ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

รู้จักปรากฏการณ์ “เลซ” ลาวาไหลลงทะเลพ่นหมอกไอพิษ-เศษแก้วระยิบ

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 24, 18, 11:32:23 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เอพีรายงานวันที่ 22 พ.ค. 61  เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ "ลาวาเฮซ" "เลซ" หรือ "หมอกลาวา" บนเกาะบิ๊กไอส์แลนด์ รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา ที่มีภาพข่าวชวนให้ตกตะลึงไปทั่วโลก นาทีที่ลาวาจาก ภูเขาไฟคิลาเวอา หลากท่วมพื้นที่จนไหลลงมหาสมุทร


เจเน็ต แบ็บ นักธรณีวิทยาศูนย์สังเกตการณ์ภูเขาไฟฮาวาย อธิบายว่า ลาวาเฮซ หรือ หมอกลาวา เป็น กลุ่มหมอกหนาแน่นประกอบด้วยไอน้ำ ก๊าซพิษ และแก้วภูเขาไฟ (โวลเคนิก กลาส) หรือลาวาที่เย็นและแข็งตัวอย่างรวดเร็ว ในลักษณะเป็นเศษเล็กเศษน้อย

แม้จะดูร้ายแรงเพราะเป็นกลุ่มหมอกควันหนาทึบขนาดใหญ่ที่ปกคลุมไปทั่วบริเวณ แต่หมอกลาวาไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดหากอยู่ในระยะปลอดภัย และไม่ได้สัมผัสหรือสูดดมหมอกลาวาที่มีฤทธิ์เป็นกรดเข้าไป

หมอกลาวาเกิดจากลาวาร้อนระอุ ซึ่งปล่อยก๊าซพิษ รวมถึงคาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และกรดไฮโดรฟลูออริก เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไหลลงไปในทะเล หรือมหาสมุทร และก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมี


น้ำเค็มทำให้ลาวาเย็นลง ส่วนอนุภาคของแก้วภูเขาไฟที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หรือที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า "ลิมู โอ เปเล" มีความหมายว่าสาหร่ายทะเลของเปเล เทพธิดาแห่งภูเขาไฟฮาวาย จะเกาะตัวขึ้นไปกับหมอกไอน้ำซึ่งมีกรดไฮโดรคลอริกเป็นส่วนประกอบ

เช่นเดียวกับกรณีตัวอย่างถ้าทำแก้วน้ำตกลงบนพื้นครัว เศษแก้วที่แตกออกบางชิ้นมีขนาดใหญ่ บางชิ้นมีขนาดเล็กมากๆ เศษแก้วภูเขาไฟขนาดเล็กมากเท่านั้นที่จะเกาะติดไปกับหมอกไอน้ำ


ขณะที่หมอกลาวาประกอบด้วยกรดไฮโดรคลอริกซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนคล้ายน้ำกรดแบตเตอรี่ที่ความเข้มข้นเจือจาง อาจทำให้ผิวหนัง และดวงตามีอาการระคายเคือง รวมถึงมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อระบบการหายใจ

แม้ทางการท้องถิ่นรัฐฮาวายจึงเร่งแจกจ่ายหน้ากากป้องกันให้กับประชาชน หน้ากากเหล่านี้มีเพียงตัวกรองอนุภาคหมอกลาวา แต่ไม่อาจป้องกันกรดไฮโดรคลอริกได้ อย่างไรก็ตาม หมอกลาวาเพียงอย่างเดียวไม่เป็นอันตรายและไหม้ผิวหนังไม่ได้ เว้นเสียแต่ว่าจะมีใครบางคนไปยืนอยู่ในจุดที่เกิดหมอกลาวา

ทั้งนี้ สำนักธรณีวิทยาสหรัฐระบุว่าไม่เคยมีรายงานการบาดเจ็บสาหัสจากหมอกลาว แต่มีผู้เสียชีวิต 2 รายในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์หมอกลาวาเมื่อปี 2543 ภายหลังคลื่นทะเลซัดเข้าหาลาวาที่กำลังไหลทะลักจนเกิดหมอกลาวาที่คร่าชีวิตผู้เคราะห์ร้ายในทันที สำหรับปีนี้ ลาวาสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนกว่า 40 หลัง และป่าไม้ที่ถูกความร้อนจากลาวาเผาวอดตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค.





ที่มา Data & Images -





..