ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

พาไปทำความรู้จัก “มาร์ซัน” อู่ต่อเรือสัญชาติไทยที่ต่อเรือรบขายต่างชาติได้

เริ่มโดย mrtnews, ก.พ 19, 20, 18:43:16 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

รุ่งนภา พิมมะศรี : เรื่อง, สมจิตร ใจชื่น/มาร์ซัน : ภาพ

เรามักจะได้ยินข่าวกองทัพเรือสั่งซื้อเรือรบจากต่างประเทศ เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็เพิ่งนำเรือรบสมรรถนะสูงเข้ามาจากเกาหลีใต้ ทำให้คนจำนวนมาก (รวมผู้เขียนด้วย) คิดว่าในเมืองไทยของเราไม่มีอู่ต่อเรือที่สามารถต่อเรือรบได้ แต่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างที่คิด เมืองไทยเราก็มีอู่ต่อเรือหลายแห่งที่ต่อเรือรบได้มาหลายปีแล้ว ซึ่งพอได้รู้ข้อมูลตรงนี้ก็ชวนให้ตื่นเต้น อยากพาคนอ่านไปดู ไปรู้ ไปเห็น ว่าอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือบ้านเรานั้นเป็นอย่างไรบ้าง และการต่อเรือรบหนึ่งลำต้องใช้เวลานานแค่ไหน


หนึ่งในอู่ต่อเรือที่ต่อเรือรบได้ เป็นอู่ต่อเรือระดับหัวแถวของไทยก็คือ บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) ที่ผ่านงานต่อเรือให้ทั้งกองทัพเรือไทย และกองทัพเรือต่างประเทศมาแล้ว รวมแล้วตอนนี้มาร์ซันต่อเรือมาแล้วมากกว่า 300 ลำ ซึ่งผลงานชิ้นโบแดงของบริษัท คือ "เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา" ซึ่งเป็นชุดเรือ 3 ลำ คือ ต.991 ต.992 และ ต.993

ด้วยความน่าสนใจของการต่อเรือ โดยเฉพาะการต่อเรือรบ "ดีไลฟ์-ประชาชาติธุรกิจ" จึงขอเข้าไปพูดคุยกับ ภัทรวิน จงวิศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน) ที่สำนักงานบริษัท ซึ่งตั้งอยู่ที่เดียวกันกับอู่ต่อเรือ ณ ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้ปากอ่าวไทย เพื่อทำความรู้จักกับอุตสาหกรรมต่อเรือที่คนทั่วไปไม่คุ้นเคย

โบ๊ท-ภัทรวิน จงวิศาล ลูกชายคนโตผู้เข้ามาบริหารธุรกิจต่อจากคุณพ่อ สัญชัย จงวิศาล เล่าความเป็นมาของบริษัทให้ฟังคร่าว ๆ ว่า มาร์ซันก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2523 โดยคุณพ่อของเขากับ ยง นนท์โสภา อดีตหุ้นส่วน ซึ่งทั้งสองเคยทำงานในอู่ต่อเรือมานานหลายปี ก่อนจะลาออกมาเริ่มทำอู่ของตัวเอง

มาร์ซันเริ่มจากต่อเรือไฟเบอร์กลาสลำเล็ก ๆ ที่ใช้เป็นเรือข้ามฟากจากระหว่างฝั่งกับเกาะ แล้วค่อย ๆ เรียนรู้และขยับไปต่อเรือที่ใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น เช่น เรือตรวจการณ์ของราชการ อย่างตำรวจน้ำ ทหารเรือ กรมศุลกากร แล้วเริ่มทำเรือรบลำแรกประมาณปี พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบันสามารถต่อเรือรบได้ขนาดใหญ่ที่สุด ความยาว 58 เมตร ซึ่งเป็นเรือตรวจการณ์ที่ใช้ในภารกิจของกองทัพเรือ

จากพนักงานยุคเริ่มต้นแค่หลัก 10 คน ตอนนี้มีพนักงานมากถึง 400 คน ในจำนวนนี้เป็นวิศวกรมากถึง 60 คน สิ่งหนึ่งที่มาร์ซันมีเหนือกว่าอู่อื่น ๆ ในประเทศ คือ มาร์ซันสามารถออกแบบเรือได้เองด้วย ไม่ได้ทำตามแบบของต่างประเทศ ซึ่งการออกแบบเองได้จะทำให้มีความสามารถในการแข่งขันสูงกว่า

ก่อนจะเล่าลงรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทของตัวเอง ภัทรวินให้ข้อมูลภาพกว้างว่า อู่ต่อเรือในประเทศไทยมีเยอะ มีทั้งของไทยและร่วมทุนต่างชาติ ใน "สมาคมต่อเรือและซ่อมเรือไทย" มีสมาชิกอยู่ 24 อู่ แต่หลายแห่งไม่ได้ต่อเรือแล้วในปัจจุบัน ทำแค่รับซ่อมเรือเท่านั้น เนื่องมาจากอุตสาหกรรมต่อเรือเป็นอุตสาหกรรมที่การแข่งขันสูง และปัจจัยหลายอย่างไม่เอื้อให้อุตสาหกรรมต่อเรือในประเทศไทยเกิดขึ้นอย่างเข้มแข็ง

ส่วนการต่อเรือรบที่คนไม่ค่อยทราบว่าอู่ไทยก็ต่อได้นั้น ภัทรวินอธิบายว่า อาจจะเนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเรือเป็นอุตสาหกรรมที่เฉพาะทางมาก จึงไม่ได้ประชาสัมพันธ์ไปสู่วงกว้าง ทั้งที่จริงแล้วอู่ต่อเรือไทยก็ต่อเรือรบได้ เพียงแต่ยังเป็นเรือที่สมรรถนะไม่สูงมาก


"มาร์ซันไม่ใช่อู่ต่อเรือเจ้าแรกที่ทำเรือให้กองทัพเรือ เราน่าจะเป็นอู่ท้าย ๆ ที่เข้าไปทำเรือให้กองทัพเรือ แต่เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมา มาร์ซันตอบสนองความต้องการของกองทัพเรือได้เป็นอย่างดี และสร้างประสบการณ์ที่ดีในการซื้อเรือในประเทศ จึงได้รับความไว้วางใจเรื่อยมา"

ซีอีโอมาร์ซันเล่าลงรายละเอียดว่า มาร์ซันมีประสบการณ์ต่อเรือสำหรับภารกิจของกองทัพ ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2546 เป็นการต่อเรือให้กองทัพเรือปากีสถาน แต่จุดที่ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของบริษัท คือ การเข้าไปประมูลงานต่อเรือให้กองทัพเรือไทยครั้งแรก ก็คือตอนที่กองทัพเรือต้องการสร้างเรือตรวจการณ์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา หรือชุดเรือ ต.991 ต.992 ต.993 ซึ่งมาร์ซันก็ได้งานนี้มา และส่งมอบเรือให้กองทัพในปี 2550 หลังจากนั้นก็ได้รับโอกาสจากกองทัพเรือเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ถือว่ากองทัพเรือเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนอุตสาหกรรมต่อเรือในประเทศอย่างมาก

ขณะที่ทำเรือรบและเรือช่วยรบให้กองทัพเรือ ทำเรือตรวจการณ์ให้แก่หน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น ตำรวจน้ำ กรมประมง การท่าเรือฯ ฯลฯ ฝั่งเรือสำหรับเอกชนใช้งานในเชิงพาณิชย์ก็ไม่ได้ทิ้ง ทั้งเรือท่องเที่ยว เรือขนส่งสินค้า เรือแท่นขุดเจาะน้ำมัน ฯลฯ ก็ยังคงทำควบคู่กันมาตลอด

ปี 2562 ที่ผ่านมา มาร์ซันมีรายได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งซีอีโอหนุ่มคนนี้บอกว่า "เรามีความหวังอยากให้มันโตขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี"

ลูกค้าส่วนมากของมาร์ซันเป็นลูกค้าต่างประเทศ สัดส่วนมากถึง 80% โดยเป็นลูกค้าจากตะวันออกกลางซะเยอะ ซึ่งภัทรวินยังบอกอีกว่า เขามุ่งมั่นจะพามาร์ซันไปลุยตลาดสากล จะหาลูกค้าต่างประเทศมากขึ้น ลดการพึ่งพิงลูกค้าในประเทศ เพราะนโยบายหลายอย่างในประเทศไม่เอื้อให้อุตสาหกรรมต่อเรือโต

"ถ้าเราออกไปไกลหน่อย สู้คลื่นลมหน่อย เรายังมีความหวังว่าจะได้ปลาตัวใหญ่ขึ้น หรือจำนวนมากขึ้น" เขาเปรียบการหาลูกค้าเหมือนกับการออกเรือไปหาปลา

ภัทรวินเปิดเผยว่า การต่อเรือหนึ่งลำใช้เวลาประมาณ 15-24 เดือน ขึ้นอยู่กับขนาดและระดับความซับซ้อนของเรือแต่ละลำ และอาจจะนานกว่า 24 เดือน หากมีความซับซ้อนสูงมาก ๆ แต่ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่าทำได้ทีละลำ สามารถทำพร้อมกันได้หลายลำตามกำลังคนที่มี ส่วนเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ประจำเรือนั้น ทางกองทัพจะจัดหามาเองแล้วนำมาให้อู่ติดตั้งให้

ถามถึงการต่อเรือกองทัพว่าแบ่งระดับความซับซ้อนอย่างไรบ้าง เขาอธิบายให้ฟังว่า เรือสำหรับภารกิจของกองทัพแยกใหญ่ ๆ เป็นเรือรบกับเรือช่วยรบ เรือช่วยรบนั้นมีตั้งแต่เรือตรวจการณ์ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ส่วนเรือรบแท้ ๆ ที่ใช้ในภารกิจการรบเรียกว่า เรือคอร์เวต (เรือรบขนาดเล็ก) และเรือฟริเกต (เรือรบอเนกประสงค์ขนาดใหญ่สามารถรบได้หลายมิติ) ซึ่งเรือรบแท้ ๆ ที่ว่านี้ยังไม่เคยมีการต่อในประเทศไทยมาก่อน มีเพียงการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งขนาดใหญ่ที่สุดที่ต่อโดยบริษัทอู่กรุงเทพร่วมกับกรมอู่ทหารเรือ

ถึงแม้อู่ไทยยังไม่เคยทำเรือรบแท้ ๆ แต่ภัทรวินมองว่า อู่ในไทยก็มีความสามารถจะขยับไปต่อเรือรบอย่างคอร์เวต หรือฟริเกต ได้ในอนาคต มาร์ซันก็เป็นหนึ่งอู่ที่มีความพร้อม เพราะมีการแสวงหาความร่วมมือทั้งกับต่างประเทศและในประเทศ เพื่อที่จะต่อเรือที่มีสมรรถนะสูงขึ้น และออกจากกรอบที่เคยทำมา และเขามั่นใจว่าศักยภาพของคนไทยไม่ด้อยกว่าชาติอื่น ส่วนเรื่ององค์ความรู้ก็สามารถเรียนตามกันได้

เท่าที่ฟังเขาให้ข้อมูล ปัญหาของเอกชนในอุตสาหกรรมต่อเรือไม่ได้อยู่ที่ขาดโอกาสในการต่อเรือกองทัพ ภัทรวินย้ำว่า กองทัพเรือสนับสนุนมากแล้ว แต่ปัญหาอยู่ตรงประเด็นที่ว่า อุตสาหกรรมต่อเรือไม่โต มีเงินหมุนเวียนปีละไม่ถึง 10,000 ล้านบาท ทั้งที่ความต้องการใช้ในประเทศก็มีอยู่ แต่ติดที่นโยบายหลายอย่างไม่เอื้อให้อุตสาหกรรมต่อเรือเกิดและโต อย่างเช่น การให้ BOI กับธุรกิจที่ใช้เรือเก่าจากต่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นการไม่สนับสนุนให้ใช้เรือที่ต่อในประเทศ


"ผมพูดในนามสมาคมต่อเรือฯ ผมคิดว่าถ้าโครงการไหนที่สามารถต่อเรือในประเทศได้ เราน่าจะหันมาให้ความสำคัญกับการต่อเรือในประเทศมากขึ้น ถ้ามีการต่อเรือในประเทศมากขึ้น มันก็จะเกิดการจ้างงานมากขึ้น เกิดการผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนต้นน้ำ รัฐเก็บภาษีได้มากขึ้น จีดีพีก็โตขึ้น ปัจจุบันนี้เรายังมีนโยบายให้นำเข้าเรือเก่าที่ถูกใช้งานมา 25 ปี ซึ่งมันมีความเสี่ยงในการใช้งาน และมันไม่ส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศ ไม่เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ รัฐบาลควรจะเข้ามาดูว่า ทำยังไงให้พาณิชย์นาวีมันเกิดในประเทศ เติบโตได้"

อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่า ไม่ได้อยากมีปัญหากับผู้ใช้เรือ เพราะเข้าใจว่าผู้ใช้เรือก็อยากได้ต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ เพียงแต่ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแล มาหาทางเกลี่ยผลประโยชน์ให้ทั่วถึงกัน ซึ่งเขาคิดว่าในที่สุดแล้ว มันจะเกิดผลดีต่อภาพรวมของประเทศ

"ทุกประเทศทำแบบนี้หมด ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา เกาหลี จีน ต้องตีกรอบอุตสาหกรรมให้มีการสร้างงานในประเทศให้ได้ มันจะสร้างงาน สร้างอุตสาหกรรมต้นน้ำขึ้นไปเรื่อย ๆ และทำให้อุตสาหกรรมเติบโต ดูตัวอย่างอย่างเกาหลี ทุกวันนี้เขาสามารถต่อเรือฟริเกตมาขายประเทศไทยได้ เขาต่อเรือดำน้ำขายให้กองทัพอินโดนีเซียได้ ในอดีตเขาก็เริ่มจากการซื้อเรือดำน้ำเยอรมัน แล้วก็เรียนรู้ พัฒนา และทำในประเทศจนออกมาขายได้ นี่คือแนวทางที่ชัดเจนมาก ๆ ว่าทำไมประเทศพวกนี้ถึงมีเศรษฐกิจที่เติบโต และยกระดับรายได้ต่อหัวของประชากรขึ้นไปได้มาก"

นอกจากการพาบริษัทของตัวเองไปหาลูกค้าต่างประเทศเพื่อให้รายได้เติบโตทุกปีตามเป้า การเรียกร้องให้ภาครัฐมาสนใจดูแลทั้งภาพรวมของอุตสาหกรรมต่อเรือก็เป็นสิ่งที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของมาร์ซันให้ความสำคัญ



ที่มา Data & Images -






..