ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

กรมโรงงานเล็งตั้งโรงงานกำจัดแท่นขุดเจาะปิโตรในทะเลหมดอายุกว่า 40 ล้านตัน

เริ่มโดย mrtnews, ธ.ค 09, 17, 06:29:17 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กรอ. ถก สถาบันปิโตรเลียม หาแนวทางกำจัดแท่นขุดเจาะในทะเลกว่า 40 ล้านตัน หวังรีไซเคิลให้เกิดมูลค่าสูง ปักหมุดในพื้นที่อีอีซี จ่อให้บริษัทที่ทำธุรกิจขุดเจาะปิโตรเลียมลงขันตั้งแหล่งกำจัดกาก พร้อมรอความชัดเจน รมว.พลังงาน


นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า ได้หารือกับสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ถึงแนวทางการจัดตั้งโรงงานกำจัดแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมที่หยุดดำเนินการผลิตแล้ว ซึ่งปัจจุบันในอ่าวไทยมีจำนวน 40 แท่น คิดเป็น 10% ของจำนวนแท่นที่มีทั้งหมด 400 แท่น ซึ่งน้ำหนักของแท่นขุดเจาะ 1 แท่นจะเท่ากับ 1 ล้านตัน รวมน้ำหนักแท่นขุดเจาะในทะเลไม่ต่ำกว่า 40 ล้านตัน ดังนั้นการนำแท่นมากำจัดด้วยการตัด แยก ดัด กลุ่มเหล็ก โลหะ ท่อ ปั๊ม ตลอดจนชิ้นส่วนต่างๆ ออกมารีไซเคิล จะเกิดมูลค่าสูง เบื้องต้นโรงงานนี้จะตั้งอยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) เพราะสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายแท่นทางทะเลและเข้าฝั่งทางทะเลภาคตะวันออก

ขณะที่รูปแบบของโครงการนี้จะเป็นการจัดตั้งโรงงานกำจัดกาก คือ ตัวแท่น เบื้องต้นอาจให้บริษัทด้านพลังงานที่ทำธุรกิจขุดเจาะปิโตรเลียมในไทยประมาณ 10 ราย อาทิ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) หรือ ปตท.สผ. บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของแท่นขุดเจาะ ร่วมลงขันจัดตั้งบริษัทกำจัดกาก หรืออาจใช้วิธีจ้างบริษัทกำจัดกากที่มีความเชี่ยวชาญ มีเทคโนโลยี เข้ามาดำเนินธุรกิจนี้ ซึ่งผลพลอยได้จากการกำจัดแท่นขุดเจาะนอกจากสามารถแยกชิ้นส่วนต่างๆ ของแท่นขุดเจาะออกมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมอื่น


"นโยบายนี้เป็นของนายศิริ จิระพงษ์พันธ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งตอนนี้นายศิริ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่แล้ว ต้องติดตามว่าจะเดินหน้าต่อหรือไม่ แต่ส่วนเชื่อมั่นว่าจะเดินหน้าต่อ เพราะเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดนี้ ซึ่งจะต้องรอความชัดเจนจากอีกครั้ง ซึ่งหากโครงการนี้เกิดขึ้นจริง จะถือเป็นครั้งแรกในภูมิอาเซียน เพราะยังไม่มีประเทศที่มีการขุดเจาะปิโตรเลียมมีกระบวกการกำจัดแท่นด้วยวิธีนี้ หากไทยเป็นผู้ริเริ่มก่อนก็สามารถรับกำจัดแท่นในทะเลของประเทศอื่น อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซียได้ด้วย" นายมงคลกล่าว

นอกจากนี้ กรอ. เตรียมเร่งออกระเบียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ โดยให้โรงงานรายงานปริมาณการปลดปล่อยหรือทิ้ง น้ำเสีย อากาศเสีย และของเสียออกจากโรงงานไปบำบัดหรือกำจัด เพื่อติดตามตรวจสอบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษอย่างเป็นระบบระเบียบมากยิ่งขึ้น โดยการรายงานดังกล่าวจะเชื่อมโยงไปกับ กรมควบคุมมลพิษ เพื่อนำมาจัดทำระบบฐานข้อมูลเผยแพร่สู่สาธารณชนเกี่ยวกับการปลดปล่อยมลพิษและของเสียจากโรงงาน.



ที่มา Data & Images -





..