ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

ผลการดำเนินงานของ ปตท.สผ. ไตรมาสที่ 3

เริ่มโดย mrtnews, ต.ค 30, 13, 19:58:03 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 3 ปี 2556 และ ผลการดำเนินงานตามแผนธุรกิจ ดังนี้


ผลการดำเนินงานก่อนสอบทานไตรมาสที่ 3

ปตท.สผ. และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 3 ปี 2556 รวม 566 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 17,805 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อเปรียบเทียบกับกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 3 ปี 2555 จำนวน 558 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 17,526 ล้านบาท) โดยเป็นผลมาจากการดำเนินงานตามปกติจำนวน 600 ล้านดอลลาร์ สรอ. และขาดทุนจากรายการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานปกติ (Non-Recurring) จำนวน 34 ล้านดอลลาร์ สรอ.

สำหรับรายได้รวมของ ปตท.สผ. และบริษัทรายย่อยในไตรมาสนี้ มีจำนวน 1,841 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 57,937 ล้านบาท) เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2555 จำนวน 1,820 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เทียบเท่า 57,083 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 21 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นเป็น 65.71 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ เมื่อเปรียบเทียบกับราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยของไตรมาส 3 ปี 2555 ที่ 64 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ

สำหรับปริมาณการขายปิโตรเลียมเฉลี่ยสำหรับไตรมาส 3 ปี 2556 มีอัตรา 286,578 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ลดลงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการขายเฉลี่ยสำหรับไตรมาส 3 ปี 2555 ที่อัตรา 292,228 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการหยุดผลิตตามแผนงานของโครงการบงกช ปริมาณการขายน้ำมันดิบที่ลดลงของโครงการเวียดนาม 16-1และการหยุดผลิตชั่วคราวของโครงการบี 8/32 และ 9 เอ เพื่อซ่อมแซมอุปกรณ์ของแท่นผลิต

ผลการดำเนินงานตามแผนธุรกิจของ ปตท.สผ.

ปัจจุบัน ปตท.สผ. มีโครงการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยและต่างประเทศรวม 45 โครงการ ใน 12 ประเทศ โดยสรุปการดำเนินงานโครงการหลัก ๆ ตามภูมิภาคได้ ดังนี้

โครงการในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ทำการผลิตปิโตรเลียมแล้ว โดยมีการดำเนินกิจกรรมในโครงการหลัก ๆ ดังนี้ โครงการเอส 1 สามารถรักษาอัตราการผลิตน้ำมันดิบได้อย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 3 นี้ มีอัตราการผลิตเฉลี่ยที่ 32,618 บาร์เรลต่อวัน ส่วน โครงการบงกช มีอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติทั้งแหล่งบงกช และบงกชใต้โดยรวมเฉลี่ยที่ 898 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสทในอัตราเฉลี่ย 30,294 บาร์เรลต่อวัน

โครงการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการดำเนินกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้ โครงการซอติก้า ในอ่าวเมาะตะมะ สหภาพเมียนมาร์ อยู่ระหว่างการก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซฯบนบก การเจาะหลุมผลิต รวมทั้ง เตรียมการเคลื่อนย้ายแท่นผลิตกลางเพื่อติดตั้งในเดือนตุลาคมนี้ โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสแรกของปี 2557 โครงการพม่า เอ็ม 3 อยู่ระหว่างการพิสูจน์ศักยภาพเชิงพาณิชย์ โดยได้เจาะหลุมประเมินผลและค้นพบก๊าซธรรมชาติทั้ง 4 หลุม และมีแผนงานจะเจาะหลุมประเมินผลเพิ่มเติมในปี 2557 เพื่อวางแผนพัฒนาและผลิตก๊าซฯ นอกจากนี้ ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา รัฐบาลสหภาพเมียนมาร์ได้อนุมัติการเข้าร่วมทุนของ Mitsui Oil Exploration Co., Ltd (MOECO) ในโครงการพม่า เอ็ม 3 ในสัดส่วนร้อยละ 20 โดย ปตท.สผ. ยังคงเป็นผู้ดำเนินการและถือสิทธิการร่วมทุนในสัดส่วนร้อยละ 80 โครงการพม่า เอ็ม 11 อยู่ระหว่างดำเนินการเจาะหลุม Manizawta-1 ซึ่งเป็นหลุมสำรวจน้ำลึก คาดว่าจะเสร็จสิ้นปลายเดือนธันวาคมปี 2556 ถึงต้นเดือนมกราคม ปี 2557 โครงการพม่า พีเอสซี จี และอีพี 2 ซึ่งเป็นโครงการที่ตั้งอยู่บนบก ห่างจากเมืองย่างกุ้งไปทางเหนือ อยู่ระหว่างการดำเนินงานสำรวจคลื่นไหวสะเทือนแบบ 2 มิติ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคมนี้

สำหรับในประเทศเวียดนาม โครงการเวียดนาม 16-1 ประสบความสำเร็จในการเจาะหลุมประเมินผลในบริเวณ H5 ทางตอนใต้ของแหล่งเทจั๊กจั๋ง (Te Glac Trang Field – TGT) และเตรียมติดตั้งแท่นผลิตเพื่อรองรับการผลิตต่อไป ในไตรมาสที่ 3 นี้ โครงการเวียดนาม 16-1 มีอัตราการผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ยที่ 40,000 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรรมชาติเฉลี่ยที่ 26 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

โครงการในออสตราเลเซีย มีการดำเนินกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้ โครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย หลังจากที่ได้เริ่มผลิตน้ำมันดิบในแหล่งมอนทาราเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบประมาณ 10,000 บาร์เรลต่อวัน และในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ได้เริ่มการจำหน่ายน้ำมันดิบ ครั้งแรกในอัตราประมาณ 500,000 บาร์เรล โดยมีแผนที่จะเพิ่มอัตราการผลิตอย่างต่อเนื่องจากการเริ่มผลิตน้ำมันดิบจากหลุมผลิตใต้ทะเล และการเจาะหลุมพัฒนาเพิ่มอีก 1 หลุมในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ สำหรับแหล่งแคช/เมเปิ้ล อยู่ระหว่างการศึกษาทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์วิศวกรรม รวมถึงวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพาณิชย์และทางเลือกในการพัฒนาโครงการ ซึ่งมีแผนเจาะหลุมสำรวจเพิ่มเติมในต้นปี 2557

ส่วนการดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในเหตุการณ์มอนทาราจากบริษัทประกันภัยนั้น ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จนถึงไตรมาสที่ 3 ปี 2556 ปตท.สผ. ได้รับค่าสินไหมทดแทนทั้งสิ้น 212 ล้านดอลล่าร์ สรอ. ขณะนี้อยู่ระหว่างการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในส่วนที่เหลือ และคาดว่าจะได้รับค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวประมาณไตรมาส 4 ปี 2556 และปี 2557 สำหรับการเรียกร้องค่าชดเชยจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลจากแหล่งมอนทาราโดยรัฐบาลอินโดนีเซียนั้น บริษัทฯ ยังคงเจรจากับรัฐบาลอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักการที่จะพิสูจน์หลักฐานและผลกระทบ (หากมี) โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์

โครงการในอเมริกาเหนือ มีการดำเนินกิจกรรมที่สำคัญในโครงการแคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี ดังนี้ แหล่ง Leismer มีอัตราการผลิตบิทูเมนในไตรมาส 3 โดยเฉลี่ยประมาณ 15,960 บาร์เรลต่อวัน ขณะนี้ อยู่ระหว่างการออกแบบทางวิศวกรรม (Front End Engineering Design – FEED) เพื่อขยายกำลังผลิตเป็นประมาณ 40,000 บาร์เรลต่อวัน ส่วนแหล่ง Corner กำลังดำเนินการออกแบบทางวิศวกรรม (FEED) เช่นกัน ซึ่งมีกำลังการผลิตที่ประมาณ 40,000 บาร์เรลต่อวัน

โครงการในแอฟริกาและตะวันออกกลาง มีการดำเนินกิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้ โครงการแอลจีเรีย 433เอ และ 416บี เสร็จสิ้นการเจาะหลุมพัฒนาที่ 6 จาก 12 หลุม ขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างระบบการผลิตและระบบท่อขนส่ง รวมทั้ง ก่อสร้างที่พักอาศัยและสาธารณูปโภค คาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ปลายปี 2557 โครงการแอลจีเรีย ฮาสสิ เบอร์ ราเคช อยู่ระหว่างการดำเนินงานสำรวจช่วงที่ 2 (เดือนพฤษภาคม 2556 – พฤษภาคม 2558) โดยมีแผนที่จะเริ่มการสำรวจคลื่นไหวสะเทือนและเจาะหลุมประเมินผลในไตรมาสแรกของปี 2557 โครงการโมซัมบิก โรวูม่า ออฟชอร์ แอเรีย วัน อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง และวางแผนการก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวบนบก (Liquefied Natural Gas – LNG) นอกจากนี้ ได้มีการค้นพบก๊าซธรรมชาติจากการเจาะหลุมสำรวจและหลุมประเมินผลรวมทั้งสิ้น 4 หลุม ส่วนโครงการเคนยา แอล 5 แอล 7 แอล 11เอ แอล 11บี และแอล 12 ได้ทำการเจาะหลุมสำรวจ Kiboko-1 ที่แปลงแอล11บี แต่ไม่พบศักยภาพเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ ผลของการสำรวจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางธรณีวิทยาต่อไปได้

ที่มา -