ยุทธศาสตร์เรือและรางของจีน สร้างท่าเรือออกทะเลให้กับจีน หวังใช้คอคอดกระ เป็นหนึ่งทางเลือกออกทะเล แต่เมื่อประเทศไทยไม่เอาด้วยกับโครงการนี้ จีนจึงเลือกมะละกา(http://www.marinerthai.net/pic-news3/2017-08-08_012.jpg) (http://www.marinerthai.net/pic-news3/2017-08-08_014.jpg)
จีนมีเงินในธนาคารเพื่อการพัฒนาดครงสร้างพื้นฐานอาเซียน 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.4 ล้านล้านบาทไทย ประกาสพร้อมให้กู้สำหรับยุทธศาสตร์เรือและรางของท่านประธานาธิบดีสีจิ้นผิง และกลุ่มประเทศในอาเซียน กำลังกระโดดเข้าร่วม อภิมหาโครงการนี้ เพราะหวังว่า เศรษฐกิจของชาติจะมีอนาคตแน่นอน
ผศ ดร ปิติ แสงสิงนาม แห่งคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิเคราะห์ว่า ยุทธศาสตร์เรือและรางของจีน มีขนาดใหญ่ กินพื้นที่ เกือบทั้งเอเชีย และคาบเกี่ยวระเบียงเศรษฐกิจ หรือเรียกให้เข้าใจง่ายก็คือ พื้นที่ ที่โอกาสและความเจริญจะเข้าไปถึงทันที่ที่การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเสร็จสมบูรณ์ ได้แก่
1.Eurasia landbrigde
เส้นทางจากมณฑล Jiangsu ออกเอเชียกลาง ถึงเมือง Rotterdam ระยะทาง 10,900 กิโลเมตร
2.China - Mongolia- Russia Corridor
เป็นเส้นทางดั้งเดิม วกขึ้นบนเข้ามองโกเลีย ผ่านรัสเซีย วกกลับเข้ายุโรป ระยะทาง 13,000 กิโลเมตร
3.China-Central Asia-Turkey
ออกจากเซิ่นเจิ้น เข้าสู่กลุ่มประเทศเอเชียกลางและออกไปยังตุรกี และเชื่อมไปยัง Rotterdam ได้ ระยะทาง 15,000 กิโลเมตร
4. China-Bangladesh-Myanmar
เส้นทางรถไฟจากเมืองคุณหมิงลงมาที่เมียนมา และสิ้นสุดที่ท่าเรือจ้อกผิ่ว ในรัฐยะไข่ เมียนมาร์
5. China-Pakistan Economic Corridor
วิ่งจากตะวันตกของจีน ที่เมืองKashi กาชื่อ ผ่านปากีสถาน และจบที่ท่าเรือ Gwadar Port
6 China-Indochina
จากคุณหมิงของจีน ผ่านลาว ตัดเข้าไทย เชื่อมลงใต้เข้ามาเลเซีย สิงคโปร์ ออกท่าเรือที่ มาเลเซีย ในมะละกา
และในระเบียงเส้นทางสุดท้ายนี่เอง ที่มีหลายฝ่ายตั้งคำถามว่า จีนอยากจะสร้างท่าเรือที่คอคอดกระประเทศไทย เพื่อทะลุออกทะเลทางด้านตะวันตก เพราะเมื่อต้นปี 2559 มีรายงานจากจีนอย่างไม่เป็นทางการ ขอร้องให้ไทยพิจารณาโครงการนี้ใหม่ แม้ว่ารัฐบาลไทย จะยุติการพิจารณาไปแล้วก็ตาม โดยนักวิชาการและนักธุรกิจฝ่ายไทย ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับโครงการคอคอดกระ
(http://www.marinerthai.net/pic-news3/2017-08-08_013.jpg)
และเมื่อ จีนไม่ได้รับการยืนยันจากไทย เรื่องคอคอดกระ จีนเลยหันหน้ามุ่งลงใต้ ไปที่เมืองมะละกาของมาเลเซีย ทุ่มเงินมหาศาล สร้าง Melaka Gateway ท่าเรือสุดไฮเทค ด้วยงบลงทุนมหาศาล 7,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 250,000 ล้านบาท ด้มีการสร้างเกาะอุตสาหกรรมขึ้นมา 4 เกาะ เพื่อทำ ท่าเรือน้ำลึก โกดังสินค้าและตู้สินค้า โรงเก็บน้ำมัน เพื่อพัฒนาตลาดค้าน้ำมันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขตอุตสาหกรรม และอสังหาริมทรัมพ์ โครงการนี้เริ่มต้นไปแล้วเมื่อปี 2559 โดยมีการสร้างทางรถไฟเป็นแลนด์บริดจ์ ขยายไปฝั่งตะวันออก
เป้าหมายทั้งหมด ที่จีนเอาจังกับ กันทางยุทธทางรถไฟ และเรือสินค้านี้ คือการระเบิดออกจากข้างในสู่โลกภายนอก เปิดทางให้จีน ออกทะเลได้มากขึ้น อย่างที่สุด เวลานี้มีเพิ่มขึ้น 3 ทาง คือ
ท่าเรือ Gwadar ในปากีสถาน
ท่าเรือ จ็อกผิ่ว ในเมียนมาร์
ท่าเรือมะละกา ในมาเลเซีย
การระเบิดนี้ จะนำพา เงินทุน สินค้าทั้งดีและไม่ดี บริการต่างๆ ความรู้และวิทยาการ วัฒนธรรมใหม่ของจีน และนักท่องเที่ยว ออกสู่อาเซียน เอเชียกลาง และยุโรป ได้อย่างง่ายได้ขึ้น จีนประกาศว่าแต่ละโครงการจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ไม่เกินภายใน 5 ปีนี้ ถ้าเงินพร้อม ชาวอาเซียนพร้อมหรือยัง กับการบุกใหญ่ทางเศรษฐกิจของจีนในครั้งนี้
ทีมข่าวอาเซียน TNN ช่อง16 รายงาน50 ปีอาเซียนกับยุทธศาสตร์เรือและราง (1)
[youtube=640,390]http://www.youtube.com/watch?v=cXHWGGm-Ugw[/youtube]
50 ปีอาเซียนกับยุทธศาสตร์เรือและราง (2) ความหวังคอคอดกระในยุทธศาสตร์เรือและราง
[youtube=640,390]http://www.youtube.com/watch?v=seUATFVYSvM[/youtube]
50 ปีอาเซียนกับยุทธศาสตร์เรือและราง (3) ย้อนอดีตบ้านแหลมแท่น จุดกำเนิดอาเซียน
[youtube=640,390]http://www.youtube.com/watch?v=TUy2CIKhOH8[/youtube]
50ปีอาเซียน กับยุทธศาสตร์เรือและราง 4 ''กฏบัตรอาเซียน''
[youtube=640,390]http://www.youtube.com/watch?v=E78XCEkEEag[/youtube]
(http://www.marinerthai.net/pic-news3/news_source.jpg) (http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=145370&t=news_special)
ที่มา Data & Images - (http://www.marinerthai.net/pic-news3/tnn24.jpg) (http://www.tnnthailand.com/)
(http://www.marinerthai.net/Image/bar_sponsor.jpg)
(http://www.marinerthai.net/Image/MRT_Sponser.gif) (http://www.marinerthai.net/mrt_sponsors.htm)
..