ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

'ไทย’ จุดหมายแรก พลังงานทดแทนอาเซียน

เริ่มโดย mrtnews, ม.ค 15, 14, 20:14:14 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ในการลงนามในข้อตกลงร่วมได้ตั้งเป้าและมองหาโอกาสใหม่ ๆ ของตลาดการเปลี่ยนของเสียเป็นพลังงานทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนที่กำลังอยู่ในช่วงของการเติบโตซึ่งแต่ละประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาขยะไม่น้อยไปกว่ากัน


"ที่เราเลือกประเทศไทยเพราะไทยสนับสนุนเรื่องพลังงานทดแทนมากกว่าประเทศอื่นตอนนี้ก็เริ่มหาบริษัทที่สนใจโครงการโรงงานคัดแยกแปรรูปขยะชุมชนเพื่อนำไปเป็นพลังงานเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงพลาสมาก๊าซซิฟิเคชั่น ร่วมกับเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง (ฟิวเซลล์) ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงนี่จะเป็นแหล่งพลังงานหลักของไทยและของอาเซียนในอนาคต" เพียงขวัญ ธรรมัครกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวสต์ทูทริซิตี้ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) จำกัด ระบุเพราะขยะเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกในหลายประเทศโดยมีขยะประเภทพลาสติกหรือโฟมที่เป็นขยะซึ่งย่อยสลายได้ยากเป็นปัญหาใหญ่ขณะที่นโยบายในเรื่องพลังงานของไทยมีราคาในการรับซื้อจากเอกชนในราคาที่น่าสนใจจึงทำให้เห็นเส้นทางการคืนทุนที่ไม่ยากเกินไปแม้อาจจะต้องลงทุนค่อนข้างสูงในระยะแรกทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีและที่ดินที่จะต้องใช้พื้นที่กว้างเพื่อกองเก็บขยะสำหรับนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง

"ขยะประเภทพลาสติกที่ย่อยสลายได้ยากไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่เน่าเสียหากถูกทับถมรวมกันและมันจะยังคงอยู่อย่างนั้นไปอีกหลายปีแม้ว่าจะถูกฝังกลบแต่สำหรับเทคโนโลยีขั้นสูงที่เรานำมาใช้นั้นขยะจำพวกนี้จะกลายเป็นของมีค่าเพราะสามารถนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วให้พลังงานมากกว่าขยะประเภทอื่น ๆ เราจึงเน้นไปที่ขยะชุมชนเป็นหลัก"

พลาสมาก๊าซซิฟิเคชั่นได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มีประสิทธิภาพสูงมากในการผลิตกระแสไฟฟ้าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริงโดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศน้ำ และเถ้าขยะจากการเผาดังเช่นเทคโนโลยีเตาเผาขยะทั่วไปดังนั้น จึงเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยบรรเทาปัญหาการจัดการขยะและสามารถเป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาดอย่างแท้จริง

โดยในแผนการลงทุนเบื้องต้นบริษัทฯมีเป้าหมายที่จะลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะคัดแยกในพื้นที่ที่มีปัญหาปริมาณขยะและมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงทั้งนี้บริษัทฯได้บรรลุข้อตกลงการดำเนินการเชิงพาณิชย์มูลค่า 59 ล้านบาท (1.2 ล้านปอนด์) กับ บริษัท เอเอฟซีเอเนอจี มหาชน จำกัด (AFCEnergy PLC, AIM: AFC) บริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศอังกฤษผู้พัฒนาพลังงานเซลล์เชื้อเพลิงหรือฟิวเซลล์แนวหน้าสำหรับอุตสาหกรรมพลังงานในการนำเอาเทคโนโลยีฟิวเซลล์ของเอเอฟซีมาใช้กับโรงงานพลาสมาก๊าซซิฟิเคชั่นที่ทางบริษัทจะลงทุนสร้างในประเทศไทย

ในการลงนามในข้อตกลงร่วมได้ตั้งเป้าและมองหาโอกาสใหม่ ๆ ของตลาดการเปลี่ยนของเสียเป็นพลังงานทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนที่กำลังอยู่ในช่วงของการเติบโตซึ่งแต่ละประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาขยะไม่น้อยไปกว่ากัน

จากตัวเลขประมาณการความต้องการพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยที่มีการเติบโตประมาณร้อยละ 4.4 ต่อปีในอีกตลอด 15 ปีข้างหน้ากอปรกับปริมาณการเพิ่มของขยะชุมชนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่องประมาณร้อยละ 3.5 ต่อปีซึ่งจะก่อให้เกิดปริมาณขยะมากถึง 20 ล้านตันต่อปีใน พ.ศ. 2565 ทำให้บริษัทฯเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพและปริมาณของขยะที่เหลือเฟือที่จะทำให้การลงทุนของบริษัทฯมีความคุ้มค่าสามารถตอบสนองต่อความต้องการเร่งด่วนในการจัดการกับปัญหาการเพิ่มขึ้นของขยะชุมชนปัญหามลภาวะจากวิธีการกำจัดขยะแบบอื่นที่ขาดประสิทธิภาพและปัญหาการขาดแคลนพลังงาน


การหลอมขยะด้วยพลาสมาที่ความร้อนสูงถึง 7,000–15,000 องศาเซนติเกรด ที่เมืองบิลลิงแฮม ทีสไซด์ของอังกฤษผลิตกระแสไฟฟ้าจากการหลอมขยะได้ถึง 50 เมกะวัตต์ ป้อนสู่ชุมชนกว่า 50,000 หลังคาเรือน กำจัดขยะที่ไม่ย่อยสลายจากบ่อขยะเก่าได้มากถึง 350,000 เมตริกตันต่อปี ขณะที่เขตอุตสาหกรรมบิลล์ธอร์ปเมืองนอร์ติงแฮมเชียร์คาดว่าจะสามารถเปลี่ยนขยะจำนวน 102,000 ตันต่อปี เป็นพลังงานไฟฟ้า 10.2 เมกะวัตต์ ให้กับประชาชนประมาณ 24,000 หลังคาเรือน

หากโครงการที่ว่านี้เกิดขึ้นจริงไม่เพียงไทยและอาเซียนจะจัดการกับปัญหาโลกแตกอย่างขยะได้เท่านั้นแต่ยังจะมีความมั่นคงทางด้านพลังงานเพิ่มขึ้นไปพร้อม ๆ กันด้วย.




'ขยะ' สู่พลังงานสะอาด

เทคโนโลยีที่เวสต์ทูทริซิตี้ประเทศไทยเลือกลงทุนในการนำมาใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะคัดแยกและแปรรูปเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากฟิวเซลล์เข้ากับกระบวนการก๊าซซิฟิเคชั่นที่มีคบเพลิงพลาสมาเป็นตัวให้ความร้อนโดยฟิวเซลล์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากก๊าซเชื้อเพลิงเช่นไฮโดรเจนและออกซิเจนซึ่งจะถูกนำมาสร้างกระแสไฟฟ้าโดยตรงทำให้ประหยัดต้นทุนพลังงานไปได้มาก

ส่วนไฮโดรเจนที่ใช้นั้้นได้มาจากการแยกซินก๊าซ (Synthe- ticGas) ที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีพลาสมาก๊าซซิฟิเคชั่น (PlasmaGasification - ผลิตก๊าซเชื้อเพลิง)ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุดในการหลอมขยะด้วยพลาสมา ที่ความร้อนสูงถึง 1,250 องศาเซนติเกรด เพื่อให้เกิดก๊าซเชื้อเพลิงดังกล่าวโดยไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน.

ที่มา -