ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา อาหาร ยา และเครื่องสำอางค์ รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด ไม่ว่าจะมี อย. หรือไม่  เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

อินโดนีเซีย “แจ้งเกิด” ในอุตสาหกรรมต่อเรือรบส่งออกในอาเซียนและแอฟริกา

เริ่มโดย mrtnews, ก.ค 25, 17, 06:24:25 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

อินโดนีเซีย "แจ้งเกิด" ในอุตสาหกรรมต่อเรือรบ หลังประสบความสำเร็จในการต่อเรือให้ฟิลิปปินส์ 2 ลำ ทำให้มีลูกค้าหลายประเทศในอาเซียนและแอฟริกาไว้วางใจ สั่งซื้อตามฟิลิปปินส์


อินโดนีเซียมีบริษัท PT PAL Indonesia ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ อยู่ที่เมืองสุราบายาในเกาะเดียวกับกรุงจาการ์ตา เป็นอู่หลักด้านการผลิตเรือ

สินค้าที่ฟิลิปปินส์สั่งซื้อ ได้แก่ เรือลำเลียงส่งกำลังบำรุงทางยุทธศาสตร์ (Strategic Sealift Vessel : SSV) ขนาดใหญ่ ความยาว 123 เมตร ราคารวม 2 ลำ 3,800 ล้านเปโซ (ประมาณ 2,546 ล้านบาท)

ส่งมอบลำแรก เดือนพฤษภาคม ปีที่แล้ว โดยเป็นเรือรบส่งออกลำแรกของอินโดนีเซีย และส่งมอบลำที่ 2 เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา

นายบูดิมาน ซาเลห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท PT PAL Indonesia ระบุว่า ฟิลิปปินส์พอใจกับสินค้าที่ได้รับ จึงทาบทามเตรียมซื้อเพิ่มอีก 5 ลำ ประกอบด้วยเรือเอสเอสวี (SSV) 2 ลำ เรือพยาบาลเอสเอสวี (Hospital ship) 1 ลำ และเรือโจมตีเร็ว KCR-60 ความยาว 60 เมตร ติดอาวุธปล่อยนำวิถี (Guided Missile) 2 ลำ

นอกจากนั้น ซาเลห์ยังเปิดเผยว่า ความสำเร็จในการต่อเรือให้ฟิลิปปินส์ ทำให้หลายประเทศในอาเซียนและแอฟริกา มีความไว้วางใจผลงานของอินโดนีเซีย และได้เสนอซื้อแล้ว 5 ประเทศ

ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ที่เป็นลูกค้ารายใหม่ต่อจากฟิลิปปินส์ ได้แก่ มาเลเซีย เสนอซื้อเรือยกพลขึ้นบก (Landing Platform Dock : LPD) ขนาดใหญ่ รองรับเฮลิคอปเตอร์ได้ 5 ลำ


ส่วนลูกค้าจากแอฟริกา ประกอบด้วยไนจีเรีย สั่งซื้อเรือเอสเอสวี 1 ลำ เซเนกัลสั่งซื้อ 6 ลำ ประกอบด้วยเรือแอลพีดี (LPD) 1 ลำ เรือโจมตีเร็ว KCR-35 ความยาว 35 เมตร 2 ลำ และเรือโจมตีเร็ว KCR-60 จำนวน 3 ลำ

กินีบิสเซาและกาบอง สั่งซื้อเรือโจมตีเร็ว KCR-60 ประเทศละ 1 ลำ

ซีอีโอของ PT PAL Indonesia คาดว่า ตลาดส่งออกเรือของอินโดนีเซียจะขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้จะมีอุปสรรคในกระบวนการผลิตหลายอย่างที่ต้องแก้ไขก็ตาม

ทั้งนี้ อินโดนีเซียยังขาดบุคลากรที่มีฝีมือ ทำให้กระบวนการผลิตค่อนข้างช้า อีกทั้งคุณภาพสินค้ายังต่ำ และเคาะราคาขายอยู่ในเกณฑ์แพง

ปัญหาสำคัญอีกอย่าง คืออินโดนีเซียยังต้องนำเข้าอุปกรณ์และชิ้นส่วนส่วนใหญ่จากต่างประเทศ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีอุปสรรคด้านการทำงาน อีกทั้งเป็นน้องใหม่ในอุตสาหกรรมส่งออกเรือ ยังไม่ปีกกล้าขาแข็งพอที่จะต่อกรกับ "ขาใหญ่" ในเอเชีย อย่างจีนและอินเดียได้

แต่ถ้าเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ถือว่าอินโดนีเซียรุดหน้าไปไกลในอุตสาหกรรมนี้



ที่มา Data & Images -





..