ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ธุรกิจเรือวูบตามน้ำมันโลก ต่างชาติดัมพ์ราคาชิงลูกค้า

เริ่มโดย mrtnews, ม.ค 06, 18, 06:41:16 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

นายภูมินทร์ หะริณสุต ประธานสมาคมเจ้าของเรือไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงสถานการณ์ธุรกิจเรือสนับสนุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม (supply boat) ทั้งการขนส่งน้ำมัน หรือการขนส่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต้องประสบปัญหาอย่างหนักจาก 1) ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับลดลงและยังทรงตัวในราคาที่ค่อนข้างต่ำระดับ 50 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ทำให้ผู้ประกอบการในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมชะลอการขุดหลุมผลิตเพิ่มและเป็นแบบนี้ทั่วโลก รวมถึงแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่อ่าวไทย 2) เรือต่างชาติเข้ามาดัมพ์ราคาอย่างหนักเพื่อแย่งตลาด และ 3) ความล่าช้าในการพิจารณาพระราชบัญญัติส่งเสริมพาณิชยนาวี พ.ศ....ที่ร่างโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาจากกรมเจ้าท่า โดยในรายละเอียดได้กำหนดให้มีการเลือกใช้เรือที่ชักธงไทยก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งหากกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้จะช่วยอุตสาหกรรมเรือได้ทั้งระบบ


นอกเหนือจากนี้ยังมีประเด็นที่ยังเป็นอุปสรรคสำหรับธุรกิจเรือไทยอีกคือ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือที่เรือไทยต้องจ่ายมากกว่าเมื่อเทียบกับเรือต่างชาติถึงร้อยละ 15 ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับเรือต่างชาติได้ และต้องการให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วย ทั้งนี้สำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจเรือสนับสนุนการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในปัจจุบันมีประมาณ 5 บริษัทเท่านั้น เช่น บริษัท เอสซี กรุ๊ป จำกัด และบริษัท พริมามารีน จำกัด (มหาชน) เป็นต้น อย่างไรก็ตามมองว่า หากภาครัฐมีการเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียมที่จะหมดอายุในเร็ว ๆ นี้ อย่างแหล่งบงกช ผู้รับสัมปทานคือบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. และแหล่งเอราวัณ ผู้รับสัมปทานคือ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด แล้วนั้น เชื่อมั่นว่าทั้ง 2 แหล่งจะมีการขุดเจาะหลุมผลิตเพิ่มเติม ซึ่งจะส่งผลให้มีความต้องการใช้เรือสนับสนุนมากขึ้นตามไปด้วย

"แม้ว่าตอนนี้โดยภาพรวมของแหล่งปิโตรเลียมจะมีการขุดเจาะหลุมผลิตหรือการดำเนินการด้านอื่น ๆ ก็ตาม แต่ถือว่าลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับก่อนหน้าที่ระดับราคาน้ำมันสูงถึง 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และภาวะแบบนี้ก็เกิดขึ้นทั่วโลกและไทยก็ได้รับผลกระทบไปด้วย แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาและอยากผลักดันให้เป็นรูปธรรมมากที่สุดของผู้ประกอบการคือ ความชัดเจนของกฎหมายที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมเจ้าท่ากว่า 2 ปีแล้วนั้นจะเดินหน้าอย่างไร"

รายงานข่าวเพิ่มเติมจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติระบุว่า สำหรับแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่อ่าวไทยทั้งหมดในเดือนตุลาคม 2560 ที่ผ่านมามีจำนวนหลุมเปิดผลิตทั้งสิ้น 2,421 หลุม โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็นหลุมเปิดผลิตของกลุ่มเอราวัณรวม 826 หลุม ผลิตก๊าซธรรมชาติได้ 1,302 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน

แหล่งบงกช 187 หลุม ผลิตก๊าซธรรมชาติได้ 599 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และบงกชใต้รวม 63 หลุม ผลิตก๊าซธรรมชาติได้ 467 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน




ที่มา Data & Images -





..