ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

อิตาเลียนไทย เลหลัง 7 โซนในโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 09, 13, 20:31:32 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

อิตาเลียนไทยขน 7 โซนประเคน 7 กลุ่มธุรกิจในโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายออกเปิดการขายให้นักลงทุนทั้งรายเล็กรายใหญ่ "สมเจตน์" เผยเตรียมเซ็นบันทึกความร่วมมือกับแต่ละรายก่อนนำเสนอเมียนมาร์และญี่ปุ่นร่วมเห็นชอบ เปิดแนวรุกทั้งกลุ่มบริษัทและหน่วยงานสมาคมที่เกี่ยวข้องภาคธุรกิจ


ดร. สมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัททวายดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด หรือดีดีซี(DDC) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าขณะนี้เริ่มเห็นภาพชัดเจนกับการลงทุนของแหล่งทุนญี่ปุ่นโดยปลายมีนาคมนี้เตรียมประกาศร่วมกันทั้ง 3 ประเทศคือ ไทย เมียนมาร์และญี่ปุ่น เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการเห็นภาพการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

โดยปัจจุบันเร่งผลักดันการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าใน 3 ประเภท คือกลุ่มลูกค้าที่มีแนวโน้มโดนตัดจีเอสพีในประเทศไทย กลุ่มที่ต้องการหาพื้นที่โรงงานขนาดใหญ่ และกลุ่มลูกค้าที่หาแหล่งความเป็นธรรมชาติเพื่อป้อนการผลิต

สำหรับข้อเท็จจริงในขณะนี้ยืนยันว่าเมียนมาร์ไม่ได้มีการปรับลดพื้นที่สัมปทานแต่อย่างใดทั้งสิ้น ยังคงเป็นไปตามปกติ เป็นเพียงการหารือในคอนเซ็ปต์เบื้องต้นเท่านั้นแต่ยังไม่ได้มีการหารือกับอิตาเลียนไทยแต่อย่างใด วันนี้รัฐบาลได้เข้ามาช่วยเหลือในหลายด้านมากขึ้น โดยเฉพาะการตั้งคณะกรรมการ 6 ฝ่ายเข้ามาเพื่อสนับสนุน เร่งรัดและประสานงาน โดยได้เชิญญี่ปุ่นเข้ามาร่วมด้วยมีเป้าหมาย 2 ประการคือต้องการให้สนับสนุนแหล่งเงินทุนและสร้างเครดิตให้นักลงทุนญี่ปุ่นเพราะปัจจุบันในไทยประมาณ 60% เป็นนักลงทุนญี่ปุ่นได้มาต่อสายสัมพันธ์ในรูปแบบลูกโซ่ทางธุรกิจมากขึ้น

ทั้งนี้ในปี 2557 อิตาเลียนไทยจะเร่งผลักดันให้สามารถเริ่มการผลิตได้ทันที มุ่งเจาะฐานกลุ่มลูกค้าต่างๆโดยตรงมากขึ้น คาดว่าประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้จะมีการสรุปรายละเอียดด้านการลงทุนของทั้ง 3 ประเทศอีกครั้ง ต้นเดือนมีนาคมจึงจะประกาศเป็นหลักการต่อไป ขณะนี้โปรเจ็กต์ดังกล่าวถูกยกระดับให้เป็นไปในรูปแบบรัฐต่อรัฐหรือ G2G แต่ไม่ใช่เป็นคู่สัญญา

ปัจจุบันได้มีการย้ายชุมชนออกไปแล้วกว่า 40% การปรับผังแล้วเสร็จอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นภายหลังจากเดือนมีนาคมนี้จะได้เห็นภาพการพัฒนาชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ต้นมีนาคมจะเริ่มเปิดให้บริการท่าเรือขนาดเล็กเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการขนส่งสินค้าสำหรับก่อสร้างในพื้นที่

นายประวีร์ โกมลกาญจน ผู้บริหารฝ่ายการตลาดของทวายดีเวล๊อปเมนต์กล่าวว่าในเดือนมีนาคมนี้จะเริ่มโหมการตลาดมากขึ้นโดยพร้อมนำ 7 โซนพื้นที่ออกประกาศให้นักลงทุนเข้าจับจองโดยจำแนกเป็น 7 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ โซนที่ 1 สำหรับรองรับอุตสาหกรรมการ์เมนต์และเท็กซ์ไทล์ โซนที่ 2 รองรับอุตสาหกรรมประเภทอิเล็กทรอนิกส์ โซนที่ 3 รองรับอุตสาหกรรมผลิตยางประเภทต่างๆ โซนที่ 4 รองรับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์

โซนที่ 5 รองรับอุตสาหกรรมพลาสติกและอุปกรณ์ประเภทโครงสร้างต่างๆ โซนที่ 6 รองรับอุตสาหกรรมฟอกหนัง รองเท้า กระเป๋า ซึ่งประเภทนี้ประเทศไทยโดนตัดจีเอสพีไปเป็นจำนวนมาก และโซนที่ 7 รองรับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อาหารแช่แข็งที่จะขยายให้เป็นเช่นมหาชัยของไทยในระยะต่อไป โดยขณะนี้รอเพียงการเห็นชอบในรายละเอียดข้อตกลงของเมียนมาร์เท่านั้น โดยเตรียมเซ็นเอ็มโอยูกับแต่ละบริษัทที่สนใจเพื่อนำข้อมูลทั้งหมดนำเสนอให้เมียนมาร์และญี่ปุ่นเห็นชอบเร่งผลักดันโดยเร็วต่อไป โดยขณะนี้มีสนใจแล้วมากกว่า 5 รายในหลัก ๆจากตะวันออกกลาง จีน และญี่ปุ่น

"เริ่มต้นนี้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 7 โซนแบ่งตามความต้องการของตลาดเป็นหลัก ปัจจัยขั้นที่ 1 คือที่ต้องการแรงงานจำนวนมากอาทิ สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ อาหาร ที่ต้องใช้ฝีมือแรงงาน ซึ่งจากการปรับขึ้นค่าแรงจึงได้รับผลกระทบจนถึงกับปิดโรงงานไปก็เยอะ จึงรวบรวมไปไว้ที่ทวายทั้งหมด อีกทั้งไทยยังโดนตัดจีเอสพีก็เยอะ จึงเปิดพื้นที่รองรับไว้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการหาพื้นที่เกษตรกรรมใหม่เพื่อป้อนวัตถุดิบซึ่งริมแม่น้ำทวายมีความอุดมสมบูรณ์มาก ซึ่งสามารถหาพื้นที่ได้ในโครงการทวายในแต่ละโซน โดยพื้นที่แต่ละโซนมีประมาณ 625 ไร่ขึ้นไป"

ที่มา -