ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ส่งออกทางเรือยังฉลุย คาดปีนี้ยังขยายตัวสูง

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 09, 13, 07:16:28 ก่อนเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

รายงานข่าวจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) แจ้งถึงผลการดำเนินงานให้บริการเรือสินค้าและตู้สินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ท่าเรือเชียงของ และท่าเรือระนอง ในรอบ 3 เดือนของปีงบประมาณ 2556 (ตุลาคม – ธันวาคม 2555)


โดยท่าเรือกรุงเทพมีเรือเทียบท่า 847 เที่ยว เพิ่มขึ้น 30.90% สินค้าผ่านท่า 5.330 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 43.56% และตู้สินค้าผ่านท่า (รวมตู้เปล่า) 0.379 ล้าน ทีอียู. เพิ่มขึ้น 48.16% ท่าเรือแหลมฉบังมีเรือเทียบท่า 2,538 เที่ยว เพิ่มขึ้น 22.49% สินค้าผ่านท่า 16.747 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 6.90% และตู้สินค้าผ่านท่า 1.517 ล้าน ทีอียู. เพิ่มขึ้น 6.75% ส่วนท่าเรือพาณิชย์เชียงแสนและเชียงของ มี เรือเทียบท่ารวม 2,278 เที่ยว เพิ่มขึ้น 571.97% สินค้าผ่านท่ารวม 99,730 เมตริกตัน เพิ่มขึ้น 156.08% ขณะที่ท่าเรือระนอง มีเรือเทียบท่า 46 เที่ยว เพิ่มขึ้น 7% สินค้าผ่านท่า 20,888 เมตริกตัน เพิ่มขึ้น67.25% และตู้สินค้าผ่าท่า 136 ทีอียู. เพิ่มขึ้น 161.54%

ข่าวแจ้งว่า ผลการดำเนินงานในช่วง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2556 (ตุลาคม – ธันวาคม 2555) กทท. มีกำไรสุทธิ 1,437 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42 จากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2555 (1,014 ล้านบาท) ปริมาณตู้สินค้าผ่านท่า 3 เดือนของ ทกท. ในภาพรวม 0.379 ล้าน ทีอียู. เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.16 โดยเป็นตู้มีสินค้า 0.361 ล้าน ทีอียู. ซึ่งสูงกว่าปีก่อน โดยเป็นตู้มีสินค้า 0.235 ล้าน ทีอียู. ร้อยละ 53.61 เป็นอัตราการขยายตัวที่สูง

สำหรับปริมาณตู้สินค้าในปีงบประมาณ 2556 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศในปี 2555 มีการฟื้นตัวจนเกือบเข้าสู่ภาวะปกติ ทั้งภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม และการขยายตัวของภาคการส่งออกและนำเข้า รวมทั้งการดำเนินนโยบายกระตุ้นการส่งออกของรัฐบาล ถึงแม้ว่าในระยะถัดไปอาจมีปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศ จากการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาลที่มีการประเมินว่า เริ่มส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและการชะลอการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคการส่งออกและปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกประเทศจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น โดยคาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ดีขึ้นจากปี 2555 ในขณะที่เอเชียจะยังมีความมั่นคงในการขยายตัวมากกว่าปีก่อน คาดว่าภาคการส่งออกจะกลับมามีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ที่มา -