ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

ประธานสมาคมเจ้าของเรือไทย ภูมินทร์ หะรินสุต ส่งออกทรุดเรือไทยซบ

เริ่มโดย mrtnews, ธ.ค 19, 13, 20:16:53 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ธุรกิจเดินเรือของไทยนับเป็นธุรกิจที่ไม่ค่อยมีการพูดถึงกันมากนัก ทั้งที่การส่งออกสินค้าของไทยไปต่างประเทศส่วนใหญ่อาศัยการขนส่งสินค้าทาง เรือถึง 95% ของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ธุรกิจเดินเรือส่งสินค้าระหว่างประเทศในปี 2556 นับว่าประสบปัญหาอย่างมาก เนื่องจากการส่งออกลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสินค้าเกษตรหลายชนิด เช่น ข้าว มันสำปะหลัง รวมถึงการแข่งขันสูง กฎระเบียบต่าง ๆ ยังไม่เอื้อต่อการแข่งขันธุรกิจเดินเรือของไทยกับต่างประเทศ ส่งผลให้ธุรกิจเดินเรือของไทยอาจจะต้องเผชิญความยากลำบาก จนอาจเสียดุลการค้าบริการให้กับต่างประเทศมากขึ้น "ประชาชาติธุรกิจ" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ "นายภูมินทร์ หะรินสุต" ประธานสมาคมเจ้าของเรือไทยถึงทิศทางธุรกิจเดินเรือไทยจากนี้ไป


- สถานการณ์ธุรกิจเรือไทยปัจจุบัน
ขณะ นี้จำนวนเรือที่ชักธงไทยลดลงไป 30-40 ลำ จากที่มีอยู่ 300-400 ลำ ในช่วงเวลา 3 ปี เรือไทยจะย้ายไปชักธงต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะชักธงสิงคโปร์ เพราะแม้กฎระเบียบจะเข้มงวด แต่สิงคโปร์มีความชัดเจน และยังได้สิทธิทางภาษี ไม่เหมือนไทย ซึ่งธุรกิจเดินเรือหรือการขนส่งทางเรือในประเทศไทย จากอดีตจนถึงปัจจุบันไม่ได้รับการพัฒนาหากเทียบกับการขนส่งทางบก และยังมีกฎระเบียบที่ทำให้เกิดความเสียเปรียบ มีค่าใช้จ่ายสูงทั้งในเรื่องของค่าธรรมเนียมเดินเรือ ค่าดูแลความปลอดภัย ความสะอาด ท่าเรือ อีกทั้งยังประสบปัญหาต้องจ่ายค่าระวางเรือไม่เหมาะสม หรือเต็มจำนวน ทั้งที่ไม่สามารถเข้าไปใช้บริการท่าเทียบเรือของรัฐบาลที่สร้างไว้ให้บริการ ได้ เพราะเป็นท่าเรือผิดประเภท หรือสร้างในทำเลที่ไม่เหมาะสม เช่น ท่าเรือปัตตานี ท่าเรือสุราษฎร์ธานี ที่เป็นท่าเรือในประเทศ หรือท่าเรือระนอง ซึ่งเป็นท่าเรือระหว่างประเทศ ลงทุนไปกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ไม่มีคนใช้ เนื่องจากหลังที่ตั้งของท่าเรือเป็นหุบเขา รถขนส่งสินค้าไม่สามารถขึ้นลงสินค้าได้ หรือระเบียบการเก็บค่าธรรมเนียมเรือไทยเท่ากับเรือต่างประเทศ ทั้งที่ในความจริงการเดินเรือสินค้าตามชายฝั่งกับการเดินเรือส่งสินค้า ระหว่างประเทศการแข่งขันไม่เหมือนกัน จะเก็บค่าธรรมเนียมเท่ากันไม่ได้ ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้ทำอะไร ทำให้อนาคตผู้ประกอบการเดินเรือของไทยลำบาก แข่งขันไม่ได้

- หากเรือไทยหันไปชักธงต่างประเทศจะมีผลอย่างไร
ผล กระทบจะทำให้ไทยเสียดุลการค้าค่าบริการเดินเรือ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาทของการขนส่งทางทะเล จากค่าระวางเรือ จากการนำเข้า ส่งออกสินค้าในแต่ละปี เช่น ปี 2555 ไทยเสียดุลการค้าค่าบริการทางเรือประมาณ 2 แสนล้านบาท ขณะที่ปี 2556 น่าจะอยู่ประมาณนี้

ส่วนตัวเลขแน่ชัดต้องรอทางสำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และในอนาคตกองเรือไทยที่เคยใหญ่กว่าบรูไน กัมพูชา เมียนมาร์ ลาว อาจจะแพ้กัมพูชาก็ได้ เพราะกัมพูชาเปิดอำนวยความสะดวกด้านการจดทะเบียนเรือ สิทธิภาษี สิทธิต่าง ๆ ให้กับผู้ประกอบการเดินเรือมากกว่าไทย แม้ทางเข้าออกการเดินเรือของกัมพูชาจะมีทางเดียว โดยบางครั้งเรือกัมพูชาไม่ต้องเข้าท่าที่กัมพูชาก็ได้ เพียงชักธงกัมพูชา ก็ทำธุรกิจ และกัมพูชาก็รอรับรายได้

- แนวทางแก้ไขปัญหา
ธุรกิจ เดินเรือหรือพาณิชย์นาวีต้องมีกฎหมายพิเศษ เฉพาะธุรกิจเดินเรือ แยกออกจากกฎหมายการขนส่งทางบก เพื่อเอื้อให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ จากปัจจุบันไทยมีพระราชบัญญัติเดินเรือในน่านน้ำไทย เป็นกฎหมายที่กำกับดูแลเรือ แต่ยังล้าสมัย การจดทะเบียนเรือของกรมเจ้าท่าก็ล่าช้ากว่าต่างประเทศ เช่น การโอนกรรมสิทธิ์ จากเดิม 1 เดือนลดมาเหลือ 7 วัน ดีขึ้น แต่หากเทียบกับสิงคโปร์ใช้เวลาเพียง 1 วัน หรือการปรับปรุงเรื่องการเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ไม่เอื้อต่อเรือไทย เรื่องภาษีเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูก่อน เพราะต่างชาติไม่มีการเสียภาษีขนส่งทางเรือ ตัวอย่างเช่น สัดส่วนเรือต่างชาติที่มีอยู่ในอ่าวไทย 90% ที่ขนส่งระหว่างแท่นขุดเจาะไปฝั่งไทยไม่เสียภาษี แต่ไทยต้องเสียภาษี และธุรกิจเดินเรือของไทยต้องมีการพัฒนาเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านพาณิชย์นาวี อีกทั้งสำนักงาน หน่วยงานราชการด้านนี้เข้ามาดูแลเรื่องนี้น้อย

- สมาคมเคยเสนอรัฐบาลหรือไม่
เรา มีการเสนอยุทธศาสตร์ไปแล้ว ซึ่งได้ตั้งคณะทำงานส่งเสริมพาณิชย์นาวีขึ้น โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมี พ.ร.บ.ควบคุมเรื่องนี้ด้วย ส่วนความคืบหน้าของคณะทำงาน ซึ่งมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ได้จัดประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง และกำลังผลักดันร่าง พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล ซึ่งเราพยายามร่างกับกระทรวงแรงงานมา 5 ปียังไม่มีความคืบหน้า ก็เร่งดำเนินการเรื่องนี้อยู่ นอกจากนี้ รัฐบาลควรพัฒนาการค้าตามแนวชายฝั่ง โดยต้องเข้าไปดูการสร้างท่าเรือให้เป็นสาธารณะ และต้องคิดค่าธรรมเนียมให้ถูก โดยอาจเปิดประมูลให้เอกชนมารับสร้างท่าเรือ จะได้มีการแข่งขันกัน เพื่อให้มีการคิดค่าธรรมเนียมถูกลง เพื่อให้ปริมาณการใช้บริการมีมากขึ้น ไม่ใช่อยู่ได้จากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม

ที่มา -