ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

เผยน้ำมันรั่ว 5.4 หมื่นลิตร - ท่อแตกสอบเชิงลึก

เริ่มโดย mrtnews, ส.ค 15, 13, 19:24:31 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กก.สอบฯ เผยน้ำมันรั่วลงทะเล 54,341 ลิตรจากท่อแตก พบใช้งานแค่ 1 ปีเร่งสอบเชิงลึก  ยืนยันพีทีทีจีซีขจัดคราบตามขั้นตอน


คุณหญิงทองทิพ รัตนะรัต ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี  ในฐานะประธานกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลในทะเล เปิดเผยว่า เหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลในทะเลบริเวณเกาะเสม็ด จ.ระยอง เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 56 ที่ผ่านมาของบริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล (พีทีที จีซี) พบมีปริมาณน้ำมัน รั่วไหล 5.43 หมื่นลิตร จากท่อน้ำมันแตก และไม่พบปัจจัยภายนอกที่ทำให้ท่อแตก หรือเกิดจากปัญหาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผิดพลาด โดยเสนอให้ตั้งคณะกรรมการด้านเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและจัดทำแผนฟื้นฟูทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงทบทวนการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานของ สมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน (IESG)   เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสมาคม ฯ เมื่อเกิดปัญหาเร่งด่วนในทะเล

ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการทบทวนแผนตอบโต้สภาวะฉุกเฉิน ระดับจังหวัดและแผนระดับชาติ  ซึ่งควรมีการซักซ้อมแผนอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากคณะกรรมการมีความเห็นว่า แผนการแก้ไขระดับชาติยังมีช่องโหว่  และควรมีการจัดทำแผนปฏิบัติการน้ำมันเมื่อขึ้นฝั่งด้วย  ไม่ใช่ซ้อมแผนเฉพาะในทะเลอย่างเดียว  รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา จากหน่วยงานต่างๆของรัฐ เพื่อให้เกิดความพร้อมในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

สำหรับการปฏิบัติงานของพนักงานพีทีที จีซี ก่อนการเกิดเหตุเป็นไปตามกระบวนการทุกขั้นตอน  และเมื่อพบปัญหาก็ได้ดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ทันที    ซึ่งข้อเท็จจริงจากการสอบสวนระบุว่า เมื่อเวลาประมาณ06.30น.  ขณะที่เรือบรรทุกน้ำมัน  M.T. Maran  Plato  สัญชาติกรีซ   กำลังถ่ายน้ำมันดิบผ่านทุ่นรับน้ำมันดิบ  ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุดไปทางทิศทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 20 กม.  มายังโรงกลั่นน้ำมันของพีทีที จีซี  ได้เกิดเหตุท่อรับน้ำมันดิบขนาด16 นิ้วรั่ว  ทำให้มีน้ำมันดิบรั่วไหลงลงสู่ทะเล

ทั้งนี้ทันทีที่เกิดเหตุ บริษัทฯได้ปิดระบบวาล์วจ่ายจากบนเรือภายในเวลา 20 วินาที  โดยปริมาณน้ำมันดิบที่รั่วไหลออกมา คณะกรรมการฯได้ตั้งข้อสมมติฐานกรณีร้ายแรงสุดของท่อน้ำมันขนาด 24 นิ้วมีปริมาณน้ำมั้นดิบไหลออกถึง 60% ในขณะที่ท่อน้ำมันขนาด 16 นิ้ว มีน้ำมันไหลออกทั้งหมด  จะทำให้มีปริมาณน้ำมันดิบไหลลงทะเล 5.43 หมื่นลิตร

ด้านการปฏิบัติงาน แก้ปัญหาน้ำมันรั่ว บริษัทฯได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกระบวนการทำงานในภาวะฉุกเฉิน  ซึ่งใช้ปฏิบัติการทางเรือฉีดพ่นสารกระจายคราบน้ำมัน และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ จึงได้ใช้การปฏิบัติการทางอากาศโปรยสารกระจายคราบน้ำมันร่วมด้วย แต่เนื่องจากกระแสน้ำและลมแรง คณะทำงานประเมินว่าน้ำมันอาจจะเข้าฝั่ง จึงนำทุ่นกักน้ำมันลง เพื่อกักน้ำมันให้อยู่ในบริเวณที่สามารถใช้สารกระจายคราบน้ำมันทางเรือได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตามทุ่นกักน้ำมันใช้ไม่ได้ผล เพราะช่วงเวลานั้น ทะเลมีคลื่นลมแรง  ประกอบกับเครื่องบินที่มาจากสิงคโปร์เพื่อมาโปรยสารเคมีมาล่าช้าไป 9 ชม.   และถ้าปล่อยให้น้ำมันดิบในกรณีไม่ทำอะไรเลยจะลำบากเพราะน้ำมันดิบจะรวมกันเป็นก้อนถึงตรงนั้นจะอันตรายกว่ามาก  ซึ่งเหตุการณ์ทีเกิดขึ้นก็ทำให้มีน้ำมันเล็ดลอดไปขึ้นฝั่งที่อ่าวพร้าวประมาณ 1.17 หมื่นลิตร

สำหรับประเด็นการใช้สารกระจายคราบน้ำมัน เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมในขณะนั้นคือ สภาพอากาศที่แปรปรวนและสภาพของน้ำมันที่มีการกระจายตัวมากทำให้การทำงานของสารกระจายคราบน้ำมันมีประสิทธิภาพไม่เต็มที่  บริษัทฯจึงต้องใช้สามารถเคมี2 ชนิด ได้แก่ 1.Slickgone NS  จำนวน 30,612ลิตร โดยฉีดพ่นทางอากาศ 12,000 ลิตร  และ พ่นทางเรือ จำนวน 18,612 ลิตร

2. Super-dispersant25 จำนวน 6,930 ลิตร   โดยสารกระจายคราบน้ำมันทั้ง 2 ชนิดเป็นสารที่กรมควบคุมมลพิษ(คพ.) อนุญาตให้ใช้ในประเทศได้ โดยมีความเป็นพิษต่ำมาก สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้เร็ว ไม่พบสะสมทางชีววิทยา ไม่เกิดการกลายพันธุ์และไม่เกิดการเสื่อมพันธุ์

คุณหญิงทองทิพ กล่าวว่า สาเหตุของท่อน้ำมันที่แตกคงต้องให้คณะกรรมการด้านเทคนิคที่จะตั้งขึ้นเข้ามาตรวจสอบ แต่เท่าที่มีการศึกษาข้อมูลพบว่ายี่ห้อของท่อน้ำมันที่ใช้ เคยเกิดปัญหารั่วมาแล้วที่จีนและฟิลิปปินส์

ด้านนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล  รมว.พลังงาน กล่าวภายหลังร่วมรับฟังการแถลงผลการสอบสวนครั้งนี้ว่า ผลการสอบสวนยืนยันปริมาณน้ำมันดิบที่รั่วไหลลงสู่ทะเล มีจำนวน 5.43 หมื่นลิตรโดยไม่ได้เกิดจากการกระทำจากบุคคลหรือปัจจัยภายนอกแต่เกิดจากท่อรั่วซึ่งเป็นภายใน ดังนั้นทางพีทีที จีซีได้ตั้งคณะทำงานด้านเทคนิคเพื่อเข้ามาสอบสวนสาเหตุของท่อน้ำมันที่แตกประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 5ท่านจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย(วสท.)และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มี นาย.ก่อเกียรติ บุญชูกุศล เป็นประธานเพื่อดูในเชิงเทคนิคต่อไปซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ภายใน1 เดือน

"ผมจะนำผลการสอบสวนครั้งนี้รายงานต่อที่ประชุมครม. เพื่อให้นายกรัฐมนตรีได้รับทราบและหาแนวทางที่จะร่วมมือต่อมาตรการอื่นๆให้เป็นทางเดียวกันต่อไป ซึ่งรายงานนี้ได้ระบุอย่างละเอียดว่าไม่ใช่จากปัจจัยภายนอกหรือเกิดจากความผิดพลาดของคนซึ่งคงต้องไปดูเทคนิคต่อ โดยท่อยี่ห้อดังกล่าวขณะนี้ก็ได้สั่งระงับการใช้งานแล้ว ส่วนข้อเสนอที่ให้ซื้อเครื่องบินเห็นด้วยว่าจำเป็นอย่างน้อยคงจะต้องมี 2ลำผู้ค้าน้ำมันคงต้องไปพิจารณาร่วมกัน"นายพงษ์ศักดิ์กล่าว

สำหรับกรณีที่กรมควบคุมมลพิษ(คพ.)กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)ได้รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายหาดและพื้นที่อ่าวต่างๆ รอบเกาะเสม็ด จ.ระยอง พบว่าบริเวณอ่าวพร้าวและอ่าวทับทิม มีปริมาณสารปรอทเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งค่ามาตรฐานปรอทในคุณภาพน้ำทะเลนั้นต้องไม่เกิน 0.1 ไมโครกรัมต่อลิตร แต่พบว่าที่อ่าวพร้าวมีค่าสูงถึง 2.9 ไมโครกรัมต่อลิตรโดยเป็นการเก็บตัวอย่างเมื่อวันที่3 ส.ค.นั้น ไม่ได้อยากไปแทรกแซงการทำงานแต่ขณะเดียวกันได้มอบให้พีทีที จีซี ไปเก็บน้ำมันดิบมาทดสอบก็พบว่ามีสารปรอทเฉลี่ย1.5-2.8 ไมโครกรัมต่อลิตรเท่านั้นซึ่งเมื่อลงสู่ทะเลค่าก็ควรจะต่ำกว่านี้จึงไม่ทราบสาเหตุว่าคพ.มีการเก็บตัวอย่างน้ำมันดิบอย่างไรกันแน่จึงให้ประสานไปยังคพ.เพื่อดูรายละเอียดอีกครั้ง

ที่มา -




ผลสรุปเหตุน้ำมันรั่วยืนยันพีทีทีจีซีทำตามขั้นตอน-ใช้สารกระจายคราบอย่างมีเหตุผล

คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลในทะเลเผยผลการสอบสวนยืนยันปริมาณน้ำมันรั่ว 54,341 ลิตร และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีทีจีซี ปฏิบัติตามขั้นตอนของกระบวนการทำงานและการจัดการน้ำมั่นรั่ว รวมถึงการใช้สารกระจายคราบน้ำมันในปริมาณที่สอดคล้องกับภาวะฉุกเฉิน โดยเป็นสารที่กรมควบคุมมลพิษอนุญาตให้ใช้ในประเทศไทยได้


คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลในทะเลดังกล่าวมีคุณหญิงทองทิพ รัตนะรัต ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี เป็นประธานกรรมการ ดร. วิเชียร กีรตินิจกาล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ดร. ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ อธิบดีกรมเจ้าท่า และ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการในการสอบสวนคณะกรรมการได้กำหนดกรอบการดำเนินงาน โดยพิจารณาข้อมูลเปรียบเทียบการปฏิบัติงานในสถานการณ์ปกติกับการปฏิบัติงานเมื่อเกิดเหตุการณ์ด้านต่างๆ คือ ขั้นตอนการดำเนินงาน การบำรุงรักษา เครื่องมืออุปกรณ์และผู้ปฏิบัติงาน

สำหรับข้อเท็จจริงจากการสอบสวนระบุว่าเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 56 ที่ผ่านมาเวลาประมาณ 06.30 น. ขณะที่เรือบรรทุกน้ำมัน M.T. Maran Plato สัญชาติกรีซ กำลังถ่ายน้ำมันดิบผ่านทุ่นรับน้ำมันดิบ ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 20 กิโลเมตรมายังโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ เกิดเหตุท่อรับน้ำมันดิบขนาด 16 นิ้วรั่ว ทำให้มีน้ำมันดิบรั่วไหลลงสู่ทะเล และทันทีที่เกิดเหตุบริษัทฯ ได้ปิดระบบวาล์วทั้งหมดโดยสมบูรณ์ ดังนั้นจึงมีเพียงน้ำมันที่ค้างอยู่ในท่อระหว่าง จุดส่งน้ำมันบนเรือและทุ่นเท่านั้นที่มีโอกาสรั่วไหลออกสู่ทะเล โดยมีประมาณการปริมาณที่รั่วไหล 54,341 ลิตร

ด้านการปฏิบัติงาน บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกระบวนการทำงานและการจัดการในสภาวะฉุกเฉินกรณีน้ำมันรั่ว โดยการปฏิบัติการทางเรือฉีดพ่นสารกระจายคราบน้ำมัน และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ จึงได้ใช้การปฏิบัติการทางอากาศโปรยสารกระจายคราบน้ำมันร่วมด้วย แต่กระแสน้ำและลมแรง คณะทำงานประเมินว่าน้ำมันอาจจะเข้าฝั่งจึงนำทุ่นกักน้ำมันลง เพื่อกักน้ำมันให้อยู่ในบริเวณที่สามารถใช้สารกระจายคราบน้ำมันทางเรือได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ทุ่นกักน้ำมันใช้ไม่ได้ผล เพราะช่วงนั้นทะเลมีคลื่นลมแรง ทำให้มีน้ำมันเล็ดลอดไปขึ้นฝั่งที่อ่าวพร้าว เกาะเสม็ด


ส่วนประเด็นการใช้สารกระจายคราบน้ำมัน เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมในขณะนั้น คือ สภาพอากาศที่แปรปรวนและสภาพของน้ำมันที่มีการกระจายตัวมาก ทำให้การทำงานของสารกระจายคราบน้ำมัน มีประสิทธิภาพไม่เต็มที่ บริษัทฯ จึงต้องใช้สารกระจายคราบน้ำมัน 2 ชนิด ได้แก่ Slickgone NS จำนวน 30,612 ลิตร และ Super-dispersant 25 จำนวน 6,930 ลิตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายคราบน้ำมัน สำหรับสารกระจายคราบน้ำมันทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นสารที่กรมควบคุมมลพิษอนุญาตให้ใช้ในประเทศไทยได้ โดยมีความเป็นพิษต่ำมาก สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้เร็ว ไม่พบการสะสมทางชีววิทยา ไม่เกิดการกลายพันธุ์ และไม่เกิดการเสื่อมพันธุ์

นอกจากนี้ คณะกรรมการสอบสวนยังได้ให้ข้อเสนอแนะให้ตั้งคณะกรรมการด้านเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมหาสาเหตุการแตกของท่อพร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนจัดทำแผนฟื้นฟูในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้ บริษัทฯ จะดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการทั้ง 2 คณะตามข้อเสนอแนะ โดยคณะกรรมการด้านเทคนิค ประกอบด้วย ผู้แทนจากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยและผู้แทนจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมหาสาเหตุการแตกของท่อ และรายงานมายังบริษัทฯ เพื่อเสนอต่อกระทรวงพลังงานทราบต่อไป

ที่มา -





คณะอนุกรรมาธิการฯ เสนอ ปตท.ซื้อเรือขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน

ระยอง 14 ส.ค. 56 - พ.ต.อ.สนธยา แสงเภา ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ และปัญหาท่อรับน้ำมันดิบรั่วในทะเล ลงพื้นที่จังหวัดระยอง เพื่อรับฟังข้อมูลการเกิดเหตุท่อน้ำมันดิบรั่วไหลกลางทะเล ร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และนายสุเทพ กลิ่นชั้น ผู้บริหาร บมจ.พีทีทีจีซี เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไปชี้แจงในสภาฯ โดยนายสุเทพ กลิ่นชั้น ผู้บริหาร พีทีทีจีซี เปิดเผยว่า ทุ่นขนถ่ายน้ำมันเริ่มใช้งานตั้งแต่ปี 2539 และเหตุการณ์ท่อน้ำมันรั่วแบบนี้เคยเกิดมาแล้วรวม 2 ครั้ง ครั้งแรกน้ำมันรั่วประมาณ 20 ตัน และครั้งนี้ 50 ตัน จากการตรวจสอบเบื้องต้นเหตุท่อน้ำมันรั่วกลางทะเลทั้งสองครั้งไม่ใช่ความผิดพลาดของคน แต่น่าจะเกิดปัญหาที่ท่อส่งน้ำมัน ขณะนี้รอผลการตรวจสอบซึ่งจะทราบผลในไม่ช้า

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่คณะอนุกรรมาธิการทั้งหมดได้รับฟังคำชี้แจงและซักถามปัญหาต่างๆ แล้ว ได้เสนอแนะให้ทาง บมจ.พีทีทีจีซี จัดสรรเงินงบประมาณจัดซื้อเรือขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน ซึ่งจะมีภารกิจหลักในการป้องกันกรณีดังกล่าว เพราะคาดว่าอาจจะมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก ส่วนหนึ่งที่ทำให้คราบน้ำมันแพร่กระจายไปกว้างไกลก็เพราะอุปกรณ์ในการกำจัดคราบน้ำมันไม่เพียงพอ จึงได้มีการเสนอแนะให้บริษัทฯ ได้จัดซื้อทั้งบูมกั้นคราบน้ำมันและเรือขจัดมลพิษฯ

ที่มา -