ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

ก๊าซหมดอ่าวไทย "กฟผ." เล็งขึ้นค่าไฟฟ้า

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 10, 13, 19:58:01 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ กุมขมับ ปตท.ยืนยันอีก 10 ปีก๊าซธรรมชาติจะหมดไปจากอ่าวไทย กระทบต้นทุนเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้ารัฐ-เอกชนพุ่งพรวด ทางเลือกเดียวต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว LNG มาใช้ทดแทน แต่ราคาแพงกว่าก๊าซในอ่าวไทยเกือบ 2 เท่า ด้านผู้ว่าการ กฟผ.บอกให้ทำใจ อีก 10 ปีนี้ค่าไฟฟ้ามีสิทธิ์ปรับขึ้นเป็นหน่วยละ 5 บาท


สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้เผยแพร่รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย (Facts about Thailand Natural Gas) ฉบับล่าสุด ระบุนับจากปี 2524 ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นที่นำก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยขึ้นมาใช้จนถึงปี 2554 มีการผลิตก๊าซธรรมชาติไปแล้ว 15.5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ในขณะที่ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติ ณ สิ้นปี 2553 มีจำนวนเหลืออยู่เพียง 10.6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต


และหากประเทศไทยยังคงผลิตก๊าซอยู่ในอัตราเฉลี่ยปีละ 1 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และไม่มีการขุดพบปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองเพิ่มเติม ดังนั้นถ้ายังใช้ก๊าซเท่าปริมาณปัจจุบัน ใน 10 ปีข้างหน้าปริมาณก๊าซธรรมชาติก็จะหมดจากอ่าวไทย กระทบอุตสาหกรรมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง โดยเฉพาะระบบการผลิตไฟฟ้าของประเทศ

ก๊าซในประเทศป้อนอยู่ 58%

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานข้อเท็จจริงในเอกสารสถานการณ์ก๊าซธรรมชาติของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ฉบับเดือนมกราคม 2556 ได้ให้รายละเอียดก๊าซธรรมชาติที่ประเทศไทยจัดหาทั้งหมด ปัจจุบันใช้อยู่ในปริมาณเฉลี่ยรวม 4,371 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ในจำนวนนี้คิดเป็นก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้ภายในประเทศเพียงร้อยละ 58 หรือ 2,534 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน

ส่วนก๊าซธรรมชาติที่เหลือนั้นต้องนำเข้าคิดเป็นร้อยละ 23 หรือ 990 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน, จากพื้นที่การผลิตร่วมไทย-มาเลเซีย (JDA) คิดเป็นร้อยละ 17 หรือ 752 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน และการนำเข้าในรูปของก๊าซธรรมชาติเหลว LNG อีกร้อยละ 2 หรือ 95 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าปัจจุบันประเทศไทยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติภายในประเทศประมาณครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 58 นอกเหนือจากนี้ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศ ในขณะที่ราคาก๊าซธรรมชาติพบว่า ราคาก๊าซจากอ่าวไทยมีราคาถูกที่สุด หรือสูตรราคาก๊าซที่ผลิตภายในประเทศ (ราคาปากหลุม-wellhead price) ถูกกำหนดให้การแปรผันของราคาก๊าซธรรมชาติอยู่ในระดับประมาณ "กึ่งหนึ่ง" ของการแปรผันของราคาน้ำมัน นั่นหมายความว่า ก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า มีต้นทุน "ต่ำกว่า" การใช้น้ำมันดีเซลในการผลิต เมื่อเฉลี่ยราคาก๊าซธรรมชาติที่ผลิตภายในประเทศทั้งหมดแล้วจะอยู่ที่ราคาประมาณ 182 บาท/ล้าน BTU

ในขณะที่ราคาก๊าซธรรมชาติที่นำเข้าจากเมียนมาร์ (ยาดานา-เยตากุน) เฉลี่ยอยู่ที่ 308 บาท/ล้าน BTU, ราคาก๊าซจากแหล่ง JDA อยู่ที่ประมาณ 169 บาท/ล้าน BTU และราคาก๊าซ LNG นำเข้า ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 449-500 บาท/ล้าน BTU (ราคาเฉลี่ยปี 2554)

แนวโน้ม 10 ปีหน้าพึ่งก๊าซนำเข้า

"แน่นอนว่าในอนาคตอันใกล้ หรืออีก 10 ปีข้างหน้าหากก๊าซหมดจากอ่าวไทย ไทยจะต้องพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากนอกประเทศ จากข้อเท็จจริงที่ว่าไม่มีสัมปทานแหล่งก๊าซขนาดใหญ่ในเมียนมาร์ ประกอบกับเมียนมาร์เองย่อมสงวนก๊าซธรรมชาติไว้ใช้พัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ ก๊าซจาก JDA ก็ต้องแบ่งกับมาเลเซีย ทางเดียวที่เหลืออยู่ก็คือ การนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวในรูปของ LNG จากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพงกว่าก๊าซธรรมชาติที่ผลิตในอ่าวไทยมากกว่าเท่าตัว กลายเป็นปัญหาสำคัญของโรงไฟฟ้าภายในประเทศที่ต้องพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงอยู่" แหล่งข่าวในกระทรวงพลังงานกล่าว

ด้านนายรัตนชัย นามวงศ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการวิศวกรรมโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ซึ่งดูแลเรื่องความมั่นคงและจัดหาพลังงานให้กับประเทศแจ้งเข้ามาแล้ว จากการสำรวจปริมาณก๊าซในอ่าวไทยล่าสุด นับจากนี้ไปอีก 10 ปีก๊าซจะหมด แม้จะมีก๊าซธรรมชาติหลงเหลืออยู่ แต่ปริมาณน้อย และการนำก๊าซขึ้นมา

เป็นเรื่องยาก "ที่สำคัญไม่คุ้มทุนกับปริมาณที่มี"

ทางเดียวที่เป็นไปได้ในการจัดหาเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าที่ กฟผ.ดูแลอยู่ในปัจจุบันก็คือ ต้องพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG ขณะที่การใช้น้ำมันดีเซลก็แพงมหาศาล จากปัจจุบันที่รัฐบาลตรึงราคาไว้ที่ลิตรละ 30 บาท ซึ่งหากใช้ในราคานี้จริง ค่าไฟฟ้าจะต้องปรับขึ้นจากปัจจุบันหน่วยละ 3.50 บาทเป็นไม่ต่ำกว่า 10 บาท


"ทางเลือกในการใช้เชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้ามันมีน้อยลง อย่างการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ำสุด (เปรียบเทียบต้นทุนการผลิตจากเชื้อเพลิงต่างประเภทตามตารางประกอบ) ก็ยังต้องรอความชัดเจนจากรัฐบาล ตามแผนต้องมี 4 โรง หรือ 4,000 เมกะวัตต์ (MW) ตอนนี้ถูกตัดลงเหลือแค่ 2 โรง 2,000 MW ยังไม่รู้ว่าจะตั้งได้หรือเปล่า ก๊าซก็กำลังจะหมดไปจากอ่าวไทย ถ่านหินลิกไนต์ก็จะไม่มีในไทยแล้ว ที่แม่เมาะหน่วยการผลิตเดิมกำลังจะหมดอายุลง (หน่วยที่ 4-7) จากปริมาณลิกไนต์ที่เหลืออยู่เพียงพอแค่ตั้งโรงไฟฟ้าขนาด 600 MW ได้อีกโรงเดียว (รวมปัจจุบัน 1,200 MW)

โรงไฟฟ้าถ่านหินก็ต้องนำเข้า แถมเวลานี้ก็ถูกต่อต้านอีกที่กระบี่" นายรัตนชัยกล่าว

เพิ่มใช้ LNG กระทบชิ่งค่าไฟ

ล่าสุด บริษัท ปตท.ได้เริ่มนำก๊าซ LNG นำเข้าบางส่วนปนเข้ามาในท่อก๊าซที่ส่งให้ กฟผ.แล้ว โดยส่วนหนึ่งมีผลทำให้อัตราค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่า Ft แพงขึ้นกว่าเดิมที่ใช้เฉพาะก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย "ก็จำเป็นต้องปรับขึ้นราคา ไม่อย่างนั้นเราจะหาเชื้อเพลิงมาจากไหน แต่สูตรราคาก๊าซส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมัน ซึ่งเขามองเป็นเนื้อเดียวกัน ราคาไฟฟ้าของประเทศไทยในอนาคตมีแนวโน้มจะแพงมากขึ้น (10 ปีก่อนก๊าซหมดจากอ่าวไทย) เพราะตอนนี้ต้องปน LNG ที่มีราคาสูงกว่าก๊าซจากอ่าวไทยเกือบ 2 เท่า ล่าสุดที่ผมติดตามดูราคา LNG ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาอยู่ที่ 550 บาท/ล้าน BTU ส่วนราคาก๊าซในอ่าวไทยอยู่ที่ 250 บาท/ล้าน BTU จะเห็นว่าราคามันแตกต่างกันแยะมาก"

ขณะที่นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ในอนาคตโรงไฟฟ้าทั้งของ กฟผ. หรือของผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) จะต้องใช้ LNG เป็นเชื้อเพลิง ราคาก๊าซ LNG จะวิ่งอยู่ในระดับ 500-600 บาท/ล้าน BTU ขณะที่ราคาก๊าซในอ่าวไทยอยู่ที่ 250-300 บาท/ล้าน BTU ดังนั้น แนวโน้มค่าไฟฟ้าจะต้องขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 5 บาท/หน่วยแน่นอน หรือเฉลี่ยภาพรวมในอนาคตค่าไฟฟ้าคงอยู่ระหว่าง 4-5 บาท/หน่วยแน่ ตรงนี้เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคจะต้องยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

ที่มา -