ข่าว:

ห้ามโพส ปั่นลิงก์ SEO ในส่วนของ ลายเซ็นสมาชิกเพื่อจะแสดงที่ด้านล่าง ของแต่ละข้อความที่ตอบกระทู้ เช่น คาสิโน บาคาร่า แทงบอล ฯลฯ เด็ดขาด หากพบจะแบนสมาชิกนั้นออกจากบอร์ดทันที

Main Menu

โผล่ที่สัตหีบ .. เรือดำน้ำนิวเคลียร์สหรัฐฯ เข้าถึงก้นอ่าวไทย

เริ่มโดย mrtnews, พ.ค 14, 13, 17:18:34 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

mrtnews

ทะเลอ่าวไทยได้กลายเป็นแหล่งคุ้นเคยสำหรับเรือดำน้ำขนาดใหญ่ไปอีกแห่ง และไม่จำเป็นต้องทำลับๆ ล่อๆ อีกต่อไป กองกำลังนาวีในแปซิฟิกของสหรัฐฯ ได้เผยแพร่ภาพเรือดำน้ำ 1 ลำ กับเรือพี่เลี้ยงอีก 1 ลำ ในบริเวณอ่าวสัตหีบของไทยในวันอังคาร 12 มี.ค. 56 นี้ ซึ่งเป็นภาพเหตุการณ์ 2 วันก่อนหน้านั้น และเรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงปีที่สหรัฐฯ เริ่มเคลื่อนย้ายแสนยานุภาพเข้าสู่ภูมิภาค


ทั้ง 2 ลำในภาพคือ เรือแอลบูเคอร์กี (USS Albuquerque -SSN706) ซึ่งเป็นเรือดำน้ำโจมตีเร็วชั้นลอสแองเจลิส (Los Angeles-Class) ขนาด 6,000 ตัน ติดจรวดร่อนโทมาฮอว์กสำหรับยิงโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินในรัศมีเกือบ 3,000 กิโลเมตร และติดจรวดฮาร์พูนยิงทำลายเรือรบข้าศึกบนพื้นน้ำ อีกลำหนึ่งคือ เรือแฟรงค์เคเบิล (USS Frank Cable -AS40) ซึ่งเป็นเรือสนับสนุนเรือดำน้ำ (Submarine Tender Ship) แต่ทั้งกองเรือแปซิฟิก และกองทัพเรือสหรัฐฯ ยังมิได้ให้รายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับภารกิจของเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ลำนี้

ตามรายงานในเว็บไซต์กองเรือแปซิฟิกสหรัฐฯ เรือแฟร็งค์ เคเบิล กับเรือแอลบูเคอร์กี ไปถึงอ่าวสัตหีบตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. 56 ในโครงการเชื่อมความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับราชนาวีไทย ซึ่งระหว่างนี้ลูกเรือสหรัฐฯ จะมีส่วนร่วมในโครงการบริการชุมชนด้วย ขณะเดียวกัน ก็จะถือโอกาสซ่อมบำรุงเรือดำน้ำให้แล้วเสร็จ ซึ่งไม่มีการระบุว่าเป็นเรื่องใดบ้าง

"ภารกิจ (การแวะเยือน) ครั้งนี้จะะช่วยปรับปรุงความสามารถของเราในปฏิบัติงานร่วมกันในยามที่ไทยกับสหรัฐฯ จะต้องปฏิบัติการร่วมกัน" น.อ.พีท ฮิลเดร็ท (Pete Hildreth) ผู้บังคับการเรือแฟรงค์ เคเบิล กล่าว

อย่างไรก็ตาม ไม่มีการกล่าวถึงภารกิจของเรือดำน้ำ กับนายทหารและลูกเรือราว 150 ชีวิต

แอลบูเคอร์กี นับเป็นเรือดำน้ำสหรัฐฯ ลำที่ 2 ที่แล่นเข้าถึงก้นอ่าวไทยในช่วงไม่กี่ปีมานี้หรือเท่าที่มีการเปิดเผย หลังจากเรือบัฟฟาโล (USS Buffalo - SSN715) ซึ่งเป็นเรือชั้นลอสแองเจลิสอีกลำ ได้เข้าจอดเทียบท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อร่วมฝึกซ้อมการปราบปรามเรือดำน้ำ ตามการร้องขอของราชนาวีไทยระหว่างวันที่ 31 ก.ค.-20 ส.ค.ปีที่แล้ว


"วันที่ 20 มี.ค. 56 เรือเอสเอสเอ็น 706 ได้เข้าจอดเทียบเรือยูเอสเอสแฟรงค์เคเบิล ขณะทอดสมอนอกฝั่งสัตหีบในประเทศไทย เพื่อรับการซ่อมบำรุง (Fleet Maintenance Availability - FMAV)" เป็นข้อความสั้นๆ เกี่ยวกับกำหนดการของเรือแอลบูเคอร์กี ที่โพสต์ลงในหน้าข่าวของเว็บไซต์ Uscarriers.Net วันอังคารนี้

เว็บไซต์ดังกล่าวได้เฝ้าติดตาม และอัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับเรือดำน้ำลำนี้ กับเรือชั้นลอสแองเจลิสลำอื่นๆ เป็นระยะ

เรือแอลบูเคอร์กี แล่นออกจากฐานทัพซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2556 "เพื่อสนับสนุนสันติภาพกับความมั่นคงปลอดภัย" ในย่านแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งหมายถึงทะเลจีนใต้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด

ต่อมา วันที่ 13 ก.พ. 56 เรือได้แวะเยือนเมืองท่าโยโกสุกะ (Yokosuka) ในญี่ปุ่นจอดที่นั่นเป็นเวลา 6 วัน ให้ลูกเรือกว่า 100 คนขึ้นฝั่ง เรียนรู้ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ และพักผ่อน ทั้งนี้ เป็นรายงานในเว็บไซต์กองเรือแปซิฟิกสหรัฐฯ

หลังจากนั้นก็ไม่มีข่าวคราวใดๆ เกี่ยวกับเรือดำน้ำลำนี้เลยอีกจนกระทั่งวันนี้

แอลบูเคอร์กี เข้าประจำการกองทัพเรือเมื่อปี 2526 และนับตั้งแต่เรือลอสแองเจลิส (USS Los Angeles -SSN688) ซึ่งเป็นเรือนำของชั้นเข้าประจำการในปี 2519 ได้มีการสร้างขึ้นมาอีกรวมทั้งหมด 62 ลำ จนถึงสิ้นปี 2555 ยังเหลือประจำการอยู่เพียง 42 ลำ ปัจจุบัน 18 ลำ จอดนิ่งเพื่อรอปลดประจำการ อีก 2 ลำ ปลดออกไป และทำลายทิ้ง ทั้งหมดรอเรือรุ่นใหม่ในชั้นเวอร์จิเนีย (Virginia-Class) ขนาด 7,900 ตัน ใหญ่กว่า และทันสมัยยิ่งกว่าเข้าแทนที่

ตามข้อมูลในเว็บไซต์ข่าวกลาโหมของสหรัฐฯ จนถึงสิ้นปี 2555 กองทัพเรือได้โยกเรือดำน้ำชั้นลอสแองเจลิสเข้าประจำการในเอเชียแปซิฟิก จำนวน 16 ลำ ตามนโยบายยุทธศาสตร์สับเปลี่ยนกำลังรบเข้าสู่ภูมิภาคนี้ 60% แต่ก็ยังมีเรือชั้นเวอร์จิเนียกับรวมทั้งเรือชั้นโอไฮโอ (Ohio-Class) อีกจำนวนหนึ่งด้วย

โดยปกติ สหรัฐฯ จะไม่เปิดเผยกำหนดการ ตลอดจนรายละเอียดเกี่ยวกับเส้นทางของเรือรบรวมทั้งเรือดำน้ำด้วย นอกจากนั้น รายละเอียดหลายประการเกี่ยวกับเรือดำน้ำก็ยังถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลหลายเรื่องเกี่ยวกับเรือดำนน้ำที่ถูกปล่อยออกมาก็เป็นข้อมูลลวง ผู้เชี่ยวชาญด้านกลาโหมสหรัฐฯ กล่าว

เรือชั้นโอไฮโอ เป็นเรือดำน้ำยุทธศาสตร์ที่น่าเกรงขามมากที่สุด เพราะสร้างขึ้นมาเพื่อติดตั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์โดยเฉพาะ เรือชั้นนี้แต่ละลำติดขีปนาวุธไทรเดนต์ (Trident Ballistic Missile) ได้ลำละ 24 ลูก ติดหัวรบที่เลือกยิง 3 เป้าหมายได้อย่างอิสระในคราวเดียวกัน นอกจากนั้น ยังติดจรวดโทมาฮอว์กรุ่นหัวรบนิวเคลียร์อีกจำนวนหนึ่งด้วย

แอลบูเคอร์กี เป็นเรืออันดับที่ 19 ของชั้น ในจำนวน 31 ลำ ที่ผลิตออกมารุ่นแรก และเข้าประจำการระหว่างปี 2519-2528 ซึ่งรวมทั้งเรือบัฟฟาโล (อันดับที่ 28) ด้วย ปัจจุบันยังเหลือเรือชั้นลอสแองเจลิสรุ่นแรกประจำการอยู่ 11 ลำเท่านั้น

เรือชั้นลอสแองเจลิส รุ่น 2 หรือ Flight II ผลิตตามกันออกมาเพียง 8 ลำ เข้าประจำการระหว่างปี 2528-2542 เป็นรุ่นที่เริ่มติดตั้งท่อยิงจรวดโทมาฮอว์กแนวตั้งแทนระบบท่อยิงแนวนอนในรุ่นแรก และมีการปรับปรุงระบบอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง

เรืออีก 23 ลำ เรียกว่า "รุ่นปรับปรุง" ซึ่งเป็นปัจจุบันที่สุด นำเข้าประจำการระหว่างปี 2531-2539 เพิ่มท่อยิงจรวดโทมาฮอว์กมากขึ้น ติดจรวดโทมาฮอว์กเวอร์ชันใหม่ที่ใช้หัวรบนิวเคลียร์ได้ ติดตั้งระบบสื่อสาร ระบบโซนาร์ และอื่นๆ ด้วยเทคโนโลยีล่าสุด รวมทั้งใช้จรวดโทมาฮอว์กรุ่นใหม่ยิงทำลายเรือแทนจรวดฮาร์พูนในรุ่นก่อน

ในช่วงปลายยุคสงครามเย็น สหรัฐฯ มีแผนการผลิตเรือดำน้ำชั้นซีวูล์ฟ (Seawolf-Class) ขนาด 9,000-12,000 ตัน ขึ้นมาเพื่อใช้แทนเรือชั้นลอสแองเจลิส แต่ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว ทำให้ต้องหันไปให้ความสำคัญเรือชั้นเวอร์จิเนีย ซึ่งมีการพัฒนาขีดความสามารถให้ทันสมัยยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการสร้างเรือชั้นซีวูล์ฟออกมาเพียง 3 ลำ และเลิกล้มแผนการไป

เรือชั้นเวอร์จิเนียลำแรก คือ USS Virginia - SSN774 เข้าประจำการในเดือน ต.ค.2547 ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันผลิตออกมาได้ 9 ลำ กองทัพเรือต้องการทั้งหมด 30 ลำ ส่วนเรือชั้นโอไฮโอ ทยอยเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 2524 จนถึงปัจจุบันมีทั้งหมด 18 ลำ

เชื่อว่าไม่ช้าไม่นาน อ่าวไทยจะได้ต้อนรับสุดยอดแห่งเรือดำน้ำของโลกทั้ง 2 รุ่นอีก.

ที่มา -