ข่าว:

ห้ามโพสโฆษณา สินค้าที่ดูแล้วขัดต่อ ศีลธรรม ประเพณี หรือกฏหมายของไทย เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

สถานการณ์พลังงานเข้าสู่ภาวะวิกฤติก๊าซอ่าวไทย / เมียนมาร์

เริ่มโดย mrtnews, ม.ค 14, 14, 19:18:36 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

สถานการณ์พลังงานของประเทศในขณะนี้ ดูเหมือนว่ากำลังค่อยๆเข้าสู่ภาวะวิกฤติก็ว่าได้ เพราะไปพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติ ไฟฟ้า และน้ำมัน ในขณะที่การจัดหาพลังงานภายในประเทศก็เป็นไปได้ค่อนข้างยากลำบากอันเกิดจากปัญหาการต่อต้านในการแสวงหาแหล่งปิโตรเลียมที่ทำให้การเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ยังไม่สามารถดำเนินการได้ จนส่งผลให้ขณะนี้ปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเริ่มลดลงทุกปี


อีกทั้ง ปัญหาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่จะกระจายความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิงจากการพึ่งพาก๊าซผลิตไฟฟ้ามากถึง 70 % ก็ดูเหมือนว่ายังไม่ได้รับการตอบรับ ทางเลือกเดียวที่กระทรวงพลังงานทำได้คือการไปพึ่งการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี ที่มีราคาแพงกว่าก๊าซจากอ่าวไทยหลายเท่าตัว ซึ่งสุดท้ายแล้วผลกระทบที่เกิดขึ้นจะสะท้อนมายังผู้บริโภคในการต้องแบกรับภาระค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น

การหยุดจ่ายก๊าซของเมียนมาร์และการหยุดซ่อมแหล่งก๊าซในอ่าวไทย ที่หลังจากนี้ไปจะต้องเกิดขึ้นทุกปี เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เห็นว่า ขณะนี้ประเทศเริ่มยืนอยู่บนขาของตัวเองได้ค่อนข้างยากที่จะรับมือกับวิกฤติการขาดแคลนไฟฟ้าที่จะตามมาในอนาคต  ขณะที่นโยบายต่างๆ ที่จะออกมาแก้ไขก็ต้องสะดุดลงเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรในขณะนี้ ทำให้การบริหารนโยบายจึงตกอยู่กับหัวเรือใหญ่อย่างนายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในการฝ่าข้อกังวลวิกฤติพลังงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคตผ่านการสัมภาษณ์ของ"ฐานเศรษฐกิจ"

-ไทยกำลังเผชิญวิกฤติพลังงาน

หากพิจารณาข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ที่ระบุถึง การผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในอ่าวไทย เริ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากเดิมที่เคยสามารถผลิตก๊าซจ่ายได้ที่ประมาณ 4 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขณะนี้ได้ลดลงมาเหลือประมาณ 3.8-3.9 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หรือลดลงมาประมาณ 5-10% และกระทรวงพลังงานมีความกังวลว่าในปี 2558 ปริมาณการผลิตก๊าซจะลดลงอีก เพราะไม่สามารถทำการสำรวจขุดเจาะหาแหล่งปิโตรเลียมได้เพิ่มเติม เพราะยังมีการต่อต้านของประชาชน รวมทั้งไม่สามารถเปิดให้สัมปทานขุดเจาะสำรวจแหล่งปิโตรเลียมใหม่ๆได้  ทั้งที่มีแผนจะเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุน ซึ่งล่าช้ามาร่วม 2 ปีแล้ว

สิ่งที่เกิดขึ้นจึงทำให้ไม่มีการผลิตก๊าซจากแหล่งใหม่เข้ามาเสริมกับแหล่งเก่าที่นับวันว่าจะหมดลงทำให้เกิดความไม่เสถียร และไม่มั่นคงด้านพลังงาน ขณะที่การกระจายเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน กลับได้รับการต่อต้านทั้งที่มีความมั่นคงมากกว่า ดังนั้นทุกครั้งที่เมียนมาร์หยุดส่งก๊าซ ก็จะกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า ทำให้ต้องหันไปใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาผลิตไฟฟ้าแทน ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น ถือเป็นความเสี่ยงของประเทศในการพึ่งพาพลังงานจากนอกประเทศ

- ต้องหาทางออกเรื่องนี้

ดังนั้น ปัญหาที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ขณะนี้ ถือเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่จะต้องเร่งนำเสนอรัฐบาลให้รับทราบ หากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ในการหาทางออกกับวิกฤติพลังงานที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้สัมปทานแหล่งปิโตรเลียม รอบที่ 21 หรือการเร่งสร้างความเข้าใจกับประชาชนในการขุดเจาะแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มเติมจากที่ดำเนินการอยู่ รวมถึงการสร้างความเข้าใจการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพราะปัจจุบันปริมาณก๊าซในอ่าวไทยที่ลดลง ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีจากต่างประเทศที่มีราคาแพง และปริมาณการนำเข้าจะเพิ่มขึ้นทุกปี

โดยในปี 2556 ที่ผ่านมามีการนำเข้าแอลเอ็นจีในปริมาณ 3 ล้านตัน และคาดว่าภายในปี 2558 จะขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 5 ล้านตัน ซึ่งเต็มศักยภาพของคลังที่จะรองรับได้ จึงทำให้ที่ผ่านมาได้อนุมัติให้มีการก่อสร้างคลังรับแอลเอ็นจีเฟสที่ 2 ขึ้นมาอีก 5 ล้านตัน จะแล้วเสร็จในปี 2558 และจะรองรับการนำเข้าได้ไปจนถึงปี 2562

เมื่อแนวโน้มปริมาณก๊าซในอ่าวไทยลดลงมาก จึงต้องเร่งศึกษาลงทุนคลังรองรับแอลเอ็นจีเฟส 3 เกิดขึ้นมาอีก 5 ล้านตัน และจะต้องดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2561 ซึ่งถือว่าเป็นการเร่งก่อสร้างคลังรองรับแอลเอ็นจีเร็วกว่าที่วางแผนไว้มาก


- พีดีพีใหม่ปรับสัดส่วนใช้ก๊าซ

การปรับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าระยะยาวหรือพีดีพี 20 ปีนี้ (ปี2557-2576) จะต้องปรับสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซลงมา และนำเชื้อเพลิงชนิดอื่นเข้ามาเสริมแทน เพื่อกระจายความเสี่ยงที่จะใช้ก๊าซให้น้อยลง และจะต้องดำเนินมาตรการประหยัดพลังงานควบคู่ไปด้วยเช่นกัน ซึ่งพีดีพีใหม่นี้ตั้งเป้าหมายที่จะลดการใช้ก๊าซลงมาให้อยู่ในระดับไม่ควรเกิน 50% จากปัจจุบันอยู่ที่ 68-70% โดยจะไปเพิ่มสัดส่วนผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด  20-30% จากปัจจุบันอยู่ที่ 10% (ยังไม่รวมลิกไนต์) และเพิ่มสัดส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศประมาณ 10% จากปัจจุบัน 5-6% ส่วนที่เหลือเป็นสัดส่วนไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนประมาณ 10%

นอกจากนี้กระทรวงพลังงาน ยังเตรียมแผนรับมือหลังลดสัดส่วนการพึ่งพาก๊าซ ด้วยการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น รวมทั้งเจรจาเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ ก็เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศไทย เพราะหากระบบพลังงานไม่มีความเสถียรแล้ว ย่อมเกิดปัญหาต่อเศรษฐกิจตามมา โดยเฉพาะภาคการผลิตกลุ่มปิโตรเคมี ที่จะต้องได้รับผลกระทบ

- เร่งสานต่อนโยบายเก่า

ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าวอีกว่า ในช่วงช่วงยุบสภา เป็นรัฐบาลรักษาการ  ทำให้นโยบายใหม่ต้องชะลอออกไปก่อน เพื่อรอรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา แต่จะเร่งสานต่อนโยบายเก่าให้เป็นไปตามเป้า โดยเฉพาะการส่งเสริมพลังงานทดแทน ซึ่งล่าสุดได้ประกาศใช้น้ำมันไบโอดีเซลบี 7 ทั่วประเทศแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 โดยการเพิ่มสัดส่วนน้ำมันปาล์มที่ผสมในดีเซลครั้งนี้ จะช่วยให้ไทยใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นและลดการซื้อน้ำมันจากต่างประเทศลงอีกทางหนึ่งด้วย แต่ช่วงนี้ต้นทุนการผลิตอาจจะเพิ่มขึ้นมา 19 สตางค์ต่อลิตร เนื่องจากปัจจุบันปริมาณน้ำมันปาล์มเหลือน้อย ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาลผลิต ส่งผลให้ราคาบี 100 อยู่ที่ 33 บาทต่อลิตร สูงกว่าราคาน้ำมันดีเซลที่ปัจจุบันรัฐบาลควบคุมไว้ไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ดังนั้นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น 19 สตางค์ต่อลิตร จะเป็นภาระที่ผู้ใช้น้ำมันดีเซลต้องแบกรับทั้งหมด เชื่อว่าในเดือนมีนาคมนี้ ผลผลิตปาล์มจะทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น และทำให้ราคาปาล์มลดต่ำลงกว่าปัจจุบันเล็กน้อย

- เชื่อฐานะกองทุนพลิกเป็นบวกกลางปีนี้

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง รับภาระอย่างหนักในการเข้าไปชดเชยราคาพลังงาน เพื่อไม่ให้ผู้บริโภครับภาระกับค่าครองชีพมากจนเกินไป เพราะต้องเข้าไปแบกรับการชดเชยนำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี การอุดหนุนน้ำมันแก๊สโซฮอล์ การชดเชยราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร จนขณะนี้ทำให้กองทุนน้ำมันฯติดลบแล้วว่า 1 พันล้านบาท

แต่ยังไม่มีความกังวลเรื่องฐานะกองทุนน้ำมันฯ เพราะจ่ายออกไปวันละ 125 ล้านบาท โดยในสิ้นเดือนมกราคม 2557 คาดว่ากองทุนจะติดลบ 3-4 พันล้านบาท เทียบกับเดือนมกราคม 2555 กองทุนน้ำมันฯติดลบ 1.57 หมื่นล้านบาท ,เดือนมกราคม 2556 ติดลบ 1.51 หมื่นล้านบาท หากสถานการณ์ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับนี้ กองทุนจะอยู่ได้อีก 8 เดือน เพราะมีกรอบวงเงินกู้ได้ถึง 3 หมื่นล้านบาท แต่ส่วนตัวเชื่อว่าทิศทางราคาพลังงาน ทั้งน้ำมันและแอลพีจี มีแนวโน้มปรับตัวลดลง ซึ่งจะทำให้ภาระกองทุนน้ำมันฯลดลงตาม เพราะในปีนี้คาดการณ์ว่าราคาดีเซลเฉลี่ยจะอยู่ที่ 28-32 บาทต่อลิตร ขณะที่แอลพีจีเดือนมกราคมนี้ อยู่ที่ 1 พันดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ,เดือนกุมภาพันธ์นี้ อยู่ที่ 903 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และเดือนมีนาคม อยู่ที่ 897 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ซึ่งจะเห็นว่าเทรนราคาพลังงานลดลง ดังนั้นคาดว่ากองทุนอาจมีโอกาสกลับมาเป็นบวกช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมนี้

ดังนั้น หากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง อาจจะมาพิจารณาขยับราคาน้ำมันดีเซลขึ้นไปบ้าง ขณะที่ราคาก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือนถึงเดือนสิงหาคมปีนี้ราคาจะปรับขึ้นไปถึง 24.82 บาทต่อกิโลกรัม จากปัจจุบัน 20.63 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งจะรวมถึงการปรับแอลพีจีภาคขนส่งขึ้นตามไปเท่ากับภาคครัวเรือนด้วยจากปัจจุบันอยู่ที่ 21.38 บาทต่อกิโลกรัม และกำลังรอลุ้นว่าจะสามารถขยับราคาก๊าซเอ็นจีวีขึ้นตามไปด้วยได้หรือไม่ ซึ่งคงต้องรอหลังมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่เสร็จ หากดำเนินการได้ก็จะช่วยลดภาระของกองทุนน้ำมันฯลงได้มาก

ส่วนกรณีที่ค่าเงินบาทอ่อนกระทบต่อราคาน้ำมันแค่ไหนนั้น ปัจจุบันเงินบาทอ่อนค่าขึ้น 10% อยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ไทยต้องซื้อน้ำมันดิบราคาแพงขึ้นด้วย ซึ่งทุกๆบาทของเงินที่อ่อนค่าลง ทำให้ไทยต้องซื้อพลังงานแพงขึ้น 10%

ที่มา -