ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา หาเงินทางเน็ต งาน Part-time MLM ทุกรูปแบบ ธุรกิจที่มี downline ปั่นลิก์ SEOเด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

"โมซัมบิก" ขุมทรัพย์พลังงาน เชื่อมโยงการค้าไทย-แอฟริกา

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 06, 13, 20:53:49 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

"โมซัมบิก" เป็นประเทศแรกสุด ที่นายกรัฐมนตรีไทย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เลือกไปเยือนในระหว่างทริปแอฟริกาล่าสุด และได้จะเปิดสถานทูตไทยประจำกรุงมาปูโต เมืองหลวงประเทศดังกล่าวภายในปีหน้า


ในทางเศรษฐกิจ โมซัมบิกเติบโตต่อเนื่องมานับทศวรรษ อีกทั้ง "บนดิน" และ "ใต้น้ำ" ของที่นี่ ยังมีแหล่งแร่อันอุดมสมบูรณ์ และแหล่งพลังงานอันมหาศาล

นายกฯยิ่งลักษณ์กล่าวสุนทรพจน์ในระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการว่า "โมซัมบิกมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ 7% ตามตัวเลขจากธนาคารโลก ติดอันดับ 1 ใน 5 ยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีมูลค่า 5,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2556 จากสถิติของอังค์ถัด นับเป็นประเทศที่โดดเด่นมากทางเศรษฐกิจ"

การเยือนครั้งนี้การเจรจาระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศ ที่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) จำนวน 7 ฉบับ ทั้งในด้านวิชาการ ด้านการค้าและเศรษฐกิจ ความร่วมมือทางการบิน ด้านการท่องเที่ยว ด้านพลังงาน การยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ และด้านความมั่นคงทางอาหาร การเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค

ภาคธุรกิจไทยเริ่มเข้าไปมีบทบาทในโครงการใหญ่ ๆ ของโมซัมบิก แต่ถือว่ายังไม่มาก

เริ่มจาก ปตท.สผ.เพิ่งเข้ามาซื้อหุ้นจากบริษัท โคฟ เอ็นเนอร์ยี่ 8.5% ในแปลงสัมปทานแหล่งก๊าซโรวูมา จากการสำรวจพบว่าโมซัมบิกมีแหล่งก๊าซสำรองมากกว่าแหล่งก๊าซของไทยถึง 3-4 เท่า โดยในปีนี้ได้เริ่มลงทุนไปแล้ว 60,000 ล้านบาท และวางแผนจะลงทุนเพิ่มอีก 60,000 ล้านบาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า ปตท.สผ.กำลังจะตั้งสำนักงานประจำที่โมซัมบิก เพื่อเริ่มตั้งรากธุรกิจอย่างจริงจัง

บริษัทอิตัลไทยประมูลได้การก่อสร้างท่าเรือมาปูซี ที่เป็นท่าเรือขนาดใหญ่ของโมซัมบิก นอกจากนี้มีกลุ่มธุรกิจอัญมณีอีกราย 300 รายที่เข้ามาบุกเบิกการค้าพลอย และกลุ่มธุรกิจร้านอาหารไทยที่สร้างรายได้ไม่น้อย

นับตั้งแต่นายกฯเยือนต่างประเทศ และเริ่มนำนักธุรกิจไทยติดตามไปด้วย เพื่อเปิดตลาดใหม่ ๆ และขยายการลงทุนของไทยในต่างประเทศ "โมซัมบิก" เป็นชาติที่นักธุรกิจไทยให้ความสนใจสูงสุด โดยมีมากถึง 61 ราย

นายชุตินทร คงศักดิ์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงความสำคัญของโมซัมบิกว่า "ตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ สะท้อนว่านี่คือช่วงเวลาของแอฟริกาจริง ๆ เรามีข้อริเริ่มไทย-แอฟริกา หรือ Thai-African Initiatives เพื่อเป็นการเชื่อมโยงไทยกับแอฟริกาในเวทีระหว่างประเทศ"

"ไทยจำต้องหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ ทั้งแร่ธาตุ หินมีค่า และพลังงาน แหล่งก๊าซธรรมชาติสำรองของไทยกำลังจะหมดในอีก 8 ปี ส่วนทรัพยากรพลอยดิบที่นี่ยังมีอีกมาก สามารถใช้ไปได้อีก 40 ปี จึงมีความจำเป็นที่ต้องสนับสนุนเอกชนให้ออกไปลงทุนในต่างประเทศ" นายชุตินทรระบุ

นอกจากนี้ ยังมีช่องทางธุรกิจอัญมณีเปิดกว้างสำหรับธุรกิจไทย แต่โดยปัจจุบันยังมีปัญหา นักธุรกิจไทยบางกลุ่มเข้ามาแบบ "กองทัพมด" เนื่องจากรัฐบาลโมซัมบิกยังไม่มีการจัดการที่ดีเพียงพอ ในการให้สัมปทานกับต่างชาติเข้ามาขุดพลอยดิบที่นี่

นายพิชิต นิลประภาพร สมาคมค้าพลอยสีไทย-โมซัมบิก เผยว่า "เข้ามาทำธุรกิจที่นี่แล้ว 4 ปี ก่อนหน้านี้ทำธุรกิจพลอยอยู่ที่แทนซาเนีย ที่เมืองมอนตาเปส โดยเอาวัตถุดิบที่นี่ไปเจียระไนที่ไทย ในกาญจนบุรีมีคนงานในระบบธุรกิจนี้ 50,000 คน และวัตุดิบที่ไทยหมดแล้ว จึงจำเป็นต้องหาวัตถุดิบป้อนระบบ เพื่อให้ธุรกิจยังคงอยู่"


"ต้องบอกว่าพลอยที่เราขนออกจากที่นี่ทุกเม็ดผิดกฎหมาย เพราะรัฐเปิดสัมปทานให้บริษัทเพียงบริษัทเดียวคือเจมส์จิว ซึ่งเขาไม่ขายให้เรา เขาจะประมูลเท่านั้น แต่ปัจจุบันยังมีปัญหาการสัมปทาน ซึ่งการเยือนของนายกฯครั้งนี้ร่วมกับสถานทูตและกระทรวงพาณิชย์ ก็จะเข้ามาผลักดันให้ธุรกิจค้าพลอยของไทยในโมซัมบิกทำอย่างถูกต้องมากขึ้น" นายพิชิตกล่าว

ปัจจุบันโมซัมบิกมีประชากรประมาณ 22 ล้านคน มีก๊าซธรรมชาติสำรองสูงสุดในโลก 60 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ปัจจุบันมีการใช้ก๊าซธรรมชาติ 8 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และส่งออกน้ำมัน 22,000 บาร์เรลต่อวัน ทั้งยังอุดมด้วยทรัพยากรแร่ธาตุและอัญมณี

ด้านการค้ามูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา จาก 123.4 ล้านดอลลาร์ ในปี 2010 เป็น 180.2 ล้านดอลลาร์ ในปี 2012 ซึ่งคิดเป็นอัตราร้อยละ 23 ต่อปี ซึ่งไทยถือเป็นคู่ค้าหลักในอาเซียนของโมซัมบิก ซึ่งไทยและโมซัมบิกเห็นพ้องตั้งเป้าเพิ่มปริมาณการค้าเป็น 2 เท่า ในระยะเวลา 5 ปี

ที่มา -