ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

'กปน.' เบรกมติบอร์ดปตท.ให้ PTTGC ใช้ท่ออ่อนส่งน้ำมันตามเดิม

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 08, 13, 21:00:28 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กปน.เบรกมติบอร์ด ปตท. สั่ง PTTGC ใช้ท่ออ่อนส่งน้ำมันจากเรือสู่โรงกลั่น ชี้การขนส่งด้วยเรือเล็กเสี่ยงน้ำมันรั่วไหลสูงกว่า ในขณะที่กรมควบคุมมลพิษตั้ง 7 คณะทำงานติดตามประเมินสถานการณ์ฯ...


นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่า ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน (กปน.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการขจัดคราบน้ำมันบริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จ.ระยอง ว่า กรมควบคุมมลพิษได้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามประเมินสถานการณ์ แก้ไขและฟื้นฟูผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง ที่ได้รับผลกระทบจากคราบน้ำมัน ออกเป็น 7 กลุ่ม เพื่อดูแลสภาพแวดล้อมให้ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งคุณภาพน้ำทะเล, ปะการัง, ชายหาด, หญ้าทะเล, ป่าชายเลน, สัตว์ทะเลหายาก และมลพิษสิ่งแวดล้อม

ขณะเดียวกัน จะมีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลพารามิเตอร์โพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (PAHs) บริเวณรอบเกาะเสม็ดและพื้นที่ใกล้เคียง ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ จำนวน 23 สถานี เป็นระยะเวลา 1 ปี และเก็บตัวอย่างทราย เพื่อวิเคราะห์สารตกค้างในพารามิเตอร์ ที่ลงไปในชั้นทรายบริเวณอ่าวพร้าวเป็นระยะเวลา 1 ปี ขณะเดียวกัน ยังตรวจวัดสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ การตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลและสารปนเปื้อน โดยเฉพาะโลหะหนักและสรุปผลได้ภายใน 13 ส.ค.นี้

ส่วนการสอบสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คณะกรรมการ กปน.และกรมเจ้าท่า อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยเฉพาะการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับของเจ้าหน้าที่ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปทั้งหมดภายในสิ้นเดือนนี้

นายศรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า การที่ ปตท.จะหยุดใช้ท่ออ่อนที่มีปัญหาน้ำมันรั่วไหล และเปลี่ยนมาใช้วิธีการส่งน้ำมันทางเรือแทนชั่วคราวนั้น ทางกรมเจ้าท่าเห็นว่า การขนถ่ายน้ำมันทางเรือมีความเสี่ยงเรื่องการรั่วไหลมากกว่าการส่งทางท่อ จึงให้ PTTGC กลับมาใช้วิธีการส่งน้ำมันทางท่อตามเดิม โดยให้ถอดท่ออ่อน ซึ่งมีอยู่ 2 ท่อนออก แล้วให้เพิ่มเรือเฝ้าระวังจากเดิม 1 ลำ เป็น 2 ลำ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขนถ่ายน้ำมัน.

ที่มา -




กรมเจ้าท่าเล็งปรับระเบียบปฏิบัติการขนถ่ายน้ำมันดิบกลางทะเลให้รัดกุมขึ้น

นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่า ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน (กปน.) เปิดเผยว่า บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ได้เสนอเรื่องการขอขนถ่ายน้ำมันที่ทุ่นรับน้ำมันดิบมาบตาพุด ซึ่งเป็นทุ่นเกิดเหตุน้ำมันรั่วที่ผ่านมา โดยกรมเจ้าท่าจะได้เข้าไปตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์เพื่อพิจารณาว่าจะให้ขนถ่ายน้ำมันได้หรือไม่ คาดว่าจะทราบผลการอนุมัติภายไม่เกินวันพรุ่งนี้ (8 ส.ค. 56 )


นายศรศักดิ์ระบุว่า กรมเจ้าท่าจะเพิ่มระเบียบปฏิบัติในงานขนถ่ายน้ำมัน เพื่อป้องกันเหตุน้ำมันรั่วซ้ำรอยเดิม เช่น เพิ่มจำนวนเรือเฝ้าระวังขณะขนถ่ายน้ำมันเป็น 2 ลำ จากเดิม 1 ลำ รวมทั้งจะให้วางทุ่นกักน้ำมัน (Boom) รัศมีห่างจากทุ่นรับน้ำมัน 50 เมตร เพื่อป้องกันความเสี่ยง หากน้ำมันรั่วจะได้ควบคุมพื้นที่ไม่ให้กระจายออกไป

พร้อมมองว่าการขนถ่ายน้ำมันระหว่างเรือน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีความจุถึง 1.5 แสนตัน กับทุ่นรับน้ำมันดิบจะมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้เรือขนาดเล็กไปขนถ่ายน้ำมันจากเรือใหญ่ และต้องขนถ่ายน้ำมันจากเรือเล็กไปยังชายฝั่งซึ่งจะเท่ากับมีโอกาสเกิดความเสี่ยง 2 ครั้ง

ที่มา -




กรมควบคุมมลพิษตั้ง 7 คณะทำงานฟื้นฟูผลกระทบทางทะเล

ก.คมนาคม 7 ส.ค. 56 - นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่า ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน (กปน.) เปิดเผยความคืบหน้าการจัดการคราบน้ำมันรั่วในอ่าวไทยว่า กรมควบคุมมลพิษได้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามประเมินสถานการณ์แก้ไขและฟื้นฟูผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบจากคราบน้ำมัน ออกเป็น 7 กลุ่ม เพื่อดูแลสภาพแวดล้อมให้ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งคุณภาพน้ำทะเล ปะการัง ชายหาด หญ้าทะเล ป่าชายเลน สัตว์ทะเลหายาก และมลพิษสิ่งแวดล้อม


ขณะเดียวกันจะมีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลพารามิเตอร์โพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน บริเวณรอบเกาะเสม็ดและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบ 23 สถานี เป็นระยะเวลา 1 ปี และทำการสำรวจและเก็บตัวอย่างทราย เพื่อวิเคราะห์สารตกค้างในพารามิเตอร์ที่ลงไปในชั้นทรายบริเวณอ่าวพร้าว ระยะเวลา 1 ปี และตรวจวัดสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ เป็นต้น ทั้งนี้ การตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลและสารปนเปื้อน โดยเฉพาะโลหะหนัก จะสรุปผลได้ภายในวันที่ 13 สิงหาคม 56 นี้

ส่วนการสอบสวนหาสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น คณะกรรมการ กปน. และกรมเจ้าท่า กำลังดำเนินการ โดยเฉพาะการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อบังคับของเจ้าหน้าที่บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีทีจีซี ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ทั้งหมดภายในสิ้นเดือนนี้

นายศรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า การที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะขอหยุดใช้ท่ออ่อนส่งน้ำมันที่มีปัญหา แล้วเปลี่ยนมาใช้วิธีการส่งน้ำมันทางเรือแทนชั่วคราวนั้น ทางกรมเจ้าท่าเห็นว่า การขนถ่ายน้ำมันทางเรือมีความเสี่ยงเรื่องการรั่วไหลมากกว่าการส่งทางท่อ จึงให้พีทีทีจีซีกลับมาใช้วิธีการส่งน้ำมันทางท่อตามเดิม โดยให้ถอดท่ออ่อน ซึ่งมีอยู่ 2 ท่อนออก แล้วให้เพิ่มเรือเฝ้าระวังจากเดิม 1 ลำ เป็น 2 ลำ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขนถ่ายน้ำมัน

ที่มา -




เร่งเพิ่มระบบป้องกันน้ำมันรั่ว

วันที่ 7 ส.ค. 56 นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่า และประธานคณะอนุกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน (กปน.) เปิดเผยว่า วันที่ 6 ส.ค. 56 บริษัท พีทีทีโกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีทีจีซี ได้เสนอเรื่องขอขนถ่ายน้ำมันที่ทุ่นรับน้ำมันดิบมาบตาพุด ซึ่งเป็นทุ่นเกิดเหตุน้ำมันรั่ว โดยกรมเจ้าท่าจะเข้าไปตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์เพื่อพิจารณาว่าจะให้ขนถ่ายน้ำมันได้หรือไม่ ส่วนการป้องกันเหตุน้ำมันรั่วซ้ำรอยเดิม กรมเจ้าท่าได้เพิ่มจำนวนเรือเฝ้าระวังจาก 1 ลำเป็น 2 ลำ รวมทั้งกำหนดวางทุ่นกักน้ำมัน รัศมีห่างจากทุ่นรับน้ำมันประมาณ 50 เมตร เพื่อป้องกันความเสี่ยง

นายศรศักดิ์กล่าวต่อว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบ เช่น ชาวประมง คาดว่าจะได้รับเงินชดเชยภายในเดือนส.ค.นี้ ส่วนผู้ประกอบการโรงแรม ผู้ค้าของชำร่วย ผู้ประกอบการรถโดยสารขนาดเล็ก และกลุ่มธุรกิจอื่นๆ อยู่ระหว่างรวบรวมผลกระทบ โดยวันที่ 13 ส.ค. 56 นี้ ทางกรมเจ้าท่าจะเสนอในที่ประชุม กปน.พิจารณาแบบฟอร์มแจ้งความเสียหายด้วย ทั้งนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ตั้งคณะทำงานติดตามประเมินสถานการณ์ แก้ไขและฟื้นฟูผลกระทบจากคราบน้ำมันรวม 7 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มสมุทรศาสตร์ ทำการสำรวจและวิเคราะห์คุณภาพน้ำทะเล 2.กลุ่มนิเวศปะการัง 3.กลุ่มนิเวศชายหาด 4.กลุ่มนิเวศหญ้าทะเล 5.กลุ่มนิเวศป่าชายเลน 6.กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก 7.กลุ่มมลพิษสิ่งแวดล้อม และการจัดการกากของเสีย

ด้านนายบวร วงศ์สินอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ พีทีทีจีซี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 56 มีมติอนุมัติให้ยกเลิกการใช้ท่ออ่อนจากบริษัทผู้ผลิตที่ใช้ในปัจจุบัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเปลี่ยนท่อดังกล่าว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ยังเร่งศึกษาแนวทางในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ขนถ่ายน้ำมันในทะเล ตามที่กระทรวงพลังงานได้รายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาระยะยาว กรณีท่อรับน้ำมันดิบรั่วในทะเล จากเดิมที่เป็นท่อ 1 ชั้นมาเป็นท่อ 2 ชั้น ซึ่งจะมีการติดตั้งระบบไฟเตือนฉุกเฉินเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันที

ที่มา -