง

3) ระยะทางที่ใช้เป็นระยะทางที่คิดได้จากแผนที่ที่ใช้ในการเดินเรือจริง ไม่ได้ปั้นแต่งตัวเลขเพื่อหลอกประชาชนใดๆ ทั้งนั้น ประหยัดได้เท่าไหร่ก็บอกตัวเลขไปตามจริงเท่านั้น เพื่อจะได้ไม่ต้องมีข้อกังขาในข้อมูลกันภายหลัง ส่วนเรื่องจำนวนเรือที่จะผ่านคลองไทยเพื่อเข้าแหลมฉบังนั้นก็ไม่ควรไปนับแต่ตัวเลขในปัจจุบัน เพราะแหลมฉบังเองก็กำลังขยายเป็นเฟส 3 และเฟส 4 เพื่อรองรับเรือคอนเทนเนอร์ขนาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ในอนาคต เพราะฉะนั้นจำนวนเรือที่จะผ่านก็มีแต่จะเพิ่มขึ้นๆ ไหนจะมีท่าเรือคลองไทยทางฝั่งอ่าวไทยซึ่งวางตัวเป็นฮับกระจายสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านอีก ทำให้อนาคตต้องมีจำนวนเรือที่ผ่านคลองไทยเพิ่มขึ้นจากตัวเลขที่ใช้ตอนนี้อีกหลายเท่าตัว (ข้อมูลจากนักเดินเรือระดับโลก)

คลองไทยหลังจากสภาผู้แทนราษฎรมีมติรวมทั้งพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ร่วมกันผลักดันให้มีการศึกษา ก็กลับมาเป็นข่าววิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นเรื่องปกติและดีเสียด้วยซ้ำไป จะได้ช่วยกันตรวจสอบทักท้วง แต่อยากกราบเรียนว่าคลองไทยถ้าเกิดขึ้นจริงจะนำบทเรียนของหลายๆ คลอง มาเป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน และประเทศชาติให้มากที่สุด แต่ห่วงอย่างเดียว คือกลัวคนไทยนำคลองไทยไปสู่ความขัดแย้งทางความคิดและเหตุผลที่ไม่ยอมฟังใคร หวังเอาชนะคะคานกัน

ถ้าเป็นอย่างนี้ประชาชนและชาติรับกรรมและประเทศไทยก็ยังติดกับดักในการพัฒนาประเทศต่อไป

ณรงค์ ขุ้มทอง ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนนวมินทราชูทิศทักษิณ และโรงเรียนดาวนายร้อย



ที่มา Data & Images -







..
#14
ปตท.เร่งเครื่องพัฒนา "มาบตาพุด" เฟส 3 เตรียมแผนถมทะเล 1,000 ไร่ เมินร่วมทุน "อู่ตะเภา-ไฮสปีด"


ช่วงที่ผ่านมารัฐบาลพยายามเร่งผลักดันการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทในกลุ่ม ปตท.ร่วมซื้อซองประมูล 4 โครงการ แต่ยื่นซองประมูล 2 โครงการ คือ โครงการท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 (ท่าเทียบเรือ F) และโครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3

ส่วนอีก 2 โครงการ ไม่ได้ยื่นประมูล คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) และโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งที่ผ่านมากลุ่ม ปตท.เคยมีท่าทีที่จะเข้าร่วมลงทุนหลังจากมีการลงนามสัญญาแล้ว

นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรรมการผู้ใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กลุ่ม ปตท.ได้ตัดสินใจแล้วว่าจะไม่เข้าร่วมลงทุน 2 โครงการ ในอีอีซี คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) ซึ่งปัจจุบันทางบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มซีพี) เป็นลงนามกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไปเรียบร้อยแล้ว รวมถึงไม่สนใจที่จะร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

"ก่อนหน้านี้ ปตท.มีแนวคิดว่า อาจจะพิจารณาเข้าไปร่วมลงทุนกับผู้ชนะการประมูลในโครงการไฮสปีดเทรนภายหลัง แต่ได้ศึกษาอย่างรอบคอบแล้วว่า ทั้ง 2 โครงการดังกล่าว ปตท.ไม่มีความถนัดในการทำเรื่องของรถไฟฟ้าและสนามบิน เพราะไม่เคยลงทุนมาก่อน"

ดังนั้น ปตท.จะหันมามุ่งเน้นการลงทุน 2 โครงการขนาดใหญ่ในอีอีซี คือ โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3 (ช่วงที่1) ซึ่งการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับ บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ที่เป็นบริษัทในเครือ ปตท.ไปเรียบร้อยแล้ว

หลังจากกลุ่ม ปตท.ได้จับมือกับกลุ่มกัลฟ์ฯ ซึ่งเป็นลูกค้า ปตท.และผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ เพื่อเข้าร่วมการประมูลแข่งขัน และเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการดังกล่าว ภายใต้สัญญาร่วมทุนในรูปแบบ Public Private Partnership (PPP) NET Cost หรือ ร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนโดยให้เอกชนได้รับสิทธิ์ในการประกอบกิจการบนพื้นที่ 200ไร่ และจัดสรรผลตอบแทนบางส่วนให้แก่ภาครัฐตามข้อตกลง

ขณะนี้การดำเนินโครงการมาบตาพุดเฟส 3 ได้ตั้งบริษัทร่วมทุนเสร็จเรียบร้อยแล้ว และมีแผนที่จะเตรียมความพร้อมดำเนินการถมทะเล 1,000 ไร่ โดยอยู่ระหว่างพิจารณาหาผู้รับเหมาเพื่อถมทะเล ซึ่งจะมีกระบวนการขออนุญาตต่างๆในการก่อสร้างต่างๆที่ต้องใช้เวลา

รวมทั้งยังต้องศึกษาขนาดโครงการที่เหมาะสมด้วย โดยจะต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญทั้งเรื่องของความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยด้วย คาดว่า ปีนี้ น่าจะเริ่มดำเนินการถมทะเลได้ หากสามารถประมูลจัดหาผู้รับเหมาที่มีศักยภาพตรงความตามต้องการได้

โครงการมาบตาพุดเฟส 3 จะเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศที่ช่วยเสริมศักยภาพการจัดหาและนำเข้า LNG เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน จากปัจจุบัน ปตท.มีคลังรับจ่าย LNG แห่งที่ 1 ขนาด 11.5 ล้านตันต่อปี และอีก 2 ปี คลังรับจ่าย LNG แห่งที่ 2 ขนาด 7.5 ล้านตันปีจะแล้วเสร็จ ทำให้ประเทศมีความสามารถรองรับ LNG ได้ถึง 19 ล้านตันต่อปี และโครงการมาบตาพุดเฟส 3 จะมีรองรับ LNG ได้อีก 5-10 ล้านตันต่อปี ขึ้นอยู่กับสภาพของตลาดด้วย แต่กว่าจะแล้วเสร็จคาดว่าจะใช้เวลา 7-8 ปี

"ถึงเวลานั้น ความต้องการใช้ก๊าซอาจจะมากขึ้น ก๊าซในอ่าวไทยอาจจะลดลง ฉะนั้น ความต้องการใช้ LNG อาจจะมากขึ้นได้ และการขยายตลาด การขยายถนน ที่เข้าไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้ อุตสากรรมที่เคยใช้พลังงานมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ พลังงานที่ต้นทุนอาจจะแพงกว่า ก็อาจจะหันมาใช้ LNG นอกแนวท่อก๊าซมากขึ้นก็เป็นโอกาสของ LNG"


ส่วนอีกโครงการสำคัญ คือ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ซึ่งกลุ่ม ปตท.ได้จับมือกับกลุ่มกัลฟ์ เข้าร่วมประมูลภายใต้กลุ่มกิจการร่วมค้าจีพีซี ประกอบด้วย บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด (บริษัทลูกของกลุ่ม ปตท.) บริษัทกัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และ China Harbour Engineering Company Limited จากประเทศจีน

ขณะนี้ ยังรอความชัดเจนจากภาครัฐ เนื่องจากยังมีเรื่องกระบวนการของศาลปกครองสูงสุดด้วย หลังจากกลุ่มกิจการร่วมค้าเอ็นซีพี ซึ่งเป็นผู้ไม่ผ่านการประเมินเอกสารข้อเสนอซองที่ 2 ซองคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอโครงการนี้ ได้ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองสูงสุดจึงต้องรอความคืบหน้าในเรื่องนี้ต่อไป

อย่างไรก็ตาม ปตท.ได้เตรียมความพร้อมที่ลงทุนใน 2 โครงการดังกล่าวไว้แล้ว โดยในส่วนของโครงการมาบตาพุดเฟส 3 ได้เตรียมงบลงทุนรองรับอยู่ภายใต้แผนลงทุน 5 ปี (2563-2567) ของ ปตท.และบริษัทที่ ปตท.ถือหุ้น 100% ที่มีวงเงินรวม 180,814 ล้านบาท

ส่วนโครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 แม้จะยังไม่บรรจุอยู่ภายใต้งบลงทุน 5 ปี แต่ ปตท.ได้จัดเตรียมงบลงทุนในอนาคต (Provisional Capital Expenditure) ในระยะ 5 ปีข้างหน้า จำนวน 203,583 ล้านบาท รองรับไว้แล้ว

ก่อนหน้านี้ ชาญศิลป์ เคยระบุถึงเหตุผลที่ กลุ่ม ปตท.มีความสนใจในโครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 เพราะมีความถนัดในการทำธุรกิจนี้ ทั้งการบริหารท่าเรือขนถ่ายสินค้าเหลว (ลิควิดพอร์ต) และท่าเทียบเรือรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว

รวมถึงการพัฒนาแหลมฉบัง ที่จะเป็นท่าเทียบเรือตู้ขนส่งสินค้า(คอนเทนเนอร์พอร์ต) ซึ่งปัจจุบัน ปตท.ส่งออกส่งสินค้าในคอนเทนเนอร์พอร์ตปริมาณมาก เช่น เม็ดพลาสติก รวมถึงส่งน้ำมันป้อนเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ในแถบนี้ อีกทั้งปี 2563 ได้เริ่มใช้มาตรการขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) ที่จำกัดกำมะถันในน้ำมันเตาของเรือเดินสมุทรไม่เกิน 0.5% ก็เป็นโอกาสสำหรับกลุ่ม ปตท.



ที่มา Data & Images -






..
#15
รอยเตอร์ – กองทัพของเกาหลีใต้ ระบุในวันอังคาร (21) ว่า พวกเขามีแผนเพิ่มกำลังหน่วยต่อต้านโจรสลัดที่ตอนนี้ปฏิบัติงานอยู่นอกชายฝั่งแอฟริกาจนถึงพื้นที่รอบๆ ช่องแคบฮอร์มุซ หลังจากถูกสหรัฐฯ กดดันให้ช่วยคุ้มกันเรือบรรทุกน้ำมัน


การโจมตีเรือบรรทุกน้ำมันในช่องแคบฮอร์มุซนอกชายฝั่งอิหร่านเมื่อปีที่แล้วกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เรียกร้องพันธมิตรเข้าร่วมภารกิจการรักษาความปลอดภัยทางทะเล

ถึงแม้ว่าเกาหลีใต้จะจัดส่งกองกำลังไปยังพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงอ่าวเปอร์เซีย แต่พวกเขาจะไม่เข้าร่วมกองกำลังพันธมิตรนานาชาติ กระทรวงกลาโหม ระบุ

"รัฐบาลเกาหลีใต้ตัดสินใจเพิ่มการจัดส่งหน่วยทหารชองแกเนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันในตะวันออกกลาง เพื่อรับประกันความปลอดภัยของพลเมืองเราและเสรีภาพในการเดินเรือ" เจ้าหน้าที่กระทรวงฯ บอกผู้สื่อข่าว

หน่วยชองแกถูกประจำการในอ่าวเอเดนนับตั้งแต่ปี 2009 และมีหน้าที่ป้องกันการปล้นสะดมทางทะเลร่วมกับกลุ่มประเทศแอฟริกา รวมทั้งสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป

หน่วยกำลังพล 302 นายนี้มีเรือพิฆาตขนาด 4,500 ตันหนึ่งลำ เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือดำน้ำ ลิงซ์ หนึ่งลำ และเรือเร็ว 3 ลำ อ้างจากสมุดปกขาวกลาโหมปี 2018 ของเกาหลีใต้


ปฏิบัติการของหน่วยนี้รวมถึงการช่วยเหลือเรือเกาหลีใต้และลูกเรือเมื่อปี 2011 มีการยิงผู้ต้องสงสัย 8 คนและจับอีก 5 คนในช่วงเวลานั้น

ทหารเกาหลีใต้ยังเคยอพยพพลเมืองเกาหลีใต้ออกจากเยเมนและลิเบีย และเคยคุ้มกันเรือเกาหลีใต้และเรือต่างชาติประมาณ 18,750 ลำจนถึงเดือนพฤศษจิกายนปี 2018

เกาหลีใต้ ผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่อันดับ 5 ของโลกและหนึ่งในลูกค้าน้ำมันรายใหญ่ของอิหร่าน หยุดการนำเข้าน้ำมันดิบอิหร่านตั้งแต่เดือนพฤษภาคม หลังจากสิทธิละเว้นการคว่ำบาตรอิหร่านหมดอายุเมื่อต้นเดือนนั้น



ที่มา Data & Images -








..