ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

เกาหลีใต้ยึด “เรือน้ำมันประเทศตัวเอง” หลังพบละเมิดคว่ำบาตรโสมแดง

เริ่มโดย mrtnews, เม.ย 04, 19, 17:04:29 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เอเอฟพี – เรือเกาหลีใต้ลำหนึ่งถูกยึดเป็นเวลา 6 เดือนฐานต้องสงสัยละเมิดมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือของยูเอ็น กระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้ รายงานวันนี้ (3 เม.ย. 62)


เปียงยางถูกคว่ำบาตรจากโครงการอาวุธภายใต้มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติซึ่งกำจัดการขนส่งน้ำมันและเชื้อเพลิงทางเรือให้กับรัฐสันโดษแห่งนี้

อย่างไรก็ตาม เกาหลีเหนือพยายามหาทางหลบเลี่ยงมาตรการดังกล่าว โดยรายงานล่าสุดของยูเอ็น ระบุว่า เปียงยางรับน้ำมันผ่านการโอนถ่ายระหว่างเรือในน่านน้ำสากล

กระทรวงการต่างประเทศของโซล ระบุว่า เรือเกาหลีใต้ลำหนึ่งและเรือชาติอื่นๆ อีกสามลำถูกยึดในประเทศนี้ ฐานต้องสงสัยบ่อนทำลายมาตรการทางเศรษฐกิจต่อเกาหลีเหนือ

"นี่เป็นครั้งแรกที่มีเรือเกาหลีใต้ถูกยึดจากข้อหาละเมิดการคว่ำบาตรของยูเอ็น" เจ้าหน้าที่กระทรวงบอกกับเอเอฟพี

เรือลำนี้ที่ถูกเก็บในท่าเรือปูซานทางใต้นับตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมาถูกสงสัยว่าทำการโอนถ่ายน้ำมันให้กับเรือบรรทุกเกาหลีเหนืออย่างผิดกฎหมาย อ้างจากสำนักข่าวยอนฮัป

หากมันถูกพบว่าทำการโอนถ่ายน้ำมันจริง เรือเกาหลีใต้ลำนี้จะถูกขึ้นบัญชีดำโดยยูเอ็น ยอนฮัป รายงาน

เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศไม่ได้อธิบายว่าเหตุใดทางการถึงประกาศการยึดเรือต่อสาธารณะล่าช้าขนาดนี้

ประธานาธิบดี มุน แจอิน ของเกาหลีใต้พยายามมีปฏิสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือเพื่อนำพวกเขาเข้าสู่โต๊ะเจรจา หลอกล่อพวกเขาด้วยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในรูปแบบของโครงการสองเกาหลีต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะขัดต่อการคว่ำบาตรหากมันถูกบังคับใช้

มีการตั้งคำถามเช่นกันว่า การจัดหาสิ่งของจำเป็นเพื่อจัดตั้งสำนักงานประสานงานสองเกาหลีทางเหนือของชายแดนเป็นการบ่อนทำลายมาตรการคว่ำบาตรหรือไม่

เมื่อปีที่แล้ว บริษัทเกาหลีใต้ 3 แห่งถูกจับได้ว่านำเข้าถ่านหินและเหล็กมูลค่าหลายล้านดอลลาร์จากเกาหลีเหนือในปี 2017

การเยียวยาการคว่ำบาตรในทันทีคือข้อเรียกร้องหลักของเกาหลีเหนือที่กำลังขาดแคลนเงินสด เมื่อครั้งที่ผู้นำ คิม จองอึน พบกับประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯในกรุงฮานอยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ในการประชุมซัมมิทครั้งที่สองที่ล้มเหลวในท้ายที่สุด

หลังจากนั้น สหรัฐฯได้คว่ำบาตรบริษัทขนส่งทางเรือของจีนสองแห่งฐานทำธุรกิจกับเกาหลีเหนือ และเรียกร้องให้อุตสาหกรรมทางทะเลควรพยายามหยุดยั้ง "พฤติกรรมเดินเรือผิดกฎหมาย" ของเปียงยางมากกว่านี้

รายงานของยูเอ็นที่ออกเมื่อเดือนที่แล้วเน้นย้ำเรื่องกลยุทธ์หลบเลี่ยงการคว่ำบาตรของเกาหลีเหนือในทะเลและแนะนำให้ประเทศสมาชิกจับตาดูเรือในน่านน้ำของตนให้ใกล้ชิดกว่าเดิม



ที่มา Data & Images -




จับเรือเกาหลีใต้ P-PIONEER ลอบส่งน้ำมันให้โสมแดง

สำนักข่าวเอพีรายงานจากกรุงดวล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 62  ว่า การเปิดเผยมีขึ้นท่ามกลางความวิตก เกี่ยวกับความพยายามทุกวิถีทางของเกาหลีเหนือ ที่จะหลบเลี่้ยงมาตรการคว่ำบาตรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) ซึ่งลงโทษโครงการอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธของเปียงยาง


เจ้าหน้าที่หน่วยเรือลาดตระเวนยามฝั่งเกาหลีใต้ เผยว่า เรือบรรทุกน้ำมัน พี-ไพโอเนียร์ (P-PIONEER) ระวางขับน้ำ 5,160 ตัน ถูกห้ามแล่นออกจากท่าเรือปูซาน ตั้งแต่เดือน ต.ค.ปีที่แล้ว จากข้อกล่าวว่า ลักลอบขนน้ำมันดีเซลส่งให้เกาหลีเหนือ โดยขนถ่ายน้ำมันใส่เรือเกาหลีเหนือ 2 ลำ ในเขตน่านน้ำสากลของทะเลจีนตะวันออก เมื่อเดือน ก.ย. 2560 แต่เจ้าหน้าที่ฯ ไม่ยืนยันปริมาณน้ำมันที่ลักลอบขน

สำนักข่าวยอนฮัพของเกาหลีใต้ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยว่า เรือเกาหลีเหนือ 2 ลำ ที่รับน้ำมันจากเรือ พี-ไพโอเนียร์ คือเรือคุม อุน ซาน และเรือยู ซอน โดยเชื่อกันว่า เรือลำแรกเป็นเรือหลักที่เกาหลีเหนือใช้ขนถ่ายน้ำมันแบบเรือสู่เรือมากที่สุด

รายงานของยูเอ็นเอสซีเมื่อเดือนที่แล้ว ระบุว่า รัฐสมาชิกที่ "ไม่ระบุชื่อ" ของยูเอ็นเผยว่า เกาหลีเหนือใช้เรือบรรทุกน้ำมันของประเทศประมาณ 23 ลำ สำหรับขนถ่ายน้ำมันต้องห้าม โดยเรือ 6 ลำในจำนวนดังกล่าว รวมถึงเรือคุม อุน ซาน ขนถ่ายประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งหมด

ทางด้านเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้รายหนึ่งเผยว่า นับเป็นครั้งแรกที่เรือเกาหลีใต้ถูกจับกุม จากข้อกล่าวหาละเมิดมาตรการคว่ำบาตรของยูเอ็นต่อเกาหลีเหนือ และนอกจากเรือพี-ไพโอเนียร์แล้ว ทางการเกาหลีใต้ยังจับกุมของต่างชาติอีก 3 ลำ ที่ลักลอบขนน้ำมันให้เกาหลีเหนือ หรือขนถ่านหินที่ผลิตในเกาหลีเหนือ



ที่มา Data & Images -





..