ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

สหรัฐสั่งลดเรือบรรทุกเครื่องบินที่ตอ. กลาง สาเหตุวิกฤตงบความมั่นคง

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 09, 13, 20:51:33 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 4 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เอเจนซีส์ - สาเหตุความไม่แน่นอนในเรื่องงบประมาณรายจ่าย ทำให้รัฐมนตรีกลาโหม เลียน เพเนตตา ของสหรัฐฯ สั่งชะลอการส่งหมู่เรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีอีก 1 หมู่ไปประจำการในตะวันออกกลางเมื่อวันพุธ (6ก.พ.) ที่ผ่านมา ส่งผลให้อเมริกามีเรือบรรทุกเครื่องบินเพียงลำเดียวอยู่ในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยความตึงเครียดดังกล่าว โดยที่ก่อนหน้านั้นไม่กี่ชั่วโมงเขาเพิ่งออกมาแถลงเตือนว่า การที่รัฐสภาอเมริกันนิ่งเฉยไม่กระตือรือร้นแก้ไขข้อวิตกกังวลในทางการคลัง กำลังเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ


นอกจากนั้น กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน) ยังประกาศด้วยว่า จะขอปรับขึ้นเงินเดือนให้เหล่าทหารในกองทัพในช่วงปีงบประมาณ 2014 (ต.ค.2013 - ก.ย.2014) เพียงแค่ 1% ซึ่งต่ำกว่าระดับที่เคยคาดหมายกันไว้ เรื่องนี้ก็เป็นสัญญาณอีกประการหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นว่าแรงกดดันด้านการคลังกำลังส่งผลต่อฝ่ายทหารของสหรัฐฯ

เพเนตตา ผู้กำลังจะอำลาตำแหน่งนายใหญ่เพนตากอนอยู่แล้ว สั่งชะลอการส่งหมู่เรือโจมตีที่ประกอบด้วย เรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส แฮร์รี เอส. ทรูแมน และเรือลาดตระเวนติดขีปนาวุธนำวิถี ยูเอสเอส เก็ตตีสเบิร์ก ไปประจำการในตะวันออกกลาง จากที่เดิมมีกำหนดออกเดินทางจากฐานทัพเรือในมลรัฐเวอร์จิเนียปลายสัปดาห์นี้เพื่อมุ่งสู่ภูมิภาคดังกล่าว

จอร์จ ลิตเติล โฆษกกระทรวงกลาโหมแถลงเมื่อวันพุธ (6) ว่า ความไม่แน่นอนด้านงบประมาณ ทำให้กองทัพเรือส่งคำร้องขอชะลอการเดินทาง ซึ่งเพเนตตาอนุมัติแล้ว และด้วยการตัดสินใจอย่างรอบคอบนี้ กองทัพเรือยังคงสามารถส่งเรือรบทั้งสองลำไปประจำการณ์ในภูมิภาคดังกล่าวได้ในระยะเวลาอันสั้น ในกรณีที่ต้องรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง

แต่การตัดสินใจเช่นนี้ ก็ส่งผลให้สหรัฐฯ เหลือเรือบรรทุกเครื่องบินในอ่าวเปอร์เซียอันตึงเครียดเพียงลำเดียว ซึ่งก็คือ ยูเอสเอส จอห์น ซี สเตนนิส โดยที่ก่อนหน้านั้นไม่กี่ชั่วโมง เพเนตตาได้กล่าวเตือนระหว่างแสดงปาฐกถาต่อนักศึกษามหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ในกรุงวอชิงตัน ว่า การที่รัฐสภาไม่สามารถตกลงกับรัฐบาลเพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องงบประมาณ ทำให้กระทรวงกลาโหมใกล้ที่จะต้องทำการตัดค่าใช้จ่ายให้ได้ 46,000 ล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลา 7 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมนี้เป็นต้นไป

หากรัฐบาลและฝ่ายเดโมแครตที่ครองเสียงข้างมากในวุฒิสภา กับฝ่ายรีพับลิกันซึ่งควบคุมสภาผู้แทนราษฎรเอาไว้ ยังคงไม่มีการทำความตกลงกันก่อนเส้นตายในต้นเดือนหน้าแล้ว ตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนี้ ก็จะต้องมีการตัดงบประมาณในด้านกลาโหมและด้านอื่นๆ ลงไปฝ่ายละเท่าๆ กันแบบอัตโนมัติ โดยที่เพเนตตาบอกว่า เพนตากอนอาจจะต้องให้ลูกจ้างพลเรือนของกระทรวงซึ่งมีอยู่ 800,000 คนหยุดงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างเป็นเวลา 22 วันทำงาน, ลดการปฏิบัติการของกองทัพเรือในอาณาบริเวณแปซิฟิกตะวันตกลงไป 1 ใน 3, และตัดลดชั่วโมงบินของกองทัพอากาศ

คำเตือนของเพนตตามีขึ้นขณะที่เพนตากอนต้องดิ้นรนหนักอยู่แล้วเพื่อรับมือกับสถานการณ์งบประมาณปัจจุบัน โดยที่เวลานี้รัฐสภายังไม่ได้อนุมัติงบประมาณสำหรับปี 2013 ทั้งที่เวลาผ่านไปจะเกือบครึ่งปีงบประมาณแล้ว และเพียงแต่ต่ออายุให้กระทรวงได้รับเงินตามจำนวนในปีงบประมาณ 2012 ต่อไปเท่านั้น

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เพนตากอนได้ดำเนินการตัดลดรายจ่ายด้านกลาโหมลงไปแล้ว 487,000 ล้านดอลลาร์ และขณะนี้อาจจะถูกสั่งหั่นงบประมาณลงอีก 500,000 ล้านดอลลาร์ในระยะ 10 ปี ภายใต้กระบวนการตัดลดงบประมาณอัตโนมัติที่จะเริ่มขึ้นในวันที่ 1 มีนาคม

ความกังวลว่า คองเกรสจะไม่สามารถหาข้อสรุปกันได้ ทำให้เจ้าหน้าที่เพนตากอนสั่งการให้หน่วยงานต่างๆ เริ่มดำเนินมาตรการลดรายจ่ายทันที และรายงานผลภายในสัปดาห์นี้ว่า จะทำอย่างไรหากกระบวนการตัดลดงบประมาณอัตโนมัติมีผลบังคับใช้จริง

ทั้งนี้ตามแผนการที่เสนอโดยกองทัพเรือ ระบุว่าจะลดการใช้จ่ายระยะสั้น 6,300 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีทั้งการยกเลิกการซ่อมบำรุงเรือและเครื่องบินหลายสิบลำในไตรมาส 3 และ 4, ลดชั่วโมงการทำงานของเรือและเครื่องบิน, และปลดพนักงานชั่วคราว 1,121 คน ส่วนใหญ่ในฝ่ายสนับสนุนในฐานทัพและอู่ซ่อมเรือ

และหากมีการลดงบประมาณเพิ่มเติมในวันที่ 1 เดือนหน้า กองทัพเรือจะพิจารณาลดจำนวนหมู่เรือบรรทุกเครื่องบินโจมตีในตะวันออกกลางจาก 2 หมู่เหลือเพียงหมู่เดียว, ลดชั่วโมงบินของเครื่องบินบนเรือรบที่ประจำการในภูมิภาคดังกล่าวลง 55%, รวมทั้งยกเลิกการประจำการของเรือดำน้ำจำนวนมาก

ทางด้านกองทัพอากาศนั้น ระบุว่าจะตัดลดคำสั่งซื้อเครื่องบินรบเอฟ-35 จากล็อคฮีด มาร์ติน, ปรับโครงสร้างสัญญาซื้อเครื่องบินบรรทุกน้ำมันมูลค่า 52,000 ล้านดอลลาร์จากโบอิ้ง, และลดชั่วโมงบินลง 18% หากมีการปรับลดงบประมาณระลอกใหม่

ส่วนกองทัพบกนั้นมีแผนปลดพนักงานชั่วคราว 1,300 คน ,อนุญาตให้ลูกจ้างพลเรือนลาพัก 22 วัน, ลดปฏิบัติการในฐานทัพลง 30%. และยกเลิกการซ่อมบำรุงภาคพื้นดินและอากาศในไตรมาส 3 และ 4, อีกทั้งลดการซ่อมบำรุงยานยนต์ อาวุธ และวิทยุ หากมาตรการลดงบประมาณอัตโนมัติมีผล

ที่มา -