ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

ส่งออกน้ำมันสหรัฐบูม ส่งผลกระทบเรือน้ำมันและบรรดาคู่แข่งโรงกลั่นน้ำมันในเอเชีย

เริ่มโดย mrtnews, ม.ค 06, 14, 20:39:45 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

บรรดาบริษัทโรงกลั่นน้ำมันในเอเชียกลายเป็นผู้เล่นรายสำคัญในตลาดโลกสำหรับเชื้อเพลิงเหลว ซึ่งเป็นผลจากการลงทุนในโรงกลั่นขนาดใหญ่และทันสมัย แต่ยังต้องเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากสหรัฐ


โรงกลั่นน้ำมันหลายแห่งในสหรัฐสามารถเข้าถึงน้ำมันจากหินดินดาน หรือหินเชล ภายในประเทศที่มีราคาค่อนข้างถูก และน้ำมันดิบจากแคนาดาได้มากขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดส่งออกเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเบนซินและดีเซล

บรรดาคู่แข่งในเอเชียเริ่มรับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น หลังเรือบรรทุกน้ำมันที่ออกจากท่าเรือในสหรัฐ พากันไปขนถ่ายสินค้าในยุโรป และอเมริกาใต้ ทั้งในปัจจุบัน บริษัทหลายแห่งของสหรัฐ ก็เริ่มหันมาลงทุนในเอเชียด้วย

เทรดเดอร์ในสิงคโปร์ ระบุว่า ช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา บีพี และวิทอล กรุ๊ป 2 ยักษ์ใหญ่แห่งอุตสาหกรรมน้ำมันสหรัฐ บรรลุข้อตกงที่จะขายน้ำมันสำหรับเครื่องบินไอพ่นให้กับลูกค้าในจีน การเคลื่อนไหวซึ่งถือเป็นการสวนกระแสกาไหลเวียนของตลาดตามปกติ และตอกย้ำถึงผลกระทบที่แหล่งน้ำมันทางเลือก กำลังมีต่อการค้าน้ำมันโลก

ก่อนหน้านี้ ในเดือน ก.พ. ปีที่แล้ว โตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ (เทปโก) ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของญี่ปุ่น เคยระบุว่า บริษัทจะนำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือแอลพีจีปริมาณ 2 หมื่นตันจากบริษัทเอนเตอร์ไพรซ์ โปรดักส์ พาร์ทเนอร์ ของสหรัฐในช่วงระหว่างปี 2556 - 2559 ข้อตกลงดังกล่าวถือว่าสมเหตุสมผลสำหรับเทปโก ซึ่งจำเป็นต้องซื้อไฮโดรคาร์บอนเพิ่มเป็นปริมาณมาก หลังจากที่ระงับการดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของตนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อเดือนมี.ค. 2554

ข้อมูลจากธนาคารดีเอ็นบีระบุว่า ก๊าซหุงต้มในสหรัฐมีราคาอยู่ที่ประมาณ 620 ดอลลาร์ต่อตัน เทียบกับในจีนที่มีราคากว่า 1,000 ดอลลาร์ต่อตัน ขณะที่ก๊าซบิวเทนก็มีส่วนต่างราคามากกว่า ซึ่งนายลูเชียน พักเลียเรซิ ประธานบริหารมูลนิธิวิจัยนโยบายพลังงาน องค์กรไม่หวังผลกำไรในวอชิงตัน สหรัฐ ชี้ว่า ความแตกต่างด้านราคานี้ ทำให้แอลพีจีที่ส่งออกจากสหรัฐ มีความน่าสนใจมากขึ้น

ทั้งนี้ ก๊าซแอลพีจีผลิตจากไฮโดรคาร์บอนที่เรียกว่าก๊าซเหลวธรรมชาติซึ่งได้มาจากการสกัดหินเชลด้วยไฮดรอลิค อันเป็นการปฏิวัติเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่ทำให้สหรัฐทะยานขึ้นเป็นอันดับ 1 ในด้านการผลิตพลังงานทั่วโลก

กระทั่งปัจจุบัน ผลผลิตน้ำมันของสหรัฐส่วนใหญ่ส่งไปยังตลาดหลายแห่งที่อยู่ใกล้กับศูนย์กลางการกลั่นน้ำมันและรอบอ่าวเม็กซิโก ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงกลั่นน้ำมันสหรัฐมากกว่า 40%


ผู้ค้ายังคาดการณ์ว่า การส่งออกน้ำมันดีเซลไปยุโรปเพิ่มขึ้น 2 เท่าเป็นประมาณ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา และเมื่อจากดูภาพรวม การนำเข้าของยุโรปยังคงอยู่ในระดับค่อนข้างมีเสถียรภาพ โดยอยู่ที่ระหว่าง 3-4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผลกำไรจากการส่งออกน้ำมันไปยุโรปจากเอเชีย รัสเซีย และตะวันออกกลาง

นอกจากนี้ สหรัฐอาจจะสามารถชิงส่วนแบ่งการส่งออกน้ำมันของเอเชียได้มากขึ้นอย่างมหาศาล ถ้าหากการขยายคลองปานามาแล้วเสร็จในปี 2559 ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะลดต้นทุนการส่งออกและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาให้กับภาคส่งออกของสหรัฐอีกด้วย

ที่มา -