ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

ภูเขาน้ำแข็งยักษ์แตกจากขั้วโลกใต้ เพิ่มความเสี่ยงต่อเรือที่สัญจรรอบทวีป

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 14, 17, 06:16:57 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ภูเขาน้ำแข็งใหญ่สุดลูกหนึ่งในประวัติการณ์ แยกตัวออกจากขั้วโลกใต้ ก่ออันตรายต่อเรือที่สัญจรรอบทวีป


คณะนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสวานซีและนักสำรวจขั้วโลกใต้ของอังกฤษ เปิดเผยว่า ภูเขาน้ำแข็งหนัก 1 ล้านล้านตัน ขนาด 5,800 ตารางกิโลเมตร ลอยออกจากธารน้ำแข็งลาร์เซนซีในขั้วโลกใต้แล้วระหว่างวันที่ 10 - 12 ก.ค. 2560 หลังจากส่อเค้าแตกมา 2-3 เดือน นักวิทยาศาสตร์จึงใช้ดาวเทียมขององค์การอวกาศยุโรปจับตาดูเป็นพิเศษ

นักวิทยาศาสตร์คาดว่า ภูเขาน้ำแข็งลูกนี้อาจคงอยู่เป็นลูกเดียว แต่เป็นไปได้มากว่าจะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งบางส่วนอาจยังอยู่ในพื้นที่อีกหลายสิบปี ขณะที่อีกหลายส่วนลอยขึ้นเหนือไปยังแหล่งน้ำอุ่น เพิ่มความเสี่ยงให้กับเรือที่สัญจรไปมา แม้ว่าบริเวณนี้จะอยู่นอกเส้นทางการค้าหลัก แต่ก็เป็นปลายทางสำคัญสำหรับเรือที่แล่นมาจากอเมริกาใต้



ที่มา Data & Images -




"ภูเขาน้ำแข็ง" นับล้านล้านตันแยกตัวจากแอนตาร์กติกา

นักวิทยาศาสตร์แจ้งเตือนภูเขาน้ำแข็งนับล้านล้านตันแยกออกจากทวีปแอนตาร์กติกา สร้างความเสี่ยงที่หิ้งน้ำแข็งฝั่งตะวันตกของทวีปจะถล่ม ทว่าน้ำทะเลอาจยังไม่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน แต่อาจเพิ่มวามเสี่ยงต่อเรือเดินสมุทรในช่องแคบเดรกทางซีกโลกใต้


เอเอฟพีรายงานการแจ้งเหตุฉุกเฉินของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสวอนซี (Swansea University) ว่า หลังจากเกิดรอยแตกที่หิ้งน้ำแข็งลาร์เซนซี (Larsen C ice shelf) ทางฝั่งตะวันตกของทวีปแอนตาร์กติกามาหลายปี ในที่่สุดรอยแยกของหิ้งน้ำแข็งดังกล่าวก็แตกออก

นักวิทยาศาสตร์คาดว่าการแตกครั้งนี้เกิดขึ้นระหว่างช่วงวันที่ 10 ก.ค.-12 ก.ค.ของปี 2017 นี้ โดยหิ้งน้ำแข็งกินพื้นที่ 5,800 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคาดว่าหลังภูเขาน้ำแข็งที่ลอยล่องไปในทะเลนั้นแตกออกจากหิ้งน้ำแข็งเวสต์แอนตาร์กติกาจะทำให้หิ้งแข็งเสี่ยงที่จะพังทลายมากขึ้น

ทั้งนี้ รอยแยกของหิ้งน้ำแข็งนั้นเกิดขึ้นเป็นไปตามธรรมชาติ แต่เชื่อว่าภาวะโลกร้อนได้เร่งกระบวนการนี้ เมื่อน้ำของทะเลที่อุ่นขึ้นเข้ากัดเซาะเบื้องล่างของหิ้งน้ำแข็ง ขณะเดียวกันด้านบนของหิ้งน้ำแข็งก็เปราะลงจากอากาศที่อุ่นขึ้น

สำหรับภูเขาน้ำแข็งที่แตกออกไปนี้หนาประมาณ 350 เมตร ซึ่งทีมนักวิจัยจากโครงการวิจัยแอนตาร์กติกามิดาส (MIDAS Antarctic research project) ระบุว่าภูเขาน้ำแข็งดังกล่าวหนักมากกว่าล้านล้านตัน แต่ว่าภูขาน้ำแข็งลูกนี้ก็ลอยอยู่ในทะเลอยุ่แล้ว จึงไม่ส่งผลกระทบฉับพลันต่อระดับน้ำทะเล

ภูเขาน้ำแข็งลูกนี้น่าจะได้ชื่อว่า "เอ68" (A68) ซึ่งทีมวิจัยระบุว่า การที่ภูเขาน้ำแข็งนี้แยกตัวออกจากหิ้งน้ำแข็งลาร์เซนซีนั้น ทำให้พื้นที่ของหิ้งแข็งดังกล่าวลดลงไปกว่า 12% และทำให้ภูมิทัศน์ของคาบสมุทรแอนตาร์กติกา (Antarctic Peninsula) เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล

ดาวเทียมขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ยังได้บันทึกเหตุการณ์ภูเขาน้ำแข็งแยกตัวจากหิ้งน้ำแข็งนี้ด้วย และแม้ว่าเหตุการณ์ภูเขาน้ำแข็งแยกตัวออกจากทวีปแอนตาร์กติกาเกิดขึ้นเป็นปกติ แต่ด้วยขนาดมหึมานี้ทำให้ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่าจะทำให้เกิดอัตรายต่อการสัญจรของเรือในมหาสมุทรหรือไม่

อนาคตของภูเขาน้ำแข็งจะเป็นอย่างไรนั้นเป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดา โดยภูเขาน้ำแข็งอาจคงตัวเป็นภูเขาก้อนเดียว หรืออาจจะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยก็ได้ ซึ่ง เอเดรียน ลุคแมน (Adrian Luckman) หัวหน้าทีมศึกษาหลักของโครงการให้ข้อมูลว่า น้ำแข็งบางส่วนอาจจะคงอยู่ที่เดิมเป็นเวลาหลายทศวรรษ ขณะที่ในส่วนของภูเขาน้ำแข็งอาจจะล่องขึ้นไปทางเหนือสู่น้ำทะเลที่อุ่นกว่า

เอเอฟพียังอ้างถึงข้อมูลจากองค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency) หรืออีซา (ESA) ว่ากระแสน้ำในมหาสมุทรอาจจะลากเอาภูเขาน้ำแข็งลูกน้ำหรือชิ้นส่วนของภูเขาน้ำแข็งขึ้นไปไกลถึงหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (Falkland Islands) และเป็นภัยคุกคามต่อเรือเดินสมุทรที่สัญจรในช่องแคบเดรก (Drake Passage)

นอกจากนี้ยังมีบันทึกข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่จากทะเลเวดเดลล์ (Weddell Sea) ซึ่งเป็นบริเวณเดียวกับหิ้งน้ำแข็งลาร์เซนซีกำลังมุ่งหน้าเข้าสู่กระแสน้ำเย็นขั้วโลกแอนตาร์กติกา (Antarctic Circumpolar Current) ซึ่งไหลวนตามเข็มนาฬิกาจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกรอบทวีปทางขั้วโลกใต้ หรืออาจมุ่งหน้าสู่เซาท์แอตแลนติก (South Atlantic)

อีกประเด็นที่น่าห่วงคือหิ้งน้ำแข็งส่วนที่เหลืออาจแตกสลายไปด้วย โดยหิ้งน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในมหาสมุทรนั้นได้รับการเติมเต็มเรื่อยๆ จากธารน้ำที่ไหลมาจากแผ่นดินของทวีปอย่างช้าๆ และหากไม่มีหิ้งน้ำแข็งแล้ว ธารน้ำแข็งก็จะไหลสู่มหาสมุทรโดยตรง

ทีมวิจัยยังเตือนอีกว่า รูปทรงใหม่ของหิ้งน้ำแข็งลาร์เซนซีนี้อาจจะเสถียรน้อยลงกว่าเมื่อก่อน และมีความเสี่ยงที่ลาร์เซนซีจะเป็นเหมือนลาร์เซนบี (Larsen B) ที่อยู่ใกล้ๆ ซึ่งแตกสลายไปเมื่อปี 2002 ตามหลังเหตุเกิดรอยแตกคล้ายกันนี้เมื่อปี 1995 ขณะที่ลาร์เซนเอ ( Larsen A) ถล่มไปเมื่อ 1995

ขณะที่นักวิจัยอีกหลายคนบอกว่า หากธารน้ำแข็งที่มีลาร์เซนซีเป็นกันชนนั้นกระจายสู่มหาสมุทรแอนตาร์กติกแล้ว ธารน้ำแข็งนี้จะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นประมาณ 10 เซ็นติเมตร

ด้าน มาร์ติน โอเลียรี (Martin O'Leary) นักธารน้ำแข็งวิทยาจากมหาวิทยาลัยสวอนซี (Swansea University) สหราชอาณาจักร และสมาชิกทีมโครงการมิดาสอีกคนกล่าวว่า น้ำแข็งด้านหน้าของลาร์เซนซีหนนี้หดไปลึกกว่าครั้งใดๆ เท่าที่เคยมีบันทึกในประวัติศาสตร์ และทีมนักวิจัยกำลังจับตาดูอย่างรอบคอบถึงสัญญาณว่า หิ้งน้ำแข็งส่วนที่เหลือจะไม่เสถียร

ลุคแมนเสริมว่าอีกหลายเดือนและหลายปีต่อจากหิ้งน้ำแข็งอาจจะค่อยใหญ่ขึ้นหรืออาจจะถูกกัดเซาะไปมากกว่านี้จนนำไปสู่การพังถล่มในที่สุดก็ได้ ซึ่งตอนนี้ความเห็นในประชาคมวิทยาศาสตร์กำลังแตกเป็นสองฝั่ง ซึ่งแบบจำลองของทีมพวกเขาบ่งชี้ว่า หิ้งน้ำแข็งจะเสถียรน้อยลง แต่การถล่มในวันข้างหน้านั้นยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีหรืออาจจะอีกหลายทศวรรษ์ต่อจากนี้

เมื่ออ้างข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายแล้ว กิจกรรมของมนุษย์นั้นได้เพิ่มระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศโลกประมาณ 1 องศาเซลเซียส นับแต่ยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม และทวีปแอนตาร์กติกาเป็นบริเวณที่ร้อนขึ้นเร็วที่สุดในโลก



ที่มา Data & Images -






..