ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

เวียดนามคิดหนักทิ้งจรวดรัสเซียซื้อ “เอ็กโซเซต์” ติดเรือรบล่องหน

เริ่มโดย mrtnews, ก.ย 10, 13, 18:09:41 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เวียดนามกำลังพิจารณาจรวดหลายชนิดเพื่อติดตั้งบนเรือคอร์แว็ตชั้นซิกมา (Sigma Class) ที่สั่งซื้อจากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งอาจจะเป็นเรือรบลำแรกของประเทศคอมมิวนิสต์ที่ติดตั้งจรวดเอ็กโซเซต์ของค่ายตะวันตก และจะเป็นประสบการณ์แปลกใหม่ต่างไปจากจรวดนำวิถีตระกูลโซเวียต/รัสเซียที่คุ้นเคย


แม้หลายฝ่ายในเวียดนามจะเชื่อว่าเอ็กโซเซต์ไม่น่าจะห่างชั้นกันมากนักกับจรวด Kh-35E (อูราล-อี) ของโซเวียต/รัสเซียที่ใช้ในปัจจุบันและเชื่อว่าประสิทธิภาพไม่ห่างกันมากกับจรวดฮาร์พูนของสหรัฐ แต่ในขณะที่สหรัฐไม่สามารถขายอาวุธให้ได้ด้วยเหตุผลทางกฎหมาย ฝรั่งเศสกลับพร้อมจะยื่นมือเข้าช่วยติดอาวุธให้กับเวียดนาม

รัสเซียไม่ขัดข้องที่จะขายจรวด "อูราล-อี" (Ural-E) ให้เนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นสมาชิกกกลุ่มนาโต้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐแต่การติดตั้งระบบควบคุมการยิงบนเรือรบค่ายตะวันตกเป็นเรื่องที่ไม่เคยมีมาก่อน รัสเซียยังต้องการเก็บความลับเทคโนโยลีกลาโหมของตน สำนักข่าวภาษาเวียดนาม "โซฮาออนไลน์" กล่าว

ด้วยสาเหตุดังต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว เรือชั้นซิกมาจึงอาจจะเป็นเรือรบชุดแรกของเวียดนามที่ติดตั้งจรวดเอ็กโซเซต์เป็นอาวุธโจมตีเช่นเดียวกันกับที่ใช้ในกองทัพเรือประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งราชนาวีไทย มาเลเซียและอินโดนีเซียด้วย

ต่างไปจากจรวด Kh-35E เอ็กโซเซต์มีชื่อเสียงทั่วโลกและมีผลงานผ่านการทดสอบในสนามรบมากต่อมาก ตั้งแต่สงครามฟอล์คแลนด์ที่อาร์เจนตินาใช้ยิงเรืออังกฤษจมไปหลายลำ จนถึงสงครามอิหร่าน-อิรัก เรือรบสหรัฐอย่างน้อย 1 ลำเคยถูกอิรักยิงด้วยจรวดฝรั่งเศสเสียหายอย่างหนัก

ถ้าหากเรือคอร์แว็ตซิกมาที่ซื้อใหม่ทั้ง 2 ลำติดจรวดเอ็กโซเซต์ก็จะเป็นก้าวสำคัญสำหรับเวียดนาม ในการเข้าหาระบบอาวุธของโลกตะวันตก

ปัจจุบันเรือรบเกือบทุกชั้นของกองทัพเรือเวียดนามล้วนติดจรวดอูราล-อี รวมทั้งเรือฟริเกตชั้นเกพาร์ด 3.9 ทั้งสองลำกับเรือเร็วโจมตีชั้นโมลีนยา (Molnyia-Class Fast Attack Missile Ship) ที่ซื้อจากโซเวียตและต่อขึ้นเองภายใต้สิทธิบัตร

อย่างไรก็ตามการติดตั้งระบบจรวดตระกูล Kh-35E บนเรือซิกมายังมีปัญหาทางเทคนิคพื้นฐานที่มีความสำคัญ เนื่องจากท่อยิงจรวดของค่ายรัสเซียจะยาวกว่าของจรวดฮาร์พูน เอ็กโซเซต์รวมทั้งจรวดอาร์บีเอส-15 (RBS-15) ของสวีเดนด้วย ถึงแม้ว่าตัวจรวดจะมีขนาดสั้นกว่าเล็กน้อยก็ตาม นอกจากนั้นเรือของชาติตะวันตกโดยทั่วไปก็ออกแบบมาใช้กับระบบอาวุธของตะวันตก


ฝรั่งเศสผลิตเอ็กโซเซต์ MM38 ออกมาในปี 2511 ยิงจากเรือสู่เรือและในปี 2517 ผลิต MM39 ออกมาอีก 2 บล๊อครวมทั้งเวอร์ชั่นยิงจากเครื่องบินด้วย ปี 2551 ผลิต MM40 "บล็อก 3" (Block 3) ออกมาเป็นรุ่นล่าสุด ปัจจุบันมีจรวดของฝรั่งเศสมีใช้ใน 26 ประเทศทั่วโลก แต่ไม่กี่ประเทศที่ฝรั่งเศสขาย MM40 บล็อก 3 ให้

สำนักข่าวกลาโหมออนไลน์บางแห่งรายงานว่า เรือซิกมาของเวียดนามจะติดตั้ง MM40 บล๊อค 2 แต่มีความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนไปเป็นบล๊อค 3 ซึ่งปัจจุบันมีใช้ในกองทัพเรือฝรั่งเศส กรีซ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ โอมาน โมร็อกโก และอินโดนีเซีย

ตามบัญชีรายชื่อประเทศที่ใช้จรวดเอ็กโซเซต์ ของราชนาวีไทยเป็นรุ่นเก่า MM38 มาเลเซียมีทั้ง MM38, MM39 รวมทั้ง MM40 Block 2 และ SM39 ติดเรือดำน้ำชั้นสกอร์ปีน อินโดนีเซียมีทั้ง MM38 ติดตั้งบนเรือคอร์แว็ตชั้นฟาตาฮิลลาห์ (Fatahillah Class) และ MM39 รวมทั้ง MM-40 บล๊อค 2 ที่อัปเกรดเป็นบล็อก 3 ติดตั้งบนเรือชั้นซิกมาเนเธอร์แลนก์ทั้ง 6 ลำ แบบเดียวกับเรือเวียดนาม

เอ็กโซเซต์ MM40 บล๊อค 3 ขับเคลื่อนด้วยเทอร์โบเจ็ต ยิงได้ไกลขึ้นจาก 72 กม.ในบล๊อค 2 เป็น 180 กิโลเมตร น้ำหนัก 670 กิโลกรัม ยาว 4.7 เมตร วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 34.8 มม. น้ำหนักน้อยกว่าบล๊อค 2 นอกจากนั้นยังนำร่องด้วยจีพีเอสได้ซึ่งทำให้มีขีดความสามารถในการยิงโจมตีเป้าหมายบนผืนทวีป

จรวด MM40 Block 3 "ร่อน" ด้วยความเร็วต่ำกว่าเสียงในระยะแรก เลียดผิวน้ำ 5-15 เมตรซึ่งต่ำกว่าระดับสายตาของเรดาร์เฝ้าตรวจทั่วไป เรดาร์จะจับความเคลื่อนไหวได้เมื่อจรวดอยู่ห่างราว 6,000 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่จรวดลดระยะร่อนต่ำลงเป็น 1-2 เมตรจากผิวน้ำและนำวิถีด้วยเรดาร์ พุ่งเข้าหาเป้าด้วยความเร็วสูงปิดโอกาสสำหรับระบบปืนยิงระยะประชิดหรือ CIWS และระบบจรวดต่อต้านของอีกฝ่ายหนึ่ง

ว่ากันว่าคู่แข่งสำคัญที่สูสีกับจรวดเอ็กโซเซต์มากที่สุดคือจรวดฮาร์พูน (Harpoon) ของสหรัฐ กับจรวด RBS-15 ที่ผลิตในสวีเดน ขณะที่จีนผลิตจรวดในตระกูลอิงยี่ (Yingji) ออกมาเป็นคู่แข่ง

ราชนาวีไทยมีจรวดแบบ C-802 ของจีนติดตั้งบนเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (แบบ 053HT/เรือฟริเกตชั้นเจียงหู) ที่ซื้อจากจีน ซึ่งก็คือเวอร์ชั่นส่งออกของจรวดอิงยี่ 82 (YJ-82) มีขนาดยาวกว่าจรวดฝรั่งเศสและรัสเซี่ยมาก ลำตัวอ้วนกว่า และน้ำหนักมากกว่า ติดหัวรบหนัก 165 กก. มีระยะยิง 120 กม.

ตามข้อมูลทางเทคนิคที่มีการเปิดเผย จรวด KH-35E ยาว 4.40 เมตร สั้นกว่าจรวดเอ็กโซเซต์ แต่วัดขนาดเส้นผ้าศูนย์กลางได้กว้างกว่าจรวดฝรั่งเศส คือ .42 ซม. นั่นคืออ้วนกว่าแต่น้ำหนักน้อยกว่าคือ 630 กก.ระยะยิง 130 กม. ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ทำให้การติดตั้งต่างกันและมีท่อยิงขนาดต่างกัน

จรวดรัสเซีย "ร่อน" เหนือระดับน้ำทะเล 10-15 เมตรสูงกว่าจรวดฝรั่งเศส ในระยะต้นนำวิถีด้วย "ระบบเฉื่อย" (ผสมผสานระหว่างไจโรมีเตอร์กับเอ็กเซเลอเรมีเตอร์) ที่รู้จักกันมานานและยังคงใช้แพร่หลายในการนำร่องเรือและเครื่องบินหลายรุ่น จะเปลี่ยนไปนำร่องด้วยเรดาร์เมื่ออยู่ห่างจากเป้าหมายราว 20 กม. และลดระยะร่อนต่ำลงเป็น 2-5 เมตรเหนือน้ำขณะพุ่งเข้าหาเป้า ทำให้ยากต่อการตรวจจับโดยระบบอาวุธยิงต่อต้านในระยะประชิด

เมื่อวันที่ 2 พ.ค.2525 ในสงครามฟอล์คแลนด์อาร์เจนตินายิงจรวดเอ็กโซโซต์ MM39 Block 2 จากเครื่องบินซูเปอร์เอตองดาร์ (Super Etendard) โจมตีเรือพิฆาตเอชเอ็มเอสเชฟฟีลด์ (HMS Sheffield) ของอังกฤษ จรวดพุ่งชนกราบเรือสูงจากระดับน้ำ 2-2.4 เมตรเป็นรูโหว่ขนาดใหญ่ก่อนทะลุเข้าห้องเครื่องยนต์ ไม่สามารถยืนยันได้ว่าหัวรบของจรวดระเบิดหรือไม่


วันที่ 25 พ.ค.ปีเดียวกันอาร์เจนตินายิงจรวดเอ็กโซเซต์ MM38 จำนวน 2 ลูก โจมตีเรือแอตแลนติกคอนเวเยอร์ (Atlantic Conveyer) ซึ่งเป็นเรือลำเลียงขนส่งขนาด 15,000 ของอังกฤษ จรวดโดนห้องเก็บระเบิดทำให้เกิดไฟไหม้ แต่เรือจมในอีก 3 วันถัดมาขณะถูกลากออกไปจากจุดเกิดเหตุ ทำให้อังกฤษต้องเปลี่ยนวิธีส่งกำลังบำรุงไปยังเรือบรรทุกเครื่องบินโดยทางอากาศแทน

ต่อมาจรวดเอ็กโซเซต์อีกลูกหนึ่งพุ่งเข้าใส่ห้องเก็บเฮลิคอปเตอร์บนเรือพิฆาตอังกฤษอีกลำหนึ่ง โดน ฮ.ที่เติมน้ำมันเต็มที่ขณะเตรียมพร้อมปฏิบัติการทำให้ไฟไหม้เรือเสียหายหนัก ไม่อาจยืนยันได้ว่าหัวรบของจรวดระเบิดหรือไม่

ในช่วงสงครามเกาะฟอลร์คแลนด์เรือรบกอังกฤษหลายลำก็ติดจรวดเอ็กโซเซต์ช่นกัน

วันที่ 17 พ.ค.2530 ในช่วงสงครามอิหร่าน-อิรัก ฝ่ายอิรักยิงจรวดเอ็กโซเซต์จากเครื่องบินมิราจเข้าใส่เรือสตาร์ค (USS Stark FFG-31) ซึ่งเป็นเรือพิฆาตชั้นโอลิเวอร์ ฮาร์ซาร์ด เพอร์รี (Oliver Hazard Perry class) ของสหรัฐ มีทหารเรือเสียชีวิต 37 คน เจ้าหน้าที่ส่วนอื่นๆอีก 21 คน ถึงแม้เรือไม่จมแต่ก็ใช้ในการรบไม่ได้อีกเรือสตาร์คได้รับการซ่อมแซมขึ้นใหม่เมื่อลากกลับถึงรัฐฟลอริดา

สหรัฐไม่ใช่คู่พิพาทในสงครามดังกล่าว รัฐบาลอิรักแถลงว่านักบินเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรือสตาร์คเป็นเรือรบของอิหร่าน

การสอบสวนของคณะกรรมการกองทัพเรือสหรัฐได้พบความหละหลวมหลายประการบนเรือฟริเกตลำนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะถูกโจมตีระบบเรดาร์เฝ้าตรวจไม่ได้อยู่ในโหมดทำงาน จนกระทั่งจรวดพุ่งเข้าระยะใกล้ระบบป้องกันจึงตรวจจับได้ แต่ระบบปืนยิงเร็วระยะประชิดฟาลังซ์อยู่ในโหมด "สแตนด์บาย"


เหตุการณ์ครั้งนี้มีนายทหารระดับสูงผู้รับผิดชอบถูกลงโทษทางวินัยจำนวน 3 นายรวมทั้งผู้บังคับการเรือ ทั้งหมดขอเกษียนก่อนครบกำหนด

ข้อสรุปสำหรับเวียดนามก็คือ จรวดเอ็กโซเซต์นั้นผ่านการพิสูจน์ในสนามรบมามากมายมีคุณภาพที่เชื่อถือได้ ถึงแม้ราคาอาจจะแพงกว่าจรวดรัสเซีย แต่เป็นทางเลือกน่าสนใจมากเพราะเป็นโอกาสที่กองทัพเรือจะเปิดประตูเข้าสู่ระบบอาวุธของโลกตะวันตก.

ที่มา -