เอเจนซีส์ -
ความเสี่ยงที่จะเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ ที่มุ่งเป้าเล่นงานระบบนำร่องด้วยดาวเทียมของเรือ ทำให้หลายชาติพากันขุดคุ้ยของเก่าในประวัติศาสตร์ พัฒนาระบบนำร่องสำรองที่มีต้นตอจากสัญญาณวิทยุสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2(http://www.marinerthai.net/pic-news3/2017-08-08_020.jpg) (http://www.marinerthai.net/pic-news3/2017-08-08_022.jpg)
บรรดาเรือที่ใช้ระบบ GPS หรืออุปกรณ์อื่นที่ทำงานคล้ายกัน ล้วนต้องพึ่งพาการับส่งสัญญาณจากดาวเทียม ซึ่งบรรดาผู้เชี่ยวชาญมองว่ามีจุดอ่อนตรงที่ถูกรบกวนสัญญาณจากพวกแฮกเกอร์ได้
ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของการค้าโลกนั้นขนส่งทางเรือ แถมมูลค่าก็สูงมากจากการเพิ่มขึ้นของเส้นทางการเดินเรือที่หนาแน่น เรือนั้นต่างจากอากาศยานตรงที่ไม่มีระบบนำร่องสำรอง หากระบบ GPS หยุดการทำงานก็มีความเสี่ยงที่จะเกยตื้นหรือชนกับเรือลำอื่น
เกาหลีใต้กำลังพัฒนาอีกระบบไว้เป็นตัวเลือก โดยใช้เทคโนโลยีนำร่องที่รู้จักกันในชื่อ eLoran ขณะที่สหรัฐอเมริกาก็มีกำลังแผนจะเดินตาม ส่วนอังกฤษกับรัสเซียก็มีแผนจะสำรวจหาทางนำเทคโนโลยีแบบเดียวกันมาปรับใช้ ซึ่งมันทำงานได้ด้วยสัญญาณวิทยุ
ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นหลังจากเหตุขัดข้องหลายครั้งของระบบนำร่องในเรือตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่มันยังไม่ชัดเจนว่าถูกเล่นงานด้วยความจงใจหรือไม่ โดยบรรดาผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการนำร่องบอกว่า ผลกระทบของระบบสุริยะอาจทำให้สัญญาณดาวเทียมขาดหายไปบ้าง
(http://www.marinerthai.net/pic-news3/2017-08-08_021.jpg)
เทคโนโลยีระบบนำร่อง eLoran นั้นมีหลายรัฐบาลให้ความสนใจ โดยมองว่าจะช่วยปกป้องความมั่นคงของชาติ ซึ่งการลงทุนที่สำคัญนั้นจำเป็นจะต้องมีการสร้างสถานีเครือข่ายหรือสถานีส่งสัญญาณที่สามารถปิดบังสัญญาณได้ หรือไม่ก็อาจจะต้องอัพเกรดของเดิมที่เคยใช้เมื่อหลายทศวรรษก่อน ตอนที่ระบบนำร่องด้วยสัญญาณวิทยุยังถือเป็นมาตรฐาน
แบรด พาร์กินสัน วิศวกรชาวอเมริกัน ที่รู้จักกันในชื่อ "บิดาของ GPS" และเป็นหัวหน้านักพัฒนาระบบดังกล่าว คือหนึ่งในกลุ่มคนที่สนับสนุนให้ใช้ eLoran เป็นตัวเลือกสำรอง
ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์บอกว่า ปัญหาของ GPS และระบบอื่นที่คล้ายกัน คือมันมีสัญญาณที่อ่อน โดยส่งสัญญาณมาจาก 12,500 ไมล์เหนือพื้นโลก แถมยังสามารถรบกวนได้ด้วยอุปกรณ์แจมมิ่งราคาถูกที่หาได้ทั่วไป
สำหรับระบบ eLoran ซึ่งสืบทอดมาจาก loran อันเป็นระบบนำร่องระยะไกลที่สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ทางผู้พัฒนาบอกว่า มันยากที่จะรบกวนสัญญาณ โดยที่ค่าเฉลี่ยของสัญญาณนั้นประเมินว่าแรงกว่าสัญญาณ GPS มากถึง 1.3 ล้านเท่า แต่การจะทำอย่างนั้นได้ก็จำเป็นต้องมีเครื่องส่งสัญญาณที่ทรงพลัง มีเสาสัญญาณขนาดใหญ่ แล้วก็ใช้พลังงานมหาศาลซึ่งนั่นอาจทำให้มันถูกพบได้ง่าย
(http://www.marinerthai.net/pic-news3/news_source.jpg) (http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9600000080463)
ที่มา Data & Images - (http://www.marinerthai.net/pic-news3/astv_manager.jpg) (http://www.manager.co.th/)
(http://www.marinerthai.net/Image/bar_sponsor.jpg)
(http://www.marinerthai.net/Image/MRT_Sponser.gif) (http://www.marinerthai.net/mrt_sponsors.htm)
..