ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

ท่าเรือไทย พร้อมรับ AEC หรือยัง

เริ่มโดย mrtnews, ก.ย 23, 13, 18:04:18 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

คอลัมน์ พร้อมรับ AEC หรือยัง - โดย ณกฤช เศวตนันทน์

การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของประเทศสมาชิกอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า จะส่งผลให้มีการเปิดเสรีทางด้านการค้าการลงทุนทั้งภายในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลกที่ขยายตัวสูงขึ้น ซึ่งหากเราพิจารณากันตามความเป็นจริงแล้วการค้าทั่วโลกพึ่งพาการขนส่งทางทะเลเป็นหลักราว 90% ของปริมาณขนส่งสินค้าระหว่างประเทศทั้งหมด


ส่งผลให้ ท่าเรือ มีความสำคัญในฐานะ ประตู เปิดรับการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ดังนั้น ความพร้อมและศักยภาพของท่าเรือในอาเซียนจึงเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของความสำเร็จของ AEC ในคอลัมน์นี้เราจะนำเสนอเกี่ยวกับแนวนโยบายการขนส่งของไทยใน AEC

สำหรับประเทศไทยนั้นปัจจุบันมีท่าเรือสินค้าถึง 147 แห่ง แต่มีท่าเรือสินค้าเพียง 10 กว่าแห่งเท่านั้นที่มีกิจกรรมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ มีหน่วยงานที่บริหารจัดการ ได้แก่ การท่าเรือแห่งประเทศไทย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัทเอกชน ทั้งนี้ แต่ละหน่วยงานมีวัตถุประสงค์ในการสร้างท่าเรือที่ต่างกันไปตามประเภทสินค้าและผู้ใช้บริการ

ในการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือนั้น นอกเหนือจากการให้บริการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งได้แก่ การให้บริการเรือและการขนส่งสินค้าโดยทั่วไปแล้ว ยังประกอบด้วยงานพิธีการศุลกากร การตรวจตรา

สินค้า กฎระเบียบและขั้นตอนการดำเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในที่นี้เราจะเรียกสิ่งเหล่านี้รวมกันว่า สิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ท่าเรือ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งตัวท่าเรือเอง ระบบคมนาคมขนส่งที่เข้าสู่ท่าเรือ กฎระเบียบทางด้านศุลกากรที่เอื้ออำนวยต่อการนำเข้า/ส่งออกสินค้า การปฏิบัติงานที่โปร่งใสและสอดคล้องกับข้อตกลงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ทั้งหมดนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ช่วยลดต้นทุนทั้งด้านเวลาและค่าใช้จ่าย รวมถึงส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศของไทยสามารถดำเนินไปได้อย่างสมบูรณ์

ล่าสุดทางสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ให้การสนับสนุน สถาบันการขนส่งแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการศึกษาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ท่าเรือระหว่างประเทศของไทย เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งได้มีการสำรวจท่าเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่สำคัญรวม 9 แห่ง ทั้งของการท่าเรือและของเอกชนเอง

โดยพิจารณาท่าเรือที่มีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศปริมาณสูง ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือ BMTP ท่าเรือ TPT ท่าเรือ UNITHAI ท่าเรือศรีราชา ฮาร์เบอร์ ท่าเรือเคอรี่ สยามซีพอร์ต ท่าเรือมาบตาพุด และท่าเรือน้ำลึกสงขลา รวมถึงสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

ได้แก่ ผู้บริหารท่าเรือ/ศุลกากร สายเรือ ผู้ประกอบการนำเข้าหรือส่งออก และบริษัทผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศรวมกว่า 60 หน่วยงาน นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยจะเก็บข้อมูลที่ท่าเรือสิงคโปร์ ซึ่งเป็นท่าเรือต้นแบบมีปริมาณการขนส่งสินค้าสูง และมีศักยภาพในการดำเนินงานอันดับต้นในภูมิภาคอาเซียนมาเปรียบเทียบด้วย

ผลการสำรวจคณะวิจัย พบว่าท่าเรือที่อยู่ภายใต้การดูแลของการท่าเรือฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากรัฐบาลในด้านงบประมาณการก่อสร้างตัวท่าเรือเอง หรือระบบสาธารณูปโภค (เช่น ถนน ทางรถไฟ ไฟฟ้าต่าง ๆ) สำหรับการใช้งานท่าเรือจะเป็นท่าเรือที่สำคัญ มีปริมาณสินค้าผ่านท่าจำนวนมาก มีการติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เครื่อง X-ray ตู้สินค้าภายในท่าเรือ

แต่ทว่าท่าเรือของการท่าเรือฯก็ยังมีจุดอ่อนในการประสานงานร่วมกับศุลกากรที่ไม่ดีเท่ากับท่าเรือเอกชน

เนื่องจากติดปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างในระบบราชการ ทำให้การปรับปรุงสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งนั้นใช้เวลานาน นอกจากนี้ การพัฒนาต่าง ๆ ก็ยังขึ้นกับนโยบายของภาครัฐซึ่งขาดความชัดเจน

สำหรับท่าเรือเอกชนนั้น เนื่องจากต้องลงทุนหาพื้นที่เองไม่สามารถเวนคืนที่ดินได้ จึงมีขนาดเล็กและมีปริมาณการขนส่งสินค้าที่น้อยกว่าการพัฒนาปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค (ถนนสาธารณะ ทางแยกต่าง ๆ ไฟฟ้า)

สำหรับท่าเรือเอกชนก็ต้องใช้งบฯลงทุนของบริษัทเองทั้งหมด ในด้านศุลกากรนั้นท่าเรือเอกชนยังไม่มีเครื่อง X-ray ตู้สินค้าในท่าเรือ ทำให้เสียเวลาและเพิ่มต้นทุนขนส่งหากต้องเปิดตรวจตู้สินค้า

อย่างไรก็ตาม ท่าเรือเอกชนมีความยืดหยุ่นต่อผู้ใช้บริการมากกว่า ทั้งด้านราคาและบริการที่ครบวงจร มีการประสานงานร่วมกับศุลกากรดีกว่า โดยพบว่าท่าเรือเอกชนจะดูแลเจ้าหน้าที่ศุลกากรประจำท่าเป็นอย่างดี และมีความรวดเร็วในการดำเนินงานตามที่ศุลกากรร้องขอเพื่อให้ไทยได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ AEC อย่างเต็มที่ ภาครัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับท่าเรือ กระตุ้นให้ทุกฝ่ายปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานของระบบท่าเรือให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน ทั้งของรัฐกับเอกชน นอกจากนั้น รัฐควรวางแผนให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างท่าเรือ ศุลกากรและท่าเรือของประเทศสมาชิก AEC ด้วยกัน

เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ขนส่งสินค้าในภูมิภาค และเพิ่มความน่าสนใจในการเข้ามาลงทุนในภูมิภาคอาเซียนเมื่อ AEC เปิดแล้ว

ที่มา -