ข่าว:

รับสมัครเฉพาะชาวเรือและผู้ที่สนใจที่เป็นคนไทยเท่านั้น สมัครแล้วรออนุมัติประมาณ 2-3 วัน หากต้องการด่วนโปรดแจ้ง webmaster@marinerthai.net

Main Menu

ปตท.นำเข้าแอลเอ็นจีเพิ่ม เม.ย. 2 ลำรองรับก๊าซพม่าหยุดส่ง

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 13, 13, 19:43:20 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กรุงเทพฯ 28  ก.พ. 56  - แหล่งก๊าซยาดานายืนยันล่าสุดซ่อมฐานผลิตเสร็จภายในวันที่ 14  เมษายน ด้าน ปตท.นอกจากสั่งผลิตก๊าซในประเทศเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเตรียมนำเข้าก๊าซธรรมชาติ (แอลเอ็นจี) เดือนเมษายน เพิ่มเป็น 2 ลำเรือ จากปกติ 1 ลำเรือต่อเดือน ด้านสภาวิศวกรสนับสนุนรัฐกระจายเชื้อเพลิงและเรียกร้องรัฐเดินหน้าทำความเข้าใจโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อ


ในงานเสวนาวิชาการ "ความพร้อมของไทยต่อสถานการณ์พลังงาน" นายกมล ตรรกบุตร นายกสมาคมวิศวกร กล่าวว่า  ไม่ห่วงเรื่องไฟฟ้าจะขาดในช่วงก๊าซพม่าหยุดส่งวันที่ 5-14  เมษายน  เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลเตรียมการเต็มที่ทั้งซื้อไฟฟ้าจากลาว  พม่า  เพิ่มการผลิตจากพลังน้ำ รณรงค์ประหยัดพลังงงาน จึงเชื่อมั่นว่าไฟฟ้าจะไม่ดับและเห็นด้วยกับแนวคิดของนายพงษ์ศักดิ์  รักตพงศ์ไพศาล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่จะกระจายเชื้อเพลิงลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากปัจจุบันเกือบร้อยละ 70  เหลือร้อยละ  45  และผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน น้ำเพิ่มขึ้น แต่ไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิกแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทันที  เพราะขั้นตอนขณะนี้ไทยได้แจ้งจะผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ  (ไอเออีเอ) ไปแล้ว ซึ่งทางไอเออีเอได้สั่งให้มาทำแผนเรื่องการทำความเข้าใจกับประชน โดยที่่ผ่านมาได้สำรวจความเห็นประชาชนร้อยละ  60   เห็นด้วยกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย  แต่มีเพียงร้อยละ  20  เท่านั้นที่ไม่ต้องการเห็นการก่อสร้างในจังหวัดของตนเอง  ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจต่อเนื่อง  แต่หากจะสร้างหรือไม่ก็เป็นเรื่องในอนาคต

"ปัจจุบันค่าไฟฟ้าอยู่เกือบ  4  บาทต่อหน่วย  หากใช้นิวเคลียร์ค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ประมาณ  4  บาทต่อหน่วย แต่หากนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว   (แอลเอ็นจี)  มาผลิตไฟฟ้ามากขึ้น  ค่าไฟฟ้าจะมากกว่า  6 บาทต่อหน่วย แต่หากใช้ถ่านหินต้นทุนจะต่ำกว่านี้ โดยเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ได้ในสัดส่วนร้อยละ  98"  นายกมล  กล่าว  และระบุว่าตามแผนพัฒนาไฟฟ้าระยะยาว  (พีดีพี)ขณะนี้ยังมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 โรง  ๆ ละ 1,000 เมกะวัตต์ในปี ค.ศ. 2026  และ 2027

นายภาณุ สุทธิรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานจัดหาและตลาดก๊าซธรรมชาติ บมจ.ปตท. กล่าวว่า ล่าสุดโททาล ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการผลิตก๊าซยาดานา ได้แจ้งยืนยันว่าจะซ่อมฐานผลิตก๊าซที่ทรุดตัวเสร็จสิ้นตามแผนวันที่ 14  เมษายนแน่นอน ส่วนที่ยาดานาจะซ่อมฐานผลิตอีกรอบในเดือนพฤษภาคม  2557 นั้น ทาง ปตท.ได้ขอเจรจาให้ซ่อมภายในช่วงสงกรานต์ เป็นช่วงที่ดีที่สุด  เพราะช่วงความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำสุด

ส่วนการเตรียมพร้อมด้านเชื้อเพลิงช่วงวันที่  5-14  เมษายนนี้  ทาง ปตท.ได้สำรองน้ำมันให้เพียงพอทดแทนก๊าซพม่า รวมทั้งขอให้ผู้ผลิตก๊าซในประเทศและแหล่งเจดีเอ ผลิตก๊าซสูงสุดรวมทั้งนำเข้าแอลเอ็นจีเข้ามาเพิ่มขึ้นในเดือนเมษายน โดยนำเข้า 2 ลำเรือ จากปกตินำเข้าเดือนละ 1 ลำเรือ ๆ  ละประมาณ 70,000  ตัน ทั้งนี้  เพื่อให้มีก๊าซในปริมาณสูงสุด อย่างไรก็ตาม  ยอมรับว่าแอลเอ็นจีขณะนี้มีราคาเพิ่มสูงมาก ราคา 18-19 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู จากราคาเฉลี่ยในไทยประมาณ 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู  ขณะที่แอลเอ็นจีราคาเฉลี่ยปีที่แล้วอยูที่ 15  ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู โดยทั้งปีนี้คาดจะนำเข้าไม่เกิน 2.4 ล้านตัน

ขณะที่ก๊าซพม่าแหล่งที่ 3 คือ  แหล่งซอร์ติก้า จะเข้าระบบในต้นปี  2557 อีก 240 ล้านลูกบาศ์กฟุตต่อวัน เพิ่มเติมจากปัจจุบันที่นำเข้าจากแหล่งยาดานาและเยตากุนรวม 1,100 ล้านลูกบาศ์กฟุตต่อวัน โดยแหล่งซอร์ติก้า มีความร้อนใกล้เคียงกับแหล่งเยตากุน ดังนั้น หาก 2 แหล่งนี้แหล่งหนึ่งแหล่งใดหยุดผลิตก๊าซพม่าก็จะไม่หยุดส่งทั้งหมด ยกเว้นแหล่งยาดานาที่มีค่าความร้อนต่ำกว่าหยุดผลิต ทั้งนี้  เป็นเพราะโรงไฟฟ้าของไทยรองรับการใช้ก๊าซในค่าความร้อนที่เหมาะสมที่ก๊าซพม่าจะต้องใช้ค่าความร้อนที่ต้องมาผสมกัน

ที่มา -

-/-

ค่าเอฟทีงวดพ.ค.-ส.ค.ขยับ-ปตท.เพิ่มปริมาณนำเข้าแอลเอ็นจี 350โรงงานเสี่ยงไฟตก

กระทรวงอุตฯเผยโรงงานกว่า 300 แห่ง ในนิคมอุตสาหกรรม 3 แห่ง รับผลกระทบโดยตรงจากพม่าหยุดส่งก๊าซ เพราะตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อไฟฟ้าตก ส่วนการผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันที่เข้ามาชดเชยจะทำให้ต้นทุนด้านพลังงาน(ค่าเอฟที)งวดเดือน พ.ค.-ส.ค.เพิ่มขึ้นอีก 0.48 สต./หน่วย ขณะที่ปตท. เพิ่มปริมาณนำเข้าแอลเอ็นจีอีกเท่าตัว รองรับสถานการณ์ช่วง 4-15 เมษายน เผยพ.ค. 2557 จะหยุดซ่อมฐานขุดเจาะอีกรอบ

นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)เปิดเผยถึง ผลกระทบกรณีที่พม่าหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติในช่วงวันที่ 5 - 14 เมษายน 2556 ว่า โรงงาน 350 แห่ง ในนิคมอุตสาหกรรมบางชัน นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง และนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวอยู่ใกล้พื้นที่เสี่ยงต่อไฟฟ้าดับในเขตลาดพร้าว บางกะปิ รัชดาฯและวิภาวดีบางส่วน โดยอุตสาหกรรมที่อยู่ในพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ, เครื่องนุ่งห่ม, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, สิ่งพิมพ์, ยานยนต์และชิ้นส่วน, เครื่องเรือนและเครื่องตกแต่งในอาคาร

"หากพูดในภาพรวมพบว่าอุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบจากไฟฟ้าดับแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ อุตสาหกรรมที่ทำการผลิตตลอด 24 ชม.คือ การกลั่นปิโตรเลียม เหล็ก แต่ไม่ค่อยมีใน 3 นิคมฯ กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่ได้รับความเสียหายจากวัตถุดิบในสายผลิตเสียหายคือ ผลิตภัณฑ์พลาสติก, เส้นใยผ้าผืน และอาหาร และกลุ่มที่สามคือกระทบต่อยอดส่งมอบสินค้าไม่ทัน คือ ชิ้นส่วนและยานยนต์" นายณัฐพลกล่าว

นายณัฐพลกล่าวว่า ปัญหาหยุดส่งก๊าซฯชั่วคราวจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต้องเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเบื้องต้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้รายงานว่าจะมีการสำรองน้ำมันเตาและน้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที)
ในงวดพ.ค.-ส.ค. เพิ่มขึ้นอีก 0.48 สต.ต่อหน่วย จากเดิมที่เก็บไปแล้วในงวดแรก (ม.ค.-เม.ย. 2556) 1.70 สต.ต่อหน่วย ขณะเดียวกันหากมีการเลื่อนวันการผลิต ผู้ประกอบการก็จะต้องมีการจ่ายค่าล่วงเวลา (โอที) ให้กับพนักงานเพิ่มขึ้นจากเดิม

สำหรับมาตรการและแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำมาใช้ในกรณีที่ประสบปัญหาไฟฟ้าดับซึ่งเป็นมาตรการจากเบาไปหาหนัก ประกอบด้วย การขอความร่วมมือทุกภาคส่วนช่วยกันลดการใช้ไฟฟ้าฟุ่มเฟือยลงในช่วงการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) เวลา 13.00-15.00 น. หรือหากจำเป็นอาจต้องกำหนดการเปิดปิดไฟฟ้าในส่วนของสถานบันเทิงต่างๆ, มาตรการเปลี่ยนเวลาใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมไม่ให้ตรงกับช่วงพีค และสุดท้ายคือการใช้กฎหมายบังคับให้ปิดไฟฟ้าในบางพื้นที่ ซึ่งจะเป็นวิธีทางเลือกสุดท้ายและเลือกดับไฟฟ้าในพื้นที่ไม่กระทบต่อนิคมฯหลักๆ ของประเทศ

อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการและบริหารความเสี่ยงของภาคอุตสาหกรรมจะแจ้งให้ผู้ประกอบการทราบการหยุดจ่ายก๊าซ ในช่วงวันที่ 5-12 เมษายน 2556 พร้อมแนวทางการปรับตัวรับสถานการณ์ และขอความร่วมมือผู้ประกอบการปรับแผนการผลิตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยอาจกำหนดให้วันที่ 5 เมษายน 2556 เป็นวันหยุดเนื่องจากเป็นวันที่ปริมาณไฟฟ้าสำรองเข้าขั้นวิกฤติที่สุด แล้วกำหนดให้ทำงานในวันที่ 7 เมษายน 2556 แทน

ด้าน นายภาณุ สุทธิรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานจัดหาและตลาดก๊าซธรรมชาติ บมจ.ปตท. กล่าวในงานเสวนาวิชาการ "ความพร้อมของไทยต่อสถานการณ์พลังงาน" ว่า ล่าสุดโททาล ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการผลิตก๊าซยาดานา ได้แจ้งยืนยันว่าจะซ่อมฐานผลิตก๊าซที่ทรุดตัวเสร็จสิ้นตามแผนวันที่ 14 เมษายนแน่นอน ส่วนที่ยาดานาจะซ่อมฐานผลิตอีกรอบในเดือนพฤษภาคม 2557 นั้น ทาง ปตท.ได้ขอเจรจาให้ซ่อมภายในช่วงสงกรานต์ เป็นช่วงที่ดีที่สุด เพราะช่วงความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำสุด

ส่วนการเตรียมพร้อมด้านเชื้อเพลิงช่วงวันที่ 5-14 เมษายนนี้ ทาง ปตท.ได้สำรองน้ำมันให้เพียงพอทดแทนก๊าซพม่า รวมทั้ง
ขอให้ผู้ผลิตก๊าซในประเทศและแหล่งเจดีเอผลิตก๊าซสูงสุด รวมทั้งนำเข้าแอลเอ็นจีเข้ามาเพิ่มขึ้นในเดือนเมษายน โดยนำเข้า 2 ลำเรือ จากปกตินำเข้าเดือนละ 1 ลำเรือ เรือละประมาณ 70,000 ตัน ทั้งนี้ เพื่อให้มีก๊าซในปริมาณสูงสุด อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าแอลเอ็นจีขณะนี้มีราคาเพิ่มสูงมาก ราคา 18-19ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู จากราคาเฉลี่ยในไทยประมาณ 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู ขณะที่แอลเอ็นจีราคาเฉลี่ยปีที่แล้วอยู่ที่ 15 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู โดยทั้งปีนี้คาดจะนำเข้าไม่เกิน 2.4 ล้านตัน

ขณะที่ก๊าซพม่าแหล่งที่ 3 คือ แหล่งซอร์ติก้า จะเข้าระบบในต้นปี 2557 อีก 240 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มเติมจากปัจจุบันที่นำเข้าจากแหล่งยาดานาและเยตากุนรวม 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยแหล่งซอร์ติก้า มีความร้อนใกล้เคียงกับแหล่งเยตากุน ดังนั้น หาก 2 แหล่งนี้แหล่งหนึ่งแหล่งใดหยุดผลิตก๊าซพม่าก็จะไม่หยุดส่งทั้งหมด ยกเว้นแหล่งยาดานาที่มีค่าความร้อนต่ำกว่าหยุดผลิต ทั้งนี้ เป็นเพราะโรงไฟฟ้าของไทยรองรับการใช้ก๊าซในค่าความร้อนที่เหมาะสมที่ก๊าซพม่าจะต้องใช้ค่าความร้อนที่ต้องมาผสมกัน

ที่มา -