ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

สายการเดินเรือขึ้นค่าระวางสินค้า ดีเดย์ต้นปีหน้า-ส่งออกไทยอ่วมซ้ำ

เริ่มโดย mrtnews, ธ.ค 02, 19, 19:14:51 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ส่งออกไทยอ่วมซ้ำ สายการเดินเรือจ่อปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน หลังองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ-IMO ประกาศมาตรฐานใหม่ลดการใช้ซัลเฟอร์ จาก 3.5% เหลือ 0.5% บังคับใช้ 1 ม.ค. 63 ผู้ส่งออกหวั่นสูตรคำนวณไม่เป็นธรรม กระทบต้นทุนส่งออกพุ่ง เตรียมปรับเป้าหมายปี 62-63 ใหม่


นายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหารสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) เตรียมประกาศใช้มาตรการลดการบังคับให้เรือทุกลำต้องใช้เชื้อเพลิงที่ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไม่เกิน 0.5% จากเดิมที่กำหนดไว้ระดับ 3.5% เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2563 จะส่งผลกระทบในวงกว้าง เนื่องจากประกาศ Low Sulphur Regulation 2020 ของ International Maritime Organization (IMO) ส่งผลให้สายเรือประกาศเรียกเก็บ low sulphur surcharge (LSS) เพิ่มเติมจากค่าระวางเรือ (ค่า freight) และ bunker surcharge ที่เคยเรียกเก็บอยู่เดิม โดยกำหนดใช้ชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละสายเรือ รวมทั้งกำหนดอัตราการเรียกเก็บต่างกันด้วย ขึ้นอยู่กับสูตรการคำนวณที่แต่ละสายเรือกำหนด ซึ่งไม่ได้เป็นมาตรฐานกลาง ส่งผลให้ทางสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และกลุ่ม Shippers' Council ทั่วโลก มีความกังวลว่าอัตราเรียกเก็บและสูตรการคำนวณดังกล่าวจะมีความถูกต้อง และโปร่งใสเพียงพอหรือไม่

สำหรับชื่อค่าธรรมเนียมแต่ละสายการเดินเรือ กำหนดออกมาแล้ว เช่น บริษัท Zim Line ใช้ชื่อ New Bunker Factor (NBF), บริษัท Hapaq-Lloyd ใช้ชื่อ Marine Fuel Rocovery (MFR) สายเรือ ONE ใช้ชื่อ ONE Bunker Surcharge (OBS) และบริษัท Wan Hai ใช้ชื่อ Wan Hai Bunker Surcharge (WBS) เป็นต้น ซึ่งหากเปรียบเทียบใน 4 เส้นทางหลัก คือ เอเชีย สหภาพยุโรป ตะวันออกลาง และสหรัฐ สำหรับตู้คอนเทนเนอร์แบบแห้ง ขนาด 20 ฟุต และ 40 ฟุต พบว่าค่า bunker surcharge มีตั้งแต่ 9 เหรียญสหรัฐ ไปจนถึง 746 เหรียญสหรัฐ ส่วนค่า LSS มีตั้งแต่ 15 เหรียญ ไปจนถึง 382 เหรียญสหรัฐ และหากเป็นตู้คอนเทนเนอร์แบบแช่เย็น ขนาด 20 ฟุต และ 40 ฟุต มีค่า bunker surcharge ตั้งแต่ 12 ไปจนถึง 822 เหรียญสหรัฐ เทียบกับค่า LSS มีตั้งแต่ 42 เหรียญ ไปจนถึง 573 เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะแตกต่างกันตามขนาดของเรือ,ปริมาณตู้ และสูตรการคำนวณของแต่ละสายการเดินเรือ

"การรวมการเรียกเก็บไปในค่าบังเกอร์เซอร์ชาร์จที่เก็บปกติ ทำให้อัตราการเรียกค่าน้ำมันประเภทนี้มีราคาสูง เมื่อเทียบกับการเรียกเก็บแยกเฉพาะค่า low sulphur surcharge (LSS) ซึ่งเป็นค่าเซอร์ชาร์จที่เพิ่มเติมแยกออกมาต่างหากจากค่าระวางเรือ (ค่า freight) เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมนี้กับค่าเฟรดแต่ละเส้นทาง ในตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต และ 40 ฟุต อัตราเฉลี่ยค่า LSS ต่อค่าเฟรด เพิ่มตั้งแต่ 2.86% ถึง 93.34% เส้นทางเอเชีย ในบริเวณพอร์ตปูซานสูงสุด 93.34% สำหรับตู้คอนเทนเนอร์แบบแห้งส่วนตู้คอนเทนเนอร์แบบเย็น มีค่า LSS คิดเป็น 1.34-15%เส้นทางเอเชีย พอร์ตฮ่องกงสูงสุดที่ 15%"

ด้านนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่า ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกไทย เพราะไทยส่งออกโดยทางเรือ ประมาณ 80% โดยในปี 2561 ส่งออกทางน้ำปริมาณ 312,746 พันตัน

"ปีหน้าเหนื่อย การส่งออกที่ยังต้องแข่งขันลำบาก เพื่อนบ้านแซง มีมาตรการเซอร์ชารจเพิ่มขึ้น ต้นทุนขนส่งสูงขึ้น 2-93% ขึ้นอยู่กับว่าจะส่งไปรูตไหน แต่ไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นทั้งจากค่าบาท สงครามการค้า และความไม่แน่นอนในตลาดโลก ซึ่งทางสภาผู้ส่งออกจะทบทวนเป้าส่งออกี 2562 และแนวโน้ม 2563 จากเดิมจะติดลบ 1.5% ปีหน้าเราวางไว้ว่าจะขยายตัว 0-1%"


นายศุภชัย วรอภิญญาภรณ์ ประธานกรรมการ บริษัท ธนสรรไรซ์ จำกัด ผู้ส่งออกข้าวอันดับต้นของไทย เปิดเผยว่า หากมีการปรับค่าธรรมเนียมจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งข้าวที่ใช้เรือเป็นหลัก

สอดคล้องกับ นายวิชิต อะนะเทพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พัทยาฟู้ดอินดัสตรี จำกัด ผู้ผลิตและส่งออกอาหารแบรนด์นอติลุส ซีคราวน์ มงกุฎทะเล และลิลลี่ เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรณีการปรับค่าธรรมเนียมขนส่งทางเรือส่งผลต่อต้นทุนการขนส่งแน่นอน โดยปัจจุบันต้นทุนค่าขนส่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 12% ในปัจจุบัน บริษัทจึงได้ปรับวิธีการบริหารการขนส่งใหม่ โดยนำวอลุ่มการขนส่งทั้งปีคุยกับฟอร์เวิร์ดเดอร์เพื่อเป็นพันธมิตรระยะยาว จากเดิมที่ส่งออกเป็นครั้ง ๆ

"ทั้งปัจจัยค่าเงินสงครามการค้าและต้นทุนทางโลจิสติกส์ยังคงมีผลต่อตลาดส่งออก แต่ทั้งหมดเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงหวังว่าภาพรวมการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารไทยในปี 2563 จะขยายตัวเป็นบวกได้ จากความต้องการอาหารในตลาดโลก โดยพัทยาฟู้ดฯเองได้เตรียมเพิ่มเติมผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีแวลูมากขึ้นในการขยายตลาด โดยตั้งเป้าเติบโต 9% ในด้านจำนวนการส่งออก ขณะที่มูลค่าคาดว่าเติบโต 9-10% ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับค่าเงินบาท ปัจจุบัน 80% ของรายได้มาจากการส่งออก"



ที่มา Data & Images -





..