ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

ครม. ญี่ปุ่นอนุมัติแผนกลาโหมใหม่ เสริมเขี้ยวเล็บกองทัพรับมือ ‘ปักกิ่ง’

เริ่มโดย mrtnews, ธ.ค 19, 13, 19:53:13 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

เอเจนซีส์ -  คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นอนุมัติในวันอังคาร (17 ธ.ค. 56) แผนยุทธศาสตร์ทางทหารใหม่ 2 ฉบับ ซึ่งจะใช้จ่ายงบประมาณกลาโหมมากขึ้นอีก 5% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยจะจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ไฮเทคอย่าง โดรนตรวจการณ์ เป็นครั้งแรก ตลอดจนเพิ่มเครื่องบินขับไล่และเรือพิฆาตทันสมัย ด้วยจุดประสงค์เพื่อปกป้องหมู่เกาะที่อยู่ห่างไกล ตลอดจนเสริมสร้างบทบาทของแดนอาทิตย์อุทัยในการรักษาเสถียรภาพระหว่างประเทศ ขณะที่จีนกำลังเร่งขยายอิทธิพล และเกาหลีเหนือมีพฤติกรรมที่คาดเดาได้ยากยิ่งขึ้น


เอกสารทางด้านยุทธศาสตร์การทหารล่าสุดทั้ง 2 ฉบับ อันได้แก่ แนวทางปฏิบัติด้านการกลาโหมฉบับใหม่ และแผนการสร้างเสริมกองทัพฉบับใหม่ช่วงปี 2014-2019 นี้ ยังกำหนดให้ปรับเปลี่ยนเป้าหมายการทหารที่สำคัญสูงสุดของญี่ปุ่น จากอาณาบริเวณทางด้านเหนือของประเทศซึ่งอยู่ประชิดกับรัสเซีย มาเป็นพื้นที่ด้านใต้และตะวันตก โดยเฉพาะหมู่เกาะในทะเลจีนตะวันออก ซึ่งโตเกียวและปักกิ่งกำลังแย่งชิงสิทธิ์อธิปไตยกันอยู่

ยุทธศาสตร์การทหารใหม่นี้ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลการผลักดันของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ที่ต้องการเพิ่มบทบาททางการทหารของญี่ปุ่นในกิจการโลก

พวกผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ยุทธศาสตร์และแผนกลาโหมใหม่นี้ สอดคล้องกับดุลอำนาจของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงตลอดหลายปีที่ผ่านมา กระนั้น ชาติเพื่อนบ้านของญี่ปุ่น รวมถึงชาวอาทิตย์อุทัยบางส่วน กังวลว่า แนวทางเหล่านี้ อาจทำให้ญี่ปุ่นละทิ้งจุดยืนในการจำกัดบทบาทกองทัพให้เป็นเพียงกองกำลังปกป้องตนเอง ตามรัฐธรรมนูญสันติภาพภายหลังญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2

โคอิชิ นากาโนะ อาจารย์ด้านการเมืองระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยโซเฟีย ในกรุงโตเกียว บอกว่า "ผู้คนจำนวนมากทั้งภายในและภายนอกญี่ปุ่น กำลังรู้สึกวิตกว่า บางทีอาเบะอาจจะไม่มีเรียนรู้อย่างแท้จริงถึงบทเรียนจากประวัติศาสตร์ช่วงสงครามของญี่ปุ่น และเกิดความตระหนักว่าการที่ญี่ปุ่นแสดงบทบาทเพิ่มมากขึ้นนั้น มันมีอันตรายจริงๆ ที่จะหมายถึงว่า ในระยะยาวแล้วลัทธินิยมการทหารในญี่ปุ่นจะกลับผงาดขึ้นมาอีก"

สำหรับประเด็นนี้ อาเบะยืนยันว่า ยุทธศาสตร์ใหม่จะทำให้กองทัพญี่ปุ่นสามารถแบกรับความรับผิดชอบในกิจการโลกอย่างดียิ่งขึ้นภายใต้สิ่งที่เขาเรียกว่า "ลัทธิสันตินิยมเชิงรุก"

ขณะที่ยุทธศาสตร์การทหารใหม่ของญี่ปุ่นยังประกอบด้วยการจัดตั้งสำนักงานในรูปแบบเดียวกับสภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ โดยเป็นที่คาดหมายกันว่า จะรวมศูนย์อำนาจไว้ในมือนักการการเมืองและข้าราชการอาวุโสกลุ่มเล็กๆ

ภายใต้แผนการเสริมสร้างกองทัพล่าสุด ญี่ปุ่นจะปรับเปลี่ยนจุดเน้นหนักที่สุดในการป้องกันประเทศ จากด้านเหนือ ไปยังทะเลตะวันออก โดยที่จะมีการโยกย้ายกองทหารซึ่งเคยตั้งอยู่ทางเหนือไปประจำการในหมู่เกาะห่างไกลทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ รวมทั้งจัดตั้งกองกำลังสะเทินน้ำสะเทินบกคล้ายกับหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดิน (กองทัพบก) เพื่อรับมือได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่ต่างชาติบุกรุกหมู่เกาะของญี่ปุ่น

โตเกียวยังมีแผนติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าและระบบต่อต้านขีปนาวุธเพื่อเพิ่มการเก็บรวบรวมข่าวกรองในบริเวณดังกล่าว

ระหว่างช่วงเวลา 5 ปีงบประมาณ นั่นคือตั้งแต่เดือนเมษายน 2014 จนถึงเดือนมีนาคม 2019 ญี่ปุ่นมีแผนจัดซื้ออากาศยานไร้นักบิน (โดรน) ประเภทตรวจการณ์ เช่น โกลบัล ฮอว์ก จำนวน 3 ลำ, เครื่องบินขึ้นลงทางดิ่ง "ออสเปรย์" 17 ลำ, เครื่องบินขับไล่ เอฟ-35 เอ ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยีล่องหน "สเตลธ์" จำนวน 28 ลำ, ยานยนต์สะเทินน้ำสะเทินบก 52 ลำ, เรือดำน้ำ 5 ลำ และเรือพิฆาต 5 ลำ ในจำนวนนี้จะติดตั้งระบบต่อต้านขีปนาวุธเอจิส 2 ลำ รวมทั้งหมดเป็นมูลค่าประมาณ 247,000 ล้านดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้น 5% จากแผน 5 ปีฉบับก่อน ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การเพิ่มสมรรถนะในการตรวจการณ์และปกป้องหมู่เกาะห่างไกล


สำหรับแนวทางปฏิบัติด้านการกลาโหมฉบับใหม่ ยังระบุว่า ญี่ปุ่น "วิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง" เกี่ยวกับการปรากฏตัวทางทะเลและการปรากฏตัวทางการทหารของจีนในทะเลจีนตะวันออก ซึ่งกำลังเพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนการที่แดนมังกรขาดความโปร่งใสและนิยมวิธี "ใช้อำนาจบาตรใหญ่" พร้อมกับนั้น ยุทธศาสตร์การทหารนี้ก็บอกว่า ขณะที่ความเป็นพันธมิตรระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐฯยังคงเป็นเสาหลักของการป้องกันประเทศ แต่ญี่ปุ่นก็ควรหาทางเพิ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงกับเกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, ชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, และอินเดียด้วย

นอกจากพุ่งเป้าหมายไปที่แดนมังกรแล้ว แนวทางปฏิบัติด้านการกลาโหมใหม่ของญี่ปุ่น ยังเน้นการเพิ่มสมรรถนะของระบบต่อต้านขีปนาวุธเพื่อรับมือภัยคุกคามร้ายแรงและชัดเจนจากเกาหลีเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่คิม จองอึน ผู้นำสูงสุดเปียงยาง สั่งประหารอาเขยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์พากันเตือนว่า โสมแดงมีพฤติกรรมที่คาดเดาไม่ได้มากขึ้น

ที่มา -