ข่าว:

คุณ ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกก่อน ตอบกระทู้หรือตั้งคำถามใหม่ นะครับ

Main Menu

เรือ USS Rentz เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย 3 เดือนรอปลดฯ ก่อนมอบให้ไทยแบบฟรีๆ

เริ่มโดย mrtnews, มี.ค 06, 14, 22:26:57 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

กองทัพเรือสหรัฐฯ นำเรือฟริเกตติดจรวดนำวิถีชั้นโอลิเวอร์ฮาซาร์ดเพอรี (Oliver Hazard-Perry-Class) ลำหนึ่งกลับจากภารกิจสุดท้ายปลายสัปดาห์ที่แล้ว และเข้าสู่ขั้นตอนรอปลดประจำการอย่างเป็นทางการในอีก 3 เดือนข้างหน้า ถ้าหากทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนที่ประกาศล่วงหน้ามาข้ามปี เรือรบลำนี้ก็จะตกเป็นของราชนาวีไทยแบบฟรีๆ ตามแผนการช่วยเหลือชาติพันธมิตรจำนวนหนึ่งของสหรัฐฯ

       
เรือยูเอสเอสเร็นต์ (USS Rentz, FFG 46) ปฏิบัติภารกิจสุดท้ายตลอด 7 เดือนที่ผ่านมา โดยทำหน้าที่หลักลาดตระเวน-สกัดกั้นขบวนการลักลอบขนยาเสพติดในเขตปฏิบัติการกองทัพเรือที่ 4 ครอบคลุมอ่าวแคริบเบียน ละตินอเมริกา-อเมริกาใต้ รวมทั้งชายทะเลทั้งฝั่งแอตแลนติก และแปซิฟิก ก่อนกลับถึงฐานทัพเรือซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นสังกัดต้นตอเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 57 ทั้งนี้ เป็นรายงานในเว็บไซต์กองทัพเรือสหรัฐฯ
       
นั่นคือสัญญาณบ่งบอกว่า เรือเร็นต์ กำลังเข้าสู่กระบวนการปลดระวางประจำการตามกำหนด
       
ช่วง 2 ปีมานี้ เรือ FFG 63 มีผลงานมากมายในการปราบปราม-จับยึดยาเสพติดที่ถูกลักลอบนำเข้าสหรัฐฯ โดยขบวนการใหญ่ในย่านละตินอเมริกา โดยออกลาดตระเวนทางฝั่งแปซิฟิกและฝั่งแอตแลนติกโดยข้ามคลองปานามา รวมทั้งเคยร่วมการฝึกซ้อมกับเรือรบชาติพันธมิตรอเมริกาเหนือ-ใต้ ซึ่งจัดขึ้นในทะเลแคริบเบียน ตั้งแต่นี้ต่อไปได้กลับคืนสังกัดกองทัพเรือที่ 3 (จากชายฝั่งทะเลตะวันตกในแปซิฟิก-มลรัฐฮาวาย จนถึงเส้นแบ่งเวลาสากล) ปฏิบัติหน้าที่ร่วมการฝึก-ลาดตระเวณชายฝั่ง เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของกองทัพเรือสหรัฐฯ ระบุโดยไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดอื่นใดอีกเกี่ยวกับกำหนดปลดระวางในวันที่ 23 พ.ค.ปีนี้


เรือเร็นต์เป็นลำท้ายๆ ในบรรดา "เรือเพอรี" ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน และสหรัฐฯ จะทยอยปลดให้หมดในปี 2562 อีก 1 ลำที่ประกาศมอบให้ราชนาวีไทยหลังเดือน มี.ค.2558 หรือปีหน้าคือ ยูเอสเอสแวนเดกริฟต์ (USS Vandegrift, FFG 48)

เรือชั้นเพอรี หรือเรียกง่ายๆว่า OHP สร้างขึ้นเพื่อใช้แทนเรือชั้นน็อกซ์ (Knox class) ที่ทยอยปลดระวางจนหมดทั้ง 46 ลำ ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ก่อนนำไปทำลายทิ้งเป็นเศษเหล็กกับอีกจำนวนหนึ่งจำหน่าย หรือมอบให้ชาติพันธมิตรเพื่อนำไปอัปเกรด ฟื้นฟูระบบต่างๆ ขึ้นใหม่ ติดระบบอาวุธใหม่ ปัจจุบัน เรือชั้นน็อกซ์ ยังคงประจำการในกองทัพเรือ 7 ประเทศ รวมทั้งในราชนาวีไทย 2 ลำ คือเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (461) กับเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย (462)

สำหรับ OHP ถึงแม้จะมีขนาดเท่าๆ กับเรือรุ่นพี่ คือ 4,200 ตันเท่าๆ กัน แต่ก็ยาวกว่า เพรียวกว่า เร็วกว่า ประหยัดเชื้อเพลิงได้มากกว่า ติดระบบอิเล็กทรอนิกส์ กับระบบอาวุธที่ทันสมัยล้ำหน้ากว่าและยังมีพื้นที่สำหรับติดระบบรวดนำวิถีในชั้นได้มากมายซึ่งเป็นเสน่ห์สำคัญยิ่ง

มี 2 เหตุการณ์ที่ทำให้เรือชั้นเพอรีตกเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก แต่ได้ช่วยพิสูจน์ว่าเรือ OHP ทั้งอึดทั้งทนต่อการทำลายล้างของอาวุธทันสมัย
       
วันที่ 17 พ.ค.2530 ในช่วงปีแห่งสงครามอิรัก-อิหร่าน เรือยูเอสเอสสตาร์ก (USS Stark, FFG 31) ถูกยิงด้วยจรวดเอ็กโซเซต์ จากเครื่องบินอิรักขณะลาดตระเวณในอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งรัฐบาลประธานาธิบดีซัดดัม ฮุนเซน ในขณะนั้นกล่าวว่า ด้วยความเข้าใจผิดของนักบิน และได้สั่งลงโทษแล้ว เหตุการณ์นี้ทำให้ลูกเรือเสียชีวิต 37 คน เรือเอียงไปกราบขวาแต่ไม่จม ผู้บังคับการเรือถูกนำตัวขึ้นศาลทหารในเวลาต่อมาฐานปฏิบัติหน้าที่ในความประมาททำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน และถูกลงโทษ การสอบสวนปรากฏว่าขณะถูกโจมตีเรือสตาร์กไม่ได้อยู่ใน "โหมด" ป้องกันใดๆ ทั้งสิ้น
       
อีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 14 เม.ย.2531 เรือยูเอสเอสแซมมิวล์ บี โรเบิร์ต (USS Samuel B Roberts, FFG 58) ชนทุ่นระเบิดบรรจุทีเอ็นที 250 ปอนด์ ของอิหร่าน ในอ่าวเปอร์เซียเช่นกัน แรงระเบิดทำให้ระบบขับเคลื่อนเสียหายอย่างสาหัส ท้องเรือเป็นรูโหว่กว้างขนาด 9 ฟุต (เกือบ 3 เมตร) เหตุการณ์นี้ทำให้สหรัฐฯ โจมตีแท่นเจาะน้ำมันแห่งหนึ่งของอิหร่านเสียหายยับเยิน โดยระบุว่าเป็นแหล่งซ่องสุมทุ่นระเบิด เป็นแหล่งปฏิบัติการวางทุ่นในบริเวณดังกล่าว
       
ทั้ง 2 เหตุการณ์ทำให้เรือถูกไฟไหม้อย่างรุนแรง ลูกเรือพยายามแก้ไขด้วยระบบควบคุมความเสียหายที่มีอยู่ และทำให้ลอยลำอยู่ได้ จนกระทั่งเวลาต่อมา จึงถูกลากไปยังมิตรประเทศในย่านอ่าวเปอร์เซีย เรือสตาร์ก แล่นกลับสหรัฐฯ ด้วยตัวเอง ส่วนเรือโรเบิร์ต ถูกนำขึ้นเรือขนส่งขนาดใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ลำหนึ่งกลับมาตุภูมิ ได้รับการซ่อมแซม และกลับเข้าประจำการอีกครั้งก่อนปลดระวางในอีก 1 ปีถัดมา

เรือชั้นเพอรี สร้างออกมาทั้งหมด 55 ลำ เป็น 2 รุ่นคือ รุ่นสั้นกับรุ่นยาว (ต่างกันราว 3 เมตร) และต่อจากหลายอู่ ในนั้น 51 ลำ เป็นของกองทัพเรือสหรัฐฯ อีก 4 ลำของราชนาวีออสเตรเลีย ในนั้น 2 ลำต่อในออสเตรเลียเอง กับอีก 8 ลำต่อในไต้หวัน สำหรับกองทัพเรือสาธารณรัฐจีน และ 6 ลำต่อในสเปน สำหรับราชนาวีสเปน

       
ปีนี้กองทัพเรือสหรัฐฯ กำลังจะปลดระวางเรือทั้งหมด 9 ลำ ในนั้นเป็นเรือฟริเกต 7 ลำ ซึ่งจะทำให้มีเรือชั้นเพอรีเหลืออยู่ในกองทัพอีกราว 10 ลำ และจะทยอยปลดให้หมดภายใน 5 ปีข้างหน้า ตามจังหวะของการสร้างเรือโจมตีชายฝั่ง (Littoral Combat Ship) ทั้ง 2 รุ่น (ชั้น) ที่จะนำเข้าประจำการแทนคือ เรือชั้นฟรีดอม (Freedom Class, LCS 1) กับอินดีเพนเดนต์ (Independence Class, LCS 2)

หลังจากใช้งานเป็นเวลา 30 ปี สหรัฐฯ มีวิถีปฏิบัติในการเสนอให้เรือฟริเกตที่ปลดประจำการแก่ชาติพันธมิตรจำนวนหนึ่ง โดยมีค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูยกระดับให้เรือมีสภาพสมบูรณ์ซึ่งเป็นเงินตั้งแต่หลายสิบ จนถึงร้อยล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ยังไม่รวมค่าติดตั้งระบบอาวุธซึ่งขึ้นอยู่กับการเลือกเองของประเทศปลายทาง
       
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกชาติที่จะได้รับสิทธิดังกล่าว ที่ผ่านมา มีเพียง 5 ชาติที่สหรัฐฯ ยอมจำหน่าย หรือให้เปล่าเรือ OHP ที่เกษียณไปก่อนซึ่งได้แก่ บาห์เรน อียิปต์ ปากีสถาน โปแลนด์ และตุรกี ราชนาวีไทย ก็เป็นเพียง 1 ใน 6 กองทัพเรือทั่วโลกที่มีโอกาสได้ใช้เรือฟริเกตชั้นน็อกซ์ (Knox-class) ก่อนหน้านั้น
       
สำหรับเรือ OHP มาเลเซีย เคยขอซื้อจากสหรัฐฯ 2 ลำ แต่ยังไม่มีคำตอบจากเพนตากอน เช่นเดียวกับ ฟิลิปปินส์ ประเทศพันธมิตรนอกกลุ่มนาโต้ของสหรัฐฯ ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหมือนกับไทยทุกประการ และกำลังต้องการเรือรบอย่างยิ่งยวด แต่ก็ยังไม่เคยได้รับสิทธินี้ และรอลุ้นล็อตสุดท้ายอย่างใจจดใจจ่อ
       
ในปี 2555 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้แจ้งต่อคณะกรรมาธิการอาวุธ และคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ ของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ซึ่ง ต่อมาได้ผ่านร่างรัฐบัญญัติเกี่ยวกับการส่งมอบเรือออกมาฉบับหนึ่งและเสนอต่อวุฒิสภาในเดือน ม.ค.2556 ซึ่งในนั้นรวมทั้งการให้เปล่าเรือฟริเกตทั้ง 2 ลำ แก่ราชนาวีไทยด้วย เว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่งทั่วโลกบรรจุชื่อเรือเร็นต์กับเรือแวนเดกริฟต์ เข้าในกองเรือฟริเกตของไทยตั้งแต่นั้น แม้จะยังไม่ทราบความเคลื่อนไหวของฝ่ายไทย หรืออย่างน้อยที่สุดก็ยังไม่เคยมีข่าวคราวเรื่องนี้ออกจากกระทรวงกลาโหม หรือกองทัพเรือสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ
       
และถ้าหากไทยไม่สนใจที่จะรับ เรือรบทั้ง 2 ลำก็มีโอกาสที่จะผ่านไปสู่มือประเทศเพื่อนบ้านที่มีความต้องการมากกว่าโดยง่ายดาย.

ที่มา -