ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

เอกชนค้านปากบาราเสนอทบทวนแผนลดขนาด “คมนาคม” จัดเวิร์กชอป” ก.พ.เดินหน้าหรือยุติ

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 09, 13, 07:08:57 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 4 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เอกชนแนะทบทวนแผนสร้างท่าเรือปากบารา 1.1 หมื่นล้าน แนะลดขนาดเหตุลงทุนสูงปริมาณสินค้าน้อยไม่คุ้มค่า ชี้รัฐควรหันพัฒนาท่าเรือสงขลา 2 และแหลมฉบังให้เต็มประสิทธิภาพดีกว่า "คมนาคม" เตรียมจัดเวิร์กชอป ก.พ.นี้ก่อนตัดสินใจ "ประเสริฐ"เผยเป็นโครงการตามนโยบาย ไม่ทำหรือปรับเปลี่ยนต้องมีแผนรองรับ


นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมโครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบาราที่จังหวัดสตูล เมื่อวันที่ 30 ม.ค. ว่า ได้หารือร่วมกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ผู้ประกอบการจากสมาคมเจ้าของเรือไทย และผู้ประกอบการจากภาคการส่งออกเพื่อระดมความคิดเห็นต่อโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล ซึ่งเอกชนในที่ประชุมได้เสนอให้กระทรวงคมนาคมทบทวนอีกครั้งว่าควรดำเนินการก่อสร้างหรือไม่ ซึ่งในส่วนของเอกชนมีทั้งที่สนับสนุนให้ก่อสร้างและคัดค้าน โดยประมาณเดือนกุมภาพันธ์นี้กระทรวงคมนาคมจะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (เวิร์กชอป) โครงการ คาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนมากขึ้นและจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป เนื่องจากโครงการนี้ถูกบรรจุอยู่ในแผน พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท และเป็นนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาไว้ ดังนั้นหากไม่มีการก่อสร้างก็จะต้องมีเหตุผลรองรับที่ชัดเจน

ทั้งนี้ เนื่องจากโครงการต้องใช้เงินลงทุนสูง เฟสแรกลงทุนประมาณ 11,000 ล้านบาท เพราะต้องก่อสร้างออกไปในทะเลประมาณ  4 กิโลเมตร ในขณะที่ผู้ประกอบการระบุว่า การศึกษาปริมาณการขนส่งสินค้าที่จะผ่านท่าเรือยังไม่มากเท่าที่ควร โดยอยู่ที่ 300,000 ตู้ต่อปี ส่วนตัวเลขผลศึกษาของ สศช.คาดว่าจะมีปริมาณสินค้าประมาณ 800,000 ตู้ต่อปี ซึ่งก็ไม่น่าเป็นไปได้เพราะปริมาณการขนส่งสินค้าที่ท่าเรือกรุงเทพปัจจุบันยังอยู่ที่ 1.3 ล้านตู้ต่อปีเท่านั้น และหากจะมีการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบาราก็ควรพัฒนาพื้นที่โดยรอบให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมก่อนเพื่อช่วยหนุนการขนส่งสินค้า

"ตัวเลขจาก สศช.เชื่อว่าคงเป็นการคาดการณ์มากกว่า แต่ตัวเลขจากเอกชนจะเป็นตัวเลขจริง ซึ่งแตกต่างกันมาก โดยท่าเรือปากบาราจะรองรับสินค้าพวกอาหารทะเลและยางพารา ซึ่งเอกชนระบุว่าปริมาณการค้าบริเวณนั้นไม่สูงมากนัก และเอกชนยังเห็นว่าถ้าจะสร้างก็ควรลดขนาดโครงการลงไม่ต้องทำใหญ่โตมากถึง 11,000 ล้าน เอาแค่ 2,000-3,000 ล้าน รองรับเรือสินค้าที่ 500 ตู้ก็พอ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าลงทุนมากแต่ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า" นายประเสริฐกล่าว

โดยผู้ประกอบการเสนอให้รัฐบาลพิจารณาก่อสร้างท่าเรือสงขลา เฟส 2 (ฝั่งอ่าวไทย) วงเงินประมาณ 15,000 ล้านบาท หรือพัฒนาศักยภาพท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 เนื่องจากจะคุ้มค่ามากกว่า เพราะท่าเรือสงขลาปัจจุบันอยู่ทะเลฝั่งอันดามัน หากมีการก่อสร้างทะเลฝั่งอ่าวไทยก็จะช่วยเสริมศักยภาพกันมากขึ้น ขณะท่าเรือแหลมฉบังปัจจุบันรองรับสินค้าที่ 6 ล้านตู้ต่อปีแต่ตามศักยภาพสามารถรองรับได้ถึง 11 ล้านตู้ต่อปี โดยเรื่องดังกล่าวได้รายงานให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รับทราบในเบื้องต้นแล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรีระบุว่าการจะดำเนินโครงการต้องพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับท่าเรือน้ำลึกทวาย และท่าเรือแหลมฉบังประกอบด้วย

ที่มา -




ชงทบทวนโครงการท่าเรือปากบารา

หวั่นไม่คุ้มลงทุนมีคนใช้น้อย "ปู" กระทุ้งมองผลกระทบ "ทวาย"


นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับตัวแทนผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางเรือเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล ว่า ผู้ประกอบการเสนอให้กระทรวงคมนาคมทบทวนโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา เพราะคาดว่าผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจะไม่คุ้มค่ากับมูลค่าลงทุนที่สูงถึง 15,000 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ประเมินว่าจะมีเรือเข้ามาใช้บริการน้อย เฉลี่ยปีละ 300,000 ตู้เท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่างจากประมาณการของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่คาดว่าจะมีเรือเข้ามาใช้บริการปีละ 800,000 ตู้ นอกจากนี้ ท่าเรือปากบารายังไม่ทำให้ต้นทุนขนส่งของผู้ประกอบการถูกลง เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนขนส่งที่ท่าเรือสงขลา รวมทั้งยังเห็นว่าการถมทะเลเพื่อสร้างสะพานจากฝั่งออกไปในทะเลประมาณ 4.5 กิโลเมตร ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอีกด้วย

นายประเสริฐกล่าวอีกว่า ผู้ประกอบการมองว่า หากจะสร้างท่าเรือปากบารา รัฐต้องสร้างนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดโดยรอบท่าเรือด้วย เพื่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งจะทำให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน เพราะปัจจุบันมีผู้ประกอบการส่งออกสินค้าเพียง 2 ราย คือยางพารา และสัตว์น้ำเท่านั้นที่เข้ามาใช้บริการ นอกจากนั้น ท่าเรือปากบารายังมีคู่แข่งสำคัญ คือ ท่าเรือสิงคโปร์ ซึ่งมีศักยภาพด้านขนส่งที่ดีกว่า และผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกใช้บริการ รวมทั้งท่าเรือทวาย ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง "กระทรวงคมนาคมเคยหารือเรื่องโครงการก่อสร้างท่าเรือปากบารากับนายกรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งนายกฯกำชับให้คิดรอบคอบโดยเฉพาะผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการสร้างท่าเรือทวายของพม่า ขณะที่ผู้ประกอบการต้องการให้ชะลอการสร้างท่าเรือปากบาราออกไปก่อน โดยเสนอให้เร่งสร้างท่าเรือสงขลาระยะที่ 2 แทน เพราะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า และเกิดขึ้นได้ง่ายและเร็วกว่า เพราะทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสร็จแล้ว ดังนั้น ในสัปดาห์ที่ 3 เดือน ก.พ.นี้ กระทรวงจะจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาข้อสรุป คาดว่าภายในเดือน ก.พ.นี้จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าจะสร้างหรือไม่สร้างท่าเรือปากบารา"


อย่างไรก็ตาม โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราเป็นหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลได้ประกาศต่อสภาผู้แทนราษฎร หากรัฐบาลตัดสินใจชะลอโครงการดังกล่าว ก็คงต้องชี้แจงต่อประชาชนถึงเหตุผลและความจำเป็นสำหรับข้อเสนอที่ต้องการเร่งก่อสร้างท่าเรือสงขลา 2 แทนนั้น มองว่ามีความเป็นไปได้สูง เพราะปัจจุบันการให้บริการบริเวณท่าเรือสงขลาระยะที่ 1 เต็มขีดความสามารถแล้ว คาดว่าจะใช้เงินประมาณ 15,000 ล้านบาท โดยกระทรวงอาจบรรจุโครงการก่อสร้างท่าเรือสงขลา 2 แทนโครงการท่าเรือปากบารา ในแผนการใช้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท

ที่มา -